<<
กันยายน 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
29 กันยายน 2558

อุตสาหกรรมให้ประโยชน์กับประเทศสูงสุด ?

จากแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574  -กระทรวงอุตสาหกรรม

กลุ่มอุตสาหกรรมผลประโยชน์เกิดกับประเทศสูงสุด

กลุ่มอุตสาหกรรมตามโครงสร้างคุณลักษณะนั้น จะพบว่ากลุ่ม

อุตสาหกรรมนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยสูงที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สร้างผลประโยชน์แก่ประเทศสูงที่สุดทั้งในด้านมูลค่าส่งออก การสร้างผู้ประกอบการ การสร้างงาน และการใช้วัตถุดิบภายในประเทศอีกทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ประกอบการไทย ดังนั้นทุกอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มนี้จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการคัดเลือกเป็นอุตสาหกรรมนำร่องที่ต้องได้รับการพัฒนาเป็นลำดับแรก โดยมีรายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรม

นำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมผลประโยชน์เกิดกับประเทศสูงสุด ดังนี้


ตารางอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกิดผลประโยชน์กับประเทศสูงสุด

(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)





• อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าผลผลิต จำนวนสถาน

ประกอบการ และจำนวนแรงงานสูงที่สุดในอุตสาหกรรมทั้งหมดนี้ นับเป็นอุตสาหกรรมที่สร้าง

ผลประโยชน์แก่ประเทศไทยสูงมาก แต่มูลค่าการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ซึ่งอาจเกี่ยวข้อง

กับสัดส่วนมูลค่าเพิ่มที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน และระดับความน่าสนใจของอุตสาหกรรม

อาหารและเครื่องดื่มในระดับโลกอยู่ในระดับสูงเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก อันจะ

นำมาซึ่งแนวโน้มการขาดแคลนอาหารในอนาคต ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง

ไป โดยให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น


• อุตสาหกรรมยาง เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง และเป็นอุตสาหกรรมที่มีวัตถุดิบใน

ประเทศเป็นจำนวนมาก แต่มีจำนวนสถานประกอบการและการจ้างงานต่ำ อย่างไรก็ตาม พื้นที่

เพาะปลูกยางพาราในประเทศไทยมีพื้นที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และการส่งออกของไทยมักเป็นการ

ส่งออกน้ำยางดิบหรือยางแผ่น หากสามารถเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่าง ๆ ได้จะสร้าง

มูลค่าให้ประเทศไทยได้เป็นจำนวนมาก และระดับความน่าสนใจของอุตสาหกรรมยางในระดับ

โลกอยู่ในระดับสูง ถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่โอกาสในอนาคต

• อุตสาหกรรมสิ่งทอ แม้ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ และในระดับ

โลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสิ่งทอถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ อีกทั้งยัง

มีการใช้เงินลงทุนและวัตถุดิบในประเทศเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนสถานประกอบการและ



จำนวนแรงงานค่อนข้างสูง ดังนั้น แม้มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมนี้อาจไม่มากนัก แต่ถือได้ว่า

เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างผลประโยชน์แก่ประเทศไทยโดยตรง


(1.2) กลุ่มอุตสาหกรรมฝีมือแรงงาน

อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อประเทศค่อนข้างมากเช่นกัน เนื่องจาก

สอดคล้องกับศักยภาพหลักของอุตสาหกรรมไทย ที่มีจุดเด่นในเรื่องแรงงานฝีมือซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เมื่อพิจารณาในภาพรวมจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ถือได้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพ โดยอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในกลุ่มนี้มีอยู่ 2 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง และตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีศักยภาพในการยกระดับอุตสาหกรรมด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม และอุตสาหกรรมอัญมณี ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และเป็นที่รู้จักในระดับโลกถึงคุณภาพของฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มีโอกาสในอนาคต ดังจะเห็นได้จากอัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกของโลกในอุตสาหกรรมดังกล่าวในช่วง พ.ศ. 2548 –2551 อยู่ในระดับที่สูง จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมอัญมณีเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ยนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมฝีมือแรงงาน ดังนี้


ตารางอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมฝีมือแรงงาน

(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)




• อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย

ค่อนข้างสูง มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศและใช้ฝีมือแรงงานใน

อุตสาหกรรมในสัดส่วนที่สูง และประเทศไทยมีชื่อเสียงในฐานะฐานการผลิตรถยนต์ฝีมือดี ถือได้

ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนเงินลงทุน

และผู้ถือหุ้นในอุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนจากต่างประเทศ



อุตสาหกรรมอัญมณี เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกและมูลค่าเพิ่มสูงมาก มีการใช้ฝีมือ

แรงงานในอุตสาหกรรมในสัดส่วนที่สูงและประเทศไทยได้รับการยอมรับในเรื่องฝีมือแรงงานใน

อุตสาหกรรมอัญมณี นอกจากนี้อุตสาหกรรมดังกล่าวยังถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มีโอกาสใน

อนาคต เนื่องจากอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าวในระดับโลกยังอยู่ในระดับที่สูง


(1.3) กลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนาสังคม

แม้ว่าระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องปรับตัว อย่างไรก็ตาม

อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาต่อไป เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างงานและการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในกลุ่มคือ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมเดียวภายในกลุ่มที่ตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการลดช่องว่างรายได้ของแรงงานในพื้นที่ จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของอุตสาหกรรมนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนาสังคม ดังนี้


ตารางรายละเอียดอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนาสังคม

(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)




• อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม แม้ว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมดังกล่าวจะอยู่ในกลุ่มที่ต้องปรับตัว

โดยมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ และในระดับโลก อย่างไรก็ตาม

อุตสาหกรรมดังกล่าวถือได้ว่ามีความสำคัญในด้านการตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศ

ในด้านการลดช่องว่างรายได้ของแรงงานในพื้นที่ อีกทั้งยังมีการใช้เงินลงทุนและวัตถุดิบใน

ประเทศเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนสถานประกอบการและจำนวนแรงงานค่อนข้างสูง อาจ

กล่าวได้ว่า แม้มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมนี้อาจไม่มากนัก แต่ถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สร้าง

ผลประโยชน์แก่ประเทศไทยโดยตรง



(1.4) กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ โดยภาพรวมถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ อุตสาหกรรมที่ความ

โดดเด่นในกลุ่มดังกล่าว คือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนอกจากจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพแล้ว ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง และตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศในด้านการยกระดับของอุตสาหกรรมโดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของอุตสาหกรรมนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ดังนี้


ตารางที่  รายละเอียดอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)





• อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ โดย

เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดของประเทศ ด้วยมูลค่าการส่งออกประมาณ 947.8

พันล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 อีกทั้งยังตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญของประเทศในด้านการ

ยกระดับของอุตสาหกรรมโดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็น

อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการยกระดับรูปแบบการ

ดำเนินธุรกิจในลักษณะการรับจ้างผลิตสินค้าไปสู่การสร้างตราสินค้าของตนเองได้ในอนาคต


(1.5) กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและโครงสร้างสนับสนุน

อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ ถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยใน

ภาพรวม เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สนับสนุนและยกระดับการพัฒนาของอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศโดยอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในกลุ่มดังกล่าว คือ อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยเฉพาะแม่พิมพ์เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการยกระดับอุตสาหกรรมไทย จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของอุตสาหกรรมนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและโครงสร้างสนับสนุน ดังนี้


ตารางรายละเอียดอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและโครงสร้างสนับสนุน

(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)



• อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ (แม่พิมพ์) เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย

อย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในประเทศไทย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมนำร่องที่ได้ทำการคัดเลือกนั้น มีความจำเป็นต้องใช้

เครื่องจักรและอุปกรณ์ (แม่พิมพ์) ในการผลิตเป็นอย่างมาก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และ

ชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็น

ต้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความต้องการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ (แม่พิมพ์) สูงมาก

เนื่องจากยานยนต์เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้นและชิ้นส่วนต่าง ๆ มักเป็นชิ้นส่วน

เฉพาะรุ่น เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรุ่นของยานยนต์ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สำหรับการผลิต

ชิ้นส่วนรุ่นใหม่ ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ (แม่พิมพ์) จะเข้าไปมีบทบาทสำคัญใน

อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอย่างมาก


(1.6) กลุ่มอุตสาหกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่จะช่วย

ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศได้เป็นอย่างมาก โดยอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในกลุ่มคือ

อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ทั้งในด้านแนวโน้มการขาดแคลนพลังงาน รวมถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในระดับสากล จึงเห็นสมควรคัดเลือกอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โดยมีรายละเอียดของอุตสาหกรรมนำร่องภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้


ตารางรายละเอียดอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม

(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)




• อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทน เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยและใช้งานอย่างกว้างขวาง

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและราคามีความผันผวนค่อนข้างมาก

ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนด้านพลังงานของประเทศไทย อุตสาหกรรม

พลังงานหมุนเวียน/ทดแทน จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต

(2) สอดคล้องกับเกณฑ์การคัดเลือกอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ

• สร้างประโยชน์และสร้างรายได้ตกอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมาก ใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิต

และกระบวนการผลิตส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ

• มูลค่าการส่งออกอยู่ในระดับที่สูง

• ตอบสนองต่อนโยบายสำคัญของประเทศ เช่น การลดช่องว่างรายได้ของแรงงานในพื้นที่ และการ

ยกระดับของอุตสาหกรรมโดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม

• ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ เช่น แนวโน้มการขาดแคลนอาหาร

ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงาน รวมถึงปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นต้น

• เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการยกระดับอุตสาหกรรมไทย

จากเกณฑ์การคัดเลือกอุตสาหกรรม 5 ประเด็นนี้ สามารถระบุถึงอุตสาหกรรมที่มีลักษณะ

สอดคล้องกับเกณฑ์ดังกล่าวได้ดังนี้


ตารางความเชื่อมโยงระหว่างมิติการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างสมดุลและการจัดกลุ่มอุตสาหกรรม

(ที่มา: สำมะโนอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2550 และการวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)




(3) ครอบคลุมทุกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมนำร่องที่ทำการคัดเลือกจะต้องครอบคลุม

ถึงกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีระดับศักยภาพแตกต่างกัน 3 กลุ่ม คือ

• กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีจุดแข็งในการสร้างความได้เปรียบจาก

โอกาสและทิศทางในอนาคตที่เอื้ออำนวยให้

• กลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัว เป็นสาขาที่มีความสำคัญในปัจจุบันแต่มีแนวโน้มของขีด

ความสามารถการแข่งขันที่ลดลง และต้องปรับปรุง หรือปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ใน

อนาคต

• กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีโอกาสในอนาคต เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่ควรให้การสนับสนุนและ

ส่งเสริม เนื่องจากมีโอกาสจากแนวโน้มความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และมีวัตถุดิบ

ภายในประเทศ รวมถึงสามารถเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ได้

จากการวิเคราะห์ภายใต้กรอบแนวคิดและเกณฑ์การคัดเลือกอุตสาหกรรมนำร่องดังกล่าวข้างต้น สามารถ

คัดเลือก 8 อุตสาหกรรมนำร่องที่ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีรายชื่อของอุตสาหกรรมและรายละเอียด

การคัดเลือกอุตสาหกรรมนำร่อง ดังต่อไปนี้


ตาราง รายชื่อ 8 อุตสาหกรรมนำร่องจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม

(การวิเคราะห์ของ สศอ. ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA)

กลุ่มอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมนำร่อง



สนับสนุนเนื้อหาโดย


  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook

Contact Ultra Compressor 


20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 

 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558
0 comments
Last Update : 29 กันยายน 2558 21:57:09 น.
Counter : 1259 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]