อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเหมือนประเทศไทยเรา...ขอโทษด้วยนะคะที่เจ้าบ้านไม่ค่อยได้อัพเดทเลย อย่าเพิ่งโกรธกันนะคะ ไม่มีเน็ตเล่นหง่า... :( “Just being alive is such a lovely and wonderful thing”. - Aya (1 litre of tears)

Group Blog
 
 
เมษายน 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
24 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
โรคนอนไม่หลับ 1




...ใครที่สงสัยว่าตัวเองมีปัญหาในการนอนรึเปล่า เชิญทางนี้ค่ะ...


เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะว่า คนเราควรจะนอนหลับพักผ่อนให้ได้

วันละ 8 ชั่วโมง ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงตอนเช้า แต่ว่า ร่างกายของแต่ละคน

ย่อมต้องการชั่วโมงในการนอนหลับไม่เท่ากันหรอกค่ะ บางคนนอนแค่

5-6 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว เพราะนาฬิกาชีวภาพในร่างกายเค้าได้ถูกตั้ง

ระบบเอาไว้แล้ว เมื่อถึงเวลานอนก็นอน ถึงเวลาตื่นก็สามารถตื่นขึ้นได้เอง

โดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก แต่บางคน ต่อให้นอนมากมายแค่ไหนก็ยังไม่

พอ ตื่นมาก็รู้สึกว่านอนไม่อิ่ม แถมยังมีอาการมึนงง เหม่อลอย และผลอย

หลับระหว่างวันอีกด้วย


ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ คนเรามีลักษณะการนอนหลับในแต่ละระยะที่ไม่

เหมือนกัน เคยสังเกตมั้ยคะว่า บางคนสามารถนอนหลับได้อย่างนิ่งสนิท

เปลือกตาปิดมิดชิด ลูกตาไม่มีการเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว

แต่บางคน หลับตาลงได้ไม่สนิท แถมเรายังมองเห็นลูกตาเกลือกกลิ้งไปมา

อีกด้วย ซึ่งจริงๆ แล้ว การนอนให้เพียงพอแบบที่ตื่นมาแล้วรู้สึกสดชื่นนั้น

เป็นการนอนอย่างแรก คือ ช่วง Non-rapid eye movement (non-REM

sleep) การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมากเพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้

ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร และมีการหลั่งของ

ฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone



การนอนช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่โดยการหลับจะเริ่มจากระยะที่ 1

ไปจน REM และกลับมาระยะ 1 ใหม่



Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น

ถูกปลุกได้ง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า

hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง

ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า



Stage 2 (true sleep) ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้า

สมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles



Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ delta waves


Stage 4 ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็น

แบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ 3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุด ตาจะไม่เคลื่อน

ไหว ร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย



การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาที

หลังจากนอน ช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะ

หายใจเร็ว ชีพจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้

จะจำความฝันได้







แต่ก็เข้าใจล่ะค่ะว่า บางคนนอนดึก-นอนไม่พอ หาใช่ว่าไม่อยากนอนหลับ

แต่ว่า "มันไม่หลับ" นี่นา ใช่มั้ยคะ? แอ้เองก็เคยประสบปัญหานี้เหมือน

กันล่ะ แต่ว่าก็พยายามป้องกันไม่ให้มันเกิดบ่อยครั้ง เพราะตระหนักถึง

ผลเสียที่รุนแรงของโรคนอนไม่หลับดีเลยล่ะว่า มันส่งผลต่อการทำงาน

ของระบบการไหลเวียนของโลหิตและการทำงานของหัวใจ




ผู้ช่วยศาสตราจารย์แบงค์ จากคุณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย

เพนซิลวาเนีย รัฐฟิลาเดลเฟีย ประเทศในสหรัฐฯ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ

ระบบประสาทวิทยาที่มีผลสืบเนื่องมาจากผลกระทบจากพฤติกรรมต่างๆ

พบว่าการปล่อยให้กลุ่มตัวอย่างอดนอนเป็นระยะเวลาหลายวัน จะส่งผล

ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด หรือเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ

จนกระทั่งเป็น "โรคหัวใจ" และอาจจะเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ จากการ

ตรวจสภาพร่างกายอื่นๆ ก็พบว่า กลุ่มตัวอย่างมี "ระบบประสาท และ

ความดันโลหิตสูงผิดปกติ" อีกด้วย






...มีโอกาสได้อ่านสาระน่ารู้จากโรงพยาบาลปิยะเวท เกี่ยวกับเรื่องโรคที่

เกี่ยวกับการนอน เลยนำมาฝากกันค่ะ...



โรคนอนไม่หลับ นอนกรน ล้วนแล้วแต่เป็น โรคเกี่ยวกับการนอนทั้งสิ้น

ซึ่งโรคเกี่ยวกับการนอนนี้ย่อมไม่เป็นที่พึงประสงค์ของทุก ๆ คน เพราะการ

นอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่หากคุณเกิด

ปัญหาเกี่ยวกับการนอนขึ้นมาจะส่งผลกระทบกับหลายสิ่งหลายอย่างใน

ชีวิตประจำวันของคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานไม่เต็มที่ อาการเหม่อลอย

ในที่ทำงานเนื่องจากภาวะอ่อนเพลีย เป็นต้น ไม่เพียงแต่อาการเหล่านี้เท่า

นั้น ยังมีอันตรายแฝงอยู่กับการนอนไม่หลับมากมาย อย่างเช่น “ภาวะหยุด

หายใจขณะนอนหลับ”


ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ถูกมองข้าม เพราะ

ผู้ป่วยที่หยุดหายใจขณะหลับจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจวาย

ฉับพลัน โรคเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน (Strokes) โรคเสื่อมสมรรถภาพ

ทางเพศ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจอื่นๆ


นอกจากนี้ยังเป็นต้นเหตุของอาการง่วงหลับตอนกลางวัน โดยที่มีอาการ

ร่วมของการกรนหรือไม่กรนก็ได้ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุ

ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และมีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น



@ข้อบ่งชี้อาการ@


สำหรับผู้ใหญ่

• นอนกรนเสียงดัง

• ตื่นนอนอย่างไม่สดชื่น และรู้สึกง่วงนอนระหว่างวัน

• ตื่นนอนพร้อมอาการปวดศีรษะ

• ตื่นนอนระหว่างคืนบ่อยครั้ง กระสับกระส่าย

• ตื่นนอนด้วยอาการหวาดผวา ตื่นตระหนกจากอาการขาดอากาศหายใจ

• เหงื่อออกมากเวลานอน

• นอนไม่หลับ แม้ว่าจะรู้สึกง่วงนอน

• น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

• ตื่นนอนด้วยความรู้สึกเหนื่อยหอบ เหมือนต้องการอากาศ



สำหรับเด็ก

• นอนกรน

• ต่อมทอนซิลใหญ่

• น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ตัวเล็ก แคระแกร็น

• สมาธิสั้น หรือมีปัญหาด้านการเรียนรู้

• เป็นโรคดาวน์ซินโดรม กระดูกใบหน้าและศีรษะผิดปกติรูปร่าง หรือเป็น

โรคกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงมาก

• กล้ามเนื้อสมองมีลักษณะผิดปกติ







คราวนี้ ลองมาดู สาเหตุที่ทำให้เกิด "โรคนอนไม่หลับ" กันบ้างนะคะ


1. มีสิ่งกระตุ้นให้นอนไม่หลับ (Precipitating Factors of Transient

Insomnia): มักจะเป็นชั่วคราว เช่น Adjustment Sleep Disorder

เป็นภาวะนอนไม่หลับที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เพิ่งเกิด เช่นผลจากความเครียด

จากการเจ็บป่วย ผ่าตัด การสูญเสียของรัก จากงาน เมื่อปัจจัยกระตุ้นหาย

อาการนอนไม่หลับจะกลับสู่ปกติ


2. Jet Lag: ผู้ป่วยเดินบินข้ามเขตเวลาทำให้เปลี่ยนเวลานอนร่างกายปรับ

ตัวไม่ทันจะทำให้นอนยาก


3. Working Conditions: เช่นคนที่เข้าเวรเป็นกะๆ ทำให้นาฬิกาชีวิตเสีย

ไป ทำให้นอนไม่เป็นเวลา


4. Medications: การใช้ยานอนหลับ ยาลดน้ำมูก หรือยาประเภทที่ออก

ฤทธิ์กดประสาท


5. นอนไม่หลับจากโรค Medical and Physical Conditions: หากคุณมี

โรคบางโรคก็อาจจะทำให้คุณนอนไม่หลับ เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจวาย

โรคภูมิแพ้ โรคสมองเสื่อม Alzheimer โรคparkinson โรคคอพอกเป็นพิษ


6. ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน: ฮอร์โมน progesteron ในผู้หญิง

จะทำให้ง่วงนอนในช่วงไข่ตก แต่พอช่วงใกล้ประจำเดือน ฮอร์โมนนี้จะน้อย

ลง ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ การตั้งครรภ์ระยะแรกและระยะใกล้

คลอดจะมีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

ช่วงแรกของหญิงวัยทองก็มีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน


7. นอนไม่หลับจากการเปลี่ยนเวลานอน (Delayed Sleep-Phase

Syndrome) : เมื่อถึงเวลานอนแต่ไม่ได้นอน ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน




...นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริมอาการนอนไม่หลับ (Perpetuating

Factors) ดังนี้...



• Psychophysiological Insomnia เกิดจากนอนก่อนเวลานอนแล้วนอน

ไม่หลับ เรียกว่า Advanced sleep phase Syndrome ทำให้คนผู้นั้น

พยายามที่จะนอน กระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา ไม่ผ่อนคลาย

"จนกลายเป็นความเครียด" ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะ ชีพขจรเร็ว ตื่นง่าย

อุณหภูมิจะสูงกว่าปกติ


• นอนไม่หลับจากสารบางชนิด เช่นกาแฟ สุรา การดื่มกาแฟหรือสุรา

ตอนกลางวันถึงกลางคืนอาจจะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน การดื่ม

สุราเล็กน้อยก่อนนอนจะช่วยลดความเครียดทำให้หลับดีขึ้น แต่ถ้าหากดื่ม

มากจะทำให้หลับไม่นานตื่นง่าย ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ในช่วงที่อดสุรา

ก็จะมีปัญหาหลับยาก ผู้ที่สูบบุหรี่ก็เช่นเดียวกัน ปกติจะนอน 3-4 ชั่วโมง

แล้วตื่นเนื่องจากระดับ nicotin ลดลง


• นอนไม่หลับเนื่องจากระดับ melatonin ลดลง: ระดับ melatonin จะมีมาก

ในเด็กและลดลงในผู้ใหญ่หลังอายุ 60 ปีจะมีน้อยมาก


• นอนไม่หลับเพราะยังมีแสงสว่างอยู่: แสงจะกระตุ้นให้ตื่นแม้ว่าจะหรี่แสง

แล้วก็ตาม


• นอนไม่หลับในวัยเด็ก: พ่อแม่ที่จัดให้ลูกเข้านอนไม่เป็นเวลา จะทำให้เด็ก

พลอยนอนไม่หลับในตอนโตไปด้วย


• การออกกำลังกายตอนใกล้เข้านอน และการทำงานที่เครียดก่อนนอน


• การนอนและตื่นไม่เป็นเวลา (จำได้มั้ยคะว่า "นาฬิกาชีวภาพ" ในร่างกาย

ของเราจะรวนได้)


• สิ่งแวดล้อมในห้องนอนไม่ดี เช่น ร้อนหรือหนาวเกินไป แสงจ้าเกินไป

เสียงดังเกินไป รวมทั้งลักษณะการนอนของคนใกล้ชิด เช่น นอนดิ้น

นอนกรน เป็นต้น






นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำจาก ข่าวสารกรมสุขภาพจิต ISSN 0125-6475

ในเรื่องอาการนอนไม่หลับอีกด้วยว่าพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ในทางจิตวิทยาอธิบายได้ว่า ผู้หญิงมีเรื่องคิดวิตกกังวลมากกว่าผู้ชาย โดย

แบ่งอาการนอนไม่หลับออกเป็น 3 ลักษณะตามสาเหตุ ดังนี้


1. นอนไม่หลับชั่วคราว (Transient insomnia) มักพบในช่วงที่มีการเปลี่ยน

แปลงชีวิตประจำวัน หรือสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางไปต่าง

ประเทศ เพราะร่างกายจะขาดสมดุลจากการปรับเปลี่ยนกะทันหัน


2. นอนไม่หลับระยะสั้น (Short-term insomnia) มักเป็นแค่ 2-3 วัน จนถึง

3 สัปดาห์ พบในภาวะเครียด วิตกกังวล เช่น ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด หรือคนที่สูญ

เสียบุคคลอันเป็นที่รัก


3. นอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นเดือนหรือเป็นปี (Long-term insomnia)

อาจเป็นผลจากการใช้ยานอนหลับ การเจ็บป่วยเรื้อรัง



ผลการวิจัยเกี่ยวกับผลเสียของการนอนไม่หลับ จากมหาวิทยาลัยมหิดล

ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุบนท้องถนนที่นอกเหนือจากการเมาแล้ว

พบว่า 20% เกิดจากการหลับใน การที่อดนอนมาก ๆ แล้วดื่มเหล้าเพียงแค่

1 แก้ว มีผลเท่ากับการดื่มเหล้าถึง 5 แก้วจนเมาเลยทีเดียว เพราะการนอน

ไม่พอทำให้สมองเบลอ ประสิทธิภาพในการคิด ตัดสินใจลดลง



...นอนไม่หลับมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากกว่าที่คิด มาลองสำรวจ

สุขอนามัยการนอนกันดูซิว่า ท่านมีสุขอนามัย ด้านใดที่ต้องปรับปรุงบ้าง...


* ตื่นและนอนไม่เป็นเวลา

* คืนวันศุกร์ ขอเที่ยวสนุกให้เต็มที่ แล้วควรชดเชยคืนวันเสาร์

* งีบหลับในช่วงกลางวัน

* ดื่มกาแฟ/สูบบุหรี่ หลังเที่ยงวันไปแล้ว

* รับประทานอาหารมื้อใหญ่ ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มมากๆ ก่อนเข้านอน 2 ชม.

* นำปัญหาต่าง ๆ มาทบทวน ขบคิดก่อนเข้านอน

* ซื้อยานอนหลับมารับประทานเป็นประจำ


ผลการสำรวจ หากพบว่า ท่านมีพฤติกรรมข้อหนึ่งข้อใดในเจ็ดข้อแสดงว่า

สุขอนามัยการนอนของท่านยังไม่ถูกต้อง รีบปรับปรุงด่วนเลย ก่อนที่จะเป็น

สาเหตุของการเกิดโรคยอดฮิต “นอนไม่หลับ”



...ลองสังเกตกันดูนะคะว่า เรามีพฤติกรรมเหล่านี้

ซึ่งทำให้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนอนไม่หลับหรือไม่ และมีปัจจัยเสริมอื่นๆ ที่

สามารถก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับด้วยหรือเปล่า ถ้าคำตอบคือ "ใช่" ก็

ต้องรีบหาทางแก้ไขและปรับปรุงโดยด่วน เพราโรคนอนไม่หลับที่ส่งผลให้

ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอนั้นไม่เพียงแต่จะทำให้เรามีสมาธิสั้น

เกิดโรคต่างๆ นานา และอุบัติเหตุนับไม่ถ้วนตามที่บอกไปแล้ว แต่ยังอาจส่ง

ผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเรา คือทำให้เกิดความเครียดสะสม ก่อตัวเป็น

อารมณ์ขุ่นมัว แล้วก็อาจทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อคนรอบข้างโดย

ไม่รู้ตัวได้นะจ๊ะ...
Create Date : 24 เมษายน 2551
Last Update : 25 เมษายน 2551 10:41:14 น. 2 comments
Counter : 739 Pageviews.

 
www.hp-fullbody.com...คำตอบของคนรักสุขภาพ ขอบคุณครับ


โดย: ณัฐวุฒิ IP: 125.24.156.174 วันที่: 25 เมษายน 2551 เวลา:22:38:00 น.  

 
ขอบคุณครับ ตอนนี้เป็นโรคนอนยากตื่นง่ายเหมือนกันครับ ทรมานมากๆ


โดย: nanashi IP: 58.8.137.101 วันที่: 7 มิถุนายน 2551 เวลา:21:29:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

cadeau
Location :
Tasmania Australia

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




Friends' blogs
[Add cadeau's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.