Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
8 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 
การนำอากาศยานไร้นักบินมาใช้ประโยชน์สำหรับกองทัพไทย

Unmanned Aerial Vehicle (UAV) คือ อากาศยานที่ควบคุมการบินและควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยระบบการควบคุมระยะไกล (Remote Control) โดยไม่ต้องมีนักบินนั่งไปกับอากาศยาน เมื่อไม่ต้องมีคนนั่งไปกับอากาศยาน จะเกิดผลดีในด้านต่าง ๆ หลายประการ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความปลอดภัยต่อกำลังพล จากความสำเร็จในการนำ UAV มาใช้ในการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐอเมริกาใน “สงครามอ่าว” (Gulf War) และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพใน Bosnia และ Kosovo รวมทั้งการใช้ UAV ในการปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล ทำให้ทุกประเทศในโลกเกิดการตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้พยายามเร่งรัดการพัฒนาระบบ UAV ของตน ประเทศโลกที่สามและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เช่น อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน อิหร่านและตุรกี ก็ได้มีโครงการวิจัยเพื่อผลิต UAV เพื่อนำมาใช้งานทางทหารในกองทัพของตนและเพื่อนำไปสู่การส่งออกในอนาคตด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกาหลีใต้ มีการตื่นตัวมาก บริษัทที่มีเงินทุนและมีสายการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว เช่น บริษัท Hyundai บริษัท Daewoo และ บริษัท Samsung ได้ลงทุนในการพัฒนา UAV เป็นเงินจำนวนมาก โดยประเทศต่าง ๆ ได้พิจารณาใช้ UAV ในภารกิจต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

๑. ภารกิจเป้าอากาศ

๒. ภารกิจกามิกาเซ่

๓. ภารกิจสงครามอิเล็กทรอนิกส์

๔. ภารกิจชี้เป้าหมายให้ปืนใหญ่และจรวด

๕. ภารกิจลาดตระเวนทางอากาศ

กองทัพไทยเริ่มมีแนวความคิดที่จะนำอากาศยานไร้นักบินมาใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยจัดทำโครงการ Remote Pilot Vehicle (RPV) เพื่อจัดหา RPV จำนวน ๑ ระบบ วงเงินประมาณ ๘๐ ล้านบาท จากการศึกษาการพัฒนา UAV ของประเทศต่างๆ ในและการวิเคราะห์หลักนิยมในการใช้ UAV ทำให้สามารถกำหนดหลักนิยมในการใช้งาน ได้ดังต่อไปนี้

๑. ใช้ในการปรับการยิงปืนใหญ่ (Artillery Adjustment)

๒. ใช้ในการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ (Reconnaissance and Surveillance)

๓. ใช้ในการค้นหาและกู้ภัย (Search and Rescue)

๔. ใช้ในการรวบรวมข่าวสาร (Information Gathering)

๕. ใช้ในภารกิจอื่น ๆ (Others) เช่น การสังเกตการณ์ไฟป่า การตรวจการจราจร การสำรวจระบบสายส่งไฟฟ้าและระบบท่อ การตรวจสภาวะสิ่งแวดล้อม การเฝ้าตรวจทางอุตุนิยม ฯลฯ

แนวทางในการนำ UAV มาใช้ประโยชน์ในกองทัพไทย
สำหรับกองทัพไทยนั้น การนำ UAV มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามประสิทธิภาพที่มีอยู่ โดยการนำเทคโนโลยีภายในประเทศมาประสมประสานกับหลักนิยมทางการทหาร จึงควรที่จะได้พิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้

๑. การจัดหา UAV หรือยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ควรส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถไปศึกษาเรียนรู้ระบบอย่างน้อยที่สุด ๑ ปี ณ ประเทศผู้ผลิต เพื่อให้ทราบข้อมูลอย่างน้อยที่สุดในเรื่องต่อไปนี้คือ
ก. ภารกิจที่จะนำมาใช้ แนวทางการใช้งาน
ข. จัดหา UAV เพิ่มเติมเพื่อทดแทน บ.ลาดตระเวนที่ยังขาดจำนวนอีก ๑ ฝูงบิน ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า ทอ.ยังขาด บ.ลาดตระเวน ซึ่งจำเป็นต้องบรรจุกำลังอีกอย่างน้อย ๑ ฝูงบิน หรือ ๑๗ ลำ ดังนั้นการพิจารณาจัดหา UAV จำเป็นจะต้องจัดหาไม่น้อยกว่า ๒๐ ลำเพื่อการปฏิบัติภารกิจและการหมุนเวียนซ่อมบำรุง
ค. ระบบการส่งกำลังและซ่อมบำรุงของยุทโธปกรณ์นั้น
ง. การนำมาประยุกต์ใช้ภายในกองทัพ
จ. แนวทางการจัดหน่วยรองรับ, การจัดเจ้าหน้าที่เข้ารับการศึกษา
ฉ. ในกรณีมิใช่เป็นยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ ควรศึกษาคู่มือหลักนิยมการใช้ เพื่อนำมาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากหลักนิยมที่แตกต่างกันจะทำให้การออกแบบและวีใช้งานของยุทโธปกรณ์มีความแตกต่างกันด้วย
ช. การจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

๒. การจัดหาระบบ UAV ควรเป็นการจัดหาครบระบบ ไม่ควรจัดหาโดยพิจารณางบประมาณที่มีอยู่เป็นหลัก เพราะจะทำให้มีข้อขัดข้อง เมื่อนำมาใช้งานจริง โดยเฉพาะการพิจารณาตัดงบประมาณจากรายการชิ้นส่วนอะไหล่

๓. ควรมีการวางแผนทั้งระยะสั้น และระยะยาวไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะแผนระยะยาวเพื่อความสอดคล้องกับระบบงบประมาณ ทั้งนี้เนื่องจากระบบ UAV มีความจำเป็นต่อการพัฒนากองทัพในอนาคต การเตรียมการฝึกเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ให้สามารถเป็นครูฝึกสอนในการขยายผลเป็นเรื่องจำเป็น เพราะการจ้างครูฝึกสอนผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมีราคาแพง

๔. เนื่องจากระบบ UAV มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา เห็นได้จากการพัฒนาระบบกล้องให้มีกำลังขยายสูงขึ้น ทำให้ภาพมีความคมชัดเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการตีความ ระยะการกวาดจับภาพไกลถึง ๗๕ กม.ทางเฉียง หรือการพัฒนาให้ UAV มีขนาดกำลังเครื่องยนต์เพิ่มมากขึ้น เพื่อสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้น บินได้นาน ระยะปฏิบัติการไกล ตลอดจนการพัฒนาให้ UAV สามารถบินขึ้นลงได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้นักบิน สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามสถานการณ์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางพัฒนาระบบ UAV ที่มีการใช้ประจำการอยู่

ในด้านการลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศโดยใช้ UAV นั้นควรทำการปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่จำเป็นดังต่อไปนี้

๑. ปรับปรุงกล้องถ่ายภาพทางอากาศที่มีอยู่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการถ่ายภาพให้ได้ช่วงเวลานานขึ้นและในสภาพอากาศที่มีหมอกแดดมากได้ทำให้เกิดความอ่อนตัวในการปฏิบัติมากขึ้น

๒. การพัฒนาขีดความสามารถของการลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศอย่างเป็นระบบดังนี้
ก. นำระบบการถ่ายภาพด้วยเรดาร์ Synthetic Aperture Radar มาใช้งานเพื่อเสริมขีดความสามารถให้ถ่ายภาพได้ทั้งในเวลากลางวัน กลางคืน และเกือบทุกสภาพอากาศ ที่ระบบถ่ายภาพแบบ Optic และ Thermographic ที่มีอยู่ไม่สามารถใช้งานได้ ครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องและกว้างขวางให้ข้อมูลได้เกือบทันที (Near Real Time) ตลอดจนให้ภาพในลักษณะอื่นที่แตกต่างไปจากภาพถ่ายจากระบบอื่น ๆ ทำให้เกิดความอ่อนตัวในการปฏิบัติมากขึ้น
ข. ศึกษาและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพทางอากาศ และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ระบบการถ่ายภาพทางอากาศที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
ค. ร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หรือ องค์การต่างๆ ภายในประเทศ ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ รวมทั้งพิจารณาใช้ประโยชน์จากดาวเทียมประเภทต่างๆ ที่ไทยมีอยู่ให้สอดคล้องกันทางทางด้านพลเรือนและการทหาร

พ.อ.ดร.อนุชาติ บุนนาค
๘ พ.ค.๕๑



Create Date : 08 พฤษภาคม 2551
Last Update : 8 พฤษภาคม 2551 8:48:56 น. 1 comments
Counter : 1151 Pageviews.

 
เรื่องของคอมพิวเตอร์ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางโดบเฉพาะเมื่อต้องการชัยชนะเท่านั้น


โดย: ศรายุทธ ชำนาญเวช IP: 203.155.54.248 วันที่: 25 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:10:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

anuchartbunnag
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add anuchartbunnag's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.