Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
25 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
หมี่กรอบ กรอบเค็ม สร้างงานด้วยการอนุรักษ์



หมี่กรอบ อาหารว่างแบบไทยๆ คอลัมน์ช่องทางทำกิน เคยนำเสนอไปแล้ว
แต่วันนี้จะขอนำเสนออีกสูตรหนึ่ง ควบกับการทำขนมกรอบเค็มที่นับวันจะหาทานได้ยากเต็มที

เป็นสูตรของกลุ่มอนุรักษ์ขนมไทย เขตลาดกระบัง
โดยเป็นความร่วมมือระหว่างการเคหะร่มเกล้า และเขตลาดกระบัง
เนื่องจากเห็นว่าหมี่กรอบเป็นของดีของชุมชนที่ควรสนับสนุน ควรจะอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย

ปวีณา อุไรรัตน์ สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ขนมไทย บอกว่า ขณะนี้มีสมาชิกกลุ่ม 10 คน
แต่ละคนจะมีหน้าที่ต่างกันไป บางคนอยู่ฝ่ายผลิต
บางคนเป็นฝ่ายประสานนำสินค้าออกไปขายตามงานต่าง ๆ

สำหรับหมี่กรอบและกรอบเค็มที่จะเผยสูตรกันวันนี้ ปวีณาบอกว่า เป็นสูตรคุณยายสูตรดั้งเดิม
ซึ่งตนได้เรียนรู้วิธีทำ-เคล็ดลับจากการเป็นลูกมือช่วยในครัวมาตลอด
จนเมื่อ 3 ปีที่แล้วได้ทำขายเองที่ตลาดนัดธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่
ปรากฏว่ามีลูกค้าประจำติดอกติดใจกันมาก

มาดูกันสิว่า หมี่กรอบสูตรโบราณนี้มีวิธีทำอย่างไร...???
เริ่มต้นที่ น้ำคลุกหมี่กรอบ ซึ่งต้องทำเตรียมไว้อันดับแรก
สามารถทำได้คราวละมากๆ และเก็บไว้ได้นานนับเดือนทีเดียว

วิธีทำก็เตรียม
น้ำตาลปี๊บ 1/2 กิโลกรัม
มะขามเปียกข้น 1 ถ้วย
หอมแดงเจียว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 300 กรัม
และเกลืออีก เล็กน้อย

ตั้งกระทะ ใช้ไฟร้อนปานกลาง เทน้ำตาลปี๊บและน้ำมะขามเปียกลงไป คนให้เข้ากัน
รอจนน้ำตาลปี๊บร้อนละลายจนเป็นน้ำแล้วค่อยๆ ใส่หอมเจียวลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายและเกลืออีกเล็กน้อย
เคี่ยวไปเรื่อยๆ จนน้ำคลุกเหนียวเป็นตังเม ถือเป็นอันใช้ได้แล้ว

การเคี่ยวน้ำคลุกหมี่กรอบนั้นจะต้องใช้ไฟแรงปานกลาง เคี่ยวไปเรื่อยๆ อย่าหยุดมือ เพราะอาจจะไหม้ได้
นอกจากนี้ ห้ามใส่น้ำลงไปเด็ดขาด มิฉะนั้นน้ำคลุกหมี่กรอบนั้นจะเละทันที ใช้ไม่ได้เลย
หากใครที่ต้องการเพิ่มสีสันหมี่กรอบให้ออกสีชมพู ก็ใส่ซอสมะเขือเทศลงไปคลุกเคล้าได้

ขั้นตอนการทำหมี่กรอบ
ตั้งกระทะ เทน้ำมันท่วม ใช้ไฟแรงจัด รอจนน้ำมันเดือดจัด ค่อยๆ ใส่หมี่ขาวลงไปทอด
โดยค่อยๆ ทอดทีละพับ ไม่ต้องทอดนาน พลิกหน้าพลิกหลัง ให้หมี่ขาวสุกพอเหลืองก็เอาขึ้นได้

การคลุกหมี่กรอบ
ตักน้ำคลุกหมี่กรอบที่อยู่ในกระทะออกก่อนใส่หมี่กรอบลงไปให้หมด
จากนั้นจึงค่อยๆ เทน้ำคลุกหมี่กรอบราดลงไปบนหมี่กรอบ ในขณะเดียวกันก็ต้องรีบช่วยกันคลุกทันที
และคลุกไปเรื่อยๆ จนกว่าหมี่และน้ำจะเข้ากัน ขั้นตอนนี้ถ้าทำเยอะๆ ควรมีคนทำ 2 คนขึ้นไป
ต้องทำระหว่างที่หมี่กรอบและน้ำคลุกยังร้อนอยู่ทั้งคู่ เพราะถ้าเย็นคลุกไม่ทันหมี่จะจับตัวเป็นก้อนทันที

ในขณะที่คลุกหมี่กรอบนั้น ให้โรยโปรตีนเกษตรและเม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วลงไปด้วย
รวมทั้งผิวส้มซ่า เพื่อเป็นการเพิ่มสีสันและรสชาติให้หมี่กรอบ

เสร็จแล้วก็บรรจุใส่กล่องพลาสติกทรงกลม ปริมาณ 180 กรัม (ขายกล่องละ 35 บาท)
ซีลปิดปากให้เรียบร้อย ซึ่งหมี่กรอบนี้จะเก็บไว้ได้นานเกือบ 2 สัปดาห์
หากเก็บไว้ในตู้เย็นจะเก็บได้นานนับเดือนทีเดียว

ถ้าจะให้ครบเครื่อง ก็ควรมี ผัก-เครื่องเคียง ได้แก่ ถั่วงอก,ใบกุยช่าย,ไข่เจียวฝอย
ซึ่งทางกลุ่มอนุรักษ์ขนมไทยเขาทำแบบบรรจุจึงไม่มี
แต่ใครจะเพิ่มให้ครบเครื่องก็น่าจะเรียกลูกค้าได้ดีขึ้น

หมี่กรอบ 1 กิโลกรัม มีต้นทุนประมาณ 120 บาท ขายหมดจะได้ประมาณ 200 บาท
หักลบต้นทุนต่างๆ แล้ว จะเหลือกำไรประมาณ 80 บาท

นอกจากหมี่กรอบ ซึ่งเป็นรายได้หลักของกลุ่มนี้แล้ว
ก็อย่างที่บอกแต่ต้นว่าจะมีสูตรขนมกรอบเค็มแถมด้วย
ซึ่งก็เป็นอีก 1 สินค้าที่สร้างรายได้ที่ดีให้กลุ่ม เป็นสูตรคุณยายอีกเช่นกัน

เริ่มจากแป้ง
เตรียมแป้งสาลี และแป้งข้าวเจ้าในอัตราส่วนแป้งสาลี 3 ส่วนต่อแป้งข้าวเจ้า 1 ส่วน
ร่อนแป้งทั้งสองให้เข้ากัน และนำเผือก 2 กิโลกรัมไปนึ่งให้สุก จากนั้นนำเผือกที่นึ่งสุกแล้ว
ไปโม่กับน้ำปูนใสให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำแป้งและเผือกมานวดให้เข้ากัน

การนวดนั้นต้องออกแรงเยอะหน่อย นวดไปเรื่อยๆ อย่าหยุดมือ
จนกว่าแป้งและเผือกจะเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งอาจจะใช้เวลานานนับชั่วโมง
จากนั้นพักแป้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง คลุมพลาสติกหรือผ้าขาวบางไว้

ขั้นต่อไปก็รีดแป้ง ให้แป้งบานออก ตัดแผ่นแป้งออกเป็นชิ้นๆ ตามยาว
จากนั้นตัดแป้งเป็นชิ้นๆ รูปข้าวหลามตัด ขนาด 2X2 นิ้ว
แล้วนำไปทอดในกระทะที่น้ำมันท่วมและร้อนจัด ทอดจนเหลืองก็เป็นอันใช้ได้

ต่อไปทำน้ำกรอบเค็ม
โขลกรากผักชี และพริกไทยเม็ดให้เข้ากัน จากนั้นนำลงไปผัดน้ำมันจนเข้ากัน
ใส่เกลือเล็กน้อย ใส่น้ำตาลปี๊บลงไป เคี่ยวให้เหนียวเป็นตังเม
และใส่ผักชีซอยลงไปด้วยเพื่อเพิ่มสีสันให้สวยงาม
แล้วนำไปราดลงบนตัวแป้ง คลุกเคล้าให้ทั่ว เป็นอันเสร็จ ขายในราคาขีดละ 25 บาท

ใครอยากไปขอดูขั้นตอนการทำหรือต้องการอุดหนุนหมี่กรอบ-กรอบเค็ม
สูตรโบราณของกลุ่มอนุรักษ์ขนมไทย ลาดกระบัง ลองติดต่อไปที่ โทร.0-2813-2724 กด 1

สมาชิกกลุ่มฯ ทุกคนยินดีต้อนรับค่ะ.....!!!

ทุนอุปกรณ์ ไม่เกิน 5,000 บาททุนหมุนเวียน 120 บาท/1 กก.
รายได้ 200 บาท/1 กก.แรงงาน 1-2 คน
ตลาด ตลาดนัด, ย่านชุมชน, ส่งร้านค้า
สิ่งที่ต้องมี ความชำนาญในการทำ
จุดน่าสนใจ เป็นอาหารว่างไทย ๆ ขายง่าย
หมายเหตุ: อุปกรณ์อาจใช้ที่มีอยู่แล้วในครัวเรือนได้


สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล : รายงาน
ข้อมูลโดย : //www.dailynews.co.th



Create Date : 25 ธันวาคม 2551
Last Update : 20 มีนาคม 2554 0:03:43 น. 3 comments
Counter : 5580 Pageviews.

 
ขอบคุณมากๆสำหรับกรรมวิธีในการทำ


โดย: เนตยา IP: 125.26.166.173 วันที่: 27 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:49:00 น.  

 
ขอบคุณนะคะพี่น้อง


โดย: น้องสา IP: 125.24.220.7 วันที่: 12 สิงหาคม 2553 เวลา:10:12:51 น.  

 
ขอบคุณมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก


โดย: ยน IP: 125.24.220.7 วันที่: 12 สิงหาคม 2553 เวลา:10:15:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.