Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
3 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
ทำบุญแล้วต้องเขียนชื่อผู้ที่เราอยากอุทิศหรือไม่

ทำบุญแล้วต้องเขียนชื่อผู้ที่เราอยากอุทิศหรือไม่


ถาม –
มีหลายแห่งบอกว่า ถ้าทำบุญแล้วเขียนชื่อคนที่เราอยากให้เขาได้บุญด้วย อย่างนี้เขาจะพลอยได้รับจริงหรือไม่คะ?
และถ้าเรามีความสัมพันธ์ไม่ดีกับใคร จะทำให้สัมพันธภาพดีขึ้นได้จริงด้วยวิธีนี้ไหม?



จริงๆ แล้วอาจเป็นรูปแบบอุบาย การแผ่เมตตาอย่างหนึ่งน่ะครับ
ตอนคุณลงมือเขียนชื่อใคร ด้วยความอยากให้เขาได้บุญ
ตอนนั้นเกิดกระแสเมตตาขึ้นมากกว่าคิดๆ นึกๆ ปกติแน่นอน
และหากคุณทำบุญบ่อยๆ เขียนชื่อเขาบ่อยๆ ใจก็ย่อมเป็นเมตตาเต็มรอบมากขึ้นๆ
ละลายหมอกควันความพยาบาทให้บางลงเรื่อยๆ

ถ้าแผ่เมตตาถึงใครออกมาจากใจบริสุทธิ์จริงเต็มๆ เมื่อเจอกันอีกครั้ง กระแสเมตตาของเราจะทำงานทันที
โดยอยู่ในรูปพลังไร้ตนที่ดลใจให้เขาพลอยรู้สึกดีตาม จากที่มีเรื่องเคืองกันก็ไม่อยากเคืองกันต่อ
จากที่เต็มไปด้วยทิฐิมานะก็ลดทิฐิมานะ อยากพูดอยากเจรจากันมากขึ้น

สรุปคือการทำบุญแล้วเขียนชื่ออุทิศกุศล อาจช่วยให้สัมพันธภาพระหว่างเรากับบุคคลอันเป็นเป้าหมายดีขึ้นจริง
แต่คุณต้องเข้าใจ จับเหตุจับผลให้ถูก
คือไม่ใช่ว่าดีขึ้นด้วยการเขียนชื่อ แต่ดีขึ้นด้วยการเจริญเมตตาต่อผู้เป็นอริต่างหาก



ถาม –
รู้จักอยู่คนหนึ่ง เขาชอบทำบุญอยู่เรื่อยๆ แต่ใจกลับไม่เชื่อบุญบาป ไม่เชื่อว่ากรรมมีผล
สรุปคือแม้แต่ทานที่เขาให้ไป เขาก็ไม่เชื่อว่าจะสนองคุณตกรางวัลเขาเมื่อไหร่ ที่ไหน
อย่างนี้เขาจะได้บุญหรือรับผลบุญในอนาคตไหมครับ?



พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าทำเหตุถูก แม้ไม่ต้องการผล ก็ต้องได้รับผลอยู่วันยังค่ำ
อย่างเช่นการให้ก็คือการให้ เขาได้กระทำเหตุคือการให้ไว้แล้ว ก็ย่อมได้รับผลเป็นการได้ในภายหลัง
ส่วนจะได้อย่างไพบูลย์หรือไม่ ต้องดูองค์ประกอบทางใจหลายๆ ข้อ
ไม่ใช่แค่เชื่อ หรือไม่เชื่อวิบากกรรมแล้วจะได้รับรางวัลเพิ่มหรือลดฮวบฮาบ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเขาให้ทานด้วยความตั้งใจสงเคราะห์ผู้รับอย่างแท้จริง
แม้เขาเป็นผู้ไม่เชื่อเรื่องกรรมวิบากเลย
ในกาลที่กรรมเผล็ดผล เขาก็จะเป็นผู้มีความสามารถซื้อหาสิ่งของน่าชอบใจ มาบำรุงสุขให้ตัวเองอย่างเหลือล้น
และเขาย่อมเป็นที่น่าต้อนรับ เมื่อพลาดพลั้งต้องตกอับย่อมมีผู้เห็นแล้วสงสารอยากช่วยเหลือ เป็นต้น

ตรงข้าม แม้ปากบอกเชื่อเรื่องกรรมวิบาก แต่หากองค์ประกอบของการให้ทานบกพร่อง เช่น
ตั้งหน้าตั้งตาทำบุญเพียงเพราะหวังได้ลาภอามิสสนองคืน
อย่างนี้ในกาลที่กรรมเผล็ดผล เขาก็จะได้รับผลเพียงน้อยเท่านั้น
และอาจจะเป็นพวกโลภมาก ใครเห็นก็นึกหมั่นไส้ไม่อยากช่วยเหลือแม้กำลังลำบากอยู่แท้ๆ

มีบางกรณีเหมือนกันครับ ที่ไม่เชื่อกรรมวิบากแล้วทำทาน ก็ต้องใช้กำลังใจอย่างใหญ่หลวง เช่น
เศรษฐีบางคน สละทรัพย์ของตนให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนเกือบหมดเกลี้ยง
โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ในชาตินี้ แล้วก็ไม่ได้มาดหมายว่ามีชาติหน้า ก็หมายความว่า
เขาเล็งประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ให้ในความหมายของการให้อย่างถ่องแท้
ผลย่อมใหญ่ครอบโลกตามกำลังของจิตไปด้วย
หมายความว่าเกิดใหม่ในจังหวะที่กรรมเผล็ดผล ย่อมไม่มีอะไรในโลกที่เขาอยากได้แล้วเกินกำลังซื้อหา

อย่างไรก็ตาม ต้องกล่าวตามสัจจะครับ ว่าถ้าองค์ประกอบของการให้ทานครบพร้อม
คือคิดสงเคราะห์ด้วย เชื่อในผลของทานด้วย ก็ย่อมยังจิตให้เกิดศรัทธาปสาทะ ตั้งมั่นเป็นโสมนัสได้ยิ่งใหญ่ที่สุด


จากส่วนหนึ่งของ หนังสือตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เล่ม ๘
โดย ดังตฤณ
ที่มา : //dungtrin.com



Create Date : 03 มิถุนายน 2553
Last Update : 3 มิถุนายน 2553 22:13:30 น. 0 comments
Counter : 1089 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.