Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
4 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
อยู่เพื่อพัฒนากรรมไม่ใช่อยู่เพื่อใช้กรรม



ถาม : มีคำเก่าได้ยินมานานแล้วประโยคหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับกรรมเก่า
คือที่พูด "คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า" ถ้าเชื่ออย่างนี้จะถูกหรือผิดอย่างไร?


พระธรรมปิฎก : ความเชื่ออย่างนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา และต้องระวังจะเป็นลัทธินิครนถ์ ที่พูดกันมาอย่างนั้น
ความจริงก็คงประสงค์ดี คือมุ่งว่าถ้าเจอเรื่องร้ายก็อย่าไปซัดทอดคนอื่น
และอย่าไปทำอะไรที่ชั่วร้ายให้เพิ่มมากขึ้นด้วยความโกรธแค้น เป็นต้น
แต่ยังไม่ถูกหลักพระพุทธศาสนา และจะมีผลเสียมาก

ถาม : ที่ว่าเป็นลัทธินิครนถ์ เป็นอย่างไร?

พระธรรมปิฎก : ลัทธินิครนถ์ ซึ่งก็มีผู้นับถือในสมัยพุทธกาลจนกระทั่งในอินเดียทุกวัน
เป็นลัทธิกรรมเก่าโดยตรงเขาสอนว่า คนเราจะได้สุขได้ทุกข์อย่างไรก็เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน
และเขาสอนต่อไปว่าไม่ให้ทำการใหม่ และทำกรรมเก่าให้หมดสิ้นไปด้วยการบำเพ็ญตบะ จึงจะสิ้นกรรมสิ้นทุกข์
นักบวชลัทธินี้จึงบำเพ็ญตบะทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ (ดูเทวทหสูตร,ม.อุ.๑๔/๑/๑)
คนที่พูดว่า เราอยู่ไปเพื่อใช้กรรมเก่านั้น ก็คล้ายกับพวกนิครนถ์นี่แหละ
คิดว่าเมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปๆ กรรมเก่าก็คงจะหมด ต่างแต่ว่าพวกนิครนถ์ไม่รอให้กรรมเก่าหมดไปเอง
แต่เขาบำเพ็ญตบะเพื่อทำกรรมเก่าให้หมดไปด้วยความเพียรพยายามของเขาด้วย


ถาม : เมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปกรรมเก่าก็น่าจะหมดไปเองไม่ใช่หรือ?

พระธรรมปิฎก : ไม่หมดหรอก จะชดใช้กรรมเก่าไปเท่าไร ก็ไม่มีทางหมดไปได้

ถาม : ทำไมล่ะ?

พระธรรมปิฎก : จะหมดไปได้อย่างไรล่ะ เหตุผลง่ายๆ คือ
๑. คนเรายังมีชีวิต ก็คือเป็นอยู่ ต้องกินอยู่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำโน่นทำนี่ เมื่อยังไม่ตายก็ไม่ได้อยู่นิ่งๆ
๒. คนเหล่านี้เป็นมนุษย์ปุถุชน ก็มีโลภ โกรธ หลง โดยเฉพาะความหลงหรือโมหะ
นี้มีอยู่ประจำในใจตลอดเวลาเพราะยังไม่ได้รู้เข้าใจความจริงถึงสัจธรรม เมื่อรวมทั้งสองข้อนี้ก็คือ
คนที่อยู่เพื่อใช้กรรมนั้นเขาก็ทำกรรมใหม่อยู่ตลอดเวลาทั้งที่ไม่รู้ตัว แม้จะไม่เป็นบาป กรรมที่ร้ายแรง
แต่ก็เป็นการกระทำที่ประกอบด้วยโมหะเช่นกรรมในรูปต่างๆ ของความประมาท ปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อย
ถ้ามองลึกเข้าไปในใจ โลภะ โทสะ โมหะ ก็โผล่ขึ้นมาในใจของเขาอยู่เรื่อยๆ ในลักษณะต่างๆ เช่น
เศร้า ขุ่นมัว กังวลอยากโน่นอยากนี่ หงุดหงิด เหงา เบื่อหน่าย กังวล คับข้อง ฯลฯ
อย่างนี้ไม่มีทางสิ้นกรรม ชดใช้ไปเท่าไรก็ไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่เพิ่มกรรม

ถาม : แล้วทำอย่างไรจะหมดกรรม?

พระธรรมปิฎก : การที่จะหมดกรรม ก็คือ ไม่ทำกรรมชั่ว ทำกรรมดี และทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น
คือแม้แต่กรรมดีก็เปลี่ยนให้ดีขึ้นจากระดับหนึ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง พูดเป็นภาษาพระว่า เปลี่ยนจากคำอกุศลกรรม
เป็นทำกุศลกรรมและทำกุศลระดับสูงขึ้นไปจนถึงขั้นเป็นโลกุตตรกุศล ถ้าใช้ภาษาสมัยใหม่ก็พูดว่า
พัฒนากรรมให้ดียิ่งขึ้น เราก็จะมีศีล มีจิตใจ มีปัญญา ดีขึ้นๆ ในที่สุดก็จะพ้นกรรม



Create Date : 04 มีนาคม 2552
Last Update : 4 มีนาคม 2552 20:20:15 น. 1 comments
Counter : 807 Pageviews.

 
เคยไม่เห็นด้วยกับคำว่ากรรมเก่าเหมือนกันค่ะ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ถูกต้องคืออะไร

ตอนนี้เข้าใจแล้วค่ะ และจะพัฒนากรรมต่อไปเรื่อย ๆ ค่ะขอบคุณบทความนี้จริง ๆ ค่ะ


โดย: Tassanee วันที่: 18 เมษายน 2552 เวลา:23:10:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.