Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
25 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 

มานับอายุขัยของยางกันเถอะ

มานับอายุขัยของยางกันเถอะ

ความสำคัญของ "ยางรถยนต์" นั้นขอบอกว่าไม่แพ้กับชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นรถ 1 คันเลย
เพราะนอกจากจะช่วยให้รถขับเคลื่อนไปได้แล้ว
ยังช่วยในระบบการเบรกเมื่ออยู่ในถนนที่มีสภาพที่ลื่นหรือขรุขระ

ยางที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติในการช่วยให้ผู้ขับขี่มีความมั่นใจ และลดการกระแทก
ผู้ใช้รถหลายคนลืมที่จะให้ความสำคัญกับยาง แต่กลับไปเน้นที่น้ำมันหรือเครื่องยนต์
จนลืมนึกถึงความสำคัญของยาง ที่เรียกได้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย

ผลวิจัยพบว่า
เนื้อยางนั้นจะมีการยืดตัวไปมานับไม่ถ้วน ขณะที่กลิ้งตัวไปตามถนน จนกว่าจะหมดสภาพการใช้งาน
ตัวอย่างเช่น ยางขนาด 185/70 R13 หากวิ่งด้วยความเร็ว 130 กม./ชม. จะต้องหมุนถึง 20 รอบ/วินาที
นั่นแสดงว่าการออกแบบและการผลิตยางแต่ละเส้นนั้น ได้มีการนำองค์ประกอบต่างๆ
โดยเฉพาะเรื่องความทนทาน และอายุการใช้งานเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย

โดยทั่วไป อายุของยางรถยนต์ จะเริ่มตั้งแต่วันแรกที่ไปใช้งานจริงหรือติดล้อวิ่ง
ไม่ใช่จากวันเดือนปีที่ผลิตเหมือนอย่างอาหารหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ
และหากพิจารณาถึงการสิ้นสุดของการใช้งานแล้วล่ะก็ ให้พิจารณาจากความสึกหรอของดอกยาง
ซึ่งดูจากสะพานยางที่อยู่ระหว่างร่องดอกยาง ที่มีความสูงประมาณ 1.6 มิลลิเมตร

หากพบว่าดอกยางมีอัตราการสึกจนถึงระดับนี้แล้ว แสดงว่ายางเส้นนั้นหมดอายุ
และควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่เพื่อความปลอดภัย
อย่างไรก็ดี หากคุณต้องการให้การขับขี่อย่างมั่นใจ และปลอดภัยยิ่งขึ้นในสภาพการขับขี่ที่มีฝน
ขอแนะนำให้คุณเปลี่ยนยางเส้นใหม่ทุกครั้ง เมื่อตรวจสอบพบว่าการสึกหรอลึกประมาณ 3.5 มิลลิเมตร

สำหรับยางที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งานนั้น สามารถเก็บได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี
(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาจากคำแนะนำของผู้ผลิต) ก่อนนำไปติดล้อวิ่งจริง
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก จนกระทั่งผู้ขับขี่ ไม่จำเป็นที่ต้องให้ความสนใจในการตัดสินใจซื้อยาง
แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับการเลือกยางรถให้ถูกกับการใช้งาน ยี่ห้อที่ไว้ใจได้
และมีการดูแลยางรถยนต์อย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยที่แท้จริง

นอกจากนี้หากว่าต้องการยืดอายุการใช้งานของยางให้มากขึ้น เราก็มีเคล็ดลับมาให้ท่านลองทำตามดู

1. ควรตรวจสอบลมยางเป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ หรือทุกครั้งก่อนการเดินทางไกล
ให้มีความดันลมยางที่เหมาะสม (ควรทำเมื่อยางอยู่ในอุณหภูมิปกติ)
นอกจากนั้นควรตรวจสอบความดันลมยางของยางอะไหล่
และควรอ้างอิงความดันลมยางจากคู่มือของบริษัทนั้นๆ

2. ควรเปลี่ยนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางเส้นใหม่
เนื่องจากความกดดันจากแรงหนีศูนย์อาจทำให้ยางลมอ่อน ส่งผลให้ยางเกิดความเสียหายได้

3. การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เพื่อปกป้องช่วงล่าง ช่วยลดการสั่นสะเทือน
รองรับแรงกระแทกรวมถึงระบบพวงมาลัยทำให้ยางใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น

4. ลักษณะการทรงตัวของรถเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการสึกหรอของยาง
การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะช่วยไม่ให้ลมยางอ่อน เสื่อมสภาพเร็วและสึก



เก็บรักษายางอย่างไรดี ?

1. การเก็บรักษายางของคุณให้อยู่ในสภาพที่ดี พร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ
ทำความสะอาดยางด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง
แกะเอากรวดและก้อนหินต่างๆ ซึ่งอาจติดอยู่ที่ดอกยางออกเสมอ

2. การเก็บรักษาที่ดี ช่วยให้การใช้งานยางของคุณยาวนานมากยิ่งขึ้น
* หากใส่ยางเข้ากับล้อแล้ว ควรเก็บโดยการวางราบลงกับพื้น หรือหาที่แขวน
* หากยังไม่ได้ใส่ยางเข้ากับล้อ ให้เก็บยางโดยการตั้งยางไว้กับพื้น

3. ขอแนะนำให้ให้คุณเก็บรักษายางไว้ในที่เย็น ไม่ควรเก็บยางไว้ในที่ที่ถูกแสงแดดโดยตรง
เมื่อทำการเปลี่ยนยางหรือสลับยางระหว่างล้อ ควรจดจำตำแหน่งในการใส่ให้ถูกต้อง
อาทิเช่น ควรทำเครื่องหมาย FL แทนสำหรับ ยางล้อหน้าด้านซ้าย

4. ในกรณีที่คุณมีรถพ่วง หรือยานยนต์ที่มักต้องทิ้งให้จอดอยู่ในโรงรถเป็นเวลานานๆ
ขอแนะนำให้คุณเพิ่มแรงดันยางมากกว่าปกติ อย่างน้อย 7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (0.5 บาร์)


ข้อมูลจาก : //www.manager.co.th


เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
ความสำคัญของดอกยางรถยนต์
11 ข้อน่ารู้ สำหรับยางรถยนต์
สารพันการดูแลยางรถยนต์


สารบัญ รู้เรื่องรถ




 

Create Date : 25 มีนาคม 2552
2 comments
Last Update : 8 ธันวาคม 2554 18:13:02 น.
Counter : 1027 Pageviews.

 

ขอบคุณ

 

โดย: น้ำเค็ม 29 มีนาคม 2552 16:25:34 น.  

 

 

โดย: maemaow 30 พฤษภาคม 2552 15:47:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.