Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
4 มกราคม 2555
 
All Blogs
 

คุณเป็นบุคคลที่ลูกน้องเข้าถึงได้ยากหรือไม่


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
….. เคยหรือไม่ ที่คุณทราบข่าวต่างๆ รอบด้านของคุณช้ากว่าคนอื่นเสมอ

….. เคยหรือไม่ ที่คุณขอความคิดเห็นหรือข้อมูลต่างๆ จากลูกน้องหรือคนอื่น มักจะไม่ได้รับคำตอบ

….. เคยหรือไม่ ที่คุณต้องเป็นฝ่ายพูดตลอดเวลา โดยคู่สนทนาของคุณ นิ่งเฉย

….. เคยหรือไม่ ที่เดินไปทักทายใครต่อใคร เค้ามักจะหลบหน้าหรือซุบซิบกัน เมื่อคุณเดินคล้อยหลังไป

….. เคยหรือไม่ ที่ไม่มีลูกน้องหรือเพื่อนพนักงาน กล้ามาขอให้คุณช่วยทำกิจกรรมร่วมกัน

….. เคยหรือไม่ เวลามีลูกน้องหรือเพื่อนพนักงานเข้ามาพูดคุยด้วยกับคุณ จะดูเหมือนรีรอ
เพราะไม่แน่ใจในอารมณ์ของคุณ ณ ขณะนั้น

….. เคยหรือไม่ ที่พอเริ่มต้นจะปรึกษาหารือ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใดๆ กับคุณ
คุณรีบชิงพูดก่อนหรือตัดบทว่าคุณรู้เรื่องแล้ว ทำให้คู่สนทนาล้มเลิกความตั้งใจ

….. เคยหรือไม่ ที่คุณรู้เรื่องรายละเอียดของลูกน้องในแผนก/ ฝ่ายของคุณจากคนอื่น


จากตัวอย่างข้างต้นนี้ หลายคนอาจจะเคยประสบกับตัวเองมาก่อน
หรือไม่ก็ได้ฟังจากคนรอบข้างเม๊าท์กันเล่นๆ ในหมู่เพื่อนฝูงเวลาสังสรรค์กัน
หรือเมื่อต้องการปรึกษาปัญหาหัวใจ มักจะมีหัวข้อเหล่านี้ร่วมอยู่ในขบวนการแทบทุกครั้ง
แล้วตัวคุณเองได้มองเห็นความสำคัญ ของการที่จะทำตัวของคุณเองให้เข้าถึงจิตใจของพนักงานหรือไม่
คุณเองอาจจะคิดว่า ผม / ดิฉัน/ เรา พร้อมเสมอสำหรับพนักงาน
โดยเฉพาะเมื่อพวกเขามีปัญหา มีความวิตกกังวล อยากจะปรึกษา อยากจะบอก
หรือมีความคิดสร้างสรรค์ดีๆ ก็อยากจะเล่าให้ฟัง แต่หารู้ไม่ คุณมักเป็นคนสุดท้ายที่ลูกน้องนึกถึง
นั่นส่อถึงแววอันตรายที่กำลังก่อตัวขึ้นภายในแผนก/ ฝ่ายของคุณแล้วล่ะ

การทำงานในโลกปัจจุบัน คุณไม่สามารถทำงานเพียงคนเดียวหรือหน่วยงานเดียวได้
คุณต้องพบปะผู้คนรอบตัว ทั้งในองค์กรเองหรือนอกองค์กร เพื่อหาพันธมิตรในการทำงาน
ทั้งยังช่วยให้คุณสามารถ update ข้อมูลรอบตัวคุณได้ตลอดเวลา
การสร้างความสัมพันธ์ด้วยการพบปะพูดคุยกับคนรอบตัวคุณ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ควรมองข้ามไป
ถึงแม้คุณจะมีงานล้นมือก็ตาม คุณควรจัดตารางการทำงานอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมงพูดคุยกับลูกน้อง
หรือเพื่อนร่วมงานของคุณ
สารพัดเรื่องที่สามารถหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อสนทนา
พร้อมทั้งสอดแทรกข้อคิดดีๆ คำแนะนำ หรือประสบการณ์ดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง
ขอเพียงให้ทำเป็นกิจวัตร กำแพงที่อยู่รอบตัวคุณจะเริ่มทลายลงไม่นานเกินรอ
ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานของคุณจะเริ่มมองหน้าคุณด้วยความชื่นชม ไว้ใจ มีความรู้สึกที่เป็นมิตร
สิ่งที่ดีๆ เกี่ยวกับตัวคุณจะเริ่มขยับวงกว้างขึ้น ข้ามไปหน่วยงานอื่น
และเขาจะไม่ลังเลอีกต่อไปที่จะเดินเข้าไปหาคุณ เพื่อขอคำปรึกษาจากคุณ
เพราะเค้าเกิดความเชื่อมั่นในตัวคุณนั่นเอง เห็นไหมว่า ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปเลย…….

มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิด และก็แปรเปลี่ยนได้ง่ายขึ้นอยู่กับอารมณ์
ส่วนพื้นฐานด้านจิตใจของมนุษย์นั้น ชอบที่จะได้รับการเอาใจใส่ ชอบที่จะได้รับความสนใจ
มีคนเห็นความสำคัญ ได้รับการยอมรับ


ถึงแม้คุณจะมีความตั้งใจดีเพียงใด แต่ถ้าคุณไม่ได้แสดงออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด
ยากนักที่คุณจะเข้าไปนั่งในใจของลูกน้องหรือเพื่อนพนักงานได้
คุณต้องพร้อมที่จะเปิดประตูตัวเองให้กว้างออกไป เพื่อผ่อนคลายบรรยากาศแห่งการขวางกั้นในการทำงาน
ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งอาจจะมาจากผู้ช่วยของคุณเอง ทีมงานของคุณ หรือจากเพื่อนพนักงานด้วยกัน
ว่าแต่ว่า ตอนนี้ …. คุณต้องเริ่มพาตัวเองเดินออกไปพบเพื่อนพนักงานมากขึ้นแล้วล่ะ…

จากประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา ผู้เขียนเองต้องทำงานพบปะผู้คนรอบตัว
การจะให้ผู้อื่นชมชอบเรา เราต้องชมชอบผู้อื่นก่อน ต้องเป็นผู้ให้
และต้องทำให้เค้ารู้สึกได้ว่า เราพร้อมที่จะเป็นพันธมิตรที่ดีเสมอ

และเมื่อใดก็ตามที่มีการทำงานร่วมกัน ผลที่ออกมามักจะเป็น win win แทบทุกครั้ง
ผู้เขียนจะปฏิบัติต่อลูกน้องเฉกเช่นที่กล่าวมานี้อย่างสม่ำเสมอ
เพราะ “ลูกน้อง” เปรียบเสมือนลูกที่เรารัก และต้องดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิดเป็นพิเศษ
เป็นน้องที่สามารถว่ากล่าวตักเตือนเมื่อทำผิด พร้อมชมเชยให้รางวัลเมื่อทำดี
ช่วยแก้ไขปัญหา แนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติ
ในเมื่อเค้าตัดสินใจทำงานกับเรา อยู่ภายใต้ความดูแลรับผิดชอบของเรา
เราต้องให้เค้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอย่างมีความสุขเต็มหัวใจ

ผู้เขียนเองใช้แนวทางนี้กับลูกน้องและเพื่อนพนักงาน
โดยใช้เวลาก่อนเริ่มงานเดินทักทายไปหลายๆ ฝ่าย สลับหมุนเวียนกันไป
บางครั้งจะเริ่มสนทนาด้วยกาแฟยามเช้า ประมาณ 5-10 นาที เพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงาน
และซึมซับปัญหาในช่วงเวลาแรกของการปฏิบัติงาน บางครั้งจะมีขนมเล็กๆ น้อยๆ ติดมือไปฝาก
ซึ่งก็จะได้รับขนมชนิดอื่นๆ กลับคืนมาเป็นระยะๆ ตอนใกล้เลิกงานก็จะทำเช่นกันเพื่อเป็นการให้กำลังใจ
และเพื่อตรวจสอบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงวันได้รับการแก้ไขไปแล้วหรือยัง และด้วยวิธีใด เป็นต้น
ถ้าเราทำให้เป็นกิจวัตร คุณจะพบว่าการทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี
ให้เค้าทำงานด้วยความเต็มใจ ทำอย่างมีความสุขมีแต่รอยยิ้ม ก็จะก่อเกิดขึ้นได้ไม่ยากเลย



ตอนนี้คุณลองตรวจสอบตัวคุณเองดูสักนิดไหมว่า
คุณเคยทำพฤติกรรมเหล่านี้กับลูกน้องคุณหรือไม่
ถ้าคุณพบว่ามีเกินกว่าครึ่ง คุณต้องรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้แล้วล่ะ...


คุณทิ้งเวลาเนิ่นนานเกินไปที่จะให้คำตอบแก่ลูกน้องของคุณ
เมื่อเค้ามาขอพบคุณเพื่อขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำ
แต่คุณได้ทอดเวลาออกไปนานเป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เหมือนคุณไม่ได้ใส่ใจ ลืมเลือนไป
สัญญาณที่ออกมาคือคุณไม่ต้องการให้ผู้ใดมารบกวน
ลูกน้องของคุณจึงถูกบังคับให้ต้องตัดสินใจด้วยตัวของเขาเอง


มีลูกน้องน้อยคนมากที่กล้านำเรื่องมาปรึกษาหารือกับคุณ
นั่นหมายถึง เค้าทำงานไปตามความเข้าใจของตนเอง โดยอาจจะไม่เป็นไปตามความประสงค์ของคุณ
เพราะขนาดเข้าไปปรึกษาขอคำแนะนำจากคุณแล้ว คุณยังปล่อยเวลาเนิ่นนานขนาดนี้
สู้ทำให้เสร็จๆ ไปก่อน แล้วเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น คุณก็เรียกมาแก้ไขเอง
ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อยครั้ง และสะสมไปเรื่อยๆ จะทำให้คุณทำงานยากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการวางแผน ควบคุม แก้ไข ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
หรือขอความร่วมมือจากทีมงาน เพื่อผลักดันให้งานบรรลุไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

คุณมักจะเป็นคนสุดท้ายที่รู้ความเป็นไปของลูกน้องคุณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องชีวิตส่วนตัว
ซึ่งจะสร้างความรู้สึกเสียใจลึกๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพราะเค้าไม่อยากรบกวนคุณ ไม่กล้าเข้าหาคุณ
จากปัญหาเล็กๆ อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ ถ้าไม่ได้รับความสนใจหรือแก้ไขได้ทันท่วงที
แต่ถ้าคุณใส่ใจ จับประเด็นปัญหาได้อย่างแม่นยำชัดเจน และอย่างรวดเร็ว
ปัญหาเหล่านั้นก็จะได้รับการคลี่คลายไปในที่สุด

คุณเริ่มจะตระหนักว่า มิได้มีการปรึกษาหารือระหว่างตัวคุณ กับลูกน้องคนสำคัญของคุณมาเป็นเวลานาน
ทำให้เกิดช่องว่างในการทำงานขึ้น ดังนั้นคุณควรวางแผนในการประชุมเพื่อหาเวลาพบปะพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ
ถึงแม้คุณเองจะมีภารกิจมากมายก็ตาม คุณต้องลดช่องว่างที่กว้างให้แคบลงให้ได้
เพื่อให้นาวาที่คุณเป็นผู้ถือหางเสือได้แล่นไปอย่างราบรื่น ถึงแม้จะมีอุปสรรค คุณก็สามารถพิชิตได้

ลูกน้องมักจะให้เหตุผลว่า “ ผม/ ดิฉัน ไม่อยากเอาเรื่องนี้ มาเป็นเรื่องรบกวนคุณ”
ด้วยคำพูดนี้ คุณกำลังปล่อยให้ลูกน้องของคุณต้องทำงานไปตามความเข้าใจของเค้าเอง
ผิดหรือถูกค่อยว่ากันทีหลัง
อย่าทำตัวห่างเหินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายตาลูกน้องของคุณเอง
เค้าจะมองคุณเหมือนเป็นคนแปลกหน้าเท่านั้นเอง


ถ้าคุณอยากจะเป็นบุคคลที่เข้าไปนั่งในใจของลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงาน แม้กระทั่งเจ้านายคุณเอง
คุณควรพร้อมที่จะเปิดประตูต้อนรับ ทั้งความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้น
ของแต่ละบุคคลที่หมุนเวียนเข้ามาในวงจรชีวิตการทำงาน หรือชีวิตส่วนตัวของคุณ
และถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่รับฟังพร้อมที่จะช่วยเหลือ แนะนำและแก้ไขปัญหาให้เค้าเหล่านั้นได้
คุณจะพบว่าสารแห่งความสุขแอนโดรฟิน จะพวยพุ่งอยู่ในตัวคุณ และกลายเป็นมิตรที่ดีของคุณตลอดไป


(แอนโดรฟิน เป็นสารประกอบที่ทำให้คนเรามีความสุข โดยปกติจะถูกหลั่งออกมาจากสมอง
ถ้าคนเรามีโอกาสหลั่งสารแอนโดรฟินเป็นประจำ จะทำให้เรามีแต่ความสุข
ผู้รู้หลายท่านจึงแนะนำให้ยิ้มอยู่เสมอ มองโลกในแง่ดี ทำจิตใจให้ผ่องใส เบิกบาน
มองทุกปัญหาเป็นขนมหวาน ปัจจุบันสารประกอบนี้สามารถผลิตออกมาได้ด้วยฝีมือมนุษย์แล้ว)


บทความโดย : ณมินท์
อีเมล : naamint@yahoo.co.th
ที่มา : //www.hrcenter.co.th




 

Create Date : 04 มกราคม 2555
3 comments
Last Update : 4 มกราคม 2555 18:04:34 น.
Counter : 10076 Pageviews.

 

good

 

โดย: oij IP: 192.168.2.139, 101.109.168.88 24 กุมภาพันธ์ 2555 18:16:05 น.  

 

เยี่ยมไปเลย

 

โดย: สมชาย IP: 171.99.104.255 29 กุมภาพันธ์ 2555 21:34:08 น.  

 

 

โดย: wassanam 2 พฤษภาคม 2555 12:18:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.