It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
 
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
21 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
การตัดสินใจของ จอมพล ป.(๑ ) : ญี่ปุ่นบุก

บัญชร ชวาลศิลป์....

ติดตามค้นคว้าเรื่องราวครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพาระหว่างปี ๒๔๘๔ ถึง ๒๔๘๘ แล้วผมเชื่อว่าคงมีหลายท่านที่มีข้อสงสัยเหมือนผมเกี่ยวกับการตัดสินใจของ จอมพล ป.พิบูลสงครามต่อ ๒ เหตุการณ์สำคัญของชาติในครั้งนั้นคือ ครั้งแรก เมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ตัดสินใจยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนผ่านประเทศไทยและครั้งที่ ๒ เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ ตัดสินใจประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา
ผมจะลองปะติดปะต่อเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทั้ง ๒ ครั้งนี้ดู เชิญติดตาม


ตัดสินใจครั้งแรก : ยินยอมให้ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่าน
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองระเบิดขึ้นในปี ๒๔๘๒ นั้น สมรภูมิยังคงจำกัดอยู่ในยุโรปและดินแดนที่เป็นอาณานิคมของมหาอำนาจในยุโรปเท่านั้น ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ เห็นได้ชัดเจนว่า รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนในการรักษาความเป็นกลาง ได้ปลุกใจคนไทยให้ลุกขึ้นต่อต้านในทุกวิถีทางหากประเทศไทยของเราถูกละเมิดความเป็นกลาง โดยมีความสำเร็จสดๆร้อนๆจากสงครามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสจนได้ดินแดนคืนมาเป็นพลังสร้างความรักชาติและความเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยให้มากขึ้นไปอีก


แต่ว่าก็ว่าเถอะ ความสำเร็จของญี่ปุ่นที่มีชัยเหนือรัสเซียในยุทธนาวีที่จัตแลนด์ก็ดี ชัยชนะในคาบสมุทรชานตุงเกาหลี รวมทั้งชัยชนะที่มีต่อยักษ์ใหญ่อย่างจีนก็ดี ทำให้ใครต่อใครล้วนอดชื่นชมในแสนยานุภาพของมหาอำนาจใหม่แห่งเอเซียนี้ไม่ได้


กล่าวสำหรับคนไทย แม้จะลบแค้นฝรั่งเศสไปได้บ้างหลังสงครามอินโดจีนเมื่อปลายปี ๒๔๘๓ แต่ความขมขื่นครั้งที่เราเคยต้องเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศสและอังกฤษครั้ง รศ.๑๑๒ ยังเพิ่งผ่านพ้นไปได้เพียงไม่กี่สิบปี ความโกรธแค้นประเทศตะวันตกที่กระทำย่ำยีต่อประเทศตะวันออกรวมทั้งไทย หากนับเป็นบาดแผลก็ยังไม่แห้งสนิท และเจ็บแปลบทุกครั้งเมื่อระลึกถึง
จึงไม่แปลกที่คนไทยจำนวนไม่น้อยแอบชื่นชมญี่ปุ่นอยู่ในใจ


ยิ่งเมื่อถูกบุกตอนเช้ามืด ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ แล้วทูตอังกฤษซึ่งเคยให้ความหวังกับเรามาโดยตลอดก็ “เปี๊ยนไป๋” บอกกับรัฐบาลไทยหน้าตาเฉยว่า ขอให้ช่วยตัวเองไปก่อน (เพราะอังกฤษเองก็กำลังเอาตัวไม่รอด) ไทยจึงไม่มีทางเลือกอย่างอื่น


อาจารย์ แถมสุข นุ่มนนท์ บันทึกไว้อย่างชัดเจนใน "เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง"หนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่น่าอ่านว่า


"หากจะพิจารณาถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ด้วยความเป็นธรรมแล้ว คงจะเป็นที่ยอมรับกันว่า การตัดสินใจของรัฐบาลที่ยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านเป็นการถูกต้องและถูกจังหวะเวลา กองทัพญี่ปุ่นจู่โจมอย่างกระทันหัน คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการและประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับกันว่ากองทัพไทยสู้ญีปุ่นไม่ได้จริงๆ"


ช่วงเวลานั้นใครๆก็เชื่อมั่นในแสนยานุภาพของญี่ปุ่น…


"จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็มิควรจะต้องตกเป็นแพะรับบาปแต่ผู้เดียว เพราะถ้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมา ประชาชนในเวลานั้น ไม่ว่าชาวไทย ชาวจีน หรือแม้แต่ผู้ที่นิยมอังกฤษ อเมริกา ต่างชื่นชมความสามารถของแสนยานุภาพญี่ปุ่น ทุกคนมั่นใจว่าญี่ปุ่นต้องชนะ และสัมพันธมิตรต้องพ่ายแพ้อย่างไม่มีประตูสู้"


และเมื่อมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ ๔/๒๔๘๔ เมื่อ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๘๔


"สภาผู้แทนราษฎรในวันนั้น ตื่นเต้นกับข้อสัญญาที่ญี่ปุ่นรับรองจะคืนดินแดนทางมลายูและพม่าให้กับไทย สมาชิกสภาฯส่วนใหญ่จึงสนับสนุนนโยบายผูกมิตรกับญี่ปุ่น และขอร้องรัฐบาลให้ดำเนินการเข้ากับญี่ปุ่นไปจนถึงที่สุด ผู้แทนราษฎรท่านหนึ่งลุกขึ้นมาถามรัฐบาลว่าจะประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรหรือไม่…"


แม้ก่อนหน้านี้เมื่อรัฐบาลยินยอมให้ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านดินแดนไทยในสายของวันที่ ๘ ธันวาคม "ชาวไทยงงและไม่เข้าใจท่าทีและพฤติการณ์ของรัฐบาล เพราะก่อนหน้านี้ประมาณสามเดือน รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามชุดเดียวกันนี้ได้ออกคำสั่งให้ประชาชนชาวไทยร่วมใจกันต่อสู้จนเลือดหยดสุดท้าย หากมีชาติหนึ่งชาติใดรุกล้ำดินแดนไทยอันเป็นที่รักยิ่งของทุกคน"ก็ตาม แต่"ในขณะนั้น ไม่มีใครจะให้ความกระจ่างแก่ประชาชนได้"


จากหนังสือ "เอกราชได้มา…ด้วยการต่อสู้"ซึ่งจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในวันประกาศสันติภาพ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘ ครบ ๔๐ ปี ๑๖ สิงหาคม ๒๕๒๘ ในส่วนของคำปรารภ ซึ่งลงท้ายโดย"อดีตเสรีไทย ทายาท และผู้ศรัทธา” ก็กล่าวถึงการตัดสินใจครั้งนี้ว่า…


"เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ อุบัติขึ้นในเอเซียในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้บุกเข้าประเทศไทยพร้อมๆกับการเปิดฉากโจมตีฐานทัพอเมริกันที่อ่าวเพิร์ล ในชั้นต้น รัฐบาลไทยขณะนั้นได้เลือกทางออกที่ดีที่สุดคือ ตกลงยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยแต่อย่างเดียว"


การตัดสินใจของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ครั้งนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า มีเหตุผลสมควรสนับสนุน แต่หากเลือกหนทางยืนหยัดป้องกันดินแดนจนเลือดหยดสุดท้ายเล่า …


ประวัติศาสตร์ของไทยช่วงเวลานั้นจะพลิกโฉมไปอย่างไร !!!!

------

ที่มา... นสพ สยามรัฐ

กระสุนนัดสุดท้ายที่อ่าวมะนาว (2

กระสุนนัดสุดท้ายที่อ่าวมะนาว (3

กระสุนนัดสุดท้ายที่อ่าวมะนาว (4

กระสุนนัดสุดท้ายที่อ่าวมะนาว (จบ






Create Date : 21 กันยายน 2553
Last Update : 21 กันยายน 2553 21:10:08 น. 3 comments
Counter : 3146 Pageviews.

 
สิ่งหนึ่งที่ผมสงสัยมานานและไม่เคยมีใครให้ความกระจ่างก็คือว่าวันที่ญี่ปุ่นบุกชายแดนไทยตั้งแต่บางปูไปถึงปัตตานีมีแต่ทบ.+ข้าราชการและประชาชนกับทอ.ที่ประจวบที่ออกมาต่อต้านจนล้มตายกันไปมากมาย แล้วทร.ที่มีหน้าที่ปกป้องชายฝั่งหายไปใหน? คำตอบที่ผมสงสัยอยู่ก็คือว่าทร.หลังกบฏวังหลวงถูกบอนไซเสียจนไม่มีน้ำมันจะออกเรือไปต่อกรกับกองทัพเรือญี่ปุ่น แต่ก็น่าจะเป็นความโชคดีของทร.นะ ไม่งั้นเราจะมีปะการังเทียมเพิ่มขึ้นอีกหลายจุดนอกจากที่เกาะกูด


โดย: คนสงขลา IP: 58.8.105.62 วันที่: 22 กันยายน 2553 เวลา:14:13:25 น.  

 
ท่านก็ถือว่าเปลี่ยนแปลงคนไทยเยอะนะ
นับถือ ๆ อย่างน้อยท่านก็ดีกว่าข้าราชการบางคน บางกลุ่ม
ที่เข้ามาเพื่อประโยชน์ของตัวเองอย่างเดียว
จะโกงอะไรกันนัก โกงทั้งงบ โกงทั้งคนทำงาน
โกงกินทุกอย่าง ตระกะมากไปมั้ง เหอๆๆๆ


โดย: จิงดิ IP: 203.130.134.132 วันที่: 21 มีนาคม 2554 เวลา:14:09:22 น.  

 
ญี่ปุ่นบุกไทยก่อนกบฏวังหลวงนี่ครับ ??


โดย: ต้น IP: 58.10.6.77 วันที่: 2 พฤษภาคม 2556 เวลา:9:45:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.