มาแยกแยะสัญญาณความหิว ช่วยคุมน้ำหนักได้

อาหารเพื่อสุขภาพ


แยกแยะสัญญาณความหิว ช่วยคุมน้ำหนักด้วยตนเอง (ไทยโพสต์)

          การใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบของคนยุคนี้ ทำให้มองข้ามหรือละเลย "เรื่องเล็กน้อย" ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่ง "เรื่องเล็ก ๆ" ที่ถูกเพิกเฉย หรือไม่สนใจมากที่สุดก็คือ สัญญาณ "ความหิว" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการควบคุมน้ำหนัก ทำให้เรื่องเล็ก ๆ กลายเป็น "เรื่องใหญ่" และเป็นดาบสองคมอย่างไม่มีใครคาดคิด เพราะมันทำให้เราสับสนและแยกแยะไม่ออกว่า "ความหิว" ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้น เป็น "ความหิวที่ร่างกายต้องการอาหารจริง ๆ" หรือ "หิวเพราะแค่อยากกินกันแน่"

          ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก หรือเข้าคอร์สลดน้ำหนักโดยไม่ตั้งใจ เราต้องฟัง "สัญญาณของความหิว" ของตัวเราเอง เพราะในแต่ละคนจะแสดงปฏิกิริยาของความหิวแตกต่างกันออกไป และเพื่อให้แน่ใจว่า "ความหิว" ที่เกิดขึ้นนั้น เป็น "ความหิวที่เกิดจากความต้องการของร่างกายจริง ๆ" หรือ "ความอยากกิน" ก็มีวิธีสังเกตง่าย ๆ ดังนี้

อาหารเพื่อสุขภาพ

          1.เมื่อขาดพลังงาน ร่างกายก็จะเริ่มส่งสัญญาณ "ความหิว" เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะขาดพลังงาน เนื่องจากน้ำตาลในเลือดมีปริมาณต่ำลง ก่อนการรับประทานอาหารมื้อถัดไป มันจะส่งสัญญาณให้เรารู้ผ่านปฏิกิริยาต่าง ๆ เช่น รู้สึกวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลียและหน้ามืด แต่สัญญาณเตือนชั้นดีที่สร้างความมั่นใจว่า "ร่างกายขาดพลังงานจริง ๆ" คือ "เสียงท้องร้อง"

          2.เช็กระดับสัญญาณ "หิวจริง" หรือ "อิ่ม" ได้ด้วยการจดบันทึก "อาการของความหิว" ทั้งก่อนและหลังกินเสร็จในทุกมื้อ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนความหิวหรืออิ่ม ตั้งแต่ "1" ที่เป็นระดับของความ "หิวมาก" ถึง "10" ซึ่งหมายถึง "อิ่มแน่น" จนเริ่มไม่สบายตัว การจดบันทึกจะช่วยทำให้เราประเมินได้ว่า จริง ๆ แล้วเราควรหยุดกินเมื่อไหร่กันแน่ ซึ่งกว่าเราจะรู้ตัวว่าอิ่มและหยุดกินอาหารได้แล้ว ก็มักจะแน่นท้องทรมานไปแล้ว

          3.เราควรจะเริ่มกินเมื่อระดับความหิวอยู่ที่ระดับ 3 ถึง 4 ซึ่งกระเพาะอาหารของเราจะร้องเบา ๆ นั่นเป็น "สัญญาณ" บอกว่า เราควรเริ่มกินได้แล้ว และควรหยุดเมื่อระดับความหิวอยู่ที่ระดับ 5 หรือ 6 นั่นหมายถึง เรากำลังอิ่มในระดับที่เรียกว่าพอดี แต่หากเราปล่อยให้ความหิวไต่ระดับไปถึง 1 ถึง 2 ซึ่งหมายถึง "หิวจัด" จนตาลายแล้วล่ะก็ เรามักจะเบรกแตกและกินทุกอย่างที่ขวางหน้าจนถึงระดับความอิ่มที่ 9 หรือ 10 ผลคือ อิ่มแน่นจนทรมานทีเดียว

          4."อิ่ม" อร่อยอย่างมีคุณภาพ เมื่อฝึกแยกแยะและวิเคราห์ระดับความหิว-อิ่มแล้ว ให้จำไว้ว่า "กินแค่พออิ่ม" ซึ่งเทคนิคการกินให้อิ่มอย่างง่าย ๆ คือ ฟัง "สัญญาณ" และสังเกตปฏิกิริยาจากร่างกายของเรานั่นเอง เช่น อัตราการเคี้ยวและความเร็วในการกินอาหารจะช้าลง และที่สำคัญควรใส่ใจเรื่องคุณค่าของสารอาหารที่กินเข้าไปในแต่ละมื้อร่วมด้วย
 
           อย่างไรก็ตามเราสามารถฝึกทักษะเพื่อการรับรู้และตอบสนองต่อ "ความหิวและความอิ่ม" ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายได้อย่างง่าย ๆ โดยใช้เวลา 3-4 วันในการฝึกและสังเกตในช่วงแรก เริ่มจากการบันทึกรายการอาหารที่กินเข้าไปในแต่ละมื้อ และลองสังเกต "ระดับความหิว" ทั้งก่อนและหลังการกินอาหารว่าอยู่ในระดับไหน เพราะร่างกายของเรามีความฉลาดในการแยกว่า อะไรคือสิ่งที่ต้องการหรือไม่ต้องการ

           การฝึกฟังเสียง "สัญญาณ" จากภายในร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เราแน่ใจว่าก่อนจะส่งอาหารเข้าปาก เรามั่นใจแล้วว่า "หิวจริง ๆ นะ" ไม่ใช่แค่ "อยากกิน" เพราะไม่อย่างนั้น คงต้องเข้าโปรแกรมลดน้ำหนักกันยาว

* kapook.com *



Create Date : 17 กรกฎาคม 2555
Last Update : 17 กรกฎาคม 2555 20:57:42 น. 0 comments
Counter : 1208 Pageviews.

angelica0819
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add angelica0819's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.