เศรษฐกิจฟิลิปปินส์มาแรงจริงหรือ ?

คอลัมน์ คิดนอกกรอบ
โดย สันติธาร เสถียรไทย ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและอินเดีย ธนาคารเครดิตสวิส สิงคโปร์


ถ้าดูความเป็นมาและประวัติศาสตร์ประเทศฟิลิปปินส์ เราจะรู้ว่าฟิลิปปินส์เคยเป็นศูนย์กลางของความเจริญในเอเชีย ที่มีกรุงมะนิลาเป็นใจกลางของประเทศ และเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูง ตั้งแต่สมัยรุ่งเรืองของยุค ค.ศ. 1980

แต่ด้วยปัญหาคอร์รัปชั่นและความไม่มั่นคงทางการเมืองติดต่อกันมาหลายปี

ปิด ท้ายด้วยวิกฤตเศรษฐกิจ "ต้มยำกุ้ง" เมื่อปี พ.ศ. 2540 ทำให้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์โดนพายุแห่งวิกฤตการเงินทำลายจนกลายเป็นเศรษฐกิจที่ ถูกมองข้าม และประเทศเต็มไปด้วยคนยากจน ซึ่งสามารถเห็นได้จากสภาพของกรุงมะนิลาที่เต็มไปด้วยสลัม มลพิษสูง ถนนหนทางกับระบบการคมนาคมดูล้าสมัย และไม่เหลือเงาของผู้นำทางความยิ่งใหญ่ในอดีต

แต่วันนี้เราไม่ควรมอง ข้ามประเทศฟิลิปปินส์อีกต่อไปแล้ว เพราะขณะที่คนไทยกำลังดูแต่ความเจริญของประเทศจีน เราอาจจะลืมดูประเทศอื่น ๆ ที่ใกล้ตัวเรา เช่น ประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา GDP ของประเทศฟิลิปปินส์เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5% (ของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 4% ตัวเลขนี้ยังไม่คำนวณรวมไปถึงความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม) เรื่องของเงินเฟ้อที่เคยเป็นปัญหาของประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อต้นปีนี้ก็ลงมาอยู่ในช่วง 3% ถึงแม้หนี้สาธารณะต่อ GDP จะยังสูงกว่า 50% ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยที่อยู่ที่ 41% แต่ฟิลิปปินส์ก็มีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องทุกปี

อัตราส่วนที่ สำคัญที่สุดตัวหนึ่ง คืออัตราเงินตราสำรองต่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นของประเทศฟิลิปปินส์นั้นสูงก ว่า 1 (ถือว่าปลอดภัยตามกฎเกณฑ์ที่นักเศรษฐศาสตร์ รู้จักกันในชื่อว่า Guodotti-Greenspan Rule ที่เป็นสัญญาณเตือนภัยวิกฤตที่สำคัญมากตัวหนึ่ง) และก็สูงที่สุดในอาเซียนด้วย

ขนาด Fitch หน่วยงานที่ชำนาญการจัดอันดับเครดิต ก็เพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลให้แก่ประเทศฟิลิปปินส์ในปี ที่ผ่านมา (2554) ทําให้ประเทศฟิลิปปินส์อยู่แค่หนึ่งระดับต่ำกว่า Investment Grade ตามหลังอินโดนีเซียที่เพิ่งได้รับการยกระดับ เป็น Investment Grade ในปีที่แล้ว

และไม่นานนี้ S&P และ Moody′s ยังบอกว่าอยากจะเพิ่มอันดับของประเทศฟิลิปปินส์ให้อยู่ระดับเดียวกับที่ Fitch ให้เช่นกัน ซึ่งคิดว่าอีกไม่นาน

เรื่องอันดับความน่าเชื่อถือนี้มีความสําคัญ เพราะเป็นเงื่อนไขที่ทําให้ประเทศกู้เงินได้ง่ายขึ้น

สำหรับ ประเทศฟิลิปปินส์เวลานี้ ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจที่ดูดีขึ้น คนที่เล่นหุ้นอาจจะทราบว่าตอนนี้ตลาดฟิลิปปินส์มาแรงเช่นกัน และเมื่อปีที่แล้วดัชนีหุ้นฟิลิปปินส์ถูกจัดไปเป็นตลาดที่มีผลงานดีถึง อันดับ 2 ในเอเชีย ส่วนในปีนี้ (2555) ก็มาแรงเป็นอันดับ 1 อีกเช่นกัน

เหตุปัจจัยใดที่ทำให้ฟิลิปปินส์มาแรงถึงขนาดที่เราแทบหันกลับไปมองไม่ทัน !!

นักเศรษฐศาสตร์เดินดินให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเล่าถึงโฉมหน้าใหม่ของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์

"หาก ไปมะนิลาต้องไปมาคาติ" เป็นคำพูดของคนที่เคยไปประเทศฟิลิปปินส์สมัยก่อนบอกเล่ากัน แต่มา ณ ปัจจุบันยังมีอย่างน้อยอีกแห่งหนึ่งที่ไปกรุงมะนิลาแล้วต้องไปดูด้วย คือ Fort Bonifacio อยู่ไม่ไกลกันนัก

แล้วหากใครไปเยือน Fort Bonificio แวบแรกที่เห็น จะต้องคิดว่าที่นี่ต้องเป็นศูนย์กลางการเงินแบบย่านสาทรหรือสีลมของกรุงเทพฯ แน่ ๆ เพราะมีธนาคารและสถาบันการเงินมากมาย และหากเดินดู

รอบ ๆ เขตนี้ จะเห็นว่าถนนหนทางสะอาดสะอ้านใหม่เอี่ยมมาก จนดูเหมือนถนนในประเทศสิงคโปร์ก็ว่าได้

แต่ ความจริงแล้วถิ่นนี้ไม่ใช่ถิ่นการเงินการธนาคารของฟิลิปปินส์เสียทีเดียว เพราะตึกสูงเหล่านี้คือออฟฟิศของทีมที่คอยสนับสนุนบริการต่าง ๆ ของธนาคารอีกที (Back office support) ตั้งแต่คอยเป็นหน้าฉากคุยกับลูกค้าเรื่องบัตรเครดิต จนถึงทําเรื่องระบบคอมพิวเตอร์ บริหารเก็บข้อมูลสําคัญให้ธนาคาร โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโทร.ศูนย์ (Call Center) ที่บางคนอาจจะคุ้นเคยจากประเทศอินเดีย อย่างในภาพยนตร์เรื่อง Slumdog Millionaire

"โทรศูนย์" เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ BPO หรือ Business Process Outsourcing ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อธนาคารและบริษัทนานาชาติขนาดใหญ่ได้ใช้วิธีนี้ในการลดต้นทุน เมื่อราคาการสื่อสารข้ามประเทศนั้นถูกลง

สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือประเทศฟิลิปปินส์ในตอนนี้มีส่วนแบ่งตลาดของ BPO ประเภท voice มากกว่าประเทศอินเดียเสียอีก

และ ด้วยความที่ธุรกิจนี้โตเร็วมาก จึงทำให้ยอดการขายเพิ่มขึ้นปีละกว่า 40% ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจโลก และหลังจากนั้นก็ยังโตได้ปีละ 20% จนถึงตอนนี้ ธุรกิจ BPO มีการเติบโตประมาณ 6% ของ GDP ซึ่งใกล้ ๆ กับสัดส่วนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน GDP ของไทยเลยทีเดียว

อย่าง ไรก็ดี แม้ว่าสัดส่วนใน GDP ของธุรกิจ BPO ยังไม่ถึงกับใหญ่มากนัก แต่ Call center ก็ยังมีความสำคัญทางอ้อมอีก เพราะคนเหล่านี้ทำงานกัน 24 ชั่วโมง ฉะนั้น บริเวณรอบ ๆ สำนักงานจึงต้องมีร้านอาหาร หอพัก และสถานบันเทิงต่าง ๆ สรุปคือกลายเป็นเมืองเล็ก ๆ ขึ้นมา ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีผลพลอยได้ไปด้วย

ด้วยเหตุนี้เองรัฐบาล ฟิลิปปินส์จึงผลักดันให้ธุรกิจ BPO เกิดขึ้นในหลายเมือง เพื่อกระจายความเจริญออกไปจากกรุงมะนิลา เช่น เมืองเซบู และดาเวา

กล่าว แบบให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือถ้าประเทศอย่างจีน มาเลเซีย หรือไทยเราเติบโตด้วยการเป็น "โรงงาน" ให้กับโลก ฟิลิปปินส์กับอินเดียก็เป็นออฟฟิศ (back office) ให้โลกนั่นเอง

แต่...อย่า เพิ่งคิดว่านี่คือคำตอบว่าทำไมเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในเวลานี้ถึงมาแรง ต้องขอบอกว่า "ยังไม่ใช่ทั้งหมดครับ" อยากรู้ว่าอะไรทำให้ฟิลิปปินส์เปลี่ยนไปจนต้องเหลียวหลังมอง ต้องติดตามกันวันหลัง

 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ *




Create Date : 12 กรกฎาคม 2555
Last Update : 12 กรกฎาคม 2555 10:11:54 น. 0 comments
Counter : 1559 Pageviews.

angelica0819
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
12 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add angelica0819's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.