วิสํญญี เพื่อ ประชาชน
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
8 กุมภาพันธ์ 2555

ประเด็นร้อน.... 16 ปีที่ขมขื่นของญาติ และ จุดเิริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงของวงการแพทย์อีกครั้ง



สวัสดีครับ  ห่างหายไปนานเลยทีเดียว. มัวแต่ไปเตรียมตัวสอบภาษาอังกฤษอยู่ Smiley

วันนี้  เป็นเรื่องที่ผมอยากเขียนมานานแล้ว. แต่ยังไม่มีโอกาสสักที  นั่นคือ


คดีประวัติศาสตร์ ....16 ปีแห่งความทุกข์ทนของญาติ และจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของวงการแพทย์อีกครั้ง



ถ้าใครยังไม่ทราบว่าคดีนี้ "คืออะไร. มีความเป็นมาอย่างไร  และผลลัพธ์คืออะไร" ตามไปได้ตาม  link นี้เลยครับ



ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจกับคนไข้และญาติในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยนะครับ


ตัวกระผมเอง จะไม่วิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินว่าตัดสินถูกหรือตัดสินผิด  แต่จะพูดถึง  หลังจากการตัดสินแล้วผลลัพธ์อันรุนแรงสะเทือนไปทั้งวงการแพทย์ที่ตามมาคืออะไร  ถึงแม้ว่าจะมีหมอหลายๆท่านไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน แต่ผมก็ถือว่าศาลท่านก็เหมือนตำรวจ. ซึ่งไม่เคยสนว่าถ้าผู้ร้ายถุกจับแล้ว ลูก เมียและครอบครัวจะทำยังไง "เพราะมันคือหน้าที่ของท่าน" (และจริงๆผมก็คิดว่ามันมีช่องโหว่ให้แพ้เยอะจริงๆSmiley  ไม่ได้บอกว่าผิดนะครับ แล้วจะค่อยๆวิจารณ์ให้ฟัง)



เข้าเรื่องละนะครับ. (เรื่องนี้ซีเรียสนิสนึง)



จะสรุปคร่าวๆให้อ่านกันนะครับ. กาละครั้งหนึ่งเมื่อ16ปีที่แล้ว  มีคุณแม่ไปฝากครรภ์  และจะไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาลเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง  ครรภ์ก่อนๆ ก็ได้ทำ painless labor(ไปตามอ่านใน blog เก่าได้นะครับ ว่าคึืออะไร เพราะเป็น key word อย่างนึงของคดีนี้) ไว้ แล้วชอบอย่างมาก. ครั้งนี้ขณะที่เบ่งรอคลอด. สามีก็ได้ไปขอให้วิสัญญีแพทย์ท่านเดิมทำ painless ให้  แพทย์ท่านนั้นก็ได้มาทำให้. หลังจากนั้นปรพมาณ 40 นาทีก็ได้ออกจากห้องคลอดไปทำเคสในห้องผ่าตัดต่อไป. ระหว่างนั้นสูติแพทย์. ก็ทำมาทำหัตถการ artificial  rupture of membrane ( การทำให้ถุงนำ้คร่ำแตกก่อนเวลาตามธรรมชาติ. เพื่อเป็นการเน่งคลอด ซึ่งปกติก็ทำในคนไข้ส่วนใหญ่, key word อีกเช่นกัน)  หลังจากนั้นไม่นานผู่ป่วยเกิดอาการเจ็บท้อง พยาบาลห้องคลอด ก็ให้ยาชาเพิ่มตามคำสั่งแพทย์. ไม่นานนัก. ผู้ป่วยก็เริ่มมีอาการตัวเขียว. ปากเขียว ความดันต่ำ และต้องทำการปั๊มหัวใจทันที. ปรากฏว่าท้ายที่สุด แพทย์ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก. สามีและญาติจึงได้ทำการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทั้งสิ้นเกือบ 700ล้านบาท. ศาลชั้นต้นยกฟ้อง. แต่ศาลอุทรณ์. และศาลฎีกากลับคำตัดสิน. และให้ฝ่ายสามีชนะคดี. ฝ่ายหมอและโรงพยาบาลต้องชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด 8 ล้านกว่าบาท รวมดอกเบี้ย 7.5%ต่อปี. เป็นเวลา. 16ปี รวมเป็นเงิน. 20กว่าล้านบาท

(ทั้งหมดเป็นตัวเลขคร่าวๆนะครับ)

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว. บางท่านก็คงสงสัยว่า  "แล้วไงอะ....มันมีอะไรเหรอ....แพ้......ก็จ่ายตังค์ไปซิ  จะได้จบเรื่อง" Smiley ถ้ามันง่ายอย่างนั้นก็ดีซิครับ....แหะๆ


ประเด็น................มันอยู่ตรงเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินคดีนี้ครับ ที่ทำให้สะเทือนไปทั้งวงการของวิสัญญี และสูติแพทย์

เหตุผลที่แพ้ไม่ใช่เรื่องที่แม่และลูกเสียชีวิตนะครับ. เพราะสาเหตุที่เสียชีวิตที่พิสูจน์แล้วคือ amniotic fluid embolism (หา อากู๋. ได้เลยะคร้าบ. ถ้าอยากรู้ละเอียดสุดๆ) ซึ่งทั้งสองฝ่ายนั้นยอมรับว่าอัตราการตายนั้นสูงถึง 80% ถึงไม่ตายในขณะนั้นก็ยัีงมีโอกาสอื่นๆตามมาอีกมาก....แต่เจ้ากรรมครับ  ศาลกลับพิจารณาว่า ถ้าคนไข้ได้รับการดูแลที่ดีเพียงพอ  อาจเป็น 20 % ที่รอดตายได้!!!!  (มันก็จริงนะ ตามทฤษฏีที่อ้างมาจากตัวอย่างเคสที่รอดชีวิตจากภาวะนี้ว่าได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง Smiley)


อ่านถึงตรงนี้แล้ว เห็นรึยังครับ ว่าคดีนี้น่ากลัวยังไงต่อวงการแพทย์....เพราะพวกเราโดนเล่นงานที่การดูแลไงครับ


ท่านผู้อ่านบางท่านก้คงคิดในใจว่า "ก็ดีแล้วนิ ต่อไปหมอจะได้ดูแลคนไข้ให้ดีขึ้น จะไปกลัวอะไรถ้าทำให้ถูกต้องซะ"


ถ้าท่านคิดเช่นนั้น ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า ท่านไม่ใช่คนในวงการแพทย์แน่นอน


ปัญหาของการดูแลในเคสนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน (ตามความคิดผมนะ) คือ


1.ความไม่สอดคล้องของปริมาณแพทย์กับคุณภาพของการรักษาที่คาดหวัง


2.การอ้างอิงมาตรฐานที่ไม่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยไชโย 


ความไม่สอดคล้องของปริมาณแพทย์กับคุณภาพของการรักษาที่คาดหวังและการอ้างอิงมาตรฐานที่ไม่เหมาะสมกับไทยแลนด์ ....คือ.....อะไร


อันดับแรก ท่านๆคิดว่า ปริมาณแพทย์ต่อประชากรของประเทศ ดังต่อไปนี้  ข้อไหน น้อยที่สุด?


a. USA    b.  England   c. Singapore   d. Thailand


ทุกท่านตอบได้แน่นอน  Thailand only ครับผม  ตามภาพนี้เลย อาจจะเก่าไปหน่อยแต่น่าจะพอกะคร่าวๆได้


คำถามต่อไป  ท่านอยากได้มาตรฐานไหน ในการตรวจรักษาท่านและครอบครัวของท่าน?


ทุกท่านก็ต้องได้คำตอบแน่นอน  USA  ครับ ต้นตำรับทางการแพทย์


แค่ตรงนี้ทุกท่านก็เห็นภาพแล้วใช่มั๊ยครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น


ย้อนกลับมาที่เคสนี้ครับ  เอาแต่เรื่องของวิสัญญีอย่างเดียวเลยนะ ประเด็นที่โดนกล่าวหาคือ  การดูแลที่ไม่ดีหลังจากการให้ยาชา หลังจากการทำ  painless labor โดยฝ่ายสามีอ้างจากพยานบุคคลว่าหลังจากทำ painless labor แล้วนั้น จะต้องมีการวัดความดันโลหิตทุกๆ 1-2 นาที เป็นเวลานาน 15 นาที หลังจากนั้น ต้องวัดทุกๆ5 นาที และแพทย์จำเป็นจะต้องเฝ้าอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ทำ painless labor นั้น


สองประโยคนี้อันตรายอย่างยิ่งเลยนะครับ สำหรับพวกผม อันดับแรกนะครับเรื่องการวัดความดันบ่อยครั้งนั้น ก็อาจจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เราชาววิสัญญีก็จะทราบกันอยู่แล้วว่า การทำ painless labor นั้น ความดันมักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากเท่าไรนัก ดังนั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องวัดบ่อยครั้งมากนัก  อย่างไรก็ตาม สุดท้ายก็ต้องคิดถึงเหตุสมควรของคนไข้แต่ละรายนะครับ   แต่ที่อยากจะพูดก็คือ คำว่า  "ต้องวัดความดันทุกๆ  บลาๆๆๆๆ "  ไม่ทราบว่าไปเอามาจากแห่งหนใด?  ไม่เคยเห็นตำราไหนเขียนไว้ (หรือผมอาจจะอ่านหนังสือน้อยก็ได้นะ แหะๆ Smiley)  อันนี้ก็เลยงงว่า สุดท้ายที่วิสัญญีผิดนั้น ผิดตามมาตรฐานจริงๆ หรือตามมาตรฐานที่คิดขึ้นมาเอง แต่......ประเด็นที่แพทย์นั้นต้องอยู่เฝ้าคนไข้ตลอดเวลาหลังจากทำ painless labor  อันนี้ซิครับ ของจริง ของแรง


อันดับแรกนะครับ ท่านต้องทราบก่อนว่า ไม่ว่าจะโรงพยาบาลแห่งหนตำบลใด หากไม่ได้  HISO มากกกกกกกกกกกกจริง ก็คงมีแพทย์เวรเฉพาะทางอยู่แค่คืนละ 1 คนเท่านั้น  ยิ่งเป็นเมื่อ 16 ปีที่แล้ว  ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยครับ  แพทย์น้อยกว่าสมัยนี้ยิ่งนัก  ดังนั้นหากตัดสินแบบนี้ สุดท้ายไม่ว่า รพ ใดๆ ที่มีวิสัญญีแพทย์ เพียงคนเดียวที่อยู่เวร ก็คงไม่ต้องทำ painless labor อีกต่อไป (อันนี้ รพ รัฐ อาจจะไม่ได้ทำอยู่แล้ว)  คำถามคือ แล้วที่ทำอยู่นี่ มันเป็นมาตรฐานที่ใครๆก็ทำกันรึเปล่า?Smiley   ขอบอกเลยนะครับว่า  ไม่!!!!!!!!!


⁞อันนี้อ้างอิงจากหมอหลายๆท่านที่ได้ไปฝึกใน USA และ Cannada ก็บอกว่า หลังจากทำแล้ว วิสัญญีแพทย์ก็ออกไปทำอย่างอื่นต่อไป และเจอกันอีกที ก็คือตอนเอาสายที่หลังออก  เห็นมั๊ยครับว่า ขนาดประเทศที่มีแพทย์มากกว่าเราหลายเท่า ยังไม่ทำกันแบบพี่ไทยเราเลย ก็เลยเป็นข้อสงสัยอีกประการว่า เอามาตรฐานนี้ มากจากไหน?   ยัง  ยังไม่จบนะครับ  ประเด็นถัดไปที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การทำ painless labor นั้น คือการใส่สายไว้ใกล้ช่องสันหลัง เพื่อใส่ยาชาเข้าไป โดยหวังว่าจะสามารถลดความเจ็บปวดได้ ซึ่งการทำชนิดนี้นั้น  คือการทำ แบบ เดียวกับการทำ epidural ในการผ่าตัดชนิดอื่นด้วย!!!!!!!!!!!!!!!      โอว  แย่ละซิครับ  โดยปกตินั้น พวกผมก็จะส่งคนไข้กลับไปนอนสบายๆต่้อที่ึตึกผู้ป่วยพร้อมกับการให้ยาชาต่อเนื่องด้วย  แต่ที่ตึก  ไม่มีวิสัญญีแพทย์นะครับ !!!!!! และก็ไม่มีทางมีตลอดกาลด้วย เพราะ รพ นึงมี 10 ตึก ตึกละ 20 ชั้น แปลว่าต้องมีหมอ 200 คน  บร้าาาาาาาาาาาาาาาา  ไปแล้วคร้าบบบบบบบบบบบบบบ  พี่น้องงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง


แล้วเรื่องนี้มันหมายความว่าไง.....มันก็หมายความว่าการใส่สายเพื่อแก้ปวดคนไข้หลังการผ่าตัดที่ยอดเยี่ยมที่สุด (ไม่ได้พูดเกินจริงเลยนะครับ) จะต้องสาบสูญไปตลอดกาลเลยหรือ?  เพราะพวกผมไม่สามารถทำแบบที่ศาลตัดสินได้หรอกครับ  เกิดปัญหามา ผมก็ติดคุกหัวโตซิครับ ไอ้เงิน 8 ล้าน 10 ล้าน  ผมก็ไม่มีหรอกครับ  ต้องขายไตสัก 2 ข้าง ปอด 2 ข้าง (แต่หัวใจให้คนอื่นไปแล้วนะ....ฮิ้ววววSmiley)   ดังนั้น พวกผม ต้องเลิกทำรึเปล่า????


คำถามต่อไปแล้วเรามีวิธีแก้ไขไหม....มีครับ ก็วิธีแบบเดิมๆ ให้ยาทางน้ำเกลือกันไป ขอยาตอนนี้  อีก ชั่วโมงนึงได้ ทนปวดไปเซ่ (ขอบอกว่าพยาบาลก็ขาดแคลนมากนะครับ) หรือให้ยา Morphine ทางสายที่หลัง ก็ทำได้ครับ แต่อาจจะมีอาการคัน หรือ คลื่นไส้ได้ ..........    มันดีที่สุดสำหรับคนไข้จริงๆหรือครับ แล้วการพัฒนาของวงการวิสัญญีที่เกี่ยวกับการให้ยาชาผ่านสายต้องหยุดเลยมั๊ย?   การตัดสินแบบนี้  ด้วยมาตรฐานแบบนี้  มัน Fair กับคนไข้รายอื่นแล้วจริงๆเหรอครับ  พวกผมก็คนธรรมดาคนนึง ที่ต้องการทำอะไรที่ดีที่สุดแก่คนไข้ แต่ก็ขอบอกว่ารักตัวกลัวตายเหมือนกัน ครอบครัวก็มีให้ดูแล ถ้าผมไม่ทำ ก็ไม่ผิดใช่มั๊ยครับ พวกเราต้องย้อนกลับไปยุคหินจริงหรือ....ตอนต่อไปจะมาพูดถึงแนวทางในการแก้ปัญหาจริง (ของผมนะ) อิอิ


ปล  เห็นอย่างอื่น  วิจารณ์ได้เต็มที่นะครับ แต่ขอคำสุภาพๆหน่อย 




Free TextEditor




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2555
4 comments
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2555 0:01:20 น.
Counter : 1372 Pageviews.

 

Absolutely agree with you krub

 

โดย: Yod IP: 124.121.210.251 10 กุมภาพันธ์ 2555 9:20:07 น.  

 

เห็นด่วยครับ เป็นกำลังใจให้หมอดมยาครับ

 

โดย: Artrinov IP: 161.200.100.2 10 กุมภาพันธ์ 2555 11:11:01 น.  

 

หมอ ตอบได้ดีมาก ใน แบบวิสัญญี ที่ทำให้คนทั่วไปเข้าใจ
เราออกความเห็นผ่านตรงนี้ไม่รู้จะมีใครได้มาอ่านไหม แต่นายก็ได้อ่าน

ไม่รู้หมอดี ๆ มีอุดมการณ์กี่คนแล้วที่หายไปจากระบบ เพราะเหตุการณ์เช่นนี้

เราหวังดีต่อคนไข้ถูกต้องนะหมอ แต่หมอต้องนึกถึงตัวหมอเองด้วยนะ ครอบครัวหมอ ภาระที่หมอต้องดูแล

หมอเสียสละไปมาก ๆ แล้ว ในหลายอย่าง หมอเอาคืนมาบ้างก็ได้ เพราพโลกมันเปลี่ยนไป

เปลี่ยนไปมาก จนวันนี้เรามองว่า โรงพยาบาลเป็นสถานที่ให้บริการ ไม่ใช่แจกบริการ ผมไม่ได้ขอให้คุณมาใช้ คุณมาหาผม หมายความว่าคุณมาขอบริการจากผม ผมให้เต็มที่ตามสภาวการณ์ที่ผมให้ได้ แต่คุณไม่อยากเสี่ยงเลยอยากได้มาตรฐาน USA คุณก็ควรไปขอบริการต่อที่อื่นครับ เพราะผมก็ไม่ได้อยากเสี่ยงเหมือนกัน

เราเป็นผู้ให้บริการทางสุขภาพ ไม่ใช่ทาส ไม่ใช่ คนไข้ ไม่ใช่ลูกน้อง ที่จะมาให้ใครมายืนด่า ยืนว่า ยืนฟ้อง ขอให้ผู้มาใช้บริการเข้าใจ

คุณอยากมาก เราลดความเสี่ยงเรามากตามไปด้วย

สวัสดี ประเทศไทย ไชโย

 

โดย: ข่วย IP: 118.172.232.83 10 กุมภาพันธ์ 2555 11:33:24 น.  

 

กำลังคิดเล่นๆ เหมือนกันถ้าคนไข้ผ่า spine ทำ epidural block แล้ว ไม่ต้องฟ้องเอาเงินกันหมดเลยรึไงเนี่ย เพราะถ้าถือเอาเคสนี้เป็นบรรทัดฐานว่าทำ epidural block แล้วไม่เฝ้าถือว่าผิด หมอดมยาก็ไม่ต้องทำแล้วหละ คนไข้ก็เจ็บโครตๆๆๆๆๆ ไปก่อง

 

โดย: GP IP: 183.89.28.171 10 กุมภาพันธ์ 2555 14:47:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Fenopski
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Fenopski's blog to your web]