พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
11 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
บัวแก้วลุยแจง ผลคดีเขาวิหาร

บัวแก้วลุยแจง ผลคดีเขาวิหาร

ผู้แทนกองทัพ-กระทรวงต่างประเทศ ลงพื้นที่ศรีสะเกษ ให้ ข้อมูลปมร้อน"คดีปราสาทพระวิหาร" ก่อนถึงวันศาล โลกอ่านคำพิพากษา 11 พ.ย. นี้ ย้ำผลลัพธ์ออก ได้ 4 หน้า แต่ 2 ปีที่ผ่านมาความสัมพันธ์ของไทย-กัมพูชาสงบเรียบร้อยดี โดยเฉพาะระดับรัฐบาลแน่นปึ้ก ไม่น่าวิตก ด้าน "รองปลัดบัวแก้ว" ชี้คำตัดสินไม่ใช่จุดจบ เพราะอย่างไรชายแดน 800 ก.ม. ก็ติดกัน จึงควร หาวิธีอยู่ร่วมกันอย่างสันติ-ยั่งยืน เผยชาวบ้าน "ภูมิซรอล" บางส่วนทยอยอพยพ



จากกรณีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) นัดอ่านคำตัดสินคดีพิพาทปราสาทพระวิหารระหว่างกัมพูชากับไทย 11 พ.ย.นี้ ความคืบหน้า เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 5 พ.ย. ที่โรงแรมพรหมพิมาน จ.ศรีสะเกษ มีประชุมวิชาการเรื่อง "การ บูรณาการในการเสริมสร้างความเรียบร้อยในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา" ส่วนช่วงบ่าย คณะผู้แทนของฝ่ายกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศลงพื้นที่ ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อชี้แจงแนวทางของรัฐบาลและเตรียมความพร้อมรองรับคำตัดสินศาลโลก



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณัฏฐวุฒิ โพธิ สาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และพล.ท.บุญชู เกิดโชค เจ้ากรมกิจการชาย แดนทหารกล่าวเปิดการประชุมดังกล่าว ขณะที่ผู้ร่วมบรรยายหัวข้อต่างๆ มาจากกระทรวงการต่างประเทศ อาทิ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์ แลนด์ ในฐานะตัวแทนฝ่ายไทยสู้คดีปราสาทพระวิหาร ผู้แทนกรมเอเชียตะวันออก ผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย มีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนากว่า 100 คน รวมถึงผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ



พล.ท.บุญชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารกล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้สืบเนื่องจากในวันที่ 11 พ.ย. ศาลโลกจะมีคำพิพากษาคดีตีความคำพิพากษาปราสาทพระวิหาร ปี 2505 ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนในจ.ศรีสะเกษและเขตใกล้เคียง ซึ่งอยู่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมให้ข้อเท็จจริง



นายณัฏฐวุฒิ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชาจนถึงปัจจุบันตั้งอยู่บนพื้นฐานเพื่อนบ้านที่ดี เสมอภาค เท่าเทียมภายใต้ความไว้เนื้อเชื่อใจ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ชายแดนจ.ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และสุรินทร์ ยังมีปัญหาสำคัญที่เป็นเงื่อนไขชายแดน ส่งผล กระทบต่อความสงบสุขของประชาชน โดย 11 พ.ย.นี้จะเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่คนไทยใจจดจ่อต่อการอ่านคำพิพากษาคดีตีความคำพิพากษาปราสาทพระวิหารของศาลโลกว่าจะออกมาแนวทางใด ด้วยเกรงว่าคำตัดสินคดีตีความดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และการดำรงชีพตามปกติสุขของประชาชนและชุมชนตามแนวชายแดนของสองชาติ



"ความสัมพันธ์ช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้นดีมาก แนวชายแดนสงบเรียบร้อย และในระดับสูงกระชับร่วมมือเป็นอย่างดี และแลกเปลี่ยนการเยือน โดยนายกฯ เดินทางไปกัมพูชาถึง 6 ครั้ง ส่วนระดับการค้าขายตัวเลขอยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาท ด้านประชาชนไปมาหาสู่กันสะดวก ทุกวันนี้ความสัมพันธ์ดีทุกระดับ" นายณัฏฐวุฒิเผย



ต่อมา ทูตวีรชัย ตัวแทนฝ่ายไทยสู้คดีปราสาทพระวิหาร กล่าวว่า กัมพูชาขอให้ศาลโลกตัดสินว่าพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหารเป็นดินแดนของกัมพูชา และต้องเป็นไปตามเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 และต้องถ่ายทอดตามรูปแบบของกัมพูชา ปัญหาอยู่ที่ว่าการถ่ายทอดในปัจจุบันของกัมพูชาไม่เหมือนกับเมื่อตอนปี 2505 ส่วนไทยต่อสู้ตรงที่ไทยไม่รับอำนาจศาลโลก แต่หากศาลโลกเห็นว่ามีอำนาจก็ไม่มีเหตุต้องตีความ เนื่องจากไทยและกัมพูชาไม่มีความเห็นต่างการในคำตัดสิน แนวรบสุดท้ายคือไทยเห็นว่าศาลควรตัดสินว่าเมื่อปี 2505 เส้นเขตแดนไม่ได้เป็นไปตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 และไม่ได้กำหนดขอบเขตใกล้เคียงปราสาทฯ



ทูตวีรชัยระบุต่อไปว่า ส่วนคำถามยอดนิยมอย่างแนวโน้มการตัดสินของศาล เห็นว่าน่าจะออก 4 แนวทาง ได้แก่ 1.ศาลไม่มีอำนาจตีความ หรือหากศาลเห็นว่ามีอำนาจก็ไม่เห็นว่าจำเป็นต้องตีความ 2.ศาลตัดสินให้ประโยชน์แก่กัมพูชา ถือเป็นกรณีเลวร้ายที่สุด 3.ศาลตัดสินให้ประโยชน์แก่ไทย (เป็นไปตามเส้นมติคณะรัฐมนตรี ปี 2505 ของไทย) และ 4.ตัดสินออกกลางๆ ในแง่กฎหมาย แล้วให้ทั้งคู่ไปเจรจาเรื่องเขตแดนกันเอง และศาลโลกอาจให้แนวทาง



"การที่ศาลจะตัดสินในแนวทางที่ 2 เป็นไปได้น้อย เพราะต้องผ่านถึง 4 ชั้น ได้แก่ พื้นที่ใกล้เคียงเป็นดินแดนของกัมพูชาและดินแดนกัมพูชาต้องเป็นไปตามเขตแดน โดยเขตแดนดังกล่าวเป็นไปตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 และการถ่ายทอดเส้นจากแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ต้องเป็นไปตามที่กัมพูชาเห็นไว้" ทูตวีรชัยกล่าว



ด้านนายณัฏฐวุฒิกล่าวเสริมถึงเรื่องการเป็นภาคีและรับอำนาจศาลโลกว่า ต้องแยกออกจากกัน โดยกฎบัตรของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ข้อ 93 ให้รัฐที่เป็นสมาชิกยูเอ็นเป็นภาคีศาลโลกโดยปริยาย ส่วนการรับอำนาจศาลโลกนั้นไทยไม่ได้ประกาศรับอำนาจศาลโลกอีกตั้งแต่ปี 2503 หากถูกฟ้องคดีใหม่ ไทยไม่จำเป็นต้องไปสู้คดี แต่สาเหตุที่ไทยต้องไปสู้คดีครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการขอตีความคดีเดิมที่กัมพูชาฟ้องไทย ตั้งแต่ปี 2502 ก่อนมีคำตัดสินในปี 2505 ซึ่งขณะนั้นไทยรับอำนาจศาลโลก



"การตัดสิน 11 พ.ย.นี้ อาจยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดของทุกๆ เรื่อง เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่ถ่ายทอดสดจากศาลโลกมายังประเทศไทย เมื่อมีการหารือกันตลอดก็จะตกผลึก หลักๆ คือไทยและกัมพูชามีชายแดนติดกัน 800 กิโลเมตร ชายแดนย้ายไปไหนไม่ได้ ทำอย่างไรจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติและยั่งยืน ดังนั้นไม่ว่าคำตัดสินเป็นเช่นไร แต่ไม่ใช่ว่ารู้เสร็จแล้วจบ ชนะก็เฮ แต่แพ้มานั่งโทษกันไปมา ปัญหาถ้ามีต้องแก้กันด้วยสันติวิธี ต้องไม่ให้เรื่องนี้กระทบความสัมพันธ์ สำหรับกลไกหลักที่จะใช้คือคณะกรรมาธิการร่วม (เจซี) ไทย-กัมพูชา เข้าไปทำความเข้าใจพูดคุยกันต่อไป" รองปลัดกระทรวงต่างประเทศกล่าว



ระหว่างการประชุม นายวีรยุทธ ดวงแก้ว กำนัน ต.เสาธงชัย สอบถามว่า หากศาลโลกให้พื้นที่ 4.6 ตร.ก.ม.เป็นของกัมพูชา จะต้องเตรียมการรับมืออย่างไร โดยเฉพาะกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ที่จะเข้ามาในพื้นที่ เพราะปัญหาของประชาชนชายแดนไม่ทำให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศ แต่เกรงปัญหาจากกลุ่มคนเหล่านี้มากกว่า นายณัฏฐวุฒิชี้แจงว่า กรณีนี้คือศาลตัดสินเข้าข่ายแนวทางที่ 2 ซึ่งไทยเคยคำนวณว่ามีพื้นที่ราว 4.6 ตร.ก.ม. แต่ส่วนตัวไม่คิดว่าแนวทางที่ 2 จะเป็นไปได้ แต่หากเกิดขึ้นต้องยอมรับว่ากระทบต่อความรู้สึกของทุกคนในชาติ ต้องใช้กลไก 2 ชุดที่มีอยู่ ได้แก่ คณะวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางให้รัฐบาลและดำเนินการในแง่กฎหมายให้ครบถ้วน ขณะที่ไทยและกัมพูชาตกลงกันแล้วว่าจะเคารพในสิทธิของการแสดงออกซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องเข้าสู่เจซี โดยการชี้แจงต่างๆ ต้องโปร่งใส



วันเดียวกัน ที่บ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย จ.ศรีสะเกษ ผู้สื่อข่าวแจ้งว่า ชาวบ้านยังประกอบอาชีพตามปกติ แต่บางส่วนเริ่มหวาดหวั่นเกรงว่าการพิพากษาของศาลโลกอาจทำให้ทหารไทยกับทหารกัมพูชาทะเลาะกันอีกรอบบริเวณเขาพระวิหาร กระทั่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนพื้นที่



นางสัมฤทธิ์ แก้วสง่า อายุ 46 ปี ชาวบ้านภูมิซรอล กล่าวว่า ยังหวาดผวากับเหตุการณ์ที่ฝ่ายกัมพูชายิงกระสุนปืนใหญ่มาตกใส่ บ้านไหม้ทั้งหลังเมื่อปี 2554 และมีข่าวว่าวิถีกระสุนปืนใหญ่ของกัมพูชาจะยิงมาตกที่เดิม คือ บ้านของตนและญาติพี่น้อง หลายครอบครัวอพยพไปแล้ว เพราะเกรงว่าหากอพยพช่วง 11 พ.ย. 56 อาจเกิดความโกลาหลขึ้นมาได้ ต้องอพยพหนีภัยสงครามแต่เนิ่นๆ ชาวบ้านบางส่วนได้อพยพคนแก่ออกจากบ้านภูมิซรอลไปอยู่ในที่ปลอดภัยด้วย



นายบรรพต จันทร์เฉลียว นายอำเภอพนมดงรัก จ.สุรินทร์ เผยว่า อำเภอพนมดงรัก มี 4 ตำบล 55 หมู่บ้าน มีตำบลตาเมียง และตำบลบักได รวม 32 หมู่บ้าน เป็นที่ตั้งของปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาควาย ตั้งอยู่ติดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เรียกประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านเพื่อสร้างความเข้าใจในสถานการณ์ การเตรียมให้ประชาชนทราบและติดตามข้อมูลข่าวสาร พร้อมช่วยกันดูแลซ่อมแซมหลุมหลบภัยที่มีอยู่ในพื้นที่ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน รวมทั้งจัดชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) หมู่บ้านละ 15 คน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าชุด จัดชุดเข้าเวรยามหาข่าวและรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้านและฝึกซ้อมแผนป้องกันบรรเทาสาธารณภัย มีการสำรวจหลุมหลบภัย และจะไม่อพยพในทันที ต้องฝึกซ้อมก่อน



เวลา 15.00 น. คณะผู้แทนกองบัญชาการกองทัพไทยและกระทรวงการต่างประเทศ ไปที่โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา เพื่อชี้แจงแนวทางของรัฐบาลและเตรียมความพร้อมรองรับคำตัดสินของศาลโลก และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว



"ยืนยันกับประชาชนว่า หลังศาลโลกอ่านคำพิพากษา 11 พ.ย.นี้ ขอให้มั่นใจว่าจะสามารถรักษาความสงบตลอดแนวชายแดนได้ เพราะผู้นำทั้ง 2 ประเทศตั้งใจไม่ให้ผลคำตัดสินส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในภาพรวม และขณะนี้ได้กำหนดกลไกที่จะใช้พูดคุยเจรจาร่วมกันต่อไป อีกทั้งทหารยังสั่งการกำลังพลว่าให้ยึดหลักสันติวิธี ถ้ามีอะไรให้สอบถามพูดจากันก่อน กลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องถูกวางพร้อมแล้ว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันที่ 11 พ.ย. กลไกเหล่านี้พร้อมทำงานและรักษา ความสงบเรียบร้อยตลอดแนวชายแดนทั้ง 2 ประเทศ" รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าว



Create Date : 11 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2556 17:54:34 น. 0 comments
Counter : 1245 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.