พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
29 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
หวนคืนสู่ 'เมืองแห่งสายน้ำ' ...!

หวนคืนสู่ 'เมืองแห่งสายน้ำ' ...!


สารคดีสัปดาห์นี้ไทยรัฐออนไลน์พาไปลุยเย็นๆ กับเมืองแห่งสายน้ำ...

เมือง ฝูหลิงตั้งอยู่ ณ จุดบรรจบของแม่น้ำแยงซีเกียงกับแม่น้ำอู่  ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 เมืองนี้ทั้งเงียบเหงาและโดดเดี่ยว ไม่มีทางหลวงหรือทางรถไฟ เรือเฟอร์รีล่องแม่น้ำแยงซีเกียงใช้เวลาร่วมเจ็ดชั่วโมงกว่าจะถึงฉงชิ่ง เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด

ผมพำนักในฝูหลิงระหว่างปี 1996 ถึง 1998 ตอนเป็นอาสาสมัครพีซคอร์ปส์อยู่ที่วิทยาลัยในท้องถิ่น เวลานั้นทั้งเมืองมีประชากรราว 200,000 คน  ซึ่งถือว่าน้อยสำหรับมาตรฐานของจีน คนส่วนใหญ่สนับสนุนการสร้างเขื่อนสามผา (Three Gorges Dam) อย่างแข็งขัน แม้พวกเขาจะไม่พูดคุยถึงเรื่องนี้กันเท่าไรนัก เขื่อนมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2009 ยุคปฏิรูปของ จีนเปิดฉากขึ้นเมื่อปี 1978 แต่ก็ต้องรอถึงกลางทศวรรษ 1990 กว่าที่แนวคิดตลาดเสรีจะส่งผลกระทบต่อเมืองเล็กๆ อย่างฝูหลิง นั่นหมายถึงอวสานของงานที่ภาครัฐว่าจ้าง และที่อยู่อาศัยซึ่งแปรสภาพกลายเป็นของเอกชนในชั่วพริบตา

ใน เวลานั้น วิทยาลัยครูฝูหลิงยังเป็นเพียงสถาบันที่สอนหลักสูตรสามปี จึงจัดว่าอยู่รั้งท้ายในระบบอุดมศึกษาของจีน แต่บรรดาลูกศิษย์ของผมก็พึงพอใจกับโอกาสที่ได้รับ เพราะเกือบทั้งหมดมาจากครอบครัวชนบทที่แทบไม่มีธรรมเนียมส่งลูกหลานให้เล่า เรียน กระนั้น พวกเขาก็เลือกวิชาเอกภาษาอังกฤษ  ซึ่งถือเป็นก้าวที่น่าทึ่งมากสำหรับประเทศที่ปิดตัวเองมาตลอดช่วงเวลาส่วน ใหญ่ของศตวรรษที่ยี่สิบ

ลูกศิษย์สอนอะไรผมหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงนัยหรือความหมายของการมาจากชนบท ที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของจีนอาศัยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของยุคปฏิรูป

นับ จากนั้นเป็นต้นมา ประชากรราว 155 ล้านคนได้โยกย้ายไปยังเมืองใหญ่ๆ และลูกศิษย์ของผมพากันเขียนเรียงความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับญาติมิตรที่ต้อง ดิ้นรนกับการเปลี่ยนผ่านนี้ พวกเขายังสอนผมถึง        ความซับซ้อนของความยากจนในประเทศจีนอีกด้วย นักเรียนของผมไม่ได้มีเงินทองอะไรมากมาย แต่พวกเขายังมองโลกในแง่ดีและได้รับโอกาส เขื่อนสามผาไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยในประเทศที่ยากจน ทางการปักกิ่งรายงานว่า อภิมหาโครงการนี้ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าตัวเลขประมาณการอย่างไม่เป็นทางการระบุว่าสูงกว่านั้นมาก

หลัง จากเสร็จสิ้นภารกิจการเป็นอาสาสมัครพีซคอร์ปส์ ผมเดินทางกลับบ้านในสหรัฐฯ  และพยายามบันทึกช่วงเวลาในฝูหลิง หลังจากร่างต้นฉบับหนา 400 หน้าที่ผมตั้งชื่อว่า เมืองแห่งสายน้ำ (River Town) ผมส่งต้นฉบับดังกล่าวไปตามตัวแทนและสำนักพิมพ์ต่างๆ เกือบทุกแห่งปฏิเสธกลับมา บรรณาธิการคนหนึ่งพูดตรงๆว่า “เราไม่คิดว่าจะมีใครอยากอ่านหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีน” (อย่าลืมว่าตอนนั้นเป็นทศวรรษ 1990 และชาวอเมริกันส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้เรื่องราวความเป็นไปในประเทศจีน) แต่ในที่สุดผมก็หาสำนักพิมพ์จนได้ และตอนนั้นเองที่ผมเริ่มกังวลว่า ชาวเมืองฝูหลิงจะตอบรับหนังสือเล่มนี้อย่างไร

แต่ไหนแต่ไรมา ชาวจีนอ่อนไหวอย่างมากต่อภาพลักษณ์ประเทศที่ชาวต่างชาตินำเสนอ ผมส่งร่างต้นฉบับให้ลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อ เอมิลี ความเห็นส่วนใหญ่ของเธอออกมาในเชิงบวก แม้บางครั้งจะแฝงนัยของความผิดหวังอยู่บ้าง เป็นต้นว่า “หนูว่าคงไม่มีใครชอบเมืองฝูหลิง หลังจากอ่านเรื่องที่อาจารย์เขียน แต่ก็บ่นไม่ได้หรอกค่ะ เพราะทุกอย่างที่อาจารย์เขียนล้วนเป็นข้อเท็จจริงทั้งนั้น หนูหวังว่าเมื่อเวลาผ่านไป เมืองนี้จะมีอะไรน่าสนใจมากขึ้นค่ะ”

การ จะทำให้ทุกคนถูกใจแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ผมอยากแสดงออกซึ่งความรักและความผูกพันกับเมืองฝูหลิง แต่ขณะเดียวกัน ผมก็ต้องพูดตรงๆ เรื่องมลพิษ เขื่อน และปัญหาที่บางครั้งผมต้องเผชิญในฐานะชาวต่างชาติ ท้ายที่สุด ผมจำต้องยอมรับความเป็นไปได้ที่ตัวเองอาจไม่เป็นที่ต้อนรับในเมืองนั้นอีก ต่อไป แต่ผมไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปได้เร็วขนาดนี้ ตอนที่หนังสือ เมืองแห่งสายน้ำ ได้รับการตีพิมพ์เมื่อต้นปี 2001 ทางหลวงสายแรกของเมืองก็สร้างเสร็จแล้ว ทำให้เรือเฟอร์รีล่องแม่น้ำแยงซีเกียงหมดความจำเป็น ทางหลวงอีกสองสายพร้อมกับทางรถไฟสามสายกำลังตามมาติดๆ โครงการเขื่อนสามผาทำให้เม็ดเงินจากรัฐบาลกลางหลั่งไหลมายังฝูหลิง รวมทั้งผู้คนที่อพยพมาจากเมืองริมฝั่งแม่น้ำที่อยู่ต่ำลงไปและกำลังกลายเป็น เมืองใต้บาดาล (รวมแล้วมีผู้คนกว่า 1.4 ล้านคนต้องย้ายถิ่นฐาน)

ภาย ในช่วงเวลาทศวรรษเดียว ประชากรในเขตเมืองของฝูหลิงเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และวิทยาลัยครูที่ผมเคยสอนก็ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันสอนหลักสูตรสี่ปี ซึ่งมาพร้อมกับวิทยาเขตแห่งใหม่และชื่อใหม่ว่า มหาวิทยาลัยครูแยงซีเกียง (Yangtze Normal University) จำนวนนักศึกษาเติบโตจาก 2,000 คนเป็นกว่า 17,000 คน ในเวลาเดียวกัน ชาวอเมริกันเริ่มหันมาสนใจประเทศจีน ทำให้ เมืองแห่งสายน้ำ กลายเป็นหนังสือขายดีอย่างไม่น่าเชื่อ

นี่ เป็นครั้งแรกที่ผมกลับมาเยือนเมืองนี้ในรอบกว่าห้าปี  ลูกศิษย์ราว 15 คนมารวมตัวกันเพื่อเลี้ยงรุ่นโดยไม่ได้นัดหมายกันล่วงหน้า พวกเขาเล่าถึงความเป็นไปของเพื่อนร่วมชั้นที่ไม่ต่างจากชาวจีนส่วนใหญ่ใน ช่วงอายุเดียวกัน นั่นคือต้องอพยพโยกย้ายไปไกลบ้าน หลายคนอยู่ตามเมืองชายฝั่งที่กำลังเติบโต คนหนึ่งทำการค้าในอินเดีย อีกคนถูกจำคุกข้อหาคอรัปชัน วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน ฟอสเตอร์ ซึ่งตั้งชื่อภาษาอังกฤษสวยหรูให้ตัวเอง มีรายได้สูงมากจากการสอนภาษาอังกฤษให้ลูกๆ ของบรรดาเจ้าของโรงงานที่ร่ำรวยทางภาคตะวันออก ส่วนเอมิลีตอนนี้ทำงานในโรงเรียนประถมของฝูหลิงทัศนคติใหม่ๆ ทำให้ผมประทับใจยิ่งกว่าการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุเสียอีก เย็นวันหนึ่งระหว่างที่ผมบรรยายให้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยครูแยงซีเกียง ในช่วงถาม-ตอบ นักศึกษาปีหนึ่งคนหนึ่งลุกขึ้นถามว่า

“อาจารย์คิดว่า ประเทศจีนจะสามารถแซงหน้าอเมริกาในด้านประชาธิปไตยและเสรีภาพได้ไหมครับ”  ตอนที่ผมเป็นอาจารย์อยู่ที่นี่ ไม่มีนักศึกษาคนไหนกล้าถามคำถามแบบนี้ในที่สาธารณะ คำตอบของผมฟังดูออกแนวนักการทูตหน่อยๆ แต่จริงใจว่า “นั่นขึ้นอยู่กับคุณและ คนรุ่นคุณแล้วละครับ”

ผมยังพบว่าชาวจีนที่มีการศึกษาดูจะสนใจที่จะ วิเคราะห์สังคมของตนเองมากขึ้นด้วย เอมิลีบอกผมว่า ญาติเธอ อาจรวย แต่เธอเห็นว่าเงินทองไม่ได้ทำให้เขามีความสุขขึ้นเลย เมื่อไม่นานมานี้ วิลเลียมและภรรยาตัดสินใจฝ่าฝืนนโยบาย  “ลูกคนเดียว” ของทางการจีน ด้วยการมีลูกคนที่สอง เขาตัดสินใจเช่นนี้หลังจากไปร่วมงานศพของชายที่มีลูกคนเดียว

วิ ลเลียมเล่าว่า “ผมต้องช่วยลูกชายเขายกหีบศพ ทำให้ผมได้คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นตอนที่พวกเราจากไปแล้ว และลูกสาวผมต้องอยู่ตัวคนเดียวในโลก การมีพี่น้องน่าจะดีกว่าครับ”

โม มันนี เพื่อนร่วมชั้นของเขา เป็นเด็กยากจนอีกคนที่ตั้งชื่อภาษาอังกฤษให้ตัวเองอย่างตรงไปตรงมา เขาประสบความสำเร็จในฐานะครูที่โรงเรียนชั้นนำแห่งหนึ่งในฉงชิ่ง แต่ยังรู้สึกครึ่งๆ กลางๆ กับแรงกดดันอันไม่หยุดหย่อนของวิถีชีวิตในเมืองใหญ่ของจีน เขายอมรับว่า

“ชีวิต ต้องแก่งแย่งแข่งขันกันครับ ผมว่านี่คือช่วงเวลาสำคัญของประเทศเรา ที่ผ่านมา ชาวจีนอาจเคยวิพากษ์วิจารณ์ประเทศอื่น ตอนที่ประเทศเหล่านั้นก้าวผ่านช่วงเวลาแบบเดียวกัน สมัยก่อนเราวิจารณ์ลัทธิทุนนิยมของอเมริกาอย่างหนักหน่วง แต่ทุกวันนี้ เรากำลังก้าวผ่านกระบวนการเดียวกันครับ”

เรื่อง ปีเตอร์ เฮสส์เลอร์ ภาพถ่าย แอนาสเตเชีย เทย์เลอร์-ลินด์ ข้อมูลจากนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย ngthai.com/ngm/1303/default.asp


 






Create Date : 29 มีนาคม 2556
Last Update : 29 มีนาคม 2556 14:48:42 น. 0 comments
Counter : 2339 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.