พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 
24 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
ทฤษฎีสี จากในอดีตที่สามารถค้นคว้าได้ตามหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์

ทฤษฎีสี จากในอดีตที่สามารถค้นคว้าได้ตามหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์


ทฤษฎีสี จากในอดีตที่สามารถค้นคว้าได้ตามหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์นั้น สีมักจะถูกใช้โดยผู้ชำนาญ เช่น จิตรกร หมายถึง เพื่อการแสดงออกของอารมณ์ ความรู้สึก ทั้งกับผู้ทำ และผู้ดู

สีขั้นปฐม (THE PRIMARY COLORS) ในโรงเรียน สมัยประถมต้นว่า สีพื้นๆ ที่เป็นแม่สีนั้นมี ภาษาเป็นทางการว่า "สีขั้นปฐมภูมิ" ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำ เงิน จำนวน 3 สี เป็น สีเดี่ยวๆ ที่ไม่สามารถใช้สี อื่นใดผสม เป็นสี 3 สีนี้ ได้

สีขั้นทุติยภูมิ (SECONDARY COLORS) เป็นสีในขั้น ที่ 2 เกิดจาก การผสมตัวของแม่สี 2 สี เช่น แดง+เหลือง = ส้ม , แดง + น้ำเงิน = ม่วง , เหลือง + น้ำเงิน = เขียว เป็นต้น

สีขั้นที่ 3 (TERTIARY COLORS) เป็นการผสมสีใน ขั้นที่ 2 จำนวน 2 สี มาผสมกัน เช่น ส้ม+ม่วง หรือ เขียว+ส้ม หรือ เขียว+ม่วงโดยผลที่ออกมาจะเป็นสีออกน้ำตาลคล้ายๆกัน

ดำ : BLACK สีดำไม่จัดเป็นแม่สี นักทฤษฎีสีบางท่าน ถือว่าสี ดำไม่ใช่สี แต่ในความเป็นจริงเราพบเห็นและใช้สีดำ อย่างขาดไม่ได้พอๆ กับสีตรงข้ามของดำ คือ

ขาว : WHITE สีขาว สำหรับงานจิตรกรรม ผลิตจาก สารตะกั่วที่ให้คุณสมบัติทึบแสง และกลบทับได้ดีเบื้องต้นของ หลักการความเป็นมาของสีนี้ เป็นสีที่มักใช้โดยกลุ่มจิตรกร และมักจะใช้ในงานจิตรกรรม , งานสถาปัตยกรรม , ตกแต่ง ภายใน ฯลฯ ไม่รวมถึงสีของแสงซึ่งต่างออกไป

สีของแสง : ประกอบด้วยแม่สี 3 สี เช่นกัน ได้แก่ BGR คือ BLUE-น้ำเงิน , GREEN-เขียว , RED-แดง เช่นในเครื่อง รับโทรทัศน์ แต่เมื่อรวมเอาแสงของสีทั้ง 3 เข้าด้วยกันในปริมาณ เท่าๆ กันจะได้สีของแสงเป็นขาว ในงานออกแบบสาขาต่างๆ เราจะไม่ใช้การผสมสี สร้างสี ด้วยเนื้อสีเองแต่เราจะใช้สีในวัสดุต่างๆ นำมาจัดวางเข้าด้วย กัน หรือประกอบกันแล้วเกิด ผลในภาพรวม ซึ่งถ้าเราเข้าใจใน หลักการ ต่างๆ ของ น้ำหนักสี ความเข้มสี ความสว่าง สีคู่ตรงข้าม สีพหุรงค์+เอกรงค์ สีร้อน เป็นสีครอบ งำ การกลับค่าสี และอาจจะ มีจิตวิทยาของสี ความเชื่อเรื่องสีต่างๆนี้ก็จะทำให้ การทำงาน ในระดับมืออาชีพของนักตกแต่งหนักแน่นขึ้น มีที่มาที่ไป มากขึ้น และสนุกสนานมีทางเลือกมากขึ้นสำหรับนักตกแต่งบ้านในระดับ สมัครเล่น และบุคคลทั่วไป ซึ่งเราสามารถนำเอาหลักการต่างๆนี้มาประยุกต์ใช้ได้นอก เหนือไปจากงาน ตกแต่งภายในได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งผมจะ ขยายความในโอกาสต่อไป

สีร้อน และเย็น WARM AND COOL COLORS สีแดง สีเหลือง สีส้ม สีม่วงออกแดง สีส้มแดง เหล่านี้เป็นสีที่ จัดอยู่ใน วรรณะร้อน เนื่องจากสีเหล่านี้ให้อารมณ์และความ รู้สึกที่รวดเร็ว ร้อนแรง ไม่เย็น ให้ความรู้สึกในทางกระตุ้น การตื่นตัว เตรียมพร้อม สีน้ำเงิน สีฟ้า สีเขียว สีเขียวฟ้า เหล่านี้ เป็นสีที่จัดอยู่ใน วรรณะเย็น เนื่องจากสีเหล่านี้ให้อารมณ์ที่สงบเยือกเย็นให้ ความรู้สึกตรงข้ามกับสีใน วรรณะร้อนอย่างสิ้นเชิง ในงานศิลปะแขนงจิตรกรรม สีวรรณะร้อน เท่าที่นึกได้ เช่นศิล ปิน เซซาน์ หรือ โมเน่ เป็นต้น แต่มิได้หมายความว่า ท่านเหล่านี้ผลิตผลงานอันเป็นอมตะของท่านเป็นวรรณะร้อน แต่เพียงอย่างเดียวหรือ วรรณะเย็น อย่างเดียว แต่มีวิธีการ ใช้สีอย่างชาญฉลาดกว่านั้นมากนัก สีร้อนและสีเย็น ยังให้ผลในแง่ทัศนียภาพ โดยหลักการ แล้ว สีวรรณะร้อน จะให้ความรู้สึกอยู่ใกล้หรืออยู่ข้างหน้ามาก กว่า ในขณะที่ สีวรรณะเย็น ทำตรงข้ามคือสีเย็น : ช่วยให้ระยะ อยู่ลึกกว่า ความเป็นจริง หรือดูไกลออกไปมากกว่า ในด้านงานตกแต่งภายในไม่ว่าจะเป็นมือสมัครเล่นหรือ มืออาชีพการนำเอาหลักการเหล่านี้มาใช้ ก็จะช่วยให้งานการ เลือกวัสดุและสีต่างๆของผนัง พื้น เพดาน ต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่อง ง่ายขึ้นและผิดพลาดน้อยลง และใช้เป็นข้อยุติได้สำหรับ มืออาชีพ




อิทธิพลของสีที่มีผลต่อระบบร่างกายของมนุษย์ เริ่ม จากการรับสภาพ รู้สึก ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาทางต่างกายและ จิตใจ ยกตัวอย่างเช่น ห้องๆ หนึ่งทาสีฟ้าอ่อนๆ จะทำให้ห้องนั้น รู้สึกสงบ และใหญ่ขึ้นกว่า ขนาดจริง และทำให้ผู้อยู่อาศัยในห้อง นี้มีทัศนคติในทางที่เป็นบวกมากกว่าลบ ในทางกลับกันสิ่งของ เช่น ตู้หรือห้อง หรือเครื่องเรือน ใดๆ ที่มีขนาดใหญ่มากๆ การใช้ สีวรรณะเย็น ก็จะทำ ให้ห้องนั้นสิ่งนั้นใหญ่ขึ้น (รู้สึกใหญ่กว่าจริง) แต่ถ้าเรา ต้องการให้ห้องนั้นๆ ซึ่งเป็นห้องโถงสูงและใหญ่ มีขนาด ที่ไม่เวิ้งว้างเกินไปนัก (ต้องการความอบอุ่น)ก็ควรใช้ สีในวรรณะร้อน เช่นทาผนังด้วยสีแดงเข้ม หรือแดง มารูนหรือน้ำตาลแดง ก็จะช่วยให้ห้องนั้นๆกระชับและ ดูอบอุ่น (ร้อนแรง) ขึ้นได้ หรือใช้สีดินเผาอ่อนๆ ทาผนัง ก็จะช่วยให้ห้องนั้นดูเล็กลงแต่อบอุ่นขึ้น



การจัดโครงสีของห้อง ให้เป็นสีในวรรณะใดวรรณะ หนึ่งก็จะช่วยให้งานเลือกสีง่ายขึ้นอีกมากโข เช่น เราชอบ สีร้อน: เพราะเราเป็นคนที่มีนิสัย รักที่จะกระฉับกระเฉง ตื่นตัว อบอุ่น เหล่านี้ เราอาจใช้หลายๆ สีกับหลายๆ สิ่ง ของในห้องหนึ่งๆ ได้โดยไม่ต้องกังวล ว่า จะไม่งดงาม กลม กลืนหรือกลัวว่าจะ เฉิ่ม เชย เช่ย : ห้องนอนเด็ก (ควรจะ ใช้ สีวรรณะร้อน) เพราะธรรมชาติของเด็กต้องการสิ่ง กระตุ้นตลอดหรือมากกว่าผู้ใหญ่ โดยตู้เสื้อผ้าอาจเป็นสีส้ม เตียงสีแดง เก้าอี้สี เหลือง ผนังห้องสีเหลืองอ่อน ม่านสีม่วง แดง ฯลฯ ทุกสิ่ง อยู่ด้วยกันไดเพราะอยู่ในวรรณะเดียว กัน เป็นต้น



ห้องนอน : น่าจะเป็นสีวรรณะเย็น จำพวกสีฟ้าอ่อน สีน้ำเงิน สีเขียวน้ำทะเล จะทำให้ ห้องนอนสงบ สบายมาก ขึ้น เช่น ผนังห้อง สีฟ้าอ่อน (เกือบขาว) ม่านสีฟ้าอมน้ำ- ทะเลออกเขียวอ่อนๆ ผ้าปูเตียงสีเดียว กับม่าน ภาพ ประดับห้องสีโทนเขียวอมฟ้าหือเป็นภาพวิวทิวทัศน์ ชาย ทะเลเป็นต้น การเลือกสีและวัสดุที่มีสีมาตกแต่งห้อง ก็จะ มีเป้าหมาย และง่ายต่อการคุมโครงสี

สรุปว่าการนำประโยชน์ของสีร้อนและเย็นมาใช้ใน งานตกแต่งภายใน มีเป้าหมายว่า สามารถใช้สีหลากหลาย ในวรรณะใดวรรณะหนึ่ง ได้โดยง่าย ต่อการกำหนดโครงสี รวมๆ และควบคุมง่าย


ตากล้อง |ช่างภาพ |ชมรมกล้อง |ชมรมคนรักกล้อง |ชมรมถ่ายภาพ|เว็บบอร์ดกล้อง| เว็บกล้อง| ขายภาพออนไลน์ |ขายภาพ |ขายภาพถ่าย| ชมรมตากล้อง| สมาคมช่างภาพ


Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2555 8:28:36 น. 0 comments
Counter : 2256 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.