Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
24 พฤศจิกายน 2558
 
All Blogs
 

“ศิลปะแห่งการเขียน” การเขียนสารคดี โดยอ.ชมัยภร แสงกระจ่าง

24 พฤศจิกายน 2558









ผมมีโอกาสได้ไปเข้าร่วมอบรมการเขียนที่จัดขึ้นโดยสถาบันปัญญ์สุข ซึ่งเป็นสถาบันแบ่งปันความสุขและปัญญาที่จัดตั้งขึ้นโดย อาจารย์เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ เป็นการให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจด้านการเขียนในหัวข้อ “ศิลปะแห่งการเขียน” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการสอนในหัวข้อว่าด้วยการเขียนสารคดี โดยอาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง ศิลปินแห่งชาติและนักเขียนนักวิจารณ์ชื่อดัง ผมขอสรุปรายละเอียดของการบรรยายเพื่อบันทึกไว้สำหรับตัวผมและผู้ที่สนใจ โดยผมจดเป็นรายละเอียด(เลคเชอร์) สำหรับนำมาเขียนเรียบเรียงขึ้นใหม่ไม่ใช่การถอดเทปคำบรรยาย ดังนั้นจึงอาจจะมีส่วนที่คลาดเคลื่อนไปบ้างก็ได้แต่ผมก็พยายามจะเขียนสรุปให้ตรงตามที่บรรยายมากที่สุดครับ

ซึ่งการบรรยายมีรายละเอียดดังนี้

-การเสพหนังสือมี 2 วิธีคือ 1.การอ่าน 2.การเขียน

-การอ่านนั้นนำเรื่องราวทั้งหมดเข้าสู่ตัวเราโดยใช้ตาอ่าน ถ้าใช้หูฟังเป็นเรื่องของสียงซึ่งถือว่าเป็นการเสพเหมือนกัน

-ใครที่เริ่มอ่านหนังสือตั้งแต่ตอนอายุ 12 ขวบ สมองส่วนหน้าจะทำงานได้ดีมาก ส่วนเด็กคนใดที่ไม่ได้อ่านหนังสือตั้งแต่อายุ 12 ขวบแสดงว่าสมองส่วนหน้านั้นได้ถูกทำลายไปแล้ว

-การอ่านหนังสือเป็นการเสริมสร้างจินตนาการได้มากที่สุด เพราะมันเป็นการทำให้เราต้องทยอยคิดว่าจะเกิดอะไรต่อไป ซึ่งผิดจากการดูภาพยนตร์เพราะว่าภาพยนตร์มันมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันแล้ว แต่การอ่านต้องคิดจินตนาการเพื่อให้เห็นภาพ

-การเขียนเป็นกระบวนการส่งออก คือส่งความเข้าใจชีวิตออกไป เป็นการถ่ายทอดออกมาตามวัยและตามประสบการณ์ของชีวิต

-ประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการเสพงานศิลปะแขนงอื่นด้วย โดยเฉพาะงานศิลปะที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง

-ในการส่งออกไป ถ้าเราส่งออกข้อเท็จจริงก็จะเป็นสารคดี แต่ถ้าเราส่งออกไปพร้อมจินตนาการก็จะเป็นนิยาย ซึ่งการส่งออกแบบนี้ต้องผ่านกระบวนการฝึกฝนทางภาษาด้วย

-ในปัจจุบันงานเขียนสารคดีได้เชื่อมตัวมันเองเข้ากับการประพันธ์อื่น ๆ แล้ว ซึ่งสามารถนำเทคนิควิธีการเขียนต่าง ๆ มาใช้ในการเขียนสารคดีได้ กลายเป็นงานสารคดีที่มีวรรณศิลป์ที่งดงามไปแล้ว

-สารคดีเป็นงานเขียนที่ใช้ข้อเท็จจริงเป็นหลัก ดังนั้นข้อมูลต้องถูกต้องเสมอ

-ดังนั้นคนที่ชอบเก็บรายละเอียดและชอบแสวงหาข้อเท็จจริง คนพวกนี้สามารถเขียนสารคดีได้ดี เพราะการเขียนสารคดีต้องอย่าคิดเอาเองหรือสร้างข้อมูลขึ้นเอง

-ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ใช้ในงานเขียนสารคดีจะต้องมีหลักฐานยืนยันว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง โดยหลักฐานยืนยันก็คือ การอ้างอิง , เอกสารอ้างอิง , ภาพถ่าย ฯลฯ โดยทั้งหมดต้องมีน้ำหนักชัดเจนที่คนอ่านสามารถรับรู้ได้ว่ามันเป็นของจริง,เป็นเรื่องจริง

-งานสารคดีมีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
1.มีข้อมูลที่ถูกต้อง
2.มีกลวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ
3.มีความจริงใจ ปราศจากอคติและความดูแคลน

-คนที่เขียนสารคดีต้องมีใจที่เปิดกว้างและเป็นกลาง ต้องซื่อสัตย์ต่อข้อมูลที่นำเสนอ ถ้าขาดความจริงใจแล้วคนอ่านจะรู้ เพราะมันจะสะท้อนความไม่จริงใจออกมาได้ผ่านตัวหนังสือ



การเขียนสารคดีท่องเที่ยว

-จะเขียนเรื่องอะไรเราควรจะมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ด้วย โดยเราต้องรอบรู้พอสมควร เช่นเราจะเขียนสารคดีเกี่ยวกับประเทศจีน เราต้องรอบรู้เรื่องราวของประเทศจีนมากพอควรด้วย

-ภาษาที่ใช้ในการเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญ งานเขียนสารคดีท่องเที่ยวภาษาที่ใช้ในการเล่าเรื่องต้องเป็นภาษากลาง ๆ

-เวลาเราจะเขียนสารคดีเรื่องใดนั้นให้เราคิดประเด็นไว้ก่อนเลย ต้องมีประเด็นที่ชัดเจนก่อนที่จะวางโครงเรื่อง ซึ่งความน่าสนใจของสารคดีท่องเที่ยวจะอยู่ที่ประเด็นที่เราคิดไว้

-เวลาที่จะเขียนให้เราประมวลเรื่องราวทั้งหมดออกมาก่อน แล้วตั้งเป็นคำถามเพื่อสร้างเป็นประเด็นขึ้นมา

-ส่วนที่สำคัญที่สุดของการเขียนสารคดีท่องเที่ยวก็คือ ชีวิตของมนุษย์หรือของคนจะเข้าไปสัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น(สถานที่)ได้อย่างไร? ไม่ใช่ให้เพียงภาพแต่ไม่ให้ชีวิตด้วย เวลาเขียนควรเรียงประเด็นไปตามความสำคัญ

-จิตร ภูมิศักดิ์ เคยเขียนสารคดีท่องเที่ยวนครวัด โดยการเขียนผ่านตัวละคร 3 คนที่เป็นนักท่องเที่ยว (มีตัวจิตร ภูมิศักดิ์อยู่ในนั้นด้วย) ตัวละครคุยกันเป็นข้อมูลเกี่ยวกับนครวัดทั้งหมด

-เวลาที่เขียนสารคดีท่องเที่ยว เราต้องเชื่อมความมีชีวิตของแต่ละแห่งใส่เข้าไปไว้ด้วย เพราะชีวิตเท่านั้นที่จะทำให้สถานที่นั้น ๆ งดงามและมีความหมาย หากจะเขียนถึงสถานที่หรือสิ่งของอย่างเดียวมันจะแห้งเกินไป เราต้องเขียนถึงชีวิตด้วย

-เวลาเขียนต้องมีตัวเราอยู่ในเรื่องด้วย รวมทั้งคนที่เราไปเจอ นอกนั้นเป็นสถานที่ที่เราเห็น

-หลาย ๆ ท่านอ่านหนังสือเพราะว่าติดคนเขียน หรือว่าชอบคนเขียนท่านหนึ่งท่านใดเป็นพิเศษ (ใครมีนักเขียนประจำใจบ้าง? นักเขียนคนนั้นคือใคร?)

-คุณไพบูลย์ วงษ์เทศ เขียนเรื่องราวเป็นบทกวีในยุคหลัง 6 ตุลา

-ในงานสารคดีมีตัวผู้เขียนอยู่ในงานเขียนนั้นด้วย ซึ่งตัวผู้เขียนในเรื่องนั้นเองจะเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าผู้เขียนมีความรู้(เกี่ยวกับเรื่องนั้นหรือสถานที่นั้น)มากน้อยขนาดไหน

-นิราศ ถือว่าเป็นงานเขียนสารคดีรุ่นเก่าของไทย เป็นสารคดีท่องเที่ยวที่เขียนถึงสถานที่ต่าง ๆ พร้อมกับรำพึงรำพันถึงบ้านเกิดหรือคนรักที่จากมา

-ในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวเราต้องคิดให้ชัดและมีประเด็นหลัก รวมทั้งตั้งชื่อเรื่องเอาไว้ก่อนเลย เพื่อที่ว่าในเวลาเขียนเราจะสามารถคลุมประเด็นได้

-ส่วนประเด็นย่อยในงานสารคดีก็เหมือนโครงเรื่องย่อยของนิยาย แต่ในงานสารคดีประเด็นย่อย ๆ นั้นอาจจะแยกขาดออกจากกันได้ (แต่ในนิยายทำไมได้) เพราะเรื่องทั้งหมดถูกคลุมเอาไว้ด้วยประเด็นหลักแล้ว เช่น เขียนเรื่องการขึ้นภูกระดึงในวันนี้ แต่อาจจะมีการเล่าเรื่องถึงเหตุการณ์หินถล่มที่ภูกระดึงในสมัย พ.ศ.2510 ด้วยก็ได้ , มีการพูดถึงลูกหาบด้วยก็ได้ , มีการพูดถึงต้นไม้ด้วยก็ได้ , มีการพูดถึงนยาบายการสร้างกระเช้าไฟฟ้าด้วยก็ได้ ฯลฯ

-สาเหตุที่ประเด็นย่อยต่าง ๆ สามารถแยกออกจากกันได้ก็เพราะว่ามีแกนกลางของเรื่องที่เป็นเรื่องการท่องเที่ยวอยู่แล้ว

-การเขียนสารคดีท่องเที่ยวขอให้เขียนด้วยการเข้าใจในชีวิตของตัวเราเอง



สารคดีชีวประวัติ

-ถ้าเป็น “อัตชีวประวัติ” นั้นแสดงว่าผู้เขียนเขียนประวัติของตัวเอง แต่ถ้าเป็น “ชีวประวัติ” แสดงว่าผู้อื่นเป็นคนเขียนถึงชีวิตของคนคนนั้น

-ยกตัวอย่างอัตชีวประวัติที่ชื่อเรื่องว่า “ความสำเร็จและความล้มเหลว” เขียนโดย ม.ล.บุญเหลือ เทพสุวรรณ เป็นการเขียนถึงชีวิตของตัวเองทั้งด้านที่ดี (ความสำเร็จ) และด้านที่ไม่ดี (ความล้มเหลว)

-ในกรณีที่เขียนเป็นชีวประวัตินั้นสามารถเขียนถึงชีวิตของคนคนนั้นได้ตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้าเป็นอัตชีวประวัตินั้น ผู้เขียนสามารถเขียนได้แค่เพียงบางส่วนของชีวิตเท่านั้น (เพราะชีวิตยังไม่จบสิ้น/ผู้เขียนยังไม่ตาย) โดยอัตชีวประวัตินั้นผู้เขียนอาจจะละเลยไม่เขียนถึงเรื่องราวที่ไม่ดีในชีวิตของตัวเองได้

-ดังนั้นถ้าผู้เขียนเขียนได้ดีประวัติชีวิตของคนนั้นก็จะสมบูรณ์ ถ้าเป็นอัตชีวประวัติผู้เขียนอาจจะปกป้องส่วนที่ไม่ดีไว้ก็ได้

-“แกะลายไม้หอม” เป็นชีวประวัติแบบบางส่วนของชีวิต ของคุณกฤษณา อโศกสิน ซึ่งเป็นชีวิตส่วนที่เขียนหนังสือเท่านั้น ผู้อ่านอ่านแล้วจะเห็นประเด็นในเรื่องการเขียนเป็นหลัก







-“สันติปรีดี” เป็นชีวประวัติของท่านปรีดี พนงยงค์ เขียนโดย อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง

-“อยู่เพื่อใจดวงรัก” เขียนโดย อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง เป็นชีวประวัติของนักเขียนที่ใช้นามปากกาว่า “ส.บุญเสนอ” เป็นการเขียนแบบสาระนิยาย โดยมีคำนำบอกไว้เพราะใช้ข้อมูลชีวิตเพียงบางส่วน เนื่องจากไม่สามารถหาข้อมูลได้ครบถ้วนจึงต้องเขียนเป็นสาระนิยายแทน

-“ดอกหญ้าเหนือผืนดิน” เขียนโดย อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง เป็นชีวประวัติของ อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างเขียน (ยังเขียนไม่เสร็จ)

-พอเรามั่นใจว่าจะเขียนประวัติของใคร ให้เราทำทามไลน์ (Time Line )
เขียนเรียงพ.ศ.เรียงปีไว้ก่อนเลย เพื่อที่จะดูว่าในแต่ละปี(แต่ละพ.ศ.)นั้น เขาทำอะไรบ้าง? การที่ต้องเรียงไว้เพื่อให้ในการเขียนจะได้ไม่ตกหล่น แล้วค่อยหาข้อมูลเพิ่มเติมในแต่ละปี โดยไปดูว่าในปีนั้น ๆ มีการบันทึกข้อมูลไว้ที่ไหนบ้าง?

-เวลาเขียนชีวประวัติเราต้องการข้อมูลมากที่สุด เพราะยิ่งใส่รายละเอียดเยอะมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ในบางครั้งผู้เขียนต้องคุยกับญาติพี่น้องหรือคนที่รู้จักเขา เพื่อหาข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับการประกอบการเขียนให้เห็นชีวิตของเขา

-สารคดีชีวิตนั้นสามารถทำให้คนอ่านร้องไห้ได้ เพราะว่ามันเป็นชีวิตจริง ๆ ของคนคนหนึ่ง

-ในกรณีที่คนนั้นเขามีข้อเสียหรือมีเรื่องราวไม่ดีนั้น เรา(ผู้เขียน)ต้องถามตัวเองให้ได้ก่อนว่า “เราจะเอาข้อมูลส่วนนั้นมาทำไม?” ก่อนจะเขียนเราต้องตอบตัวองให้ได้ก่อน

-เรา(ผู้เขียน)ต้องรู้ประวัติชีวิตของเขาทั้งหมด เวลาเขียนให้เขียนตามเวลาในแต่ละปีเพื่อที่จะได้คลุมเนื้อเรื่องได้ และเวลาเขียนเราต้องเขียนให้เป็นรูปร่างของชีวิต เขียนโดยทำให้เห็นเป็นภาพที่คนอ่านจะสามารถเขาใจถึงชีวิตของคนคนนั้นได้

-ในการเขียนสารคดีชีวิตหรือเขียนชีวประวัตินั้น ในงานเขียนจะต้องไม่มีตัวเรา(ผู้เขียน)เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งต่างจากการเขียนสารคดีท่องเที่ยวที่ต้องมีตัวเรา(ผู้เขียน)อยู่ในเรื่องด้วย

-เขียนให้อยู่ภายใต้กรอบชีวิตของคนคนนั้น โดยเลือกที่จะเขียนเรื่องราวของใครจากความน่าสนใจของชีวิต และต้องคำนึงถึงด้วยว่าผู้อ่านจะได้อะไรจากการอ่านเรื่องราวชีวิตนั้นด้วย

-“เดินสู่อิสรภาพ” ของประมวล เพ็งจันทร์ เป็นการเขียนสารคดีการเดินทางของชีวิต โดยผู้เขียนต้องการพิสูจน์ถึงความเสียสละของคนในสังคม เป็นงานเขียนที่เรียกร้องหาความดีงามที่คนมีให้แก่กัน เป็นเรื่องของการช่วยเหลือคนด้วยกัน โดยอ.ประมวล เพ็งจันทร์ เป็นคนที่ชัดเจน มีการเขียนอธิบายที่ชัดเจนมาก เล่มนี้เขียนในปี 2553 เป็นหนังสือน่าอ่านมาก








-“ไล่ตงจิ้น ลูกขอทาน ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต” เป็นเรื่องราวของชีวิตที่น่าอ่าน เป็นหนังสือแปลของประเทศไต้หวัน

-“ไฟหนาว” นวนิยายของกฤษณา อโศกสิน มีการบรรยายฉากปวดท้องจะคลอดลูก ใครที่ไม่เคยมีความรู้สึกปวดอย่างนั้นควรหามาลองอ่านดู

-กฤษณา อโศกสิน ให้ข้อคิดโดยบอกว่า “ให้ทำงานตามลำดับ อย่าก้าวข้าม”

-การเขียนหนังสือนั้นเติบโตไปตามอายุของคนเขียน

-การเขียนโดยการลงมือเขียนไปเลย จะทำให้ผู้เขียนรู้ว่าตัวเองมีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง

-เชิงอรรถหรือบรรณานุกรม มีไว้เพื่ออ้างอิงความถูกต้องของข้อมูล

-นวนิยายเรื่อง “ฤดูร้อนมีดอกไม้บาน” เขียนโดย อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง เป็นนวนิยายที่เขียนเกี่ยวกับโรคลมชัก โดยเอาข้อมูลมาจาก ศูนย์โรคลมชัก โรงพยบาลจุฬาลงกรณ์

-นวนิยายเรื่อง “บานไม่รู้โรย” เขียนโดย อ.ชมัยภร แสงกระจ่างเป็นนวนิยายที่เขียนเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ โดยเอาข้อมูลมาจากผู้ที่ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

-อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง บอกว่าตัวท่านเองกลายเป็นนักเขียนแนวเพื่อสุขภาพไปแล้ว (อ.แซวตัวเองเล่น)





ท้ายสุดนี้ผมขอขอบคุณท่านอาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่างผู้ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์สำหรับผม และขอขอบคุณสถาบันปัญญ์สุข โดยอาจารย์เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ และทีมงานเป็นอย่างมากที่จัดให้มีกิจกรรมดี ๆ สำหรับแบ่งปันให้แก่สังคม ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย “ศิลปะแห่งการเขียน” ในครั้งนี้คงจะมีความสุขกันอย่างถ้วนหน้า

ขอขอบคุณครับ










 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2558
30 comments
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2559 15:54:35 น.
Counter : 3078 Pageviews.

 

อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog
ส่งกำลังใจค่ะ คุณอาคุงกล่อง

 

โดย: โอพีย์ (Opey ) 24 พฤศจิกายน 2558 17:21:07 น.  

 

อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog


รูปนี้มีเพื่อนเรานะทิดกล่อง นั่งหน้าขวาหนะ

 

โดย: หอมกร 25 พฤศจิกายน 2558 10:15:39 น.  

 

ได้ความรู้มากๆ เลยนะคะ น้องซีให้แม่อ่านหนังสือมาตลอดตั้งแต่เกิด จนตอนนี้เธออ่านหนังสือเองได้แล้วค่ะ เธออายุ 7 ขวบ ยังไม่ 12 ^^ สมองยังได้อยู่เนอะ....ตั้งใจว่าวันเกิดปีนี้ (ช่วงวันเด็ก) จะให้สมุดบันทึกเธอสักเล่มค่ะ...



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
อาคุงกล่อง Literature Blog

 

โดย: kae+aoe 25 พฤศจิกายน 2558 11:18:22 น.  

 

สุขสันต์วันลอยกระทงค่ะ

โหวตเลยนะคะ ได้ความรู้ที่แน่นมาก
คงเป็นความโชคดี ที่เป็นเด็กคนเดียวในบ้าน
หนังสือจึงคือเพื่อนที่ดีที่สุด ณ เวลานั้น
ยังคงรักการอ่าน แต่อุปกรณ์คือส่ายตาก็ต้องดูแลค่ะ


แอมอร

 

โดย: peeamp 25 พฤศจิกายน 2558 13:52:52 น.  

 


แวะมาอ่านศิลปงานเขียนค่ะ
ได้ความรู้หลายอย่างเลยค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Sweet_pills Travel Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog

 

โดย: newyorknurse 26 พฤศจิกายน 2558 2:22:30 น.  

 

เรื่องลงมือเขียนไปเลย นี่เป็นหลักของเราเลยค่ะ
ไม่ลงมือก็ไม่รู้ว่าจะเขียนออกมาอย่างไร จะตัดทอน เพิ่มเติมตรงไหนบ้าง

อ่านแล้วได้ประโยชน์มากค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 26 พฤศจิกายน 2558 14:53:40 น.  

 

ขอบคุณค่ะ คุณอาคุงกล่อง สำหรับโหวต,พักนี้ว่างหรือค่ะถึงได้เจอกันบ่อยอิอิ ขอบคุณอีกครั้งนะค่ะ

 

โดย: โอพีย์ (Opey ) 26 พฤศจิกายน 2558 19:19:46 น.  

 

ฮ่ากลับมาอีกรอบค่ะ เพื่อเซฟบล็อกหน้านี้ไว้อ่าน ยามที่มีเวลาจริงๆคือตั้งใจไว้ว่าจะอ่านค่ะ เพราะเห็นเจ้าของบล็อกเขียนยาวมากๆประมาณกรุงเทพไปกลับเชียงใหม่ด้วยเครื่องบินนะค่ะฮ่า

 

โดย: โอพีย์ (Opey ) 26 พฤศจิกายน 2558 19:24:06 น.  

 

ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ

 

โดย: ออมอำพัน 26 พฤศจิกายน 2558 19:52:02 น.  

 

งานเขียนมันก็มีรูปแบบของมันที่ต่างกันไป ผมไม่ค่อยได้ศึกษาเท่าไหร่ ใช้ประสบการณ์เอาอย่างเดียว คิดว่าถ้าได้ศึกษามากกว่านี้น่าจะพัฒนางานเขียนของตัวเองได้

ตอนเด็กๆ ผมอ่านแต่การ์ตูนครับ เดี๋ยวนี้ก็ยังอ่าน เพียงแต่มีหลังสือประเภทอื่นแทรกเข้ามามากขึ้น


จากบล็อก ผิดครับ ขาเท่ากัน แต่ยังไงก็ยืนไม่ได้ด้วยตัวเอง เพราะหัวโตเกิน ยืนเองไม่ได้ อย่างที่เคยเขียนไว้ในบล็อกนี้ ตัวที่ยืนได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีขาตั้งมีค่อนข้างจำกัดครับ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=toor36&month=03-2015&date=27&group=13&gblog=10

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 27 พฤศจิกายน 2558 1:03:04 น.  

 

สวัสดีค่า คุณกล่อง ^^
โอยยยย มาอ่านดึกไปหน่อย ไม่เข้าสมองเลย
พรุ่งนี้บ่ายๆ มาใหม่นะคะ
เรื่องน่าอ่านมาก พลาดไมไ่ด้เลยค่ะ อยากรู้ๆๆวิธีเขียน
ขอบคุณมากๆ นะคะ

สุขสันต์วันลอยกระทง มีความสุขมากๆ ค่า

 

โดย: lovereason 27 พฤศจิกายน 2558 1:51:00 น.  

 

โหวตงานเขียนให้นะคะ

เพิ่งเห็นที่ไปเม้นท์ที่เอนทรี่เก่าค่ะ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 27 พฤศจิกายน 2558 12:58:40 น.  

 

เมื่อวานงบหมด วันนี้มาโหวตค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 27 พฤศจิกายน 2558 16:00:15 น.  

 

คุ้มค่าที่ได้อ่าน คุณกล่องจับประเด็นได้ดีเหลือเกิน สรุปสั้นๆจากผู้เชี่ยวชาญงานเขียน ช่วยให้ไปถูกทางในเวลาอันรวดเร็วครับ
โหวตงานเขียนให้ครับ

 

โดย: Insignia_Museum 27 พฤศจิกายน 2558 19:36:52 น.  

 

อ่านจบแล้วค่ะ เป็นเรื่องที่สนใจอยากรู้พอดีเลยค่ะ
บางทีเขียนบล็อคนอกจากนิยายก็อยากเขียนอย่างอื่นบ้าง
แต่เขียนยังไงที่ไม่เป็นการก็อปข้อมูลของคนที่เขียนไว้ก่อนนั้นยากมากค่ะ เวลาหาข้อมูลนี่แบบว่า ทำให้เขียนช้า
แต่ก็ชอบนะคะ ค้นคว้าแล้วได้รู้อะไรเพิ่มเยอะๆ มีประโยชน์กับเราและคนอ่านยิ่งดี

ตอบที่บล็อคตะพาบค่า
อยู่เชียงใหม่ตั้งแต่เด็กๆค่ะ เพิ่งย้่ายมาอยู่ใต้ตอนโตแล้วเอง
ก็เลยพอจำได้ ที่เชียงใหม่ประเพณีลอยกระทงสนุกมาก เดินจากบ้านไม่ไกลก็ถึงสะพานนวรัฐค่ะ แต่ว่าชอบไปดูกระทงใหญ่ที่สะพานนครพิงค์มากกว่า
คุณกล่องเคยไปเชีึยงใหม่มั้ยอะ แถวเจดีย์ขาวตรงกาดหลวง ตรงนั้นจะมีกระทงใหญ่ที่ประกวดลอยในน้ำเยอะเลย สวยๆทั้งนั้นด้วยค่ะ ^^

 

โดย: lovereason 27 พฤศจิกายน 2558 23:47:08 น.  

 

ก็ยังไม่เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า เด็กไทย คนไทย อ่านหนังสือน้อย ไม่รู้เค้าไปวัดจากไหน ใช้เกณฑ์อะไร

พอแก่ตัวมา ชอบแนวสารคดีค่ะ ... จนถึงตอนนี้ ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองอยากเป็นคนอ่านมากกว่าคนเขียนค่ะ ใครที่ชอบอ่านหนังสือ แล้วมุ่งมั่นจะเป็นนักเขียน ก็ปลื้มปริ่มไปกับเค้าด้วย ด้วยว่าตัวเองทำไม่ได้ไงคะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mambymam Music Blog ดู Blog
praewa cute Parenting Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น



*** แสตมป์พระภิกษุ พระเกจิอาจารย์ ทั้งแบบพระสงฆ์ หรือเหรียญบูชา ก็พอมีให้เห็นนะคะ ของสมเด็จเกี่ยว เป็นวาระพิเศษ สมเด็จพระสังฆราช ก็วาระพิเศษ

หลวงพ่อคูณ ... ไม่แน่ใจว่ามีแล้วหรือยัง บางทีซื้อไว้ แล้ววางรวมๆ กัน จำได้บ้างไม่ได้บ้าง ว่ามีหรือยัง ซื้อซ้ำก็เยอะค่ะ

ขอบคุณทั้งสองโหวตค่ะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 28 พฤศจิกายน 2558 5:39:34 น.  

 

ทำบล็อกอาหาร,ตัวเองก็เครียดลงตับค่ะเพราะว่าที่เมกาหาทำและหทานไม่มีค่ะอีกทั้งไม่มีเวลามากนักด้วย
กู๊ดไนท์ฝันดีนะค่ะ

 

โดย: โอพีย์ (Opey ) 29 พฤศจิกายน 2558 3:56:43 น.  

 

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog

อ่านแล้ว ได้ความรู้เยอะเลยครับคุณกล่อง.. และ
คุณกล่องโชคดีที่ได้เข้าร่วมเรียน และได้รับคำแนะ
นำจากนักเขียนโดยตรง

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 29 พฤศจิกายน 2558 5:57:58 น.  

 

พยายามเข้ามาหาความรู้เรื่องเขียน
อ่านไม่ถึงครึ่งเลยค่ะ,เพราะงานค้างอยู่
ต้องไปรีดผ้าก่อน เด๋วกลับมาอ่านใหม่
ก็พออ่านมาถึง เรื่องการเขียนสาระคดี
ว่าเราต้องรู้พื้นฐานของเรื่องที่เราจะเขียน
คงที่เขาว่าข้อมูลสุกและข้อมูลดิบละมั่งอิอิ

 

โดย: ๐โอพีย์ (Opey ) 29 พฤศจิกายน 2558 6:55:49 น.  

 

กิกจรรมที่คุณกล่องไป น่าสนใจทั้งนั้นเลยค่ะ

 

โดย: sawkitty 29 พฤศจิกายน 2558 20:03:19 น.  

 

เข้ามาอ่านต่อค่ะใกล้จะจบแล้วล่ะ
แต่ก็มีอุปสรรคคือข้างบ้านมานั่งพูดเรื่องธุระพรุ่งนี้
เป็นอันว่าไม่จบอยู่ดี...

 

โดย: ๐โอพีย์ (Opey ) 30 พฤศจิกายน 2558 5:47:02 น.  

 

น่าอิจฉาค่ะที่ได้ไปอบรมกับอ.ชมัยภรหลายครั้งเลย
จริงๆแอบเข้ามาอ่านหลายเอนทรี่แล้วแต่ไม่ได้เม้นท์ทิ้งไว้
มีประโยชน์มากเลยค่ะ
โหวตให้แล้วด้วยนะคะ :)

 

โดย: ผีเสื้อยิปซี 30 พฤศจิกายน 2558 12:16:16 น.  

 

คุณกล่องเขียนบล็อกได้ดีจัง เล่าบรรยากาศและให้ข้อมูลแบบละเอียดมาก
ชื่นชมผู้จัดงาน เจ้าหน้าที่ทุกท่านและอาจารย์ชมัยภรที่ร่วมกันจัดกิจกรรมในครั้งนี้ค่ะ
ขอบคุณมาก ๆ ที่แวะไปชมนิทรรศการและโหวตให้นะคะ
และขอบคุณที่บอกเรื่องกล่องเม้นท์นะคะ ปรับสีภาพให้ขาวขึ้นแล้วค่ะ
ต้องขออำภัยที่อัพบล็อกช้าไปหน่อย (ที่จริงไม่หน่อย ช้ามากกกก )
ดีใจที่คุณกล่องชอบภาพวาดที่จัดแสดงในนิทรรศการ
โหวตให้ค่า

 

โดย: haiku 30 พฤศจิกายน 2558 20:47:30 น.  

 

สวัสดีค่ะอาคุงกล่อง..

ไม่ซิ..ต่อไปต้องเรียก อาคุงกล่อง นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่

เผื่อไว่นะค่ะ..ไม่นานต้องไปต่อคิว ขอลายเซนต์กันบ้างล่ะ..

ยินดีด้วย ได้รับการอบรมมากมาย ทำให้เรียนรู้เทคนิกต่างๆ

มีความสุขมากๆนะค่ะ

 

โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) 30 พฤศจิกายน 2558 23:26:21 น.  

 

ผมกล่าวถึงคุณกล่อง..... ที่บล๊อกผมครับ ว่า
ได้ความรู้จากบล๊อก...

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 1 ธันวาคม 2558 5:53:02 น.  

 

มาเก็บข้อมูลสำหรับนักเขียนครับ
บางคนเข้าเรียนอ่านหนังสือตั้งแต่ชั้นอนุบาล แต่ทำมายขี้เกียจอ่านหนังสือครับ เล่นแต่เกมส์ได้ทั้งวัน

อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog

 

โดย: เศษเสี้ยว 2 ธันวาคม 2558 23:39:20 น.  

 

เชื่อว่า อาคุงกล่องนี่ฝีไม้ลายมือแพรวพราวขึ้นมานะคะ
เพราะได้เข้ากลุ่มกับนักเขียนมืออาชีพจริง

จริงค่ะที่ว่าการเขียนคือความเข้าใจของผู้เขียนเอง
ที่จะสื่อออกมาให้คนอ่านได้เข้าใจด้วย


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Ariawah Auddy Photo Blog ดู Blog
Tui Laksi Sports Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog





 

โดย: Rinsa Yoyolive 2 ธันวาคม 2558 23:42:12 น.  

 

ถ้าจำไม่ผิด ปีนี้คุณลุงเจียวต้ายอายุ 85 แล้วค่ะ ในภาพคือ ภรรยา และลูกชาย ของคุณลุงค่ะ กลุ่มที่นัดกันนี้ ตัวเองอายุน้อยที่สุดแล้วค่ะ แต่ละท่านอาวุโสทั้งนั้น

พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 ยังไม่เคยเข้าชมเหมือนกัน


ขอบคุณโหวตค่ะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 3 ธันวาคม 2558 15:04:12 น.  

 



สุขสันต์วันพ่อค่ะคุณกล่อง

 

โดย: haiku 5 ธันวาคม 2558 11:42:27 น.  

 

สวัสดีตอนดึก ๆ ค่ะ
ขออนุญาติ เรียกว่าคุณอา นะคะ
ปุ๊เห็นคุณอาเขียนบล็อคแล้ว อ่านเข้าใจง่ายดีจัง ไม่ทราบว่าปัจจุบันที่ทำงานอยู่ เกี่ยวกับงานเขียนด้วยหรือเปล่าคะ
รูปถ่ายหมู่ ที่ลงในหัวข้อนี้ คุณอาใส่เสื้อสีน้ำตาลใช่ไหมคะ แอบสงสัย อิ อิ

 

โดย: ปุ๊ (หญิง มิน มิน ) 17 ธันวาคม 2558 0:14:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


อาคุงกล่อง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า “อาคุงกล่อง” เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ

ปัจจุบัน “อาคุงกล่อง” เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม “อาคุงกล่อง” จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย



"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"

ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)

akungklong@gmail.com
Friends' blogs
[Add อาคุงกล่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.