Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
7 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
บทที่ 10 ข่ายการสื่อสารในกลุ่มย่อย

**ข่ายการสื่อสาร (Network of Communication)
หมายถึง รูปแบบทิศทางของการสื่อสารที่เชื่อมโยงการติดต่อระหว่างสมาชิกในกลุ่ม โดยเป็นการติดต่อพร้อมกันหลายๆคน และใช้พร้อมๆกันหลายๆช่องทาง

**การแบ่งประเภทของข่ายการสื่อสาร

*ลักษณะแบบรวบอำนาจ
- แบบลูกโซ่ สมาชิกแต่ละคนติดต่อไปยังสมาชิกที่อยู่ถัดไป
- แบบตัววาย สมาชิกที่อยู่ตรงกลาง 2 คนทำหน้าที่ประสานงาน ส่งข้อมูลต่อไปยังสมาชิกคนอื่น
- แบบมีศูนย์กลาง สมาชิกที่อยู่ตรงกลางเป็นผู้รับข่าว แล้วส่งไปให้คนอื่นๆ
*ลักษณะแบบกระจายอำนาจ
- แบบวงกลม : ทุกคนสามารถติดต่อติดต่อกับสมาชิกที่อยู่ถัดจากตนได้ทั้งสองข้าง
- แบบติดต่อกันได้หมดทุกคน : สมาชิกทุกคนสามารถติดต่อกันได้หมด

**ผลกระทบที่เกิดจากข่ายการสื่อสาร

1. การเกิดขึ้นของความเป็นผู้นำของกลุ่ม : เกิดขึ้นในข่ายการสื่อสารแบบมีศูนย์กลาง แบบตัววาย และแบบลูกโซ่
2. การแก้ปัญหาของกลุ่ม : ถ้าเป็นปัญหาที่ไม่สลับซับซ้อน ไม่ต้องใช้ความคิดลึกซึ้ง ไม่ต้องแยกแยะปัญหา ให้ใช้ข่ายการสื่อสารแบบรวบอำนาจ
แต่ถ้าเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก เช่นปัญหาด้านมนุษยสัมพันธ์ ปัญหาที่จะต้องหาข้อสรุป ควรใช้การสื่อสารแบบ กระจายอำนาจ
3. ผลกระทบต่อขวัญของกลุ่ม
การสื่อสารแบบรวมอำนาจ สมาชิกที่อยู่รอบนอกของกลุ่ม จะขาดความเป็นอิสระในการติดต่อสื่อสาร ระดับขวัญและกำลังใจก็จะต่ำกว่าการสื่อสารแบบกระจายอำนาจ
เช่น หน่วยงานที่มีลำดับชั้นโครงสร้างของงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกระบวนการผลิต ที่ทำให้พนักงานขาดความเป็นอิสระในการสื่อสาร ก็จะมีผลให้ขวัญของพนักงานต่ำ

**ปัจจัยที่กำหนดลักษณะข่ายการสื่อสาร

1. งานและหน้าที่ : ข่าวสารที่เกี่ยวกับงานโดยตรงควรเป็นรูปแบบติดต่อกันได้หมดทุกคน
2. แบบแผนและแนวปฏิบัติ : เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกลายเป็นแนวปฏิบัติของกลุ่ม เช่น ถ้าในแผนกมีอายุที่แตกต่างกันมาก เด็กมักไม่ค่อยซักถามผู้ที่อาวุโสกว่า ก็จะเป็นแบบมีศูนย์กลาง
3. การจัดสภาพแวดล้อม : ตามตำแหน่ง ตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ
4. คุณสมบัติส่วนตัว : ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เช่นถ้ากลุ่มย่อยมีพฤติกรรมเป็นผู้ใหญ่ ก็จะเป็นรูปแบบติดต่อกันได้หมด

***กระบวนการตัดสินใจ และการแก้ปัญหาของกลุ่มย่อย

1. มีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่ : เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะต้องหาให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น มีสิ่งใดผิดพลาด เกิดขึ้นได้อย่างไร ใครที่รับผิดชอบกับปัญหานั้น ทำให้รู้ว่าควรจะแก้ปัญหานั้นหรือไม่
2. ปัญหานั้นสำคัญหรือไม่ : วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา เพื่อจะหาว่าการแก้ปัญหานั้นจะต้องใช้วิธีใดในการแก้ปัญหา เช่นยอดขายของบริษัทลดลง 50 % ในปี 2551 ต้องหาว่าสาเหตุทำไมยอดขายจึงตกลง และจะต้องปรับปรุงระบบการขาย หรือจะต้องปรับปรุงการผลิตอย่างไร
3. มีทางเลือกในการแก้ปัญหาอะไรบ้าง : เมื่อรู้ว่าปัญหานั้นมีความสำคัญที่จะแก้ปัญหาด้วยวิธีใดแล้ว ก็จะต้องหาทางเลือกหลายทางหรือหลายวิธี โดยใช้วิธีการระดมความคิด
4. จะนำเอาทางเลือก หรือวิธีการแก้ปัญหาไปใช้ได้เพียงใด และควรตอบปัญหาให้ได้ดังนี้
- วิธีแก้ปัญหานั้น ถูกต้องและไม่ขัดกับกฏหมาย?
- วิธีที่นำไปใช้นั้น ผู้ปฏิบัติงานยอมรับหรือไม่?
- ค่าใช้จ่ายในการนำไปใช้มากน้อยเพียงใด?
5. ผลดี ผลเสียของทางเลือกในการแก้ปัญหาแต่ละอย่างเป็นอย่างไร : เป็นการระบุผลที่เกิดขึ้นของแต่ละวิธีที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์จะทำให้รู้ว่าแต่ละทางเลือกก่อให้เกิดผลอะไรบ้าง สรุปถึงผลดี ผลเสียของแต่ละทางเลือก จากนั้นจึงตัดสินใจเลือกวิธีที่ก่อให้เกิดผลดีที่สุด และสร้างความพอใจให้แก่กลุ่มสูงสุด







Create Date : 07 ตุลาคม 2552
Last Update : 9 ตุลาคม 2552 10:23:41 น. 0 comments
Counter : 6352 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.