Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
บทที่ 9 ความสัมพันธ์ในกลุ่มย่อย

**ความขัดแย้งในกลุ่มย่อย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท

1. การขัดแย้งระหว่างบุคคล: เกิดจากทัศนคติ ค่านิยมความเชื่อไม่เหมือนกัน
2. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจริง : เกิดจากพฤติกรรม ต่างดิ้นรนแสวงหาอำนาจ ตำแหน่ง
ที่ไม่เป็นจริง : เกิดจากความเข้าใจผิด เช่น แข่งขันกันเพื่อหวังจะได้รับการชมเชย หรือการสร้างสถานการณ์เพื่อหวังผลบางอย่าง
3. การขัดแย้งที่รุนแรง : ต้องใช้กำลังแก้ไข
ไม่รุนแรง : แก้ไขโดยการพูดจากัน
4. การขัดแย้งกันโดยตรง: เรื่องส่วนตัว ต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างบุคคลในการแก้ปัญหา
โดยอ้อม : สาเหตุจากเรื่องงาน ต้องอาศัยคนกลางมาไกล่เกลี่ย เช่น การขัดแย้งระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง
5. การขัดแย้งด้วยหลักการ กับด้วยความดื้นรั้น : เกิดจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน

**สถานการณ์ 3 แบบ ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
1. สถานการณ์ที่พึงยอมรับ ระหว่างทางเลือกทั้งสองทาง จะต้องเลือกเพียงทางเดียวเท่านั้น โดยมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความขัดแย้ง ดังนี้
คุณค่า : หากคุณค่าแต่ละทางเลือกมีโอกาสเท่าๆกัน โอกาสที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งจะมีมากขึ้น
ความน่าจะเป็น : ถ้าแต่ละทางเลือกมีความน่าจะเป็นเท่าๆกัน ความขัดแย้งย่อมมีมาก
จำนวนทางเลือก : มีมากน้อยเพียงใด
2. สถานการณ์ที่พึงยอมรับ และพึงหลีกเลี่ยง หมายถึง การขัดแย้งที่ก่อให้เกิดผลดี และผลเสียพร้อมๆกัน เช่นถ้าตัดสินใจอยู่ในเมืองจะทำให้ชีวิตสะดวกสบาย แต่ก็จะมีปัญหาค่าครองชีพสูง ความแออัด และอาชญากรรม
3. สถานการณ์ที่พึงหลีกเลี่ยง เช่น นักศึกษาจำเป็นต้องอ่านหนังสือเล่มที่ไม่ชอบ และจะต้องอ่านให้จบเล่มเพราะว่ากลัวสอบตก (การอ่านหนังสือเป็นสิ่งน.ศ.ไม่ต้องการ และการสอบตก ก็ไม่ต้องการด้วย)

**ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
- จำนวนสมาชิก : ถ้ามีจำนวนมากโอกาสขัดแย้งมากขึ้น
- จำนวนและชนิดของข้อมูล : การแจ้งข่าวสารผิดๆ หรือกระจายข่าวสารไม่ทั่วถึง ข่าวสารมากเกินไป
- การถือพวกถือหมู่ : มีกลุ่มเล็กแฝงอยู่ในกลุ่มย่อย
- ลักษณะของกลุ่มที่กำลังจะสลายตัว : ขาดการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกด้วยกัน
- ลักษณะของบุคลิกภาพของสมาชิกในกลุ่ม : บุคคลที่ก้าวร้าวรุนแรง ใจแคบ ดันทุรัง ก็จะขัดแย้งกับคนที่มีบุคลิกตรงข้าม

**ปัจจัยที่สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มย่อย
- คนมักจะชอบติดต่อกับคนที่เหมือนกัน : เช่น เพศ อายุ การศึกษา เชื้อชาติ ศาสนา ญาติ ทัศนคติ ความเชื่อ ความคิดเห็น
- คนที่เหมือนกันทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ : เช่น ถ้าพนักงานที่จบจากสถาบันเดียวกันย่อมจะพุดคุยเข้าใจกันได้ดี
- การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะทำให้บุคคลมีทัศนคติเหมือนกันยิ่งขึ้น : เมื่อคนคบหากันนานๆก็แสดงว่ามีความเข้าใจกัน มีความคิดเห็นเหมือนกัน

**ผลของความสัมพันธ์ในกลุ่มย่อย
ความสัมพันธ์ในกลุ่มย่อยก่อให้เกิดสมาชิกในกลุ่มคบหาสมาคมกันมากขึ้น มีผลต่อกลุ่ม ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีความดึงดูดใจกัน นำไปสู่ดุลยภาพทางการสื่อสาร หมายถึง บุคคลมักจะสนใจบุคคลอื่นที่เหมือนกับตัวเอง และไม่สนใจคนอื่นที่แตกต่างไปจากตัวเอง
- คนที่ชอบสิ่งเดียวกัน เป็นดุลยภาพทางบวก
- คนที่ไม่ชอบสิ่งเดียวกัน เป็นดุลยภาพทางลบ
- คนหนึ่งชอบ อีกคนหนึ่งไม่ชอบ เป็นการสื่อสารที่ไม่มีดุลยภาพ

**การสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มย่อย
- การสื่อสารต้องเป็นลักษณะของการพรรณนา ไม่ใช่เป็นการประเมินหรือแสดงความคิดเห็น
- ลักษณะของการสื่อสารควรมุ่งแก้ปัญหา ไม่ใช่ควบคุม หรือสร้างอิทธิพล
- การสื่อสารต้องเกิดขึ้นเองด้วยความจริงใจ ไม่ใช่เป็นการแสร้งทำ หรือมีการวางแผนไว้ก่อน
- พฤติกรรมการสื่อสารควรเกิดขึ้นด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน จะสร้างความไว้วางใจกันมากกว่าระแวงซึ่งกันและกัน

**ความเป็นผู้นำในกลุ่มย่อย

1. คุณสมบัติของผู้นำ
- สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีพละกำลัง อดทนมากกว่าคนอื่น
- มีสติปัญญาสูง มีความสามารถชักจูงให้คนอื่นเห็นคล้อยตาม มีความคิดริเริ่ม หรือวิธีการใหม่ๆ
- มีความเชื่อมั่นในตัวเอง กระตือรือร้น รอบคอบ สุขุม
- มีลักษณะของการเปิดตัว ตามความเหมาะสม
- มีความรอบรู้ มองการณ์ไกล ฯลฯ

2. แบบของผู้นำ แสดงถึงพฤติกรรมการใช้อำนาจกับผู้ใต้บังคับบัญชา
- ผู้นำเสรีนิยม : ให้อิสระ
- แบบประชาธิปไตย : ใช้ความคิดเห็นส่วนใหญ่
- แบบเผด็จการ : ควบคุมและสั่งการด้วยตัวเอง ตัดสินใจเอง

3. วิธีที่ใช้ในการทำงานเพื่อให้งานของกลุ่มประสบผลสำเร็จ
- ผู้นำที่มุ่งงาน : งานที่อาศัยการตัดสินใจ วัดผลงานที่ได้แน่นอน
- ผู้นำที่มุ่งคน : งานที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของคน ควบคุมพฤติกรรมของกลุ่ม สร้างความจงรักภักดี ลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้

4. การทำหน้าที่ของผู้นำ
- ริเริ่มแนวความคิด : นำวิธีการใหม่ๆมาใช้
- เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งในกลุ่ม : จะต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จ
- เป็นตัวแทนของกลุ่ม : ทำหน้าที่ปกป้องกลุ่มจากการถูกคุกคามภายนอก
- การจัดองค์การ : จัดโครงสร้างของงานในกลุ่ม จัดวางความสัมพันธ์ของหน้าที่ต่างๆ
- ประสานงาน : แก้ปัญหาการขัดแย้งระหว่างสมาชิก และปัญหาในการบริหาร สร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน
- การบริหารข้อมูล : จัดหาข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล และแจ้งข้อมูลให้แก่สมาชิก
- การคุ้มครอง : กลั่นกรองข้อมูล ความเหมาะสมของการให้ข้อมูลแก่ภายนอก
- การประเมิน : พฤติกรรมของสมาชิก ทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ก่อให้เกิดผลงาน : รับผิดชอบทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวของงาน สร้างผลงานให้ได้มากที่สุด

**ปัจจัยการใช้อำนาจของผู้นำกลุ่มย่อย

1. รูปแบบของผู้นำ คือการใช้อำนาจที่เหนือกว่าบุคคลอื่นเช่น
- ผู้บริหาร จะต้องใช้อำนาจโดยยึดหลักการลงโทษ และการให้รางวัล
- หัวหน้ากลุ่มนักเลง ใช้ความกล้า เป็นปัจจัยในการเป็นผู้นำ

2. วิธีการสื่อสารในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ คือการชักจูงสมาชิกให้ไปในแนวทางเดียวกัน สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการสื่อสารด้วยข้อมูลที่เป็นความจริง เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม

**หลักการสื่อสารในกลุ่มย่อย ผู้นำกลุ่มจะต้องยึดหลักการ ดังนี้

- ส่งเสริมให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินไปด้วยความราบรื่น รวดเร็ว ไม่มีอุปสรรค
- ซักถามเรื่องที่เป็นปัญหาของกลุ่ม ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
- กระตุ้นให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา
- แสดงการยอมรับ ต่อข้อเสนอแนะของสมาชิกด้วยความจริงใจ
- ส่งเสริมให้สมาชิกเกิดความรู้สึกร่วมรับผิดชอบต่อผลงานที่เกิดขึ้น




Create Date : 06 ตุลาคม 2552
Last Update : 7 ตุลาคม 2552 12:23:29 น. 0 comments
Counter : 2904 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.