Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
20 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 

MGT 2201 บทที่ 7 การประเมินผลโครงการฝึกอบรม

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการฝึกอบรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบการฝึกอบรมและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงผลสำเร็จของการจัดฝึกอบรม ในแง่การบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม

ความหมายของการประเมินผลโครงการฝึกอบรม
• การประเมินผลโครงการฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฝึกอบรม เพื่อจะได้ทราบว่าสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด ตลอดจนนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาโครงการฝึกอบรมอื่น ๆ ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการฝึกอบรม
• เพื่อตรวจสอบว่าสามารถดำเนินโครงการฝึกอบรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือไม่?และประสบผผลสำเร็จระดับใด?
• เพื่อตรวจสอบการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรมหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมว่าได้รับความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนความสามรถทักษะ หรือปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใด?
• เพื่อตรวจสอบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้นำสิ่งต่างๆที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานหรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัตงานไปในทิศทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือไม่
• เพื่อตรวจสอบว่าองค์กรหรือหน่วยงานได้รับผลลัพธ์อย่างไร ภายหลังจากจัดโครงการฝึกอบรมไปแล้ว
• เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินผลโครงการฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข และพัฒนาโครงการฯ อื่นๆในอนาคตให้ดีขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลโครงการฝึกอบรมจะต้อง
• มีความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง ความสามารถในการวัดสิ่งที่เราต้องการจะวัดหรือประเมิน ไม่คลาดเคลื่อน สามารถวัดคุณลักษณะได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
• มีความเชื่อถือได้ (Reliability) หมายถึง เชื่อถือได้ว่าเมื่อนำเครื่องมือนั้นไปวัดแล้วนำไปวัดอีกกี่ครั้งก็ตาม ก็จะได้ผลลัพธ์คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ให้ผลการวัดที่แน่นอน สม่ำเสมอ ถูกต้องกับความเป็นจริง

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลโครงการฝึกอบรม
1. แบบบันทึกการสังเกต (observation form)
• เป็นเครื่องมือบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรม (วิทยากร หรือผู้เข้าอบรม) ที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม ขณะทำกิจกรรมต่างๆ หรือพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นหลักจากฝึกอบรมไปแล้วระยะหนึ่ง เช่น

การสังเกตการปฏิบัติหน้าที่ของวิทยากร
 ใช้เวลานานเกินไป
 ไม่มีเอกสารประกอบการสอน
 ยกตัวอย่างประได้ดีมาก
 ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ไม่อธิบายความหมาย

แบบสังเกต
• แบบตรวจสอบรายการ (checklist) ใช่ /ไม่ใช่
• แบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale)
• แบบจดบันทึกข้อมูลต่างๆ โดยอิสระ

แบบสังเกตที่ดี
• กำหนดสิ่งที่จะสังเกต เป็นการสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมาย ควรระบุให้ชัดเจนว่าจะสังเกตอะไร
• สังเกตด้วยความพินิจพิเคราะห์ เพื่อให้สามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆได้อย่างลึกซึ้ง
• ขจัดความลำเอียงส่วนตัวของผู้สังเกต บันทึกข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
• ใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องมือช่วยเตือนความจำ เช่นแบบสังเกต

2.แบบสัมภาษณ์
ใช้ประเมินความรู้ ความเข้าใจ และความรู้สึกนึกคิดในใจของผู้เข้าอบรม รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการสอบถามพฤติกรรมต่างๆของผู้เข้าอบรม

รูปแบบของการสัมภาษณ์
1. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ที่ไม่ใช่แบบสัมภาษณ์ คือ ไม่จำเป็นต้องใช้ คำถามที่เหมือนกันหมดกับผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคน
2. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นไว้แล้ว


แบบสัมภาษณ์
ประกอบด้วยกลุ่มของคำถามสำหรับใช้สัมภาษณ์ เช่น
คำถามแบบเปิด : การเว้นช่องว่างสำหรับจดบันทึกผลสัมภาษณ์
คำถามแบบปิด : มีการกำหนดคำตอบไว้ล่วงหน้า

การสัมภาษณ์ เหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลในกรณีการติดตามผลหลังจากการฝึกอบรม เช่น
 สัมภาษณ์ผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับพฤติกรรม ความคิดเห็นที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน
 สัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ได้รับหลังจากผู้อบรมกลับเข้ามาปฏิบัติงาน


รูปแบบการสัมภาษณ์
• การสัมภาษณ์แบบมาตรฐาน (Structured interview) มีระเบียบแบบแผน เตรียมการ เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ กำหนดข้อคำถาม วางแผนก่อนสัมภาษณ์ ทุกคนจะต้องตอบคำถามในลักษณะเดียวกัน
• การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นมาตรฐาน (Unstructured interview) ไม่มีรูปแบบตายตัว ผู้สัมภาษณ์เป็นผู้กำหนด คำถามอาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์

3. แบบทดสอบ
เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบและใช้ประเมินความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สติปัญญาหรือการวัดผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ของผู้เข้าอบรม
• ความรู้
• ความจำ
• ความเข้าใจ
• ความคิด

ประเภทแบบทดสอบ
3.1 แบบเลือกตอบ (multiple choice)
 ประโยคคำถามต้องสมบูรณ์
 ตั้งคำถามให้ชัดเจน
 ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
 เขียนตัวเลือกให้ถูกต้อง
 มีคำตอบเดียวที่ถูกต้อง
 ไม่ควรมีคำถามที่ใช้วัดความจำอย่างเดียว
 หลีกเลี่ยงตัวเลือกประเภท “ถูกทุกข้อ” “ผิดทุกข้อ”
 หลีกเลี่ยงการใช้คำถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เช่น

• ตัวอย่างคำถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ :
ถ้าไม่ออกกำลังกายมากเกินไป จะไม่เป็นอันตรายกับอวัยวะส่วนใด?
ก.ปอด
ข.หัวใจ
ค.กล้ามเนื้อ
ง.กระเพาะปัสสาวะ
ควรใช้ : ถ้าออกกำลังกายมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะส่วนใด?

3.2 แบบถูก-ผิด   (true-false) ใช่หรือไม่ใช่ จริงหรือไม่จริง
 หลีกเลี่ยงคำถามประเภท “ถูกเป็นบางส่วน” หรือ “ผิดเป็นบางส่วน”
 ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ขยายข้อความที่ช่วยให้เป็นคำถามว่าผิดหรือถูกให้ชัดเจน
 อย่าใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เพราะทำให้เกิดความสับสน
เช่น ท่านไม่เคยที่จะไม่อ่านหนังสือพิมพ์เลยใช่หรือไม่
 ระมัดระวังการใช้คำขยาย เช่น “ทั้งหมด” “ไม่มีเลย” “อาจจะ” “บางที”
 อย่ายกประโยคเนื้อหาทั้งหมดล้วใส่คำว่า “ไม่” เพื่อให้ตอบว่า ”ผิด”
 ปริมาณคำตอบที่ ”ถูก” ผิด” ควรมีเท่ากันหรือใกล้เคียง

3.3 แบบจับคู่ (matching) เป็นแบบที่ให้จับคู่คำถาม คำตอบที่สัมพันธ์กัน อาจเตรียมคำตอบไว้มากกว่าคำถาม
 เขียนคำชี้แจงให้ชัดเจน
 จำนวนคำถามไม่ควรเท่ากับคำตอบ
 ไม่ควรมีคำถามมากหรือน้อยเกินไป (ควรมี 5-12 ข้อ)
 ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน
 เขียนกลุ่มคำถามและกลุ่มคำตอบให้อยู่ในหน้าเดียวกัน
 อย่าให้คำตอบอยู่บรรทัดเดียวกันกับคำถาม

3.4 แบบเติมคำสั้นๆ (completion) เป็นแบบทดสอบที่ให้เขียนตอบแบบสั้นๆลงในช่องว่าง
 ไม่ควรยกข้อความหรือเนื้อหาโดยตรงมาให้เติม
 เว้นให้เติมเฉพาะคำหรือข้อความที่สำคัญ
 ช่องว่างที่เว้นไว้ควรมีความยาวเพียงพอ
 ตั้งคำถามเฉพาะเจาะจงและชัดเจน ไม่ควรเป็นคำถามที่สามารถตอบได้หลายคำตอบ


4.แบบสอบถาม
ความแตกต่างระหว่างแบบสอบถามกับแบบสัมภาษณ์
 แบบสอบถาม: ผู้ให้ข้อมูลจะเป็นผู้อ่านคำถามและ กรอกข้อมูล
 แบบสัมภาษณ์: ผู้สัมภาษณ์จะเป็นผู้ตั้งคำถามและกรอกข้อมูล

แบบสอบถาม “เป็นชุดคำถามที่จัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ”
ข้อดี: 1.สะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.ประหยัดเวลา
3.ประหยัดค่าใช้จ่าย

ประเภทแบบสอบถาม
• แบบไม่กำหนดคำตอบ (คำถามปลายเปิด)
เปิดโอกาสให้ผู้ตอบเขียนได้ตาม ตามทัศนคติของตน และแสดงความคิดเห็นเต็มที่เป็นการตั้งคำถาม ๆ ไม่จำกัดขอบเขตการตอบ และต้องเว้นที่ว่างไว้ให้เพียงพอต่อการตอบ Ex: ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการให้บริการของธนาคารออมสิน
• แบบกำหนดคำตอบ (คำถามปลายปิด)
ผู้ตอบเลือกคำตอบที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ผู้ตอบต้องเลือกตอบตามที่กำหนดให้ Ex: ท่านจำเป็นต้องใช้บริการสินเชื่อจากธนาคารออมสินหรือไม่
o จำเป็น oไม่จำเป็น
แบบสอบถาม ใช้วัดความรู้สึก ความคิดเห็น ความพึงพอใจ ความคาดหวัง และความเหมาะสม

ประเด็นที่ควรได้รับการประเมินในโครงการฝึกอบรม
• การประเมินปฏิกิริยาโต้ตอบ(reaction)
• การประเมินการเรียนรู้(learning)
• การประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน (behavior)
• การประเมินผลลัพธ์(results)

1.การประเมินปฏิกิริยาโต้ตอบ(reaction)
หมายถึง :การประเมินความรู้สึกนึกคิดของผู้เข้าอบรมที่มีต่อโครงการฯ
• วิธีการ:โดยประเมิน หัวข้อ/ เนื้อหา/ หลักสูตร/ วิทยากร/ เทคนิคฝึกอบรม/ เอกสาร/ สื่อการสอน/ อุปกรณ์/ สิ่งอำนวยความสะดวก/ สถานที่/ ระยะเวลา/ ช่วงเวลาที่ฝึกอบรม/ กำหนดการ ฯลฯ
• เครื่องมือ: แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสังเกต หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมทันที

***2.การประเมินการเรียนรู้ (learning)
หมายถึง : ประเมินการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา (พุทธิพิสัย : ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ ความคิด) / ประเมินโดยใช้แบบทดสอบ
• ด้านทักษะ (ทักษะพิสัย : การปฏิบัติ) / ประเมินโดยใช้ทดลองปฏิบัติ
• ด้านทัศนคติ / ประเมินโดยใช้บันทึกการสังเกตพฤติกรรม
(จิตพิสัย : อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็น)
วิธีการประเมิน : เป็นช่วงๆ ระหว่างการฝึกอบรม/ หลังการฝึกอบรม หรือก่อนและหลังฝึกอบรม

**3.การประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน
หมายถึง : เป็นการเปรียบเทียบพฤติกรรมก่อนและหลังการอบรม หรือเรียกว่า“การติดตามผลการฝึกอบรม”
• ผู้เข้าอบรมนำสิ่งที่ได้รับการอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และพัฒนาองค์กรหรือไม่ อย่างไร
เครื่องมือ : ใช้แบบการบันทึกการสังเกต มาประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และ
ใช้แบบสัมภาษณ์ หรือแบบสอบถามมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า

4.การประเมินผลลัพธ์(results)
• เป็นการประเมินผลกระทบโดยรวมที่เกิดขึ้น ในแง่ประโยชน์ที่ได้รับ หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก หลังการเสร็นสิ้นการฝึกอบรม
• Ex : อบรมหลักสูตรการขาย / ยอดขายควรเพิ่มขึ้น
• หลักสูตรการทำงานเป็นทีม / พนักงานมีความสามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างผลงานดีขึ้น

รูปแบบของการประเมินผลโครงการฝึกอบรม
• การประเมินก่อนและหลังการฝึกอบรม (pretraining and posttraining)
• การประเมินหลังการฝึกอบรม (posttraining)
• การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม
(experimental group and control group)
• การประเมินโดยใช้มาตรฐานในการปฏิบัติงาน
(standard of performance)

ขั้นตอนการประเมินผลโครงการฝึกอบรม
 กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประเมิน
 วางแผนการประเมิน
 ดำเนินการตามแผน
 รายงานผล

หลักการประเมินผลโครงการฝึกอบรม
 กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
 เลือกเครื่องมือให้เหมาะสม
 กำหนดประเด็นที่จะประเมินให้ชัดเจน
 เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างระมัดระวัง
 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความละเอียดรอบคอบ
 นำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์




 

Create Date : 20 สิงหาคม 2552
4 comments
Last Update : 19 กันยายน 2552 16:55:50 น.
Counter : 6027 Pageviews.

 

ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินโครงการ หน่อยครับ อาจารย์

 

โดย: อาคม ธนอุดมนาน IP: 118.172.241.53 26 กันยายน 2552 6:22:30 น.  

 

ยินดีค่ะ

 

โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) 26 กันยายน 2552 10:21:13 น.  

 


ทำไมเนื้อหามีไม่ครบคะ มีแค่ 4 ข้อเอง
ลืมหรือป่าว ค่ะ อาจารย์

 

โดย: อ้อน ศรีเกษ จ้า IP: 1.46.35.191 5 มกราคม 2554 21:13:00 น.  

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน ติว

 

โดย: swkt (tewtor ) 12 เมษายน 2554 0:30:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.