Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
บทที่ 8 วัฒนธรรมองค์การ

วัฒนธรรมองค์การ Organizational Culture

ความหมาย
- วัฒนธรรม (Culture) คือความเข้าใจ ความเชื่อ และมาตรฐานที่สมาชิกในองค์การยอมรับและยึดถือปฏิบัติร่วมกัน
- วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) คือระบบของการยึดถือในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน การตัดสินใจและพฤติกรรมอื่น

วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture)
เป็นเรื่องของความเชื่อ ค่านิยม และแนวทางปฏิบัติที่สมาชิกในองค์การได้พร้อมใจกันตั้งขึ้นมาและยึดถือเป็นหลักปฏิบัติรับรู้และเข้าใจตรงกัน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของสมาชิก และทำให้องค์การมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากองค์การอื่นๆ ซึ่งวัฒนธรรมองค์การใด ก็คือบุคลิกภาพขององค์การนั้น

ตัวอย่าง กลุ่มบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย เป็นวัฒนธรรมองค์การที่อยู่ในรูปของอุดมการณ์ (Ideology) มีอยู่ 4 ข้อ คือ
• ตั้งมั่นในความเป็นธรรม
• มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ
• เชื่อถือในคุณค่าของคน
• ถือมั่นในความรับผิดชอบของคน

ลักษณะของวัฒนธรรมองค์การ
- วัฒนธรรมหลัก : (บุคลิกภาพขององค์การ) เป็นวัฒนธรรมที่สมาชิกส่วนใหญ่รับรู้ ยอมรับ เชื่อถือ และเข้าใจร่วมกัน เช่น เช่น พิธีมอบรางวัลดีเด่นให้แก่พนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ แก่องค์การ
- วัฒนธรรมย่อย : เป็นวัฒนธรรมของกลุ่มงาน แผนกงาน เช่น แผนกการตลาดจะแต่งตัวใส่สูท ผูกเนคไท แผนกช่างจะใส่ชุดสีน้ำเงิน
- ค่านิยม : เป็นความเชื่อที่สมาชิกในองค์การยอมรับ ยากต่อการเปลี่ยนแปลง ค่านิยมจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สมาชิกองค์การรู้ว่า ตนควรปฏิบัติอย่างไรในองค์การนั้น เช่น ค่านิยมในการแสดงความยินดีโดยการเลี้ยงฉลอง การแสดงความอาลัยโดยการเลี้ยงส่งสมาชิกที่ลาออก



EX:วัฒนธรรมองค์การ
Mc Donald ก็ได้สร้างค่านิยมในเรื่องสินค้าที่ต้องมีคุณค่า มีราคาที่เหมาะสม มีความสะอาด และมีบริการที่ดี

หน้าที่ของวัฒนธรรมองค์การ
- เป็นตัวกำหนดบทบาทที่บ่งชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างองค์การ
- แสดงความเป็นเอกลักษณ์ให้กับสมาชิกขององค์การ
- ทำให้เกิดความผูกพัน มากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัว
- ช่วยทำให้องค์การเกิดความมั่นคง
- ใช้เป็นแนวทางควบคุม กำกับทัศนคติ และพฤติกรรมให้อยู่ในกรอบหรือขอบเขตที่เหมาะสม

ข้อเสียของวัฒนธรรมองค์การ (ที่แข็งแรง)
 อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง : สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป องค์การจำเป็นที่จะต้องปรับตัว แต่พนักงานยังคงยึดติดวัฒนธรรมเดิมๆ
 อุปสรรคต่อความหลากหลาย : คนจากหลายวัฒนธรรมมาทำงานร่วมกัน วัฒนธรรมที่เข้มแข็งกว่าจะมีอิทธิพลให้ผู้อื่นคล้อยตาม และอาจเกิดปัญหาเข้ากันไม่ได้
 อุปสรรคต่อการซื้อและการรวมกิจการ : วัฒนธรรมทั้งสององค์การไม่เหมือนกัน เข้ากันไม่ได้ จึงเกิดความขัดแย้ง กลายเป็นอุปสรรคต่อการผสมผสานของวัฒนธรรม

การรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่
 การคัดเลือก : บุคคลที่มีความคิด ค่านิยม ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์การ
 การดำเนินงานของผู้บริหารระดับสูง : ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและถ่ายทอดวัฒนธรรมสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา
 การขัดเกลาทางสังคม : เป็นกระบวนการปรับตัวให้พนักงานใหม่คุ้นเคยกับ

กระบวนการขัดเกลาทางสังคม
Ex: กระบวนการขัดเกลาทางสังคม
เป็นกระบวนการในการปรับพนักงานให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์การ โดยอาศัยแนวทางต่าง ๆ เช่น
 การปฐมนิเทศแบบเข้ม โดยการฉายสไลด์และแนะนำบริษัท
 การให้ข้อมูลในเรื่องวิสัยทัศน์ ภารกิจ ปรัชญาและค่านิยมขององค์การ
 จัดโครงการให้พนักงานเข้าแค้มป์ด้วยกัน 1-2 สัปดาห์หรือเข้ารับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นที่ศูนย์ฝึกอบรมหรือที่นิยมเรียกในปัจจุบันนี้ว่า โรงเรียนสอน เช่น โรงเรียนบ้านไร่กาแฟของบ้านไร่กาแฟ หรือ Hamburger University ของแมคโดนัลล์ เป็นต้น

เครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรม
 สัญลักษณ์ (Symbols)
 คำขวัญ (Slogan)
 เรื่องบอกเล่า (Stories)
 พิธีการ (Ceremonies)
 คำแถลงที่เป็นทางการ (Statement of Principle)

สัญลักษณ์ (Symbols)
วัตถุ สิ่งของที่สื่อความหมายให้บุคคลภายนอกรับรู้ว่าคุณค่าขององค์การคือสิ่งใด เช่น สถานที่ทำงาน การแต่งกาย รถประจำตำแหน่ง

คำขวัญ (Slogan)
เป็นวลี หรือประโยคที่แสดงคุณค่า หรือค่านิยมที่องค์การยึดถือ เช่น
“การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า”
“บริการทุกระดับประทับใจ”
“เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน”

เรื่องบอกเล่า (Stories)
Hewlett-Packard โดย David Packard และ Bill Hewlett (ผู้ก่อตั้ง)
“วันเสาร์เขาไปที่โรงงานเพื่อจะไปทำงานที่ห้อง Lap พบว่าประตูใส่กุญแจ เขาเลยตัดสายยูกุญแจ แล้วเขียนข้อความไว้หน้าประตูว่า “อย่าใส่กุญแจประตูนี้อีกเลย ขอบคุณ จากบิลล์” ซึ่งกลายเป็นค่านิยมขององค์การที่ไม่ยอมปิดกั้นความคิดของพนักงานทั้งหลาย โดยให้มีอิสระที่จะทำงานในเวลาใดก็ได้ แม้จะนำงานไปทำที่บ้าน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อันเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ The HP Way

พิธีการ (rituals)
กิจกรรมที่จัดทำขึ้นโดยการวางแผนล่วงหน้าในโอกาสพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จขององค์การ แสดงให้เห็นถึงคุณค่า การยอมรับ ความผูกพัน มีส่วนร่วม และให้เกียรติ

คำแถลงที่เป็นทางการ (Statement of Principle)
การถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้พนักงานยึดถือปฏิบัติ เช่น “Five Principles of Mars”
 Quality :คุณภาพ
 Responsibility :ความรับผิดชอบ
 Mutuality :ความมีร่วมกัน
 Efficiency :ความมีประสิทธิภาพ
 Freedom :ความมีอิสรภาพ




Create Date : 16 มีนาคม 2553
Last Update : 13 สิงหาคม 2553 14:46:15 น. 6 comments
Counter : 21787 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน ติว


โดย: swkt (tewtor ) วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:23:47:01 น.  

 
ขอบคุณคับที่มาแบ่งปันสิ่งดีๆ


โดย: คริส IP: 125.27.129.115 วันที่: 12 กรกฎาคม 2555 เวลา:18:01:00 น.  

 
ขอบคุณข้อมูลดีดี


โดย: เค IP: 58.8.22.70 วันที่: 9 สิงหาคม 2555 เวลา:16:58:25 น.  

 
ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ


โดย: fon IP: 124.122.50.174 วันที่: 11 มกราคม 2556 เวลา:22:48:21 น.  

 
ยินดีค่ะ..หากมีข้อมูลดี ๆ จะ Share เข้ามาก็ได้นะคะ


โดย: benjawan_b (Benjawan_B ) วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:19:19:38 น.  

 
เป็นแนวคิดของใครไม่เห็นมีบอกเลยจะเอาไปใช้เป็นสือครับ


โดย: SY Sam IP: 27.55.74.46 วันที่: 16 กันยายน 2559 เวลา:2:17:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.