Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
ชมสวนมะเขือเทศก้าวหน้าปลูกแบบไร้ดินของญี่ปุ่น

การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ หรือการปลูกพืชแบบไร้ดินของญี่ปุ่น เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เนื่องจากดูแลง่าย ไม่ค่อยเป็นโรค ได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดปี เหมาะสำหรับพื้นที่เพาะปลูกที่มีปัญหาเรื่องดินไม่มีคุณภาพ และอื่นๆ แต่ใช้เงินลงทุนในช่วงแรกค่อนข้างมาก อีกทั้งต้องเตรียมน้ำหมัก(น้ำปุ๋ย)ให้ได้คงคุณภาพตลอด และต้องมีความรู้เรื่องน้ำหมักเป็นอย่างดีด้วย

การปลูกพืชกินใบหรือผลไม้ โดยเฉพาะมะเขือเทศนี้จะนิยมปลูกในเรือนกระจก ภาษาญี่ปุ่นคือ บินีรุเฮ้าสึ (บ้านพลาสติก) เนื่องจากสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ให้ผลผลิตตลอดปี ทำให้มีรายได้มากขึ้นตามมาเป็นลำดับ



รูปด้านบนซ้าย เป็นสวนมะเขือเทศที่ำเราได้ไปเยี่ยมชม อยู่ที่จ.ฟุคุชิมะ เขาใช้ร็อกวูล(ใยหิน) แทนดิน มีการวัดอุณภูมิของร็อกวูลอยู่ตลอดเวลาโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิเสียบเข้าไปในร็อกวูล หลังคาที่เห็นด้านบนก็สามารถเปิดปิดได้ในเวลาที่ต้องการให้พืชรับแสงแดด

ส่วนรูปทางขวา เป็นเครื่องมือช่วยทุ่นแรงปรับระดับความสูงได้ตามต้องการ ดูเหมือนกำลังจัดการกับเชือกที่ต้นมะเขือเทศมันยึดอยู่อ่ะนะ ว่าจะถามวิทยากรที่มาบรรยายแต่เฮียเขากำลังถูกสาวๆ หนุ่มๆ จิ๊จ๊ะอยู่ก็เลยไม่ได้ถาม



เจ้าแถบเหลืองๆที่เห็นเป็นเทปกาวดักจับแมลง ขึงอยู่ด้านบนของราวที่ปลูกมะเขือเทศ นอกจากนี้ ยังมีการปล่อยผึ้งเพื่อช่วยผสมพันธุ์ด้วย เลี้ยงในกล่องกระดาษ โดยจะปล่อยผึ้งออกมาเป็นเวลา เจ้าผึ้งน้อยเนี่ยเป็นผึ้งนำเข้าซะด้วยนะ เห็นเจ้าของบ่นว่าราคาแพงน่าดูชมเลย



รูปนี้เป็นรูปเครื่องคัดแยกขนาดเพื่อคัดเกรดแล้วนำไปขาย

มะเขือเทศที่นี่นอกจะนำไปขายในตลาดขายส่งประจำจังหวัดแล้วยังมีวางขายหน้าโรงงานด้วย เจ้าของโรงงานที่เป็นวิทยากรให้เราวันนั้น ยังเป็นเด็กหนุ่มอยู่เลยอายุไม่ถึงสามสิบ(แต่งงานมีลูกแล้วด้วย) มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการปลูกพืชแบบไร้ดินนี้เป็นอย่างมาก หน้าตาดี หุ่นล่ำ ผิวสีแทน แถมจบวิศวะซะด้วย ไม่ใช่เกษตรแบบตามมีตามเกิดแบบบ้านเฮา นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของเกษตรกรญี่ปุ่นที่มีหัวก้าวหน้า มีการศึกษาสูง

เด๋วจะพาไปชมอีกที่นึงเป็นแปลงปลูกต้นหอมแบบไร้ดินเหมือนกัน คุณลุงที่เป็นเจ้าของก็จบป.ตรี จากม.ที่มีชื่อเสียงด้านการเกษตรของญี่ปุ่นเหมือนกัน เห็นแล้วก็อิจฉาเนอะ......การศึกษาทั่วถึงจริงๆ



แปลงต้นหอมนี้ปลูกโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์แบบแช่ราก คือแผ่นขาวๆ ที่เห็นในรูปเป็นโฟมที่เจาะรู ส่วนใต้โฟมนั้นเป็นน้ำหมัก การปลูกแบบนี้เหมาะกับพืชที่ขายแบบไม่ตัดใบ หรือขายทั้งต้นทั้งรากแบบต้นหอมนี่เอง

รูปขวาเป็นกาวที่ดักจับแมลงแขวงไว้เป็นระยะๆ ทำง่ายๆ แต่ได้ผลดี



คุณลุงเจ้าของเล่าให้ฟังว่าแรกๆ ก็ล้มเหลว ล้มลุกคลุกคลาน ลองถูกลองผิดอยู่นานเหมือนกันกว่าจะลงตัวมาจนทุกวันนี้ได้ คุณลุงเองก็เหมือนน้องๆ ที่มาอบรมกันในครั้งนี้ ที่เคยเข้าร่วมโครงการอบรมดูงานต่างประเทศที่รัฐบาลท้องถิ่นจัดให้เหมือนกัน และได้แรงบันดาลใจในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินนี้มาทดลองใช้ แกยังฝากข้อคิดว่า การดูงานต่างประเทศเป็นเรื่องดี แต่ไม่ใช่ว่าจะรับเขามาทั้งดุ้น ต้องกลับมาทำการบ้านด้วยว่ามันจะเหมาะกับสิ่งแวดล้อมของเราไหม ต้องรู้จักดัดแปลงและพัฒนา ลองผิดลองถูก ตั้งใจ มุ่งมั่น รักในงานที่เราทำโดยเฉพาะการเกษตรเป็นงานที่ลำบาก ต้องอดทน

ด้านขวาเป็นรูปกล้าของต้นหอม ซึ่งเลี้ยงอยู่ข้างๆ แปลงด้านบน มีการควบคุมอุณหภูมิในเบื้องต้นเป็นระยะ พอโตได้หน่อยก็จะเอามาเลี้ยงไว้ด้านนอกเพื่อรอการลงแปลงต่อไป

เวลาพาคนไทยไปอบรมด้านการเกษตร คำถามยอดฮิตที่นิยมถามกันมากคือ เจ้าหน้าที่ที่มาบรรยายให้ฟังอย่างเชี่ยวชาญทั้งหลายจบการศึกษาระดับใด เพราะความฝังใจว่าเกษตรกรจะต้องเรียนไม่สูง แต่ทำไมเกษตรกรญี่ปุ่นดูมีความรู้ดีจัง และคำตอบที่ได้รับส่วนมากก็คือ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ครอบครัวทำการเกษตรมาตลอด จึงสนใจเรียนรู้เพื่อกลับมาพัฒนาการเกษตรของตนให้ดียิ่งขึ้นต่อๆ ไป ฟังแล้วก็ให้นึกถึงประเทศเราเนอะ การพัฒนาประเทศนั้น ควรพัฒนาจิตใจให้รู้จักมีความรักและภูมิใจในอาชีพของตน ควรให้การศึกษาเกษตรกร พัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่ให้วัตถุ

ประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรมถ้ารู้จักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผลิตบุคคลากรด้านการเกษตรออกมามากๆ ทำการเกษตรก้าวหน้า เพิ่มมูลค่าให้สินค้า ยกตัวอย่างเช่น มะม่วง ในประเทศญี่ปุ่นปลูกมะม่วงได้น้อย ปลูกได้เฉพาะในเกาะโอะกินาวะเท่านั้น ลูกจะออกสีแดงๆ หน่อย แถมราคายังแพงอีกด้วย ถ้าจำไม่ผิดราคาสนนลูกละ 3,000 เยน ดังนั้น โดยสามัญสำนึุกของคนญี่ปุ่นแล้ว มะม่วงเป็นสินค้านำเข้า (จากฟิลิปปินส์มากที่สุด) และเริ่มนำเข้ามาแพร่หลายมากขึ้นในช่วง 4~5 ปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันอาหารที่เกี่ยวข้องกับมะม่วงมีอยู่มากมาย ทั้งไอศกรีม น้ำมะม่วงปั่น พุดดิ้ง เค้ก ฯลฯ ในขณะที่บ้านเรารู้จักแต่การกินแต่ข้าวเหนียวมะม่วง มะม่วงอบแห้ง มะม่วงกวน (ใครนึกออกมากกว่านี้ช่วยบอกด้วยนะ) ฯลฯ

จะว่าไปแล้วเราผลิตเก่งแต่ไม่ถนัดเรื่องการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรเท่าไร ที่จริงถ้ารู้จักแปรรูปนอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าแล้วยังสามารถส่งออกในรูปสินค้าแปรรูปนำรายได้เข้าประเทศได้อีกทางด้วย


Create Date : 08 สิงหาคม 2549
Last Update : 9 สิงหาคม 2549 8:06:22 น. 7 comments
Counter : 6944 Pageviews.

 
ดูสวนเค้าทำเป็นระเบียบดีจัง

มะเขือเทศก็ลูกโต๊โต

วันก่อนดูเรื่อง ไรเดอร์คาบูโต๊ะ เค้าบอกเอามะเขือเทศทั้งลูกใส่ในซุปมิโซะ แล้วรสชาติมันจะอร่อยไปอีกแบบ ไม่รู้จริงปล่าว ยังมะเคยลองทำเลย พีโกะจังลองดูจิ


โดย: Qooma วันที่: 9 สิงหาคม 2549 เวลา:8:43:43 น.  

 
ในน้ำมีปลา..ในนามีข้าว...แผ่นดินเราสมบูรณ์..แต๊ๆ

พัฒนาแบบธรรมชาติอย่างนี้ดีจัง
ลงทุนเยอะหน่อย..แต่ได้ผลผลิตที่ดี
รัฐช่วยบ้าง..แต่ก่อนอื่นเราต้องช่วยตัวเองก่อน

บ้านเราน่าจะทำได้...เน๊อะ


โดย: iamname วันที่: 9 สิงหาคม 2549 เวลา:12:53:30 น.  

 
Qooma → จริงดิ ไว้จะลองทำดูนะ ถ้าท้องเสียจะไปหาที่บล็อก

iamname → ถูกต้องแล้วคร้าบ


โดย: peeko วันที่: 10 สิงหาคม 2549 เวลา:9:35:41 น.  

 
บ้านเค้าพืชผักสมบูรณ์ค่ะ เห็นแล้วอยากไปอยู่จัง
ชอบค่ะ ชอบ


โดย: จิ๊บ (jipprincess ) วันที่: 10 สิงหาคม 2549 เวลา:11:37:11 น.  

 
ยินดีที่ได้ทราบว่า ญาติพี่น้องมะเขือเทศ เจริญเติบโตงอกงาม (จริงๆ นะ)


โดย: มะเขือเทศน้อย วันที่: 13 สิงหาคม 2549 เวลา:4:04:41 น.  

 
น่าสนใจจัง
แต่รสชาดของลูกมะเขือแดง ๆ นั่นจะออกมาเหมือนกับลูกที่ปลูกด้วยดินหรือเปล่านะ
มีให้ชิมป่ะคะ


โดย: แร่ใยหิน วันที่: 19 กันยายน 2549 เวลา:19:01:25 น.  

 
แร่ใยหิน → รสชาดหวานอร่อยมากค่ะ อร่อยกว่ามะเขือเทศเมืองไทยอ่ะ เพราะปกติตอนอยู่เมืองไทยกินมะเขือเทศเปล่าๆไม่ได้เลย แต่อันนี้เด็ดกินจากต้นได้สบายมากเลยค่ะ


โดย: peeko วันที่: 23 กันยายน 2549 เวลา:22:38:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

peeko
Location :
กรุงเทพ Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add peeko's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.