มหาสมุทรสีเทาขาว ล้ำลึกเหลือคณา

โอ้ละหนอ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Group Blog
 
 
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โอ้ละหนอ's blog to your web]
Links
 

 
ง่วงมั้ย?? .. อยากนอน?? .. เข้ามานอนกันเถอะ .. (Sleep Neurophysiology)

การมีสติ และการหมดสติ

เราแบ่งภาวะการมีสติ หรือ “Consciousness” เป็น 3 ช่วง คือ awake, asleep, drowsy

โดยดูจาก 2 ทาง คือ ทางพฤติกรรม และ ดูการทำงานของสมอง โดยผ่าน electroencephalogram (EEG)


แล้วการหลับคืออะไร?

Sleep คือ สภาวะการหมดสติ (Unconsciousness) สภาวะทางพฤติกรรมซึ่งมีการหลุดพ้นของการรับรู้ และการไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมโดยที่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้


ส่วน Coma เป็นสภาวะการหมดสติ แต่ไม่สามารถปลุกได้ด้วยการกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าต่างๆ


การหลับแบ่งเป็น 2 ระดับ

1. Slow-wave sleep (หรือ Non-REM sleep)
แบ่งเป็น stage 1, 2, 3 และ stage 4

2. Rapid eye movement sleep (REM sleep)

การนอนในแต่ละคืนจะเกิด REM และ nonREM สลับกันตลอดคืน
ส่วน REM sleep จะนานประมาณ 25 % (ในวัยรุ่น) และจะเกิดทุกๆ 90 นาที

ในแต่ละคืน การหลับส่วนมากเป็น slow-wave sleep ซึ่งเป็นการหลับลึก การหลับประเภท REM sleepนี้จะตื้นกว่า และมักจะมีการฝัน


แล้วเราจะทราบได้อย่างไรล่ะว่าเรานอนอยู่ใน stage ไหนแล้ว ?

โดยดูจากตัวแปรที่ใช้วัดระยะต่างๆของการนอน

- คลื่นไฟฟ้าสมอง Electroencephalogram (EEG)
- Electrooculogram (EOG) ดูการการกลอกลูกตา (eye movement)
- Electromyogram (EMG) ดูว่ามีการทำงานของกล้ามเนื้อไหม (muscle tone)
- ดูสภาวะร่างกายอื่นๆ ; heart rate, respiratory rate, body temperature


ภาพประกอบ
ECG จากขั้วบันทึกที่วางบนหนังศีรษะ ใช้แบบเป็นเป็นหมวก ติดอิเลกโทรด ส่วนขมับมีอิเลคโทรดวัด EOG สายที่หน้าอกติดกับเครื่อง Plethysmograph วัดอัตราการหายใจ








Non-REM sleep

- no eye movement
- ชีพจรและการหายใจช้าลงอย่างสม่ำเสมอ อุณหภูมิกายลดลง
- กล้ามเนื้อผ่่อนคลาย แรงตึงกล้ามเนื้อลดลง เปลี่ยนท่านอนทุก 20 นาที
- growth hormone หลั่งมาก
- สามารถยับยั้งการนอนระดับนี้ด้วยด้้วย ยากล่อมประสาท valium (benzodiazepine)
- ไม่่ค่อยฝััน


แบ่งเป็น 4 stage โดยดูจากคลื่นสมอง

Stage 1

- คลื่นสมองเป็นแบบ irregular, theta waves
- หายใจช้้าๆ, หลับตื้น ตื่นง่าย, เกิดนาน 2 นาที อาจรู้สึกตัวโดยไม่มีตัวกระตุ้น

Stage 2

- มี sleep spindles และ mixed EEG activity
- เกิดนาน 20 นาที

Stages 3 & 4

- delta waves
- ตื่นยาก เกิดนาน 30 นาที


ภาพประกอบ
stage 5 คือช่วง REM ที่เราจะกล่าวถึงต่อไปค่ะ



Rapid eye movement sleep (REM sleep)

- หลับแบบมีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (rapid eye movement)

- สมองมีการทำงานมาก brain metabolism อาจเพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อวัดด้วย electroencephalogram (EEG) จะแสดง brain waves คล้ายกับขณะตื่น wakefulness จึงเรียกการหลับแบบ REM sleep ได้อีกอย่างหนึ่งว่า Paradoxical sleep

- มีการฝัน (dreaming)

- ปลุกให้ตื่นยากกว่าช่วง non-REM sleep แต่จะตื่นเองทันทีในตอนเช้า หากช่วงนั้นตรงกับระยะ REM sleep

- Heart rate และ respiratory rate ไม่คงที่ในช่วง dream state

- Muscle tone ลดลง เพราะมีการยับยั้งการทำงานของ spinal muscle control areas

- นอกจากนี้ พบการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย และคลิตอริสโดยไม่เกี่ยวกับอารมณ์ทางเพศด้วย


ภาพประกอบวงจรการหลับในแต่ละคืนค่ะ (Sleep cycle)

การนอนเริ่มจาก NREM sleep (stage 1-stage 4) ซึ่งใช้เวลาราว 80 นาที แล้วตามมาด้วย REM sleep ราว 10 นาที (วงจรนี้นานราว 90 นาที)

วงจร NREM-REM จะปรากฏขึ้นราว 3-6 วงจรในหนึ่งคืน โดยที่ความยาวนานของช่วง NREM sleep จะสั้นลงเรื่อยๆ ในขณะที่ความยาวนานของช่วง REM sleep ยาวขึ้นเรื่อยๆ




แล้วทำไมเราต้องนอนด้วยล่ะ

การนอนไม่ใช่การพักการทำงานของสมองทั้งหมด ตามรูปประกอบข้างบนจะเห็นว่าสมองเราไม่ได้หยุดการทำงานเลย

ทำไมต้องนอน? คำถามนี้ เหล่านักวิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบค่ะ แต่คาดว่า..


1. การนอนหลับคือการปรับตัว (Sleep is adaptive)

- เพื่อแบ่งปันอาหารให้สัตว์ต่าง species
- เพื่อสะสมพลังงาน
สัตว์ที่ metabolism สูง--> นอนมาก
- หลีกเลี่ยงการถูกล่า ในความมืด
- เพื่อช่วยควมคุมอุณหภูมิของร่างกาย (Thermoregulation)
การหลับ ช่วยให้ร่่างกายเย็นลง นอกจากนี้ การสลับช่วง REM และ non REM sleep ทำให้ร่างกายเย็นเกิน

2. การนอนหลับคือการฟื้นฟูร่างกาย (Sleep is restorative)

เพื่อฟื้นฟูร่างกาย ช่่วยการซ่อมแซมส่วนสึกหรอ

- growth hormone ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต จะหลั่งมากขณะหลับ

ดังนั้น น้องๆที่ขายพวงมาลัย ตามสี่แยก ไม่หลับ ไม่นอน จะเห็นว่าตัวแกร็นๆกันทั้งนั้น คาดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการอดนอนด้วย

3. การนอนหลับช่วยในการเรียนรู้ (Sleep promotes learning)

การอดนอนมีผลต่อการเรียนรู้ การอดนอนในช่วง REM ทำให้การ
เรียนรู้แ้แย่ลง




แล้วสัตว์ล่ะนอนเหมือนคนไหม ?

ทำไมนกถึงหลับได้ที่ยังเกาะกิ่งไม่อยู่? แล้วปลาหลับอย่างไร?


- ปลาโลมา และนก จะหลับโดยใช้สมองเพียงซีกเดียว และพักร่างกายเพียงซีกเดียว สลับกันตลอดรอบการหลับ

- นอกจากนี้ Marine mammals ไม่มี REM sleep อาจจะมาจากการที่ไม่สามารถผ่อนกล้ามเนื้อที่ใช่พยุงร่างกายในน้ำได้

จากภาพประกอบ

a) คลื่นไฟฟ้าสมองของโลมา เป็นลักษณะของ nonREM sleep โดยเกิดขึ้นในสมองซีกเดียว สลับกับอีกซีกที่สมองยังตื่นอยู่

b) ภาพโลมาขณะหลับ กราฟสีน้ำเงิน และแดง แสดงให้เห็นการทำงานและพักการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกายในแต่ละด้านสลับกัน




คำถามที่พบบ่อย...

1. ทำไมคุณ ปู่ คุณ ย่า คุณ ตา คุณยาย...ฯลฯ ถึงนอนไม่ค่อยหลับ คะ/ครับ?

จากรูป stage ของการหลับเป็นไปตาม Sleep cycle คคห. ด้านบน จะเกิดกาวเปลี่ยน sleep pattern ไปตามวัยค่ะ โดย..

ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ตัวอ่อนจะมี sleep time และ REM sleep (หลับลึก) มากกว่าผู้ใหญ่เสมอ เช่น ในเด็กแรกเกิด จะใช้เวลานอน 16 - 18 ชั่วโมง โดยมี REM sleep ประมาณ 50%

- หนุ่มสาวจะใช้เวลานอน 7- 8 ชั่วโมง โดยมี REM ประมาณ 20% non-REM (หลับตื้น) ขั้นที่ 1 เด็กเล็กเกิดเพียง 5% ในขณะที่ ผู้สูงอายุจะมีได้ 15%

- non-REM ขั้นที่ 3 และ 4 หลังจากอายุ 20 ปี จะมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ จนถึงอายุ 60 มีอาจมีน้อยมากหรือหายไป

สรุปคือคนอายุมากขึ้น การหลับใน 1 รอบจะมีช่วงหลับตื้นมากและนานขึ้น มีเวลานอนหลับน้อยลงและหลับตื้น ตื่นบ่อยในช่วงกลางคืน รู้สึกสดชื่นหลังตื่นน้อยกว่าคนหนุ่มสาวค่ะ





ทำไมขาของผมถึงกระตุกขณะหลับ? การเดินละเมอ คืออะไร?

(ขอเอาบทความจากเว็บหมอชาวบ้านมาตอบเลยนะคะ)

อาการที่เกิดร่วมกับการหลับ (parasomnias)

คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในขณะหลับ อาจจะปกติหรือผิดปกติก็ได้ ถ้าผิดปกติอาจเรียกว่าอาการผิดปกติขณะหลับ (dyssomnias) อาการที่เกิดร่วมกับการหลับมีมากมาย เช่น


1. การกระตุกขณะหลับ
(hypnic jerks, periodic movements in sleep, nocturnal myoclonus)

คือ การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นพักๆ ขณะหลับ เป็นอาการปกติที่พบบ่อยมากร่วมกับการหลับ มักเกิดในผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป และมักจะเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

การกระตุกขณะหลับมักจะเป็นมากขึ้นถ้าอดนอน มีเรื่องเครียดก่อนนอน มีโรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดในสมองแตก-ตีบ-ตัน ไตวาย การได้ยาแก้อาการซึมเศร้า การหยุดยานอนหลับ หรืออื่นๆ ที่พบบ่อยมักเป็นที่ขา

คนที่ชอบรู้สึกว่ามีอะไรคลานหรือกวนอยู่ในน่องลึกๆ จนต้องขยับขาบ่อยๆ ในยามตื่น (restless leg syndrome) เกือบทั้งหมดจะมีการกระตุกของขาขณะหลับ แต่คนที่ขากระตุกขณะหลับอาจไม่รู้สึกผิดปกติที่น่องในขณะตื่น

การกระตุกขณะหลับอาจมีเพียงการกระดกหัวแม่เท้าหรือการกระดกเท้า หรือนิ้วมือเป็นระยะๆ (ทุก 20-40 วินาที) ไปจนถึงการเตะถีบ ฟาดแขนฟาดขา หรือกระตุกทั้งตัว จนตื่นขึ้นเต็มที่ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ตื่น (สมองตื่นเพียงเล็กน้อยแล้วก็หลับต่อแล้วก็ตื่นใหม่ สลับกันไปเช่นนี้ ถ้าเป็นมากจะทำให้นอนไม่พอทั้งที่รู้สึกว่าหลับทั้งคืน ทำให้ง่วงเหงาหาวนอนมากในเวลากลางวัน คนที่เป็นเช่นนั้นมักจะไม่รู้ตัว แต่คนที่นอนด้วยจะสังเกตเห็นการกระตุกเหล่านี้ และทำให้วินิจฉัยโรคนี้ได้)

การรักษา :

ถ้ามีสาเหตุ ให้รักษาสาเหตุ ถ้าไม่มีสาเหตุชัดเจนหรือกระตุกมากให้กินยาโคลนาซีแพม (clonazepam เม็ดละ 0.5 มิลลิกรัม) 1/2-2 เม็ดก่อนนอน หรือยาเทมาซีแพม (temazepam เม็ดละ 15 หรือ 30 มิลลิกรัม) 1 เม็ดก่อนนอน อาจช่วยให้หลับได้ดีขึ้น และลดการกระตุกขณะหลับได้

2. การละเมอ
(sleep talking)

คือ การพูดพึมพำหรือการตะโกนโหวกเหวกขณะหลับ อาจจะละเมอเป็นประโยคหรือเป็นคำๆ อาจฟังรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ได้ และเมื่อถูกคู่นอนหรือคนใกล้ชิดถามว่าอะไร เป็นอะไรหรือ เกือบทั้งหมดจะไม่มีการตอบสนอง เพราะผู้ละเมอกำลังหลับอยู่

แต่ในบางกรณีที่พบได้น้อยมาก ผู้ละเมออาจจะตื่นมากกว่าหลับ ทำให้ตอบอือๆอาๆ (แบบฟังไม่รู้เรื่อง) หรือในบางกรณีที่ยิ่งพบน้อยมากยิ่งขึ้น คือ อาจตอบแบบรู้เรื่องได้ แต่ผู้ละเมออาจจะจำอะไรไม่ได้เมื่อตื่นขึ้นเต็มที่

การละเมอพบได้ในทุกอายุ และในหญิงมากกว่าชาย

โดยทั่วไปการละเมอมักจะเกิดในระยะที่ 1 และ 2 ของการหลับแบบตาไม่กระตุก (non-REM sleep) แต่ในบางครั้งก็เกิดในการหลับแบบตากระตุกได้ การละเมอโดยทั่วไปถือว่าเป็นสิ่งปกติ ยกเว้นเมื่อการละเมอนั้นรบกวนการหลับนอนของผู้ละเมอหรือคนข้างเคียง จึงจะถือว่าผิดปกติ ในกรณีเช่นนั้น

การใช้ยาคลายกังวลหรือยานอนหลับจะช่วยให้อาการละเมอลดลงได้ (ดูเรื่องยาคลายกังวลและยานอนหลับ คอลัมน์มาเป็นหมอกันเถิด ในหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 150-152)


3. การเดินละเมอ
(sleep walking, somnambulism)

คือ การเดินโดยไม่รู้ตัวที่เกิดขึ้นในขณะหลับ มักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของการหลับ โดยเฉพาะในระยะที่ 3-4 ของการหลับแบบตาไม่กระตุกช่วงแรก และมักจะเกิดขึ้นในเด็ก (ตั้งแต่ 2-3 ขวบ จนถึงวัยรุ่น) มากกว่าผู้ใหญ่

ที่พบบ่อยคือ ขณะที่หลับๆอยู่ เขาจะมีการเคลื่อนไหวแขนขาหรือร่างกายแล้วจะลุกขึ้นนั่งบนเตียง ลืมตาแป๋วเหมือนตาแก้ว (glassy eyes) ที่มองไม่เห็น (ไม่รับรู้สิ่งที่ไม่ต้องการเห็น) แล้วจะลุกขึ้นยืนและเดินไปอย่างไร้จุดหมายด้วยท่าทีที่งุ่มง่ามหรือเหมือนหุ่นยนต์ เข้าห้องนั้นออกห้องนี้ หรือเดินหนีออกไปจากบ้านโดยไม่ชนประตู โต๊ะ เก้าอี้ หรือสิ่งกีดขวาง ขึ้นลงบันไดได้ (ซึ่งแสดงว่าเขามองเห็นสิ่งที่เขาต้องการจะเห็น ส่วนสิ่งอื่นที่เขาไม่ต้องการจะเห็น เช่น การโบกไม้โบกมือที่หน้าของเขา เขาจะไม่เห็น ดังนั้น เขาจึงอาจหกล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ได้)

โดยทั่วไปเขาจะไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก (ซึ่งคงเป็นเพราะเขาไม่ได้ยิน) แต่มักจะยอมให้จูงมือกลับไปนอนใหม่ได้ เมื่อตื่นขึ้นเขาจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ หรือจำได้อย่างรางเลือนคล้ายกับว่าฝันไป นอกจากการเดินละเมอแล้ว เขาอาจจะถอดเสื้อผ้า หรือแต่งตัวใหม่ หรือถ่ายปัสสาวะอุจจาระไม่เป็นที่เป็นทางโดยไม่รู้ตัวได้ หรืออาจเกิดร่วมกับอาการฝันร้ายหรือฝันผวาได้

อาการที่เกิดขึ้นอาจกินเวลาไม่ถึงนาที หรืออาจยาวนานถึงครึ่งชั่วโมงได้ การลุกขึ้นเดินสะเปะสะปะในเวลากลางคืนของผู้สูงอายุ (คนแก่) ไม่ใช่การเดินละเมอ เพราะไม่ได้เกิดขณะหลับ แต่เกิดจากตื่นแล้วหลง (walking disorientation) มักเกิดจากโรคสมองเสื่อม (senile dementia) สาเหตุของการเดินละเมออาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ ปัญหาทางจิตใจ โดยเฉพาะการเก็บกดความไม่พอใจไว้ หรืออื่นๆ

การรักษา :

1. หาสาเหตุ ถ้าเกิดจากกรรมพันธุ์ก็ควรใช้การรักษาด้วยยา ถ้าเกิดจากปัญหาทางจิตใจ เช่น เด็กขาดความอบอุ่นในครอบครัว เด็กถูกรังแกข่มเหง เด็กเกิดความอิจฉาริษยาพี่หรือน้อง หรืออื่นๆ จะต้องพยายามแก้ไขสาเหตุ และให้การรักษาในด้านจิตใจ (จิตบำบัด) ด้วย

2. การรักษาด้วยยา ใช้ในระยะที่เป็นมาก โดยให้ยาไดอะซีแพม (diazepam ขนาด 2 หรือ 5 มิลลิกรัม) กิน 1-2 เม็ดก่อนนอน จะช่วยลดอาการเดินละเมอได้ ถ้ามีปัญหาทางจิตใจหรือมีการเก็บกด อาจต้องใช้ยาแก้อาการซึมเศร้าช่วย (ดูเรื่องยาเหล่านี้ในคอลัมน์มาเป็นหมอกันเถิด ในหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 153)

อย่างไรก็ตาม การเดินละเมอเป็นอาการปกติที่เกิดร่วมกับการหลับได้ ถ้านานๆจะเป็นสักครั้ง และแต่ละครั้งเป็นชั่วครู่เดียว แล้วก็กลับเข้านอนเองได้โดยไม่มีอุบัติเหตุหรืออันตรายอะไรก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล เพราะจะหายเองได้เมื่ออายุมากขึ้น แต่อย่าลืมหาสาเหตุทางจิตใจและแก้ไขเสียด้วย มิฉะนั้นคนที่เดินละเมออาจเกิดโรคทางจิต และ/หรือทางกายต่างๆในภายหน้า



ทำไมถึงนอนไม่หลับ?

ความผิดปกติในการนอนหลับ


1.Dyssomnia

คือการนอนหลับที่ผิดปกติในแง่ของ ปริมาณการนอน คุณภาพการนอน หรือเวลาที่เริ่มง่วงนอน โดยผู้ป่วยอาจนอนหลับยาก นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนมากเกินไป แบ่งออกเป็น

1.1 Insomnia

เป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่พบบ่อยที่สุด เป็นภาวะที่บุคคลมีความรู้สึกว่านอนไม่เพียงพอ กลางวันง่วงนอนหรือประสิทธิภาพในการทำงานลดลง แบ่งออกเป็น

1) Transient Insomnia หรือ short-term insomnia

ได้แก่ การนอนไม่หลับเป็นครั้งคราว เป็นไม่เกิน 3 สัปดาห์ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือความกดดันเฉียบพลันหรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น ใกล้สอบ ตกงาน เปลี่ยนที่พัก เป็นต้น นอกจากนี้สารที่กระตุ้นระบบประสาท เช่น กาแฟ นิโคติน หรือยาบางตัวทำให้ไม่หลับเช่นกัน

2) Long-term Insomnia

ได้แก่ การนอนไม่หลับเรื้อรังนานกว่า 3 สัปดาห์


แล้วจะทำอย่างไรหล่ะ?

1 . เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน
3. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงเสียงดัง หรืออากาศร้อน
4. ทำจิตใจให้สบายก่อนนอน หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นจิตใจ
4. ไม่ใช้เตียงทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น อ่านหนังสือ รับประทานอาหาร
6. หากนอนไม่หลับนานเกิน 30 นาที ให้ลุกจากเตียง ทำกิจกรรมอื่นจนง่วง แล้วจึงเข้านอนใหม่
5. งดสุรา กาแฟ ก่อนนอน
6. ดื่มนม กล้วย หรืออาหารอื่นที่มี tryptophan สูง ทำให้หลับได้ดีขึ้น
(tryphtophan เป็นสารตั้งต้นของสารซีโรโทนินที่ทำหน้าที่เหนี่วนำให้หลับค่ะ)




เมื่อคืนก็หลับนะ ทำไมถึงง่วงนอนตอนกลางวันล่ะ?


1.2 Hypersomnia

ภาวะนอนหลับมากเกินปกติ หรือง่วงนอนช่วงกลางวันตลอด แบ่งเป็น

1) Narcolepsy

อาการเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป มักเริ่มเป็นก่อนอายุ 15 ปี โดยมี narcolepsy tetrad ได้แก่

- somnolence อาการง่วงในช่วงกลางวัน
- cataplexy การมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงกระทันหัน จากการมีสิ่งเร้าด้านอารมณ์สูง (อย่าคิดลึก อย่าคิดลึก ... ) เป็นช่วงสั้น ๆ และหายเอง
- sleep paralysis กล้ามเนื้ออ่อนแรงในช่วงเคลิ้มก่อนตื่นนอน
- hypnagogic hallucination ประสาทหลอนช่วงเคลิ้มหลับ

การรักษา

ปฏิบัติตามหลัก sleep hygiene อย่างเคร่งครัด ให้เวลางีบช่วงกลางวัน ให้ยากระตุ้นประสาทรักษาอาการง่วงซึมตอนกลางวัน




ทำไมเราต้องนอนตอนกลางคืน แล้วตื่นตอนกลางวันด้วย?..
หรือ ทำงานกะดึกจะเสียสุขภาพไหม?



เรื่องนี้เกี่ยวกับนาฬิกาชีวภาพค่ะ

ร่างกายมนุษย์มีจังหวะการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะแวดล้อม เมื่อร่างกายได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม

เชื่อว่า ตัวกำหนดนาฬิกาชีวิต น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย

ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง ?

คาดว่า บริเวณ Supraoptic nucleus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิตของร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายใน 1 รอบวัน
โดยทั่วไปใช้คำว่า Circadian rhythm ซึ่งวงจรการนอน-ตื่นของคนเราจึงจัดอยู่ใน circadian rhythm อย่างหนึ่ง


biological clock ซึ่งเปรียบเสมือนนาฬิกาในร่างกาย มนุษย์ที่จะคอยบอกเวลาว่าเมื่อไหร่ควรจะหลับและเมื่อไหร่ถึงเวลาตื่น โดยนาฬิกาเรือนนี้อยู่ที่ suprachiasmatic nucleus (SCN) บริเวณ hypothalamus

แสงสว่างจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นาฬิกาเรือนนี้เดินได้ 24 ชั่วโมงในหนึ่งรอบ หากนาฬิกาเรือนนี้ทำงานผิดปกติไปหรือมีสถานการณ์ที่ทำให้เปรียบเสมือนนาฬิกาเรือนนี้เดินไม่ปกติ ก็จะเกิดความผิดปกติของ circadian rhythm (circadian rhythm disorders)

Circadian rhythm disorders

ที่พบได้บ่อย ได้แก่

delayed sleep phase syndrome (DSPS), advanced sleep phase syndrome (ASPS), jet lag, shift work และ การเข้านอน - ตื่นนอนไม่เป็นเวลา (irregular sleep-wake patterns)

อาการเหล่านี้ทำให้การไม่สมดุลระหว่างความต้องการนอนและสถานการณ์แวดล้อม คือง่วงผิกที่ผิดทางนั่นเอง

ตัวอย่างเช่น การบินข้าม time zone หลายๆ time zone มีผลต่อความง่วงในเวลากลางวันของเวลาท้องถิ่นนั้น เนื่องจากในขณะนั้นเป็นเวลานอนหลับของคนผู้นั้น หากอยู่ในประเทศเดิมที่จากมา เป็นต้น



เรื่องผลกระทบของการอดนอน (Sleep deprivation) ต่อสุขภาพ ขอยกคำตอบจาก อ.ดร.นพ.สรชัย ศรีสุมะ. แห่งภาคสรีรวิทยา ศิริราชมาตอบนะคะ


นศ.ถามว่า..

... พอดีจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับการอดนอนกับแพทย์ เลยอยากทราบว่านิยามของ sleep deprivation คืออะไร และสามารถวัดได้เป็นรูปธรรมหรือไม่ ...


อาจารย์ สรชัย ตอบว่า..

... ภาวะ sleep deprivation คือการนอนหลับไม่พอ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากขึ้น และมีเรื้อรังในสังคมปัจจุบัน


เวลานอนในแต่ละวันที่แนะนำโดย National Sleep Foundation (www.sleepfoundation.org) คือไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องรวดเดียวก็ได้ (eight straight hours)

สาเหตุที่พบมากขึ้น ได้แก่

ชั่วโมงทำงานเพิ่มมากขึ้น หรือมีการทำงานกะกลางคืน ใช้เวลาดูโทรทัศน์หรือเล่นอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีภาระของครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ ไม่มีตัวชี้วัดเป็นรูปธรรมที่แน่นอนนะครับ

ส่วนใหญ่ sleep deprivation ทำให้มีอาการง่วงนอนมากในเวลากลางวัน และมี neurocognitive function ถดถอยลง


ในการศึกษาแบบระยะสั้น พบว่า sleep deprivation สัมพันธ์กับภาวะต่อไปนี้

- ความทนน้ำตาล (Glucose tolerance) แย่ลง
(จขกท: เรื้อรังแล้วเป็นเบาหวานค่ะ)

- ความดันเลือดสูงขึ้น

- ระบบประสาท sympathetic ถูกกระตุ้นมากเกินไป
(จขกท: sympathetic nervous system เป็นระบบประสาทอัตโมติ ที่สั่งให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น หากถูกกระตุ้นนานแบบเรื้อรังแล้วจะมีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ความดันเลือดสูง ฯลฯค่ะ)

- ระดับฮอร์โมน leptin ลดลง (ทำให้ความอยากอาหาร (appetite) สูงขึ้น)
(จขกท:--> อ้วนๆ)

- ระดับ cortisol สูงขึ้นในเวลากลางคืน (ปกติจะสูงตอนเช้า)
(จขกท: cortisol เป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด ส่งผลเสียแก่ร่างกายถ้าหลั่งนานแบบเรื้อรัง เช่น ลดภูมิคุ้มกัน ค่ะ)

- Inflammatory marker มีระดับสูงขึ้น


เร็วๆนี้ มีงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ศึกษาผลของการอยู่เวรของแพทย์ประจำบ้านเป็นกะยาวๆ ที่มีต่อความผิดพลาดในการรักษา รวมทั้งอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น พบว่าปัจจุบันแพทย์ประจำบ้านในบางสาขาต้องทำงานกะหนึ่งไม่เกิน 30 ชั่วโมงรวด(thirty straight hours) และรวมเวลาทำงานทั้งหมดไม่เกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งพบว่ายังมากเกินไป และถือว่าเป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อทั้งแพทย์และผู้ป่วยด้วย ปัจจุบันแพทย์ประจำบ้านของประเทศในยุโรปปฏิบัติงานไม่เกิน 56 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะมีกฎออกใหม่เริ่มใช้เดือนสิงหาคม ปี 2551 คือลดเวลาลงให้แพทย์ประจำบ้านในยุโรปทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ครับ

ผู้เชี่ยวชาญทาง sleep medicine ที่ Brigham and Women’s Hospital, Harvard Medical School, Boston เผยว่า คนเราสามารถทำงานต่อเนื่องกันได้ไม่เกิน 16-18 ชั่วโมง ปัจจัยการกำหนดชั่วโมงในการทำงานนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้ประเมิน residency training program เมื่อมีผู้เชี่ยวชาญมาประเมินคุณภาพหลักสูตรการอบรมแพทย์ประจำบ้านด้วยครับในประเทศสหรัฐอเมริกา (เหมือนประเมิน hospital accreditation) ทำให้มีการปรับลดชั่วโมงการทำงานลง แต่ก็ยังสูงอยู่ดีดังกล่าวแล้วครับ


//www.ps.si.mahidol.ac.th/PSBoard/psboard_Question.asp?GID=1117



ที่มา

1. Vander's Human Physiology (10th edition )

2. Guyton Medical Physiology Textbook (11th edition)

3. Sleep Disorders : //ecurriculum.mv.ac.th/health/m.5/lesson4/mahidol21/c18.htm

4. Sleep in different animal species : //www.scienzagiovane.unibo.it/English/sleep/3-sleep-animals.html

5. Interesting topic in sleep and depression: //www.ramamental.com/topics/sleep%20depression.pdf

6. ภาวะง่วงง่ายผิดปกติ : //www.vichaiyut.co.th/jul/28_02-2547/28_02-2547_P70-76.pdf

7. การตรวจรักษาอาการ “หลับไม่ปกติ” (ตอนที่ 10) : //www.doctor.or.th/node/3132




ฝันดี มีสุขค่า....



5 ต.ค. 52 15:16:03




Create Date : 31 ตุลาคม 2552
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2552 21:41:37 น. 0 comments
Counter : 10125 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.