17.ออกแบบบ้าน(6) : ได้แบบก่อสร้างมาแว้วว
  สองวันก่อนเพื่อนสถาปนิกคนเดิมก็ไลน์มาแล้ว บอกว่าแบบก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่เขายังไม่ได้ตรวจสอบเลย เพราะช่วงนี้งานเยอะ เพื่อนเลยส่งไฟล์ PDF มาให้ผมดูก่อน เพื่อเอามาตรวจสอบความถูกต้อง(ใช้ตูซะงั้น) แต่ก็ดีนะครับการที่เราได้มาตรวจก่อนก็ทำให้เราเจอขอบกพร่อง หรือจุดที่ต้องแก้ไขได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอสถาปนิกตรวจ ส่งมาให้เราดู เราเอามาแก้ไปแก้มา เสียเวลา เปลืองกระดาษด้วย 

แต่ตรงนี้ปกติสถาปนิกจะไม่ให้ไฟล์เรามานะครับ(พอดีผมเป็นกรณีพิเศษ) ปกติเขาจะปริ้นพรีริมมาให้ก่อน ให้เรามาเชคความถูกต้อง แล้วเราก็วงๆเอาไว้ส่งกลับคืนให้สถาปนิกแก้อีกที เพราะถ้าเราได้ file มาแล้ว เราสามารถเอาไปสร้างได้เลย โดยที่ตังไม่ต้องจ่ายงวดสุดท้ายให้สถาปริกก็ได้ครับ หรือหากไฟล์หลุดไปอยู่ที่คนอื่นนี่ เอาแบบไปก่อสร้างได้เลยครับ สำหรับสถาปนิกแล้ว คงเสียหายไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว

แบบที่ผมได้มา ประกอบด้วยสามส่วนคือ

1.แบบสถาปัตยกรรม : เป็นแบบที่แสดงรูปบ้าน สัดส่วน แปลน หน้าตัดต่างๆ รวมถึงแบบขยายประตู หน้าต่าง บันได รวมราวๆ 30+ แผ่นนะครับ รายละเอียดมากบางคนอาจเป็น 50+แผ่นเลยก็ได้


ด้านบนนี้เป็นแปลนชั้น 1 บ้านผมเองครับ


อันนี้เป็นแบบขยายบันไดบ้าน 

ขอบอกเลยว่าเจ้าของบ้านต้อง!!!เรียนรู้แบบให้ละเอียดเลยนะครับ ตรงนี้แหล่ะที่สำคัญมากๆๆๆ อย่าเห็นว่าโอ้ยตัวเลข สัญลักษณ์อะไรพรืดไปหมด ช่างมัน ปล่อยให้สถาปนิกกับช่างดูไปเอง อย่าเด็ดขาดเลยครับ ขนาดเราจะซื้อมือถือเราคาหลักหมื่น เราดู Spec แล้ว ดูอีก เข้าเนตหาข้อมูล กว่าจะถอยมือถือสักเครื่อง แต่นี่บ้านเราเอง ราคาหลักล้าน ทำไมเราไม่ดู Spec ล่ะครับ

ตั้งใจดูดีๆ ความหมายของสัญลักษณ์ก็ถามสถาปนิกเลยครับ ดูไม่ยากเลย พอเข้าใจแล้วจะสนุกเลยครับ เหมือนดูตัวต่อพลาโมเลยครับ

หมายเหตุ:พลาโมคือโมเดลหุ่นพลาสติก ที่ให้แบบต่อมา บางตัวแบบโคตรยากเบยย

บ้านเรา เราอยู่เอง ดูให้ระเอียดเลยตรงไหนห้องอะไร ประตูหมายเลขเท่าไหร่ หน้าต่างเบอร์อะไรอยู่ตรงไหน เปิดเข้า เปิดออก บานเลื่อน บานไม้ บานอลู ดูให้หมดครับ ว่าถูกต้องตามที่เราต้องการไหม บางทีสถาปนิก หรือ draftman (คนที่สถาปนิกจ้างวาดแบบให้อีกที) เขามึนๆ ไม่ใช่บ้านเขานิครับ สลับบานประตูก็มี สลับหน้าต่างก็มี เชคให้ตรงตามที่เราต้องการครับ

อย่างของผมก็มีครับ ประตูสลับบาน มีอยู่สองบานครับ ก็ต้องแก้แล้วแจ้งเพื่อนให้ไปแก้มา หน้าต่างสลับทีก็มีครับ หรือแบบขยายไม่ครบ อันนี้ก็ต้องดูครับ ไม่งั้นพอสร้างจริงหน้างานไม่มีแบบขยาย ผรม.ทำตาม Routine ออกมาผิดแบบแย่เลยครับ หาในแบบก็ไม่มีโทษใครไม่ได้เลย

2.แบบไฟฟ้าและสุขาภิบาล เป็นแบบที่แสดงสวิตช์ เต้ารับ เต้าเสียบ โคมไฟของบ้านเราครับ รวมถึงท่อน้ำ ทั้งน้ำดี น้ำทิ้ง บ่อบำบัดต่างๆ 


นี้เป็นแบบไฟฟ้าครับ สายระโยงระยางนั่นคือสายไฟครับ


ส่วนอันนี้เป็นแบบน้ำทิ้งครับ มีบ่อสุขา บ่อดักไขมันและรางระบายน้ำ

แบบไฟฟ้านี้ก็สำคัญมากกกเ่ช่นกันครับ เพราะระบบไฟที่สถาปนิกเขาออกแบบ เขาออกแบบตามหลักส่องสว่าง แต่ไม่ได้ออกแบบตามใจ หรือตามนิสัยเจ้าของบ้านครับ สถาปนิกจะคำนวนว่าตรงนี้สว่างเท่านี้พอ ใช้ไฟเท่านี้ดวง ก็ออกแบบตามาตรฐานวิชาชีพ แต่เจ้าบ้านบางคนชอบโรแมนติก ติดไฟสองดวงพอสลัวๆ หรือตรงนี้เจ้าบ้านชอบสว่างจัด

ดังนั้นก็ต้องมีการปรับแก้แน่นอนครับ อย่างผม สถาปนิกแกทำมาดื้อๆเลย ห้องนอนมีดาวไลท์ 8 ด้วง พี่แกสวิตช์ตัวเดียวเปิดพรึ่บ 8 ดวงเบยย Smiley มันไม่ใช่อ่ะ มันไม่ใช่.. ผมก็ต้องมาแก้ว่าขอสวิตช์เพิ่ม เปิดสี่ดวงหน้า สี่ดวงหลัง ขอสวิตช์ Master คุมไฟที่หัวเตียงจะได้ไม่ต้องลุกไปปิดตอนจะนอน ขอเพิ่มไฟกิ่งติดตามเสานอกบ้าน สลับที่สวิตช์บางตัว เพราะ lifestyle ผมชอบให้ไฟที่อยู่ด้านใน กดสวิตช์ตัวใน จะได้ไม่งง ย้ายสวิตช์ไฟห้องน้ำมาอยู่นอกห้องน้ำให้หมด...ไปมาแก้เยอะเหมือนกันนะเนี่ย

ส่วนแบบสุขาภิบาล ก็ดูว่าวางก๊อกถูกไหม จำนวนก๊อก ท่อน้ำทิ้งลงรูไหน ฝากคาน หรือทำช่อง Service ไว้ตรงไหนของบ้าน ดูให้หมดเลยครับ ถ้าไปแก้หน้างานนี่ขี้หักแน่นอนครับ

เพื่อนบอกว่าแบบไฟฟ้าจริงๆแก้ได้อีกตอนทำ interior เพราะยังมีพวกไฟหลืบ ไฟซ่อนฝ้า ไฟทางเดินอีกเยอะ ถ้าเราซื้อบ้านสร้างเสร็จ ตอนทำ interior ต้องมาทุบมาเจอะ มาขุดแน่นอนครับ แต่ถ้าเราจ้างสถาปนิกควบ interior ก็ง่ายหน่อย แก้ไปในแบบได้เลย สบายครับ

3.แบบโครงสร้างทางวิศวะกรรม ตัวนี้เป็นแบบที่แสดงเสาเข็ม ฐานราก คานคอดิน คานชั้นสองต่างๆ แบบหล่อฐานราก เหล็กเส้นใน คสล.(คอนกรีตเสริมเหล็ก) ผูกยังไง มัดยังไง รวมถึงโครงหลัง
คาทั้งหมดเลยครับ


ในรูปเป็นคานคอดินบ้านผมครับ จะเห็นว่า ใช้เข็มเยอะมากกก 40+ต้น คานถี่โคตรๆ

แบบแผ่นนี้ผมไม่มีความรู้เลยครับว่าคานแบบนี้รับน้ำหนักยังไง ฝากกับคานไหน ลงเสาไหน ใช้เหล็กกี่เส้นยังไง แต่อย่างน้อยเราดูคร่าวๆเทียบกับแบบสถาปนิกได้ครับว่าจุดตัดนี้อยู่ตรงไหน ห้องอะไร บางทีคานเราเทลดระดับ หรือห้องนี้ยกพื้นสูง แต่แบบวิศวะไม่ได้ยกระดับตาม ก็ต้องแก้ไขครับไม่งั้นสร้างไปนี่ผิดแบบชนิดที่แก้ไม่ได้เลยครับ ซวยเลย ลองอ่านๆดูเขาจะมีระดับบอกอยู่แล้ว เช่น +0.30 คืออยู่สูงกว่าพื้นดิน 30 เซน ทำนองนี้เราก็ไล่ไฟกับแบบสถาปัติ(ที่จะดูง่ายกว่า) 

ของผมเจอว่าแบบขยายคานบันไดในแบบสถาปัตกับแบบโครงสร้างเขียนเลขไม่ตรงกันครับ เลยแจ้งให้แก้ด่วนเลย ไม่งั้นเพี้ยนหมดแน่นอน

บ้านของเรา เราต้องใส่ใจครับ อย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่คนอื่นทำๆไป เราคอยจ่ายตังค์ แบบนี้ผิดมหันต์เลยครับ ถ้าเราศึกษาแบบ เราก็จะมีความรู้ส่วนนึงไปเถียง ผรม.ได้ว่าคุณทำผิดแบบหรือเปล่า ถ้าเราไม่ศึกษาอะไรเลย เขาทำผิดแบบมาต้องมารื้อมาแก้นี่ไม่อยากจะคิดเลยครับ

ตรงนี้ขอบอกเลยว่า ถ้าท่านจ้าง บ.สร้างบ้าน ท่านไม่มีวันได้แบบนี้ไปดูแน่นอนครับ แล้วยิ่งซื้อบ้านจัดสรรนี่เลิกหวังไปเลย เขาทำมายังไง เราก็อยู่ไปยังงั้น แก้ไขอะไรทีก็ต้องทุบรื้อ เจาะ ขุด ผมคิดไม่ผิดจริงๆที่เลือกวิธีการค่อยเป็นค่อยไปแบบนี้ครับ ประคบประหงมบ้านสุดๆ



Create Date : 21 สิงหาคม 2556
Last Update : 25 พฤษภาคม 2557 0:17:12 น.
Counter : 22630 Pageviews.

3 comments
  
ยินดีด้วยครับก้าวหน้าไปอีกขั้นใกล้ฝันไปอีกนิด
โดย: Lifeboy IP: 115.67.38.53 วันที่: 26 สิงหาคม 2556 เวลา:20:39:10 น.
  
I'm impressed by your writing. Are you a professional or just very knelaedgewblo?
โดย: Tuokol IP: 192.99.14.36 วันที่: 9 กรกฎาคม 2558 เวลา:22:26:02 น.
  
@Tuokol : Thank you for your impression, I'm not professional in building or Engineering btw I'm a Physician that interest in my home building, so I try to search knowledge from google and some Home building guid book combine with my writing skill, the result is my blog that you red.
โดย: Agent Molder วันที่: 22 กรกฎาคม 2560 เวลา:15:58:23 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Agent Molder
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 381 คน [?]



สิงหาคม 2556

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog