31.งานก่อสร้างบ้าน(3) : ตอกเสาเข็มแล้ว
  วันที่อัพบล๊อกนี้ เสาเข็มทั้ง 54 ต้นของบ้านผมก็ตอกเสร็จพอดีครับ ผมจะเล่าย้อนให้ฟัง เพราะเสาเข็มมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย...จริงๆ ผรม.เตรียมตอกเข็มตั้งแต่ปลายเดือน มค.แล้ว ตอนแรกที่สถาปนิกและวิศวะออกแบบมา เขาคำนวนเข็มจากดินใน กทม.ครับ จะได้เป็นเข็ม I 26x26 cm.ยาว 21 m. บ้านผมใช้เข็มทั้งหมด 54 ต้น เยอะมากกก คำนวนค่าเสาและค่าตอกออกมาได้ราวๆ 5 แสนกว่าๆครับ 


ผังเสาเข็ม


    แต่พอลงหน้างานจริง จะสั่งเขาเข็ม ผรม.เสาเข็มแถวศรีราชาบอกว่าเข็ม I ตอกดินแถวนี้ไม่ได้ครับ เพราะดินดาน ฐานภูเขา แข็งมาก ต้องใช้เสาเหลี่ยม เลยต้องให้วิศวะกรคำนวนเสาให้ใหม่ ก็ได้เสาเหลี่ยมขนาด 22x22 ความยาวให้คำนวน blow count เอา ทาง ผรม.เลยให้คนวิ่งรถไปถามที่ โยธา อบต.ว่าดินแถวนี้ตอกกันเท่าไหร่ ก็ได้ว่ายาวสุดประมาณ 7 เมตร ผมเองก็ถามบ้านรุ่นพี่ที่ทำงาน ที่มีบ้านในหมู่บ้านนี้ ก็ได้ความว่าตอกลงประมาณ 7 เมตรเท่านั้น ก็เลยสรุปความยาวที่ 7 เมตร ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายเสาเข็มลดลงอีกประมาณ 2 แสนบาทเลยครับ ดีจริงๆ เอาไปโปะตรงอื่นได้สบายๆเลย อิอิ

    ทีนี้พอไปหาเสาเหลี่ยม 22x22 7 เมตร แถวนี้ก็ไม่มี มอก.เลยสักเจ้า ขนาดหา 4 เจ้าแล้วนะ My god แล้วที่สร้างๆกันอยู่คืออะไร..จริงๆเสาเข็มที่ไม่มี มอก.ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ไม่ได้นะครับ เขาก็หล่อเสาเข็มตามปกติอ่ะแหล่ะ แต่ถ้าจะเอาเครื่องหมาย ต้องติดต่อกรมโรงงานมารับรอง มีวิศวะเซ็นต์กำกับ ก็ต้องมีรายจ่ายส่วนนี้ ผรม.บางเจ้า หรือ จขบ.บางคนอาจขี้เกียจรอ แต่ผมไม่เอาด้วยครับ ขอมาตรฐานไว้ก่อน ก็เลยต้องรอหล่อเข็มใหม่ 2 สัปดาห์ รอนาน อุ่นใจดีกว่าครับ

  ผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ ผรม.ก็โทรมาบอกว่าเข็มมาแล้วครับ เย้ ดีใจมาก จะได้ Go on ซะทีครับ


กำลังเอาลงอย่างขมักขะเม่น


มอก.ชัดเจน เชื่อถือได้แน่นอน

จากนั้นก็ลงมือตอกเลยครับ บ้านผมใช้รถตอกนะครับ ผมก็ถามว่าทำไมไม่ตั้งปั้นจั่น เขาบอกว่าทำบ้าน พื้นที่เล็ก เสาถี่ ใช้ปั้นจั่นกว่าจะเคลื่นย้ายที่ลำบากมาก เกะกะด้วย ส่วนใหญ่ปั้นจั่นจะใช้กับการสร้างโรงงาน หรือตึกใหญ่ๆ เสาก็ไม่ยาวมาก ใช้รถคล่องตัวกว่าครับ


รถตอกปั้นจั่น

  ผรม.ผมเลือกเจ้าปั้นจั่นที่ต้องมีวิศวกรคุม และต้องเซ็นต์ Blow Count ด้วยครับ(เป็นวิศวกรของปั้นจั่นเองนะครับ มีอะไรเจ้าปั้นจั่นรับผิดชอบ) เพื่อให้แน่ใจว่าได้เสามาตรฐาน และตอกลงตำแหน่งที่มั่นคงจริงๆ แบบนี้ดีครับ ไม่มีการลักไก่ตอกแน่นอน มีลายเซ็นต์เป็นหลักฐาน...สองวันผ่านไป ผรม.ไลน์มาบอกว่าเสร็จแล้ว ห๊ะ อะไรนะ สองวัน 54 ต้น เสร็จแล้วรึเร็วมาก ผมเลยวิ่งรถจากที่ทำงานไปดูเองเลยครับ ตามภาพ


ป่าเสาเข็ม

ไปเห็นถึงกับอึ้ง!! นี่เสาเข็ม หรือเสาบ้าน!! ปรากฏว่า เข็ม 7 เมตรนั้นตอกลงได้แค่ 2 - 3 เมตรเองครับ ดินแข็งสุดยอด ผมก็ถามว่านี่จมแล้วหรือ ผรม.บอกว่า ทดสอบ blow count แล้ว ได้ตามกำหนดทุกต้น แต่ดินแข็งมาก ลงได้เท่านี้เอง แต่เดินๆดูไป ต้นที่ตอกจมลึกสุด ก็มิดดินเหมือนกันนะครับ


ต้นนี้มิดเลยครับ

อย่างต้นในรูป ตอกระดับผิวดินพอดีเลย ดีแล้วครับที่สั่ง 7 เมตร ถ้าสั่งสั้นกว่านี้ มีหวังต้องสั่งใหม่อีกต้นเดียว รอไปอีกสองสัปดาห์เซ็งเลย สรุปแล้ว 54 ต้น มีจมต้นเดียว ที่เหลือจมได้ 2 - 5 เมตร เรียกว่าตัดหัวเสาเอาไปสร้างอีกหลังได้เลยครับเหอๆ ตอนนี้ก็ตอกเสาเสร็จหมดแล้ว จะเริ่มทำงานจริงๆจังแล้วโดยขุดดิน เทลีน ทำฟุตติ้งล่ะครับ ตื่นเต้นๆ 


มุมไกลๆจากประตูทางเข้าบ้าน

อ้อ ลืมบอก วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้จะมีประชุมไซต์งานครั้งแรก มีผม ผรม. Project manager สถาปนิก consultant ครับ เพื่อแนะนำตัวอย่างเป็นทางการ และเคลียแบบให้ชัดก่อนสร้างครับ แล้วผมจะมารายงานนะครับว่าประชุมอะไรกันบ้าง


Blow Count คืออะไร

ผมยกมาอธิบายตอนท้ายเลยครับ ไปหาความรู้มาประดับ blog หน่อย อิอิ

Blow Count ก็คือ จำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม ที่ทำให้เสาเข็มจมลงไปในดิน 1 ฟุต ยิ่งดินแข็ง ค่า BC ยิ่งสูง โดยจะทราบว่าตอกเท่าไหร่ถึงจะพอ ก็จะคำนวนจาก 10 last blow count ครับ โดยเมื่อทำการตอกจนรู้สึกว่าเข็มตอกไม่ค่อยลงแล้วให้ใช้ไม้ 1 ฟุต(30 ซม.) ขีดมาร์คไว้จากผิวดิน แล้วทำการตอก 10 เข็ม (ความสูงของตุ้มและนน.ตุ้ม ต้องนำไปคิดในสูตรด้วยนะครับ เมื่อตอก 10 ครั้ง เช็คดูว่าเข็มจงลงไปลึกเท่าไหร่ ถ้าค่าที่ได้ไม่เกินค่าที่คำนวณได้ เป็นอันว่าผ่าน เสาเข็มสามารถรับแรงได้ตามที่ออกแบบ ที่ถ้าเสาเข็มจนเกินกว่าค่าที่คำนวณได้ ก็ตอกต่อครับ จนเริ่มตอกไม่ลงก็ให้ทำซ้ำกับที่กล่าวมาข้างต้น

สูตรคำนวน เอามาแปะไว้ครับ เผื่อใครอยากทราบ(ไปทำไม..)
DANISH FORMULA
Qult = eWH/(S+C) 
C = (eWHL/2AE)^0.5

Pile Section (หน้าตัดเสาเข็ม) 
Fc' (กำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน) 
Safe Load ( น้ำหนักปลอดภัย) 
Weight of Hammer (น้ำหนักของตุ้ม) 
Height of Drop (ระยะยกของตุ้มเหนือเสาเข็ม) 

เช่น Last 10 Blows = 8.4 cm หมายความว่า การตอกเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย เสาเข็มต้องจมไม่เกิน 8.4 ซม. จึงจะสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ตามกำหนดนั่นเอง

ของผมจะมีวิศวะคำนวน Blow count แต่ละต้น และจำทำเป็นรายงาน เซ็นต์ชื่อส่งมาให้ ผรม.และให้ผมด้วยครับ มาตรฐานมากๆ

ที่มา : //www.civilclub.net/webboard/index.php?topic=11786.10
         //apiwatpunjun.igetweb.com/?mo=3&art=417895




Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 25 พฤษภาคม 2557 0:28:07 น.
Counter : 16508 Pageviews.

17 comments
  
ผรม.เจ้านี้มีมาตราฐานการทำงานสูงดีค่ะ เสาเข็มก็เลือกใช้เฉพาะที่มีมอก.รับรองเท่าน้ัน แถวบ้านที่กำลังก่อสร้าง แอบไปส่องเสาเข็มของเขาไม่มีมอก.เลยสักต้น แถมยังมีวิศวกรคุม blow count ด้วย ต้องจำเอาไว้ไปตรวจงานก่อสร้างของเราบ้าง อิอิ

Blow Count ถือเป็นวิธีการหนึ่งในการตรวจสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มแบบง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดซินะ

เนื่องสภาพดินแข็งมากๆ ที่นี่ และขนาดเสาเข็มที่ตอกยาวเพียงแค่ 7 เมตร จึงไม่จำเป็นต้องทำ seismic test เหมือนเสาเข็มยาวๆ ที่ตอกในกทม. หรือเปล่าค่ะ

บอกใบ้ชื่อบริษัทผรม.ได้ไหมค่ะ อยากรู้จัง

ตกลง consultant ของฝ่ายผรม.หรือของคุณ Agent Molder ค่ะ

โดย: ML IP: 171.7.20.230 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:18:07:54 น.
  
seismic test จะทำในกรณีเข็มเจาะครับ ดูความสมบูรณ์ของปูนที่เทลงไปในหลุมเสาว่าสมบูรณ์ไหม มีรอยแตกตรงไหน แต่เข็มตอกใช้ blow count เอาครับ (จริงๆจะทำ seismic test กับเข็มตอกก็ได้ แต่พอตอก ก็ต้องทำ blow count อยู่ดีครับ)

consultant ของบริษัทครับ ผมไม่ได้จ้าง หมดงบแว้ว..
โดย: Agent Molder วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:10:45:53 น.
  
รวดเร็วมากค่า แถมมีมาตรฐานด้วย เยี่ยมไปเลย ^_^
โดย: Bluemoon IP: 223.206.250.162 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:18:31:26 น.
  
มาเขียนตอนต่อไปเร็วๆ รออยู่
โดย: ไผ่ไผ่ IP: 133.28.73.28 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:16:05:42 น.
  
เอ่อ คุณ ไผ่ไผ่ครับ สร้างบ้านนะครับ ไม่ใช่ทำกับข้าว 5 นาทีเสร็จ แหม่ใจเย็นหน่อยคร้าบบ

ปล.เพื่อนสนิทผมครับ ไม่ต้องตกใจในสำนวนที่ใช้ ^^
โดย: Agent Molder วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:10:41:08 น.
  
Blog เป็นประโยชน์มากค่ะ สำหรับผู้ที่กำลังสร้างบ้าน ขอทราบชื่อผู้รับเหมา หลังไมค์ให้ด้วยนะค่ะ กำลังจะสร้างบ้านเหมือนกันค่ะ ไม่ทราบว่าคุณหมอเหมาทัั้งค่าแรงค่าของ หรือของบางอย่างซื้อเองค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
่jejeewe@gmail.com
โดย: jejee IP: 171.96.109.247 วันที่: 25 เมษายน 2557 เวลา:16:03:32 น.
  
@jejeew ขอบคุณที่ติดตามนะครับ ผมให้ ผรม.เหมาทั้งหมดครับ แต่ของบางอย่างซื้อเองเช่น กระเบื้อง สุขภัณท์ แต่ให้เขาคิดค่าแรงมาใน BOQ

ส่วนเรื่องแนะนำ ผรม.ผมขอสงวนก่อนนะครับ มีคนขอมาเยอะมากๆ แต่ผมไม่เคยให้ ไม่ใช่งก แต่เพราะผมยังไม่รู้เลยว่าบ้านผมจะจบยังไง อาจดี หรืออาจทิ้งงานก็ได้ เอาไว้บ้านใกล้ๆเสร็จ ผมจะเปิดเผยทั้งหมดเลยครับ ทั้งสถาปนิก ทั้ง ผรม. ผลงานดีเราต้องอวด ผลงานแย่ ยิ่งต้องอวด แต่ตอนนี้ผมยังไม่ขอบอกแล้วกันนะครับ
โดย: Agent Molder วันที่: 25 เมษายน 2557 เวลา:16:17:37 น.
  
เคลียร์มากครับ เรื่องเสาเข็ม

ผมตั้งข้อสังเกตเรื่องการเปลียนชนิดของเข็ม ไปในเม้นต์ของบล็อกก่อนหน้านนี้ ตอนนี้เคลียร์แล้วครับ

ขอถามหน่อยครับ
ต้นที่ตอกจนจมเลยนี่ จะทำBlow Count ยังไงครับ หรือว่าไม่ต้องทำครับ

ปล. ยิ่งอ่าน ยิ่งไปคิดว่า คุณ Agentmolder เป็น civil engineer เลยนะเนี่ย
โดย: ไพโรจน์ IP: 1.46.206.2 วันที่: 31 มีนาคม 2558 เวลา:9:47:45 น.
  
@คุณไพโรจน์ เสาที่จม มันได้โบลเคาท์พอดีครับ ผรม.ขุดดินรอบๆออกเพื่อวัดครับ ถ้าไม่ได้อาจต้องขุดหลุมใหญ่กว่านี้ โชคดีที่ได้ระดับพอดี ... ผมยังห่างไกลหลายขุมกับ civil EG ครับ แค่ลักจำจาก google แค่นั้นเอง 55+
โดย: Agent Molder วันที่: 31 มีนาคม 2558 เวลา:16:26:08 น.
  
ห้างทำการเจาะสำรวจเพื่อทดสอบหากำลังรับน้ำหนักของดินก่อน จะทราบความยาวเข็มที่แม่นยำกว่านี้ครับ
โดย: Yyy IP: 223.205.247.234 วันที่: 3 กรกฎาคม 2558 เวลา:13:21:30 น.
  
@Yyy:ใช่ครับ ผรม.ก็บอก แต่ผมเองแหล่ะที่บอกว่าไม่ต้องทำก็ได้ ถามบ้านค้างเคียงเอา แต่ถึงทำ มันก็ random สุ่มเจาะอยู่ดีครับ ดูเสาผมจมได้สองสามเมตรทุกต้น มีต้นเดียวที่จม 7 เมตร บางทีการสุ่มดินเป็นจุดๆก็อาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด แต่ถ้าถามว่าทำก่อนดีกว่าไหม ก็ดีแน่นอนครับ
โดย: Agent Molder วันที่: 3 กรกฎาคม 2558 เวลา:14:23:23 น.
  
ผมสงสัยว่า ถ้าปั้นจั่นตุ้มเหล็กจะหนัก2ตัน น่าจะตอกลึกกว่านี้
ใช้ปั้นจั่นรถบรรทุก ลูกตุ้มเหล็กจะหนักเหมือน ปั้นจั่น​โครงเหล็กไหม แล้วได้ผลแบบนี้ ผมว่าเป็นห่วงนะครับ
ขอดุอาให้ปลอดภัยนะครับ
โดย: ahk IP: 192.99.15.166 วันที่: 20 ธันวาคม 2559 เวลา:9:53:22 น.
  
@ahk : เวลาตอก ไม่ว่าจะตอกรถ หรือปั้นจั่น หรือต้มตอกจะหนักแค่ไหน เขามีวิธีคำนวนครับว่าตอกลึกเพียงพอหรือยัง ก็คือใช้ Blow Count เหมือที่ผมบอกท้ายคลิปครับ

ในสูตร blow count ก็จะมีน้ำหนักตุ้ม ความสูงของตุ้มที่ยก ขนาดเสา และอะไรอีกหลายอย่าง แทนค่าลงในสูตร มันจะบอกเองว่าควรตอกลึกเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอครับ ไม่ต้องกังวล ไม่ใช่ว่าปั้นจั่นหนักจะตอกดีกว่าปั้นจั่นเบา มันขึ้นกับค่าที่คำนวนได้ล้วนๆครับ ปั้นจั่นหนัก ก้แค่ทำให้งานเร็วขึ้นครับ ถ้า blow count ไม่ถึง ต่อให้ปั้นจั่นห้าตัน ก็ไม่ปลอดภัยอยู่ดี

ดังนั้นจะตอกได้ขนาดไหน ปลอดภัยหรือไม่ ขึ้นกับการคำนวน Blow count ไม่เกี่ยวกับตุ้มปั้นจั่น ดังนั้นถ้าวิศวะ หรือช่างตอกเข็ม ไม่คำนวน blow count ให้ เนี่ยแหล่ะครับอัรตราย

แต่ยังไงก็ขอบคุณที่เป็นห่วงนะครับ อินชาอัลเลาะห์
โดย: Agent Molder วันที่: 20 ธันวาคม 2559 เวลา:11:56:20 น.
  
ผมกำลังจะสร้างบ้าน อ่านบล็อกนี้ไปด้วยครับ
เสาเข็มที่ตอกแล้วมันเอียงนิดๆ ในรูป มีผลอะไรรึเปล่าครับ
โดย: kimby IP: 118.172.47.34 วันที่: 2 ตุลาคม 2560 เวลา:14:17:36 น.
  
@kimby : มันมีการวัดเยื้องศูนย์อยู่ครับ ถ้าเยื้องมากเกินค่ามาตรฐาน ต้องตอกใหม่ ถ้าเยื้องไม่มาก ก็ใช้ได้ครับ
โดย: Agent Molder วันที่: 4 ตุลาคม 2560 เวลา:10:53:49 น.
  
แล้วถ้าต้องตอกใหม่จริงๆ ก็ต้องย้ายตำแหน่งไปใช่มั้ยครับ โครงสร้างก็ต้องเปลี่ยนด้วยเล้กน้อยใช่มั้ยครับ
ผมเซิร์จหาเรื่องการตอกเสาเข็มใหม่ หาไม่เจอเลยครับ มีเว็บไหนแนะนำมั้ยครับ
โดย: kimby IP: 118.172.47.34 วันที่: 5 ตุลาคม 2560 เวลา:14:59:56 น.
  
@Kimby ใช่ครับต้องย้ายตำแหน่ง หรือตอกเสริมข้างๆ มันมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับหน้างานครับ อาจจะต้องปรับงานตอม่อ ขนาด,ระยะตอม่อ ฐานราก (ส่วนที่ดินกลบ) คงต้องแก้ แต่ส่วนพ้นดินไม่ต้องหรอกครับ ดังนั้นบ้านก็เหมือนเดิม (นอกเสียจากว่าตอกเอียงมันทุกต้น แบบนี้ห่วยจัด)
โดย: Agent Molder วันที่: 10 ตุลาคม 2560 เวลา:16:54:12 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Agent Molder
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 381 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2557

 
 
 
 
 
 
1
3
4
5
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog