>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ
-หลักธรรมที่ใช้ในการพิจารณาแนวทางแก้ไข

หลักธรรมที่ใช้ในการพิจารณาแนวทางแก้ไข
1.กรรม 12 หมวดที่ 3 ในส่วนของลำดับความแรงในการให้ผลกรรม
2.บุญกริยาวัตถุ 10

กรรม 12 หมวดที่ 3 ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำแนกตามความยักเยื้องหรือลำดับความแรงในการให้ผล (classification according to the order of ripening)
9. ครุกกรรม (กรรมหนัก ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม ; weighty kamma)
10. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม (กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองจากครุกกรรม ; habitual kamma)
11. อาสันนกรรม (กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย คือกรรมทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มี 2 ข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น ; death threshold kamma; proximate kamma)
12. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม (กรรมสักว่าทำ, กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลแล้วกรรมนี้จึงจะให้ผล ; reserve kamma; casual act)}*๑

           หากเราวิเคราะห์จากหลักกรรมที่จำแนกลำดับตามความแรงของการให้ ผลแล้ว โดยมีหลักของเวลาในการส่งผลดังนี้ จะเห็นได้ว่า กรรมบ้านเมือง ณ วันนี้เกิดจากพหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม (กรรมทำมากหรือกรรมชิน) เพราะคงไม่ใช่กรรมตัวที่เหลือเช่น ครุกรรมเพราะเป็นไปไม่ได้ว่า ชนในชาติตอนนี้ทั้งหมดร่วมทำครุกรรมกันมา ฉะนั้นเมื่อเราวิเคราะห์ได้ดังนี้ เราสามารถมีแนวทางแก้ไข 2 กรณี คือ
1.ผลิตฌานสมาบัติเพื่อเติมกุศล (ถ้ามี) เพราะเป็นครุกรรมซึ่งผลคือ ผลกรรมหรือวิบากกรรมจะแสดงผลก่อนกรรมชนิดอื่นตามหลักกรรมข้อ 9 ครุกกรรม (กรรมหนัก ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม
2.ถ้าข้อ 1 ทำไม่ได้ ก็ต้องทำกรรมย้อนเกล็ดเหตุเดิมที่ทำไว้ คือทำกรรมที่มีขนาดเดียวกันคือเป็นพหุลกรรมเข้าไปแทนที่ ผลที่กำลังจะเกิดให้ต้านทานกันไว้ก่อน ตามหลักของกรรมดังกล่าว


           อันการทำบุญนั้นมี 10 แบบวิธี เรียกภาษาธรรมว่า บุญกริยาวัตถุ 10 ประกอบด้วย


           {๑. ให้ทาน แบ่ง ปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดย ส่วนรวม
           ๒. รักษาศีล ก็ เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและ พัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ
           ๓. เจริญภาวนา ก็ เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น
           ๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อย อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)
           ๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจมัย)
           ๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ ในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)
           ๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้ อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)
           ๘. ฟังธรรม บ่ม เพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย)
           ๙. แสดงธรรม ให้ ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)
           ๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มี การปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วยเช่นกัน (ทิฏฐุชุกรรม)}*๒


           แนวทางแก้ไขเบื้องต้น เนื่องจากข้อแรกทำไว้ผิด ข้ออื่นจึงจะบริสุทธิ์ไปไม่ได้เปรียบเหมือนกับการติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ด แรก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อให้ทาน กับคณะที่ทุศีล ก็ต้องอยู่ใกล้ชิดคณะนั้นๆ รักษาศีลก็ไม่ตรง ภาวนาจึงผิดทาง อ่อนน้อมก็ผิดที่ผิดคน ช่วยเหลือก็ช่วยกันผิดๆ ชวนกันไปก็ชวนกันไปผิดๆ โมทนาก็ผิดๆ ฟังธรรมปฏิรูป แสดงธรรมก็เบี้ยวๆ ความเห็นจึงไม่มีทางถูกควรได้เลยเพราะจากที่กล่าวในเหตุของกรรมบ้านเมือง ตามกระทู้
ฉะนั้นทางแก้จึงง่ายมากคือ การทำความเห็นให้ตรง และปรับท่าทีให้เป็นผู้กำหนดรู้ว่าจะแยบคายในการให้ทานที่ถูกต้องตามพุทธ พจน์ดำรัส ฉะนั้นเมื่อทำได้ดังนี้ทาน จึงบริสุทธิ์ได้และข้อสำคัญบุญทั้ง 10 ชนิดจึงมีอันทำได้โดยปราศจากพิษ


: *๑, ๒ พจนานุกรมพุทธศาสน์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



อ่านต่อ-แนวทางแก้ไขในภาพรวมระยะยาว คลิ๊ก...



                                                



Create Date : 13 พฤษภาคม 2553
Last Update : 3 ธันวาคม 2553 18:20:53 น. 0 comments
Counter : 1353 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

aero.1
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




การศึกษาทางโลก
รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

การศึกษาทางธรรม
-สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
-พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
-อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
-ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

.

**************************
Friends' blogs
[Add aero.1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.