a whispering star
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




คุณแม่น้องเจเจ-จ๊ะจ๋าค่ะ ^^
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
26 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add a whispering star's blog to your web]
Links
 

 
ประเด็นความคิดทางการเมืองไทยจาก "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน "


1. กงล้อประวัติศาสตร์การเมืองไทย? : กงล้อประวัติศาสตร์ หรือกงกรรมกงเกวียน?


ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เริ่มต้นคำโปรยด้วยการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยว่าเป็น “กงล้อประวัติศาสตร์” ซึ่งน่าจะมาจากความคิดของผู้เขียนที่ว่า เหตุการณ์หลาย ๆ เหตุการณ์ เช่น การปฏิวัติรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลเกิดขึ้นซ้ำๆ ด้วยเหตุผลแบบเดิม ๆ เช่น รัฐบาลคอร์รัปชั่น โดยผู้เขียนมองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มนุษย์มุ่งแสวงหาอำนาจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม้เมื่อมีอำนาจแล้ว ก็ต้องระวังว่าจะมีผู้ที่มีอำนาจมากกว่า หรืออำนาจที่เหนือกว่ามาท้าท้าย หรือผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ หรือบุคคลข้างเคียงจะแย้งชิงอำนาจหรือไม่ ทำให้ต้องมีการดุลอำนาจ (balance of power) และแสวงหาอำนาจเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ


ประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์รัฐประหารที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ได้แก่



1.อย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นการปฏิวัติ / รัฐประหาร ?
การปฏิวัติรัฐประหารมีได้กี่แบบกันแน่ ? จากการที่ผู้เขียนกล่าวว่าการปฏิวัติ 2475 เป็น coup d’etat ไม่ใช่ revolution สองแบบนี้แตกต่างกันยังไง ? หากพิจารณาจากคำพูดของตัวละครที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติในแต่ละครั้ง เช่นในครั้งแรกที่กล่าวว่า การปฏิวัตินั้น “ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง” ก็มีประเด็นที่จะทำให้เราสามารถคิดได้ว่า การรัฐประหาร (Coup d’Etat = ประหารรัฐ?) นั้น ผู้เขียนตั้งใจจะหมายถึงการยึดอำนาจที่รัฐมีอยู่เฉย ๆ เพื่อที่จะได้อำนาจมาสู่มือตัวเองหรือเปลี่ยนมืออำนาจเฉยๆ ในขณะที่การปฏิวัติ (revolution/ revelation?/ reve? ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า “ความฝัน” อย่างน้อยก็แปลว่าควรจะมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง?) จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ถ้าจะให้ดี ก็ควรจะเปลี่ยนให้เป็นประชาธิปไตย


2.สาเหตุของการปฏิวัติ : ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุผลที่คนทั้งหลายมักนำมากล่าวอ้างในการทำปฏิวัติรัฐประหารแต่ละครั้งนั้นมักจะเป็น “เหตุผลเดิม ๆ” อาทิเช่น เพราะคนที่มีอำนาจไม่ได้สร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยตามที่สัญญาไว้ ประชาชนสนับสนุนการทำรัฐประหาร เพราะเห็นว่าผู้ที่มีอำนาจขณะนั้นคอร์รัปชั่น ปัญหาความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น การลอบปลงพระชนม์ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การตั้งรัฐมนตรีคนนอกที่มีประวัติไม่ด่างพร้อย การยึดทรัพย์ และปฏิกิริยาตอบรับ หรือทัศนคติของคนทั่วไปต่อการปฏิวัติก็มักจะเป็นแบบเดิม ๆ โดยลักษณะประการหนึ่งที่ดูเหมือนจะเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยก็คือ เมื่อการปฏิวัติเกิดขึ้นแล้ว มีคนที่ ไม่พยายามต่อต้านอะไรแม้จะไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าไหน ๆ มันก็เกิดขึ้นมาแล้ว หรือเห็นด้วยกับการปฏิวัติ เพราะชอบการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว (มักมีคนบอกว่าคนไทยเป็นพวกเบื่อง่าย ?) อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าการปฏิวัติของ รสช. ในปี พ.ศ. 2534 มีแรงต้านจากประชาชนมากกว่าครั้งอื่นๆ จนทหารไม่สามารถสืบทอดอำนาจได้ (ครั้งนี้ก็เลยไม่พยายามสืบทอดอำนาจอย่างเปิดเผย)


ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในช่วงของการปฏิวัติรัฐประหารก็คือ เมื่อมีผู้เห็นด้วย ก็ย่อมจะมีผู้ที่คัดค้าน โดยเหตุผลที่นำมาค้านนั้น เป็นเหตุผลที่เหมือนกันในทุกยุคทุกสมัย (อย่างน่าประหลาดใจ—รึเปล่า?) นั่นก็คือ คือ การมองว่าคนในสังคมยังไม่ได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ยังรู้ไม่พอเกี่ยวกับประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงที่รีบร้อนเกินไป ทำให้ประชาธิปไตยตกอยู่ในมือของคนกลุ่มเล็ก ๆ เช่นขุนนาง กษัตริย์ ทหาร นักการเมือง นายทุน etc. แต่ในโลกของความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ความเหลื่อมล้ำและช่องว่างในสังคมระหว่างคนจนและคนรวยยิ่งถูกถ่างให้กว้างขึ้น จะเป็นไปได้อย่างไรที่คนจะได้รับการศึกษา และมีความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างเท่าเทียมกัน และถึงแม้ว่าจะให้การศึกษาในลักษณะเดียวกัน ความตื่นตัวทางการเมืองที่แตกต่างกัน ก็อาจทำให้คนรับรู้และตระหนักในสิทธิ และหน้าที่ทางการเมืองไม่เท่าเทียมกันอยู่ดี ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็น่าสงสัยว่า “เวลาที่เหมาะสม” สำหรับประชาธิปไตยนั้น มีจริงหรือ?


3.ความยุติธรรมในสังคมไทยคืออะไร:
เกี่ยวข้องกับหลักนิติธรรม และจรรยาบรรณของอัยการและผู้พิพากษา (หรือใครก็ตามที่มีอำนาจในการตัดสินคดีความ หรือตัดสินว่าอะไรถูกผิด สมควรและเหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสาธารณชน) และอะไรคือเครื่องบ่งชี้ถึงความยุติธรรม การมีเมตตาธรรมของพระมหากษัตริย์ หรือความรักระหว่างพ่อกับลูก ถือเป็นความยุติธรรมหรือไม่ เพราะในบางครั้งการที่เรารักษาผลประโยชน์ให้แก่คนในครอบครัว ก็อาจเป็นการขัดกับกฎหมาย เช่น ในกรณีที่คนในครอบครัวเราทำความผิด และเรามีหน้าที่เป็นผู้รักษากฎหมาย การรักษา / ธำรงไว้ซึ่งกฎกติกา หรือความสัมพันธ์ในครอบครัวจะมีคุณค่าของความยุติธรรมมากกว่ากัน



อ้างอิง :


วินทร์ เลียววาริณ. (2540) ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า



Create Date : 26 ธันวาคม 2550
Last Update : 26 ธันวาคม 2550 12:12:15 น. 1 comments
Counter : 1288 Pageviews.

 
เล่มโปรดผมเลย

แต่บทความอันนี้
ผมอ่านแล้วยังงงๆนิดหน่อย
สงสัยจำเนื้อเรื่องไม่ได้แล้ว

ปล. ทำไมมันมีข้อ 1 สองครั้งล่ะครับ


โดย: Amygdala วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:5:51:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.