a whispering star
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




คุณแม่น้องเจเจ-จ๊ะจ๋าค่ะ ^^
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
14 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add a whispering star's blog to your web]
Links
 

 
ภาพสะท้อนความคิดทางการเมืองไทยใน 'คำพิพากษา'


1.ความคิดทางการเมือง : เรื่องของปัจจุบัน และการอยู่ร่วมกันของมนุษย์


ชาติ กอบจิตติ ได้กล่าวไว้สุนทรพจน์เนื่องในพิธีพระราชทานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนของเขาว่า “… ข้าพเจ้าไม่สนใจว่าข้าพเจ้ามาจากไหน และจะไปไหนเมื่อตายแล้ว แต่ข้าพเจ้าสนใจว่า ข้าพเจ้าจะอยู่อย่างไรกับเพื่อนมนุษย์ที่มีชีวิตด้วยกัน อยู่อย่างสงบสันติสุขร่วมกัน อยู่ร่วมกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ซึ่งมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน...”


จากคำกล่าวนี้ เราอาจคาดหมายถึงสิ่งที่ชาติถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และเป็นแก่นแกนหลักของงานของเขาได้ว่า เป็นสิ่งที่เป็นปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นสภาพที่เป็นอยู่ / ธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ตามที่มันเป็น มากกว่าที่จะพิจารณาว่า มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร หรือมุ่งไปสู่อะไร


ข้อความในส่วนต่อมา เป็นการบอกเราว่า สิ่งที่ชาติศึกษานั้นคือ ชีวิตของมนุษย์ ในฐานะสัตว์สังคม / สัตว์การเมือง กล่าวคือ เขาศึกษามนุษย์ในฐานะที่อยู่ร่วมกันในสังคม ในขณะเดียวกัน ก็เชื่อด้วยว่า ในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้นมีแนวทางที่ถูกต้องและควรจะเป็น หรือแนวทางที่ดีอยู่ นั่นคือ จะต้องมีความสงบสุข และทุกคนมีความเท่าเทียมกันในแง่ของเกียรติ ศักดิ์ศรี และความเป็นมนุษย์


2.“ความดี” ที่กำหนดโดยจริยธรรม (Ethics)?


คำพิพากษา เริ่มเรื่องด้วยการกล่าวถึงเรื่องของฟักที่ “… ได้หญิงม่ายไม่เต็มเต็งมาเป็นเมีย .... (ซึ่งหญิงคนนี้)เคยเป็นเมียพ่อของเขามาก่อน...” ว่า เป็นเรื่องที่ “สั่นคลอนจริยธรรมของคนทั้งตำบล” และเป็นเรื่อง กามพิเรน อันเป็นจุดเริ่มต้นให้ฟักถูกมอง หรือ พิพากษา ว่าเป็นคนเลว ทั้งที่เคยเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนดีมาก่อน


เป็นที่น่าสนใจว่า ความดี / เลว หรือการที่เราจะกล่าวว่า / ตัดสินว่าใครสักคนเป็นคนดี / เลวนั้น เรากำหนดจากอะไร ? ซึ่งหากพิจารณาจากข้อความในส่วนนี้ อาจจะทำให้เรากล่าวได้ว่า สิ่งหนึ่งซึ่งอาจจะนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการวัดการกระทำใดๆ ของคนในสังคมใดสังคมหนึ่งได้ คือ จริยธรรม (Ethics) ของคนในสังคมนั้น ๆ ในแง่นี้ อาจมองได้ว่า “คนดี” ในสังคมที่มีลักษณะเฉพาะตัวอันมีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน (เช่น อยู่ในตำบลเดียวกัน ซึ่งทำให้กล่าวอ้างได้ว่าเป็นคน “บ้านเดียวกัน”) หรือมีคุณค่าบางอย่างร่วมกัน (เช่น พุทธศาสนา) สังคมใดสังคมหนึ่ง อาจจะเป็นคนดี หรือคนไม่ดีในสังคมอื่นก็ได้ – ขึ้นอยู่กับว่าสองสังคมนั้นมีจริยธรรมที่สอดคล้องกันมากน้อยแค่ไหน



3.สังคมพิพากษา : “ความเชื่อ” หรือ “ความจริง?



โดยทั่วไปแล้ว เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษา เรามักจะนึกถึงผู้พิพากษา และศาลยุติธรรม ซึ่งพิจารณาคดีความต่าง ๆ โดยมีการสืบพยาน การสอบปากคำโจทย์ จำเลย การพิจารณาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งเราอาจมองได้ว่าเป็นการแสวงหาความจริง และตัดสินไปตามความเป็นจริง จึงจะถือว่าเป็นการตัดสินอย่างยุติธรรม อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า คำพิพากษา ที่นำมาใช้กับฟักในเรื่องนี้ ไม่มีนัยยะเช่นนี้เลย ผู้ที่ทำหน้าที่พิพากษาตัดสิน “ความผิด” ของฟัก ที่ทำให้เขาสมควรได้รับการลงโทษคือการถูกกีดกันออกจากการสมาคมกับคนอื่น ๆ ในสังคม (ซึ่งเราอาจมองว่าเป็นการจองจำในรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากการจองจำ หรือกักตัวนักโทษไว้ในห้องขัง ก็คือการกันไม่ให้สามารถสมาคมกับบุคคลอื่น ๆ ได้) คือ สังคม หรือคนในสังคม ซึ่งไม่มีความสนใจที่จะพิจารณาเหตุผล หรือหลักฐานที่จะบ่งชี้ว่าอะไรคือความจริง หากแต่ตัดสินถูก - ผิดไปตามความเชื่อของตน ซึ่งไม่ว่าจะถูกกำหนดด้วยจริยธรรม การอบรม การหล่อหลอมทางสังคม หรืออะไรก็ตาม ก็มีความมั่นคงเสียจน “.. แม้ว่าจะเอาความจริงมาวางไว้ตรงหน้า..... ก็ไม่สามารถจะลบล้างความเชื่อที่ตาแป้นและยายสาย (หรือใครก็ตาม)มีต่อภาพที่เห็นกับตาเมื่อสักครู่นี้ได้...”


เป็นที่น่าสนใจว่าในตอนต้นเรื่อง ชาติได้กล่าวว่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับฟักเป็น “โศกนาฏกรรมสามัญที่มนุษย์กระทำ และถูกกระทำอย่างเยือกเย็นในภาวะปกติ” ซึ่ง อาจทำให้เราตีความได้ว่า การพิพากษาด้วยความคิดเห็นของตนเอง โดยไม่สนใจว่าความจริงคืออะไร (ที่จริงคือไม่สนใจที่จะแสวงหาด้วยซ้ำไป) เป็นสิ่งที่เราทำกันอยู่ทุกวันเป็นปกติธรรมดา ดังนั้น เราจะเรียกได้ว่า การพิพากษา หรือตัดสินใจด้วยความเชื่อมากกว่าความจริงเช่นนี้ เป็นรูปแบบปกติของการตัดสินใจได้หรือไม่ โดยเฉพาะหากเรามองว่าสิ่งที่เรียกว่าเป็น “ความจริง” นั้นอาจมีหลายรูปแบบ หลายชั้น หรือเป็นสิ่งที่สร้าง (construct) ขึ้นมา ซึ่งการที่เราจะบอกว่ามันเป็นความจริงหรือไม่ – ได้นั้น ก็ต้องอ้างอิงกับความเชื่อส่วนตัวของเราอยู่แล้ว ?


4.ชนชั้นในสังคมไทย : การกำหนดสถานภาพ ความน่าเชื่อถือ และบทบาทในสังคม



นอกจากประเด็นที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ และน่าจะให้ภาพสะท้อนเกี่ยวกับสภาพความเป็นไปของสังคมไทย และความคิดทางการเมืองไทยได้เป็นอย่างดี ได้แก่ ประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดชนชั้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครระบุไว้อย่างชัดเจน แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นที่รับรู้ร่วมกันในสังคม เช่น ครูใหญ่ และพระสงฆ์ เป็นผู้มีสถานะทางสังคมสูง สัปเหร่อ และภารโรง เป็นผู้มีสถานะทางสังคมต่ำ และสถานะทางสังคมที่แตกต่างกันนี้ ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่คนในสังคมนำมาใช้ประกอบการให้น้ำหนัก และให้คุณค่าต่อคำพูด และการกระทำต่าง ๆ ของบุคคลนั้น ๆ หรือเราอาจกล่าวได้ว่า ชนชั้น เป็นเครื่องบ่งชี้ถือความน่าเชื่อถือ และกำหนดบทบาทที่ต้อง / ควรแสดงของคนในสังคม


ประเด็นที่น่าสนใจคือ ชนชั้นที่ไม่ชัดเจนในสังคมไทยนี้ถูกกำหนดด้วยอะไร ? ชาติกำหนด การศึกษา ความมั่งมี การยึดมั่นในหลักศีลธรรม จริยธรรม พุทธศาสนา หรือหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน ? และปัจจัยใดที่เราน่าจะนับว่ามีอิทธิผลที่สุดในการกำหนดชนชั้นแบบไทย ๆ ?


อ้างอิง :


ชาติ กอบจิตติ. (2549)คำพิพากษา.พิมพ์ครั้งที่ 41.กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.


Create Date : 14 ธันวาคม 2550
Last Update : 14 ธันวาคม 2550 20:24:57 น. 1 comments
Counter : 1447 Pageviews.

 
แวะมาทักทายวันเสาร์ค่ะ สองวันนี้ตั้งหน้าตั้งตาอ่าน Harry Potter ภาคสุดท้าย เพิ่งอ่านจบเมื่อวาน เปรมปรีดิ์มากค่ะ หุหุ วันนี้ลากปกแฮรี่มาทักทายด้วย ใครไม่เคยอ่าน เริ่มตอนนี้ยังไม่สาย ของเค้าสนุกจริงๆ ค่ะ (ขอบอก)


ส่วนภาพนี้ ไม่บอกละกันเนาะว่าใครเป็นใครในภาคสุดท้ายและตอนสุดท้ายของเรื่อง ขอบคุณคุณ Marta (seviet) จาก FanArt ค่ะ



โดย: deawdai วันที่: 15 ธันวาคม 2550 เวลา:16:21:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.