Group Blog
 
<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
16 เมษายน 2559
 
All Blogs
 

ยูโด การซ้อมและมุมมอง (ตอนไปทะเล) ตอนที่2 "คลื่นซัดเข้าฝั่ง"

เมื่อวานไปทะเล
และทะเลมันก็ต้องมีคลื่น
พอมีคลื่นก็นึกไปถึงยูโด (อีกละ)

เซนเซตัวโตท่านนึงที่เคยอธิบายเรื่องจุดศูนย์ถ่วง และสอนการขยับตัวเคลื่อนไหวของยูโด จะไม่พูดถึงเรื่องจุดศูนย์ถ่วง เพราะถ้าพูดแล้วยาว ประเด็นวันนี้คือเรื่องคลื่น

ทำไมกาต้าหลายตัว(ทุกตัวเลยแหละยกเว้นคาตาเมะคาตะที่ใช้เข่าและฝ่าเท้าในการเคลื่อนไหว) ตอนที่เดินเข้าหากัน จะสืบเท้าและเขยิบ(คล้ายกับการกระดึบ) ลากฝ่าเท้าเข้าไป ในขณะเคลื่อนไหว นั้นเพราะเค้ากำลังสอนอยู่ว่าการเคลื่อนไหวต้องสมดุลย์และห้ามเป็นในลักษณะคลื่นที่ขึ้นๆลงๆ

คลื่น !! น่ากลัวยังไง ?
คลื่นมันมีลง แล้วก็มีขึ้น
ตอนลง ถ้าคู่ซ้อมส่งเสริม ขาตาย ขยับไม่ได้ ตัวอย่างท่าง่ายๆที่ใช้คือ ปัดเกี่ยว เช่น เดอาชิบารัย โคอุจิการิ โออุจิการิ
ตอนขึ้น ตัวลอยยกขึ้น ท่าตามน้ำที่คู่ซ้อมจะจัดให้เยอะแยะเช่น เซโอนาเกะ อุจิมาตะ ฮาไรโกชิ

ลองคิดกลับตามแบบเนวาซะของผม ท่าล๊อค หรือ การเข้าท่านี้ มันสุดยอด แต่ผมจะคิดกลับเป็นว่าจุดอ่อนมันอยู่ตรงไหน และเราจะแก้ออกได้อย่างไร ท่ายืนก็เช่นกัน นอกจากจะระวังตัวเองไม่ให้เกิดคลื่นขึ้นมา ตรงกันข้าม เราต้องพยายามยัดเยียดคลื่นให้กับคู่ซ้อมเพื่อสร้างจังหวะในการทุ่ม แบบเซเรียวกุเซโย หรือใช้แรงให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด อย่าไปไกลเอาง่ายๆเรียกว่าใช้แรงของคู่ซ้อมทุ่มคู่ซ้อมนั้นเอง

ทฤษฏีนะพูดง่าย แต่ทำจริงจะทำได้รึเปล่า คราวก่อนที่ไปโคโดกัง ขนาดระวังตัวในการเดินเป็นอย่างดีแล้ว เซนเซก็ยังบอกว่ายังใช้ไม่ได้ !!! เพราะมัวแต่ไประวังคลื่นที่ขึ้นๆลงๆ พอเดินแต่ละก้าว มันดันออกข้างแทน เดินขวาแรงพุ่งออกขวา เดินซ้ายแรงพุ่งออกซ้าย ท่าที่เคยโดนด้วยตนเองจากการเดินแบบนี้คือ โอคุริอาชิบารัย ใครจะไปคิดว่าท่านี้ใช้จริงไม่ได้ละ โดนกับตัว ลอยประมาณเมตรกว่า โดยเซนเซแก่ๆอายุเจ็ดสิบกว่าปัดแค่เบาๆ

ทีนี้กลับมามองรอบๆตัวดูบ้าง (บางครั้งคงทำได้แค่มอง พอเห็นอยู่ก็ไม่ค่อยได้บอกหรอกว่ามันกำลังผิดอยู่นะ เดี๋ยวเค้าจะหาว่าเสือก!!) เอาซักสองสามตัวอย่างละกันที่เจอบ่อย

- ก่อนซ้อมเราต้องทำการวอร์มอบอุ่นร่างกายยืดกล้ามเนื้อ ก่อนยืดกล้ามเนื้อบางที่วิ่งก่อน (เป็นเรื่องที่ดี) ระหว่างวิ่ง วิ่งธรรมดาคงจะเบื่อ เติมอะไรเข้าไปกันหน่อย สไตล์ตัวสืบเท้าด้านข้างดูสิ!!! คลื่นครับคลื่น มันน่ากลัวประมาณสึนามิก็ว่าได้ คนที่ยังไม่ชินขยับลำบากทรงตัวไม่ดี อันนี้พอเข้าใจ แต่ท่านที่ชินแล้ว ทำบ่อยทำได้ ขยับเป็นคลื่นด้วยความเคยชิน
ออกจากเรื่องคลื่นซักเล็กน้อย การวิ่งวอร์มสไลด์ตัวด้านข้างยังสร้างจุดอ่อนเรื่องความเคยชินให้เราโดนท่าโอคุริอาชิบารัยอีกต่างหาก!!? บอกเลยว่าการลากเท้ามายืนลักษณะเท้าชิดกันเค้าไม่ทำกัน นอกจากอยากโดยโอคุริอาชิบารัย แล้วทำไมตอนวิ่งสไลด์ด้านข้าง เรากลับสร้างความเคยชินนอกเหนือจากการทำตัวเป็นคลื่นแล้ว ยังลากขามาชิดกันอีก? คราวหน้าลากมาครึ่งเดียวพอครับ..คุณแม่ขอร้อง

- การเข้าท่า แบบง่ายๆตามสเต็ป อย่าเพิ่งไปพูดถึงตอนหาหุ่นมาเข้าท่าอุจิโกมิ (ความหมายการซ้อม อุจิโกมิ แม่งก็ไม่เหมือนกันอีก) เอาแค่เข้าท่าลมละกัน หลายเบาะ ที่โคโดกังก็เช่นกัน ที่ช่วงวอร์มอัพอาจจะมีการใส่การเข้าท่าลมเข้าไปด้วย จุดประสงค์คงสร้างความเคยชิน ความสมดุลย์ให้กับท่าตรงนั้น ก่อนที่จะไปเข้าท่าแบบเป็นคู่
ตัวอย่างเช่นโอโซโตการิ เข้าแล้วทำไมต้องยืดตัวขึ้นเป็นคลื่นด้วย? เซโอนาเกะจังหวะสกุริจะดันตัวเองยืดขึ้นไปทำไม(กูงง) ตรงนี้เด็กใหม่หัดเข้าท่าไม่ผิดครับ ผมก็เป็นเพราะผมและทุกๆคนก็เริ่มจากศูนย์มันต้องมีครั้งแรก มันต้องผิดกันบ้าง (กูไม่ได้เกิดมาเป็นเทพยูโดนิ ถึงจะทำได้ถูกตั้งแต่แรกเสมอ) แล้วใครผิดฟะ?

- การจับสุดฮิต จับคอปกด้านหลัง เพื่อ??? มันไม่ผิดครับ ถ้าเข้าใจประเด็น ข้อดี ข้อเสียของมัน แต่มันผิดตรงที่ คนเริ่มหัดเล่นไปจับแบบนั้น คนเริ่มเล่นก็ไม่ผิดหรอกครับเพราะมันไม่รู้ (อ้าวแล้วผิดที่ใคร???!) ถ้าไม่รู้ลึกตื้นหน้าบางแล้ว ไปจับตามเทรนยูโด ว่ามันฮิตสุดๆในการจับแบบนี้ มันจะกลายเป็นเฮี้ยนสุดๆละไม่ว่า
นอกเหนือจากเรื่องคลื่นที่มันจะเกิดขึ้นไม่รู้ตัว ยังเป็นการบั่นทอนพัฒนาการของเราและคู่ซ้อมไปในตัวด้วย คนจับเป็นไม่ว่ากัน คนจับไม่เป็นต้องว่า "กัน"?? กัน...กัน "กัน"จริงๆเพราะกูเข้าท่าไม่ได้ มึงจับแบบนี้มึงก็เข้าท่าไม่ได้เหมือนกัน ("เหมือนจะกัน") กูเสียเวลาและกูก็เหนื่อยพอๆกับมึงแต่ไม่ได้อะไรนอกจากการกัน "555ทุ่มกูไม่ได้หรอก...กูเก่ง" (ไอ้ห่ามึงกัน) สุดท้ายกูกับมึงท่าคมขึ้นมั้ย?? แม่งเศร้า
กลับมาเรื่องคลื่นของการจับลักษณะนี้ ยกตัวอย่างโดยรวมโดยใช้ท่าโออุจิการิละกัน (การจับคอเสื้อด้านหน้าปกติมันก็เกิดคลื่นได้เช่นกัน) โออุจิ เราเข้าใจกันแบบพื้นฐานคือกดให้หุ่นลง อาจจะลงเฉยๆ ลงเฉียงหลัง ลงน้ำหนักไม่เท่ากันสองข้าง สรุปคือแม่งกดลง แบบนี้ไม่ขัดศรัทธา กดลงเต็มที่ ลงแบบผิดๆ ไอ้ที่ลงนะหุ่นแต่ตัวมึงอะลอยขึ้น (เป็นคลื่นลอยขึ้นไปละ) การจับคอด้านหลังบางครั้งเราคิดที่จะกด แต่เรากลับกลายเป็นดันตนเองขึ้นด้านบน แต่คนเพิ่งเล่นก็ชอบเทรนการจับลักษณะนี้เหลือเกิน (แม่งบ้า...ชอบเปิดจังหวะให้คนอื่นทุ่ม)

เคยดูหนังจีนพวกเล่นไพ่ เซียนตัดเซียนหรือโครตเซียนเจอโครตๆซุปเปอร์เซียน เราจะเอาคลื่นมาเป็นพวกบ้าง นอกจากเซนเซตัวโตท่านแรก(ชิโมยาม่าเซนเซ)จะเน้นย้ำให้ระวังเรื่องคลื่นแล้ว ยังมีเซนเซอีกท่านนึง (ยามาโมโต้เซนเซ) อยากเปลี่ยนชื่อให้มีคำว่า"ยาม่า"บ้าง เห็นชือพวกเซนเซที่มีส่วนผสมของ "ยาม่า" แล้วเก่งยูโดกันจัง
.... กลับมาๆ(ออกทะเลไปแล้ว) ยามาโมโต้เซนเซท่านนี้เป็นโครตเซียน เพราะเอาทฤษฎีเรื่องคลื่นมาหลอกคู่ซ้อมได้ ท่าเก่งของเซนเซท่านนี้มีสองท่าคือฮิสะกุรุม่ากับโอโซโตการิ
เรื่องคลื่นนี้เกี่ยวข้องกับโอโซโตการิในจังหวะที่เราขยับตัวถอยหลัง พวกนักยูโดระดับสูงที่เดินถอยหลังและดึงหุ่นตามมาด้านหน้า หุ่นมันก็รู้นะว่าคู่ซ้อมเดินขาไหนอยู่ อ้าวไหนว่าพื้นฐานห้ามเดินเป็นคลื่นแล้วรู้ได้ไงว่าอีกฝั่งขยับขาไหนอยู่?? เค้ามองกันที่ไหล่ครับ ไหล่ขวาไปไหนขาขวาไปนั้นครับ เค้าถึงปัดขากันได้แบบไม่ต้องก้มมองยังไงละครับ และจับความรู้สึกผ่านมือคุมิเทะ (ผมไม่รู้นะ เซนเซเค้าบอกมา555) ทีนี้จังหวะท่าเก่งของเซนเซคือโอโซโตการิแบบเดินถอยหลัง ดึงหุ่นตามมาด้านหน้า แล้วอาศัยการสร้างคลื่นรบกวน (มึงเป็นชาวนาเม็กเหรอฟะ สร้างคลื่นความถี่รบกวนได้) คือการสร้างลักษณะเคลื่อนไหวแบบเป็นคลื่นทั้งขึ้นลงและซ้ายขวาว่าขาซ้ายได้ถอยลงมาแล้ว แท้ที่จริงยังไม่ได้ถอยและอยู่ในตำแหน่งวางเท้าสับโอโซโตการิแบบที่พวกเราเข้าท่าสับโอโซโตการินั้นแหละ ตรงนี้ของจริงและมีการสอนกันในโคโดกังคลาสแอดวานส์ (อย่างว่าคลาสแอดวานส์ นักเรียนแต่ละคนได้แต่มองตาปริบๆ)

ยาวไปละ....
สรุปสั้นๆ
1.อย่าทำให้เกิดคลื่น
2.ทำให้ฝั่งตรงข้ามเกิดคลื่น
3.ถ้าเก่งแล้ว เราจะสามารถเอาคลื่นมาเป็นพวกและหลอกฝั่งตรงข้ามได้




 

Create Date : 16 เมษายน 2559
0 comments
Last Update : 16 เมษายน 2559 23:15:50 น.
Counter : 1234 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.