ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
พระเจ้ากาวิละ (เชียงใหม่)


จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ พระเจ้ากาวิละ

...................... พระเจ้ากาวิละ พระบรมราชานราธิบดีศรีสุริยวงศ์ องค์อินทสุรศักดิ์สมญามหาขัติยราชาไชย
พระราชประวัติ
...................... พระเจ้ากาวิละเป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายแก้วซึ่งตอนนั้นเป็นเจ้าเมืองลำปาง กับนางจันทาเทวี เป็นหลานปู่คนแรก ของพระยาสุลวฤาชัยกับแม่เจ้าพิมพา ในจารึกหลังพระพุทธรูปหินวัดเชียงใหม่เรียกนางพิมมลา ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียก นางพิมพา เป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และเชื้อเจ็ด
ตน พระเจ้ากาวิละสมภพเมื่อจุลศักราช ๑๑๐๔ ปีจอ จัตวาศก (พ.ศ. ๒๒๘๕) เมื่อบวชอยู่นั้นอาจารย์ให้ชื่อว่า "เจ้าขนานกาวิละ" มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม ๑๐ คน เป็นหญิง ๓ คน ชาย ๗ คน ดังนี้
๑. เจ้ากาวิละ (ได้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่)
๒. เจ้าคำสม (ได้เป็นเจ้าหลวงนครลำปาง)
๓. เจ้าน้อยธรรม (ต่อมาได้เป็นเจ้าหลวงธรรมลังกาเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๒)
๔. เจ้าดวงทิพ (ได้เป็นเจ้าหลวงนครลำปาง)
๕. เจ้าหญิงศรีอโนชา (ต่อมาได้เป็นพระอัครชายาเธอเจ้าศรีอโนชาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสี
หนาท)
๖. เจ้าหญิงสรีวัณณา
๗. เจ้าหมูหล้า (ได้เป็นอุปราชเมืองนครลำปาง)
๘. เจ้าคำฝั้น (ต่อมาได้เป็นเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๓)
๙. เจ้าหญิงสรีบุญทัน
๑๐. เจ้าบุญมา (ได้เป็นเจ้าหลวงเมืองลำพูน)
เจ้ากาวิละมีบุตร-ธิดา ๕ คน ได้แก่
๑. เจ้าน้อยสุริยวงศ์ (ได้เป็นราชบุตรเชียงใหม่)
๒. เจ้าหนานสุริยวงศ์ (ได้เป็นพระยาบุรีรัตน์เมืองเชียงใหม่ ภายหลังได้เป็นพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๖)
๓. เจ้าหนานมหาวงศ์ (ได้เป็นเขยเจ้าลำพูน)
๔. เจ้าหญิงคำใส
๕. เจ้าหนานไชยเสนา (เป็นเขยพระยาเชียงใหม่คำฝั้น)
................... พระเจ้ากาวิละถึงแก่พิราลัยในจุลศักราช ๑๑๗๗ (พ.ศ. ๒๓๕๘) เดือนยี่เหนือแรม ๔ ค่ำ วันพุธ ยามแตรบอกเวลา เข้าสู่เที่ยงคืน รวมเวลาปกครองเมืองเชียงใหม่นาน ๓๒ ปี รวมพระชนมายุได้ ๗๔ ปี
ผลงาน
..................... อาณาจักรล้านนาสมัยราชวงศ์มังรายตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ เป็นต้นมา บางช่วงก็เป็นอิสระ บางช่วงก็ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา นับเป็นเวลาที่ประชาชนพลเมืองต่างก็ได้รับความเดือดร้อนนานาประการ อันเกิดจากการกดขี่ข่มเหงของพม่า ซึ่งมีโป่อภัยคามินีแม่ทัพปกครองเมืองเชียงใหม่ขณะ
นั้น เจ้าฟ้าชายแก้วบิดาของเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปางในฐานะเมืองขึ้นของพม่า เจ้ากาวิละและเจ้าดวงทิพ น้องชายถูกพม่าใช้ให้ยกกองทัพ ไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ พร้อมกับนำธิดาเจ้าเมืองเวียงจันทน์ชื่อนางสามผิวไปถวายพระเจ้าอังวะ นับแต่นั้นมาเมืองลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน หัวเมืองล้านนาทั้ง
หมดตกอยู่ใต้อำนาจพม่า ปี พ.ศ. ๒๓๑๒ โป่อภัยคามินีถึงแก่กรรม พระเจ้าอังวะแต่งตั้งโป่มะยุง่วนมาครองเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากชอบใช้ผ้าขาวโพกหัว ชาวเมืองจึงเรียกโป่หัวขาว พ.ศ. ๒๓๑๓ พม่าพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ชาวล้านนา ตกเป็นทาสของพม่าทั้งด้านวัฒนธรรมด้วย จึงมีประกาศให้บรรดาหัวเมืองขึ้นล้านนา ให้ผู้ชายสักขาดำ ให้ผู้ หญิงขวากหู ใส่ม้วนลานตามแบบลัทธิธรรมเนียมพม่า ในยุคนั้นพม่ากำลังเรืองอำนาจ เพราะสามารถรบชนะกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ความเสียหาย ของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นมากมาย จนเมื่อพระเจ้าตากสินกู้อิสรภาพคืนแล้วจะบูรณะก็เหลือกำลังจึงย้ายเมือง ไปตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี แม่ทัพสำคัญของพม่าที่ตีกรุงศรีอยุธยา คือ โป่เจียกหรือโป่สุพลา ต่อมาได้ปกครองเมือง เชียงใหม่ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีกำจัดอำนาจของพม่าให้หมดไปจากแผ่นดินไทย จึงได้รับความร่วมมือจากผู้นำ ชาวไทยเป็นอย่างดีดังเช่น เจ้ากาวิละกับน้องชายทั้งหมด ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองนครลำปางทำกลอุบายให้พม่า เชื่อว่าคนไทยสวามิภักดิ์ต่อพม่า แต่พม่าก็ไม่หลงเชื่อกลับจับตัวเจ้าฟ้าชายแก้วผู้บิดาของเจ้ากาวิละและน้อง ทั้งหกพันธนาการและจำคุกไว้ หากปรากฏแน่ชัดว่าเจ้ากาวิละ และน้องทั้งหกคิดทรยศก็จะประหารชีวิตเจ้าฟ้า ชายแก้วเสีย กองทัพของเจ้ากาวิละพร้อมกับกองทัพของพระเจ้าธนบุรี โดยการประสานความร่วมมือกับนาย
น้อยวิฑูรย์กับน้อยสมพมิตรชาวเชียงใหม่ ซึ่งอยู่กับพม่าเปิดประตูเมืองเชียงใหม่ให้กองทัพไทย เข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้จากพม่าสำเร็จ เมื่อวันอาทิตย์ เพ็ญเดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓ ใต้) ปีมะเมีย ฉศก ปี พ.ศ ๒๓๑๗ (จ.ศ.๑๑๓๖) ขณะนั้นเจ้ากาวิละอายุได้ ๓๒ ปี
เกียรติคุณ
....................... เมื่อเจ้ากาวิละสามารถขับไล่กำลังพม่าออกจากเมืองเชียงแสน ได้ไพร่พลมาถวายกษัตริย์ แต่ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ มีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน คือ เจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษก เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระเจ้าอยู่หัวทรงถือเป็นความชอบที่เจ้ากาวิละนำข้าวของและไพร่พลถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเจ้ากาวิละซึ่งขณะนั้นอายุได้ ๔๐ ปี เป็นพระยามังราวชิรปราการกำแพงแก้ว ครองเมืองเชียงใหม่ และ ในยุคนี้เรียกว่า ยุค "เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง" คือ ไปชักชวนหรือตีเมืองเล็กเมืองน้อยได้ก็นำไพร่พลเมืองมา รวมกันที่เวียงป่าซาง แบ่งผู้คนไปไว้ตามที่ต่าง ๆ ที่เมืองร้าง เช่น ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ในยุคนี้ตีได้ดิน
แดนกว้างไกลไปถึงลุ่มแม่น้ำสาละวินและสิบสองปันนา โดยเฉพาะที่เคยเป็น "เขตน้ำหนังดินมาตั้งแต่ครั้ง บรรพบุรุษ"

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
https://abhinop.blogspot.com
https://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.




Create Date : 30 สิงหาคม 2554
Last Update : 11 มีนาคม 2564 15:22:51 น. 0 comments
Counter : 892 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.