อัพเดทราคารถยนต์ใหม่ รีวิวรถยนต์ Honda Toyota Nissan Chevrolet Suzuki Izusu Mitsubishi Ford
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 
CHEVROLET ชู “การสร้างคุณภาพในกระบวนการผลิต” ยืนยันคุณภาพเทรลเบลเซอร์และโคโลราโดพร้อมลุยงานหนักทุ

CHEVROLET ชู “การสร้างคุณภาพในกระบวนการผลิต” 

ยืนยันคุณภาพเทรลเบลเซอร์และโคโลราโดพร้อมลุยงานหนักทุกเส้นทาง

กรุงเทพฯ – CHEVROLET COLORADO รถกระบะซึ่งมียอดขายสูงสุดของเชฟโรเลต ประเทศไทย และCHEVROLET TRAILBLAZER รถเอสยูวีระดับแนวหน้า ผลิตบนโครงสร้างรถกระบะบอดี้ออนเฟรมแบบเดียวกัน ซึ่งได้รับการพัฒนาให้ตอบสนองการใช้งานทุกรูปแบบ

รถกระบะพันธุ์แกร่งอย่างโคโลราโด ผลิตมาเพื่อตอบสนองการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน และเทรลเบลเซอร์ รถเอสยูวีที่รองรับไลฟ์สไตล์แบบแอดเวนเจอร์ ได้รับความนิยมสูงสุดจากกลุ่มลูกค้าในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย

ในปี 2556 ยอดขายของโคโลราโด 82 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจำนวนนี้ 44 เปอร์เซ็นต์ เป็นโคโลราโด รุ่นยกสูง (Z71) ขณะที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายทั้งหมดเป็นโคโลราโด รุ่น LS1 และ LT ซึ่งได้รับความนิยมในการใช้งานหนัก

ในปีเดียวกัน ยอดขายของเทรลเบลเซอร์ 65 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อมียอดขายคิดเป็นสัดส่วน 65 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายทั้งหมด บ่งชี้ถึงความต้องการใช้งานในแบบออฟโรดและสมบุกสมบัน

คุณภาพการผลิตของรถทั้งสองรุ่นอยู่ในระดับสมบูรณ์แบบเพื่อรองรับการใช้ งานที่วางใจได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพ คือ กระบวนการผลิตทีศูนย์การผลิตยานยนต์ระดับโลกของจีเอ็ม ในจังหวัดระยอง ที่ซึ่งคุณภาพถูกหลอมรวมไว้ในทุกขั้นตอนการผลิต

“รถจะเริ่มเก่าตั้งแต่วันที่ลูกค้าใช้งานครั้งแรก” คุณไพบูลย์ ยศสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงประกอบทั่วไป (General Assembly) ของเจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย กล่าว “สภาพความเก่าของตัวรถขึ้นอยู่กับอากาศ พื้นถนน สไตล์การขับขี่ และการบำรุงรักษา รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้”

คุณไพบูลย์กล่าวเสริมว่า “สิ่งที่เราสามารถควบคุมได้คือการผลิตรถที่มีคุณภาพสูงสุดด้วยการควบคุม กระบวนการผลิตซึ่งจีเอ็ม เรียกว่า ‘การสร้างคุณภาพในกระบวนการผลิต’ หรือ ‘built-in quality’ หมายถึง การสร้างคุณภาพไว้ในตัวรถ ไม่ใช่การตรวจสอบคุณภาพภายหลัง ด้วยการควบคุมกระบวนการผลิตเช่นนี้ เราสามารถควบคุมผลิตภัณฑ์และคุณภาพได้”

หลักการนี้มีความแตกต่างจากรูปแบบการปฏิบัติงานของบริษัทผู้ผลิตรถบางราย ที่ทำการตรวจสอบคุณภาพหลังจากตัวรถออกจากสายการผลิตหรือโรงงานเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า ‘การตรวจสอบคุณภาพแบบทั่วไป’ หรือ ‘quality inspected in’ วิธีการควบคุมเช่นนี้มีข้อด้อยมากมาย เนื่องจากต้องอาศัยความสามารถของผู้ตรวจสอบคุณภาพในการตรวจพบปัญหาและแก้ไข ข้อผิดพลาดด้วยการถอดชิ้นส่วนและติดตั้งใหม่ ถือเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามากและมีต้นทุนสูง

จีเอ็ม จึงพัฒนาและดำเนินกระบวนการเชิงป้องกันที่เรียกว่า การสร้างคุณภาพในกระบวนการผลิต ซึ่งควบคุมโดยเสาหลักด้านคุณภาพ (quality pillars) อันเป็นแนวคิดที่แบ่งขอบเขตการควบคุมออกเป็นหมวดหมู่และริเริ่มโดยจีเอ็ม อเมริกาเหนือ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ทุกโรงผลิตภายในศูนย์การผลิตยานยนต์ของจีเอ็ม ระยอง ทั้งโรงปั๊มขึ้นรูปตัวถัง (Press) โรงประกอบตัวถัง (Body) โรงพ่นสี (Paint) และโรงประกอบทั่วไป (General Assembly) ต่างมีเสาหลักด้านคุณภาพที่ควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการผลิตอยู่ภายใต้การควบคุมและช่วยสร้างคุณภาพที่ได้ มาตรฐานในการผลิต

โรงประกอบทั่วไปซึ่งเป็นสายการผลิตขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งมอบรถถือเป็น ตัวอย่างสำคัญ พนักงานมีหน้าที่ประกอบทุกชิ้นส่วน ตั้งแต่เครื่องยนต์ ระบบสายไฟ ชิ้นส่วนไฟฟ้า ช่วงล่าง ล้อและเบรกไปจนถึงสวิทช์ การตกแต่ง ท่อ ของเหลว แผงแดชบอร์ด และเบาะที่นั่ง โรงประกอบทั่วไปยังทำการติดตั้งตัวถังของรถโคโลราโดและเทรลเบลเซอร์บนโครง สร้างแชสซีส์ที่มีความแข็งแกร่ง

การไขน็อตแต่ละครั้ง การเติมของเหลวแต่ละลิตร และทุกกระบวนการประกอบ ได้รับการพัฒนาเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ล่วงหน้า บนพื้นฐานของเสาหลักด้านคุณภาพที่มีความสำคัญกับกระบวนการผลิต ไม่ใช่แค่เพียงการเดินตรวจสอบคุณภาพรถทั่วไป ดังนั้นการทำงานในโรงประกอบทั่วไปของจีเอ็ม จึงเป็นมากกว่าแค่การไขน็อตอย่างถูกต้องเท่านั้น

เสาหลักด้านคุณภาพในโรงประกอบทั่วไปประกอบด้วยการควบคุมค่าแรงขัน การเติมของเหลว การตรวจสอบและทดสอบการรั่วซึม การควบคุมการประกอบให้ได้ระยะตามมาตรฐาน ระบบไฟฟ้า
ระบบกลไก และการป้องกันการขูดขีดของตัวรถ หนึ่งในมาตรฐานคุณภาพที่มีความสำคัญคือ แรงขัน
ที่ทำให้ทุกชิ้นส่วนยึดแน่นโดยไม่คลายออก หลุด หรือแตกหักจากแรงสั่นสะเทือน ความร้อน
หรือแรงเค้นขณะรถเคลื่อนที่

แต่ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การไขน็อตให้แน่นที่สุดเท่านั้น แรงขันยังส่งผลถึงแรงหมุนที่กระทำต่อน็อตหรือสกรูซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากหากหมุนมากเกินไป (แน่นเกินไป) อาจสร้างความเสียหายต่อสลักเกลียว แต่ถ้าหลวมเกินไปอาจทำให้เกิดเสียงรบกวนและชิ้นส่วนต่างๆ หลุดออกจากกัน สว่าน ปืนลม และเครื่องจักรแต่ละชิ้น จึงถูกตั้งค่าแรงบิดไว้อย่างเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าน็อตและสกรูทุกตัวถูกไขอย่างถูกต้อง

รถโคโลราโดและเทรลเบลเซอร์ที่ส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศผ่านกระบวนการผลิต ที่มีคุณภาพอย่างเข้มงวดแบบเดียวกัน บริษัทเหมืองแร่เหล็กในออสเตรเลียทดสอบโคโลราโดเป็นเวลาแปดเดือนเต็มก่อนการ สั่งซื้อ โคโลราโดถูกใช้งานอย่างหนักบนทางดินตลอดการทดสอบในเหมืองแร่เหล็ก รวมระยะทางกว่า 29,000 กม. บริษัทเหมืองแร่ดังกล่าวประทับใจในสมรรถนะของโคโลราโดอย่างยิ่ง จึงสั่งซื้อฟลีททันทีหลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบ ปัจจุบันรถโคโลราโดคันที่ถูกทดสอบซึ่งผลิต จากประเทศไทยถูกจัดแสดงไว้ในห้องโถงของสำนักงานใหญ่โฮลเด้นในออสเตรเลีย โดยตัวรถยังคงเปรอะเปื้อนแต่สง่างามด้วยฝุ่นดินจากเหมืองแร่

ในช่วงต้นปี 2556 โคโลราโดได้รับรางวัล “รถกระบะยอดเยี่ยมแห่งปี” ของประเทศไทย โดยฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน บริษัทวิจัยตลาดระดับโลก ขณะที่ช่วงปลายปีเดียวกัน โคโลราโด Z71 รถกระบะยกสูงตอนครึ่ง (Extended Cab) คว้าอันดับสองในการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อรถรุ่นนี้

เชฟโรเลตยังเสนอการรับประกันคุณภาพรถโคโลราโดและเทรลเบลเซอร์ สำหรับค่าบำรุงรักษาในช่วง 3 ปีแรก หรือ 100,000 กม. จะไม่เกิน 19,900 บาท

นอกจากการสร้างคุณภาพในกระบวนการผลิตแล้ว การรับประกันค่าบำรุงรักษาดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพราะเทคโนโลยีอันโดดเด่นของ เครื่องยนต์ดูราแม็กซ์ ดีเซล เทอร์โบ รุ่นที่สอง ซึ่งกำหนดระยะเวลา การเช็คระยะไว้ที่ทุก 20,000 กม. ยาวนานที่สุดในระดับเดียวกัน เครื่องยนต์ดูราแม็กซ์ 2.8 ลิตร ซึ่งเปิดตัวในเดือนตุลาคม 2556 มีกำลังสูงที่สุดในเซกเมนท์ด้วยแรงบิดระดับ 500 นิวตันเมตร และกำลัง 200 แรงม้า ขณะที่เครื่องยนต์ 2.5 ลิตร ให้แรงบิด 380 นิวตันเมตร และกำลัง 163 แรงม้า

“มาตรฐานคุณภาพที่เข้มงวดเช่นนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะรถโคโลราโดและเท รลเบลเซอร์เท่านั้น  เราดำเนินกระบวนการผลิตบนพื้นฐานของเสาหลักด้านคุณภาพแบบเดียวกันกับรถ ทุกรุ่นในสายการผลิตของเรา” คุณไพบูลย์กล่าว “ถ้าเราสามารถสร้างรถที่มีความแข็งแกร่งและทนทานสูงอย่างโคโลราโด และเทรลเบลเซอร์ได้ รถรุ่นอื่นของเราก็มีความทนทานและเชื่อถือได้สูงมากเช่นกัน”

ศูนย์การผลิตยานยนต์จีเอ็ม ในจังหวัดระยอง ผลิตรถยนต์และรถกระบะมาแล้วมากกว่า 1 ล้านคัน เริ่มตั้งแต่รถเอ็มพีวีอย่างเชฟโรเลต ซาฟิร่า ในปี 2543 ซึ่งยังโลดแล่นอยู่บนท้องถนนประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้ คุณภาพเป็นหัวใจหลักและองค์ประกอบสำคัญของรถทุกรุ่นที่ออกจากสายการผลิต ตั้งแต่ซาฟิร่าจนถึงโคโลราโดและเทรลเบลเซอร์รุ่นล่าสุด

, , , , , , , , ,

Chevrolet Colorado, Ford Ranger, ISUZU D-MAX, Mazda BT-50, Mitsubishi Triton, Nissan Navara, Toyota Vigo




Create Date : 20 พฤษภาคม 2557
Last Update : 20 พฤษภาคม 2557 11:11:34 น. 0 comments
Counter : 1298 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Sai Bla Bla
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add Sai Bla Bla's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.