เมษายน 2554

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
Id / Ego / Super-ego กับคังคัง เด็กชาย 6 ขวบกว่าๆ

ID / EGO / SUPEREGO (21 เม.ย. 54)

 


วันนี้ลูกชายของแม่ง้องแง๊ง กับแม่แต่เช้า แม่ปลุกคังคังตอนตี 5:45 ให้อาบน้ำแต่งตัวเพื่อไปเรียน summer ก่อนขึ้น ป.1 ที่ BCC ซึ่งเราตกลงกันแล้วว่าเป็นหน้าที่ที่ลูกต้องทำเพราะย้าย ร.ร. แล้ว และอีกอย่าง คังคังก็โตเป็นเด็กผู้ใหญ่แล้ว (อันนี้ลูกบอกแม่เอง) คังคังก็ปฎิบัติด้วยดีเสมอมา มีวันนี้แหละดีแตกซะละ มาดูเหตุผลของการเอี้ยวของคังคังกัน


** ทำไมคังคังต้องใส่ชุดนักเรียนไปเรียนด้วย ทีพี่ๆป.อื่น ยังใส่ชุดอื่นได้เลย ไม่ต้องใส่ชุดนักเรียน พร้อมกับร้องโวยวายSmiley



(แล้วเพื่อนๆในห้องใส่ชุดนักเรียนหรือเปล่า ถ้าไม่แม่จะแต่งตัวชุดอื่นให้คังคังครับ ไม่เอาครับแม่)

 


** ทำไมคังคังต้องล้างจมูกทุกเช้าด้วย เดี๋ยวไปสายกันพอดีSmiley



(ก็ลูกเป็นภูมิแพ้ ตื่นมาหายใจฟึดฟัดตลอด ถ้าไม่ล้างก็จะครือคราดทั้งวัน พอล้างแล้วก็โล่งทั้งวันเหมือนกันนิ ไม่สายหรอกยังเช้าอยู่ ถึงไม่ล้างก็ยังไม่ได้อาบน้ำอยู่ดี เพราะห้องน้ำยังไม่ว่าง ดังนั้นล้างเถอะลูก)



** ทำไมคุณแม่ต้องให้คังคังยืนอาบน้ำใน 2 บล็อกนี้ด้วย เกินไม่ได้เหรอครับ Smiley



(ถ้าเกินจากนี้น้ำจะกระเด็นออกข้างนอก เดี๋ยวลูกอาบเสร็จเดินออกไป ลื่นล้มจะทำไงครับ)



** โอ๊ย... เสื้อกล้ามมันเป็นไรเนี่ย ทำไมคังคังหาแขนไม่เจอเลยแม่ กกน ด้วยคังคังกลับด้านไม่ได้อ่ะ Smiley



(ก็ถอดออกมาแล้วจับเสื้อวางที่พื้นดีๆ แล้วค่อยใส่ซิครับ ส่วน กกน ลูกก็จับกลับด้านเหมือนเสื้อนั่นแหละ ใจเย็นๆซิครับ)



ส่วนแม่ก็ทั้งปลอบ ทั้งขู่ แล้วก็ช่วยบ้าง สิ่งที่แม่ขู่คังคังด้วยเสียงเล็กๆ แต่ดุก็เรื่องว่าอย่าโวยวายเสียงดังนะ เดี๋ยวหนูคูณตื่น เราจะไม่ต้องทำอะไรกันพอดี และทุกครั้งยังพูดไม่ทันจบดี เปิดประตูเข้าห้องก็เจอหนูคูณนอนซบผ้าห่ม (ของแม่) Smiley ยิ้มเผ่ให้ซะก่อน ทำอะไรเสร็จทูก....ที เฮ้อ ทีนี้ล่ะ ความโกลาหลก็เริ่มขึ้นทั้งแม่กับเฮียคัง สลับกันแต่งตัว สลับกันอุ้มหนูคูณย้ายหนีสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย ก็พัดลมบ้าง ปลั๊กไฟบ้าง สายไฟบ้าง ฯลฯ กว่าต่างจะเสร็จภารกิจของตัวเอง ก็เล่นเอาหอบแฮกๆเหมือนกัน  

 


ในรถ (Mitsubishi Pajero Sport) Smiley แม่ขับไปก็คุยแกมขอร้อง ขอความร่วมมือ คังคังตื่นมาแต่งตัวทำทุกอย่างตอนเช้าแบบเนียนๆ ไม่ง้องแง๊งแบบเมื่อเช้าได้ไหม เจ้าลูกชายตัวดีบอกว่า ก็คังคังบอกแม่ไปแล้วไง แม่ลืมอีกและ โธ่... แม่จำไม่ได้แล้วบอกแม่อีกทีนะครับ แม่จะพยายามไม่โกรธคังคัง เวลาคังคังแง้วๆอีกไง

 









Free TextEditor


ก็ในตัวคังคังมี 2 ร่างไงครับแม่ อิแม่ถึงบางอ้อ (เออใช่ ลูกเคยบอกแล้วนี่หว่า) เมื่อเช้านี้คังคังตัวดื้อมาเข้าสิง แต่ตอนนี้คังคังคนดีเข้ามาไล่ตัวดื้อออกไปแล้วครับแม่ แล้วก็หัวเราะดังเชียว 55555

 


ลูกจ๋า ลูกกำลังคุยกับแม่เรื่องจิตวิทยาเกี่ยวกับทฤษฏีบุคคลิกภาพ ของ Sigmund Freud (ซิกมันด์ ฟรอยด์) เชียวนะเนี่ย แม่ละแปลกใจจริง ลูกชายวัย 6 ขวบกว่าๆ เรียนรู้เรื่องนี้ได้ และพยายามจะให้แม่ได้เข้าใจถึงหลักการนี้ด้วย แม้ว่าจริงๆแล้วลูกชายของแม่อาจจะเข้าใจแบบผิวๆ แต่แม่ก็ดีใจนะครับที่ คังคังพยามยามที่จะสื่อสาร(เบื้องต้น)กับคนอื่นในสังคมให้เข้าใจตัวตนของลูก Smiley

 


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ  (Personality theories)

 


ทฤษฎีจิตวิเคราะของฟรอยด์  (Freud’s  psychoanalytic  theory)  Smiley

 


ซิกมันด์  ฟรอยด์ (Sigmund  Freud) เป็นบิดาของกลุ่มทฤษฎีจิตวิเคราะห์  และเป็นผู้ตั้งทฤษฎีที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ   เรียกว่า  “ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับบุคลิกภาพ”  (psychoanalytic  theory  of  presonality) ขึ้น  ซึ่งนับว่ามีอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์  ฟรอยด์ได้ให้ขอคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพของมนุษย์ว่า  เป็นผลเกิดมาจากความดิ้นรนพยายาม  ระหว่างแรงขับอันเกิดจากภายในร่างกาย  (Inner  physiological  drivers)  ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น  ความหิว   อารมณ์เพศ  และความก้าวร้าว  เป็นต้น  กับความกดดันทางสังคม   (social  pressure)  ที่เป็นตัวคอยขัดขวาง เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติเป็น ไปตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ และศีลธรรมจรรยาที่ดีงาม  (Mowen  and  Minor.1998:202)

 


ฟรอยด์  ได้อธิบายว่า  มนุษย์มีจิต  3  ระดับ  คือ  (1)  จิตสำนึก (Coscious  mind)  (2)  จิตก่อนสำนึก  หรือจิตใต้สำนึก (Preconscious  or  Subconscious  mind)  และ  (3)  จิตไร้สำนึก (Unconscious  mind)  เป็นตัวคอยควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์ให้แสดงพฤติกรรมออกมาต่าง ๆ  นานา ฟรอยด์กล่าวว่า   พลังผลักดันที่เป็นแรงขับให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมาจากจิตไร้สำนึก  จึงไม่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ   จากความคิดที่ว่าบุคคลเกิดการรับรู้เพียงส่วนน้อยที่เกี่ยวกับแรงผลักดันภายใน ที่จูงใจให้เกิดการกระทำ    จึงเป็นจุดเปลี่ยนความคิดที่สำคัญอันยิ่งใหญ่ต่อการเข้าใจบุคลิกภาพของมนุษย์  (Rathus,  quoted  in  Mowen  and  Minor.1998:202)

 


 โครงสร้างของบุคลิกภาพ  (Structure  of  personality)

 


ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์  เพื่อการอธิบายทำความเข้าใจงานเข้า ฟรอยด์ ได้บัญญัติศัพท์เฉพาะขึ้นมาเพื่ออธิบายโครงสร้างบุคลิกภาพว่า  ประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นระบบ   3 อย่าง    คือ   อิด (id)    อีโก (ego)  และซุปเปอร์อีโก  (superego)  ระบบทั้ง  3  อย่างนี้จะรวมกันเข้าเป็นโครงสร้างของบุคลิกภาพขึ้น  แต่จะต้องเข้าใจว่าโอยแท้จริงแล้ว  ระบบทั้ง  3   อย่างนี้ไม่อาจแยกเป็นส่วน ๆ  ได้เป็นเพียงองค์ประกอบโครงสร้างของจิตตามสมมติฐานเท่านั้น ไม่ใช่ตามสภาพทางสรีระของมนุษย์  ระบบของจิตทั้ง  3  อย่าง  ดังกล่าวอธิบายได้  ดังนี้

 


1.  อิด (Id   หรือ  libido)   หมายถึง แรงขับทางร่ายกายที่กำกับบุคคลให้กระทำการต่าง ๆ ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเป็นตัวกระตุ้นที่ค่อนข้างรุนแรง    อันเกิดจากภาวะของจิตไร้สำนึกเปรียบได้กับกิเลส  ตัณหา  หรือโลภ  ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง อิดจึงเป็นแรงกระตุ้นดิ้นรนขวนขวายที่จะประพฤติปฏิบัติ ไปตามหลักที่เรียกว่า “หลักแห่งความพอใจ” (pleasure principle) นั่นคือเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียด   (avoid  tension)   และแสวงหาความพึงใจในทันที  เพื่อว่าความรู้สึกและอารมณ์ที่จะได้รับเป็นไปในทางบวก

 


แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะของจิตที่คิดไปนั้น อยู่ระดับจิตไร้สำนึกหรือไม่รู้สึกตัว  ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว    ไม่อาจจะกระทำได้อย่างเต็มที่     จะเห็นได้ว่าความคิดของจิตที่เกิดขึ้นในบัดดลฉับพลันหลาย ๆ  อย่าง    ไม่อาจจะรับหรือปฏิบัติได้ในสังคมที่เจริญ     ที่มีระเบียบแบบแผน  ตัวอย่างเช่น  เมื่อบุคคลเกิดความรู้สึกร้อนและกระหายน้ำ  จิตของบุคคลนั้นก็จะกระตุ้นให้บุคคลนั้นไปหยิบหรือฉกฉวยอะไรบางอย่างที่เย็น ๆ   มาดื่ม  โดยจะไม่คำนึงถึงว่าจำเป็นจะต้องซื้อ  หรือใครเป็นเจ้าของหรือไม่ (Loudon  and  Della  Bitta.1993:301)

 


2.  อีโก (Ego)  หมายถึง  จิตที่รู้สำนึก ที่ก่อตัวและพัฒนาขึ้นมาเมื่อเด็กเจริญเติบโต  เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้  และความรู้สึกนึกคิด  จากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่สั่งสม  จึงทำให้อีโกได้รับการพัฒนาจนทำให้บุคคลมีความสามารถ   ในการคิดที่อยู่ในวิสัยแห่งความเป็นจริง  (realistic  thinking) รวมทั้งมีความสามารถเผชิญกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรกระทำ  จึงทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นนักบริหารหรือเป็นผู้จัดการของอิด  (a  manager  for  the  id)    โดยอีโกจะเป็นผู้เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อสนองความต้องการตามสัญชาตญาณให้เกิดความพอใจ โดยยึดถือความเป็นจริงมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา  เนื่องจากจิตได้กำหนดความต้องการขึ้นมากจนเกินไป  อีโกจึงจัดลำดับความสำคัญให้อยู่ในวิสัยที่สามารถจัดการได้ โดยยึดถือความสำคัญของความต้องการแต่ละอย่างเป็นหลัก  รวมทั้งคอยขัดขวางยับยั้งควบคุมให้อิดแสดงออกที่เหมาะสม (Onkvisit  and  Show.1994:108)

 


ดังนั้นจังเห็นได้ว่า การปฏิบัติการของอีโก จึงเป็นการปฏิบัติตามหลักที่เรียกว่า “หลักแห่งความเป็นจริง”  (Reality principle)  นั่นคือ ความสามารถที่จะเลื่อนเวลาปลดปล่อยความเครียดออกไปได้  จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม จากตัวอย่างข้างต้น  แม้ว่าบุคคลจะเกิดความหิว  ซึ่งอิดอาจจะกระตุ้นให้แย่งชิงอาหารจากเพื่อน  แต่อีโกก็จะห้ามปรามเอาไว้โดยให้เหตุผลว่า เป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติเพราะน่าเกลียดแสดงให้เห็นถึงความตะหละและป่าเถือน  จึงควรหักห้ามใจเอาไว้รอเวลาอีกหน่อยอาจจะได้รับอาหารมากกว่านี้  เป็นต้น

 


3.  ซุปเปอร์อีโก  (Superego)  หมายถึง  องค์ประกอบส่วนที่สามของบุคลิกภาพเป็นส่วนของจิตที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของศีลธรรมจรรยา   และระเบียบประเพณีของสังคม  หรือเป็นมโนธรรมที่อยู่ในจิตของแต่ละบุคคล  อันเกิดจากการเลี้ยงดูอบรมของครอบครัวและสังคม  สามารถแยกออกได้ว่าอะไรคือ  ความถูกต้องและเป็นสิ่งดีงาม  อะไรควรหรือไม่กระทำ   จึงทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมทั้งอิดและอีโก เพื่อให้อีโกประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในทำนองคลองธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม  ไม่ปฏิบัติตามที่จิตเรียกร้องทุกอย่าง

 


ความสัมพันธ์กันระหว่างพลังจิตทั้ง  3   ส่วนนี้   นักจิตวิทยาบางท่านได้เปรียบเทียบไว้ว่า อิดเปรียบเสมือนส่วนประกอบพื้นฐานของบุคลิกภาพทางด้านชีววิทยา ส่วน   อีโก เปรียบเสมือนส่วนประกอบของบุคลิกภาพทางด้านจิตใจ  และ  ซุปเปอร์อีโก      เปรียบได้กับส่วนประกอบของบุคลิกภาพทางด้านสังคม (นิภา  นิธยายน.2530:39)   บุคลิกภาพของคนจะมีลักษณะเช่นใดนั้น  จึงขึ้นอยู่กับพลังใดมีอำนาจถ้าอิดมีอำนาจสูง  บุคคลนั้นก็จะมีบุคลิกภาพแบบเด็ก เอาแต่ใจตนเอง ถ้าอีโกมีอำนาจสูง  บุคคลนั้นก็จะมีบุคลิกภาพแบบผู้ใหญ่มีเหตุผล   ถ้าซุปเปอร์อีโกมีอำนาจสูง    คนนั้นก็จะเป็นคนมีอุดมคติเป็นนักทฤษฎี (ปรีชา  วิหคโต.2533:242) ความสัมพันธ์ของพลังจิตทั้ง 3  ส่วน  จึงสรุปได้ว่า  อีโก  เป็นหน่วยปฏิบัติการ เป็นตัวกลางในการแสดงออกซึ่งบุคลิกภาพ และจะปฏิบัติตามแรงผลักดันของอิด  โดยมีซุปเปอร์อีโกเป็นผู้ควบคุม


Credit : search from Google

 



Free TextEditor



Create Date : 21 เมษายน 2554
Last Update : 21 เมษายน 2554 16:20:36 น.
Counter : 4237 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Completely Sure
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]