Group Blog
 
 
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
1 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
พระสุรินรทฦๅไชย ฯ (ขุนช้าง-ขุนแผน ฉบับนิทานข้างกองฟาง)

ประวัติของผู้เรียบเรียง ขุนช้างขุนแผน
(ฉบับนิทานข้างกองฟาง)



นามปากกา "พจนารถ"

นามจริง ยังไม่อยากบอก ( มิเช่นนั้นจักตั้งปากกาขึ้นมาทำไมเล่าขอรับ )

เรียนหนังสือ มูลบทบรรพกิจ ( โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร - น้อย อาจารยางกูร )

ปี่พาทย์ (โดยสำนักคุณครู อุทัย แก้วละเอียด - ศิษย์ คุณครู หลวงประดิษฐ์ไพเราะ - ศร ศิลปบรรเลง )

ผลงาน เรื่องสั้นต่าง ๆ ในนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย โล่เงินและอื่นๆ

เกิด นานมาแล้ว ไล่เลียงได้ราวเกือบสี่สิบปี ( ถ้าจำไม่พลาด )

แก่ ไม่แน่นอน เพราะเวลาที่ไปคุยกับเด็ก ๆ พวกเขาก็มักจะบอกว่า แก่จัง แต่ในเวลา ที่อยู่ในวงสนทนากับท่านผู้ใหญ่ ท่านก็มักจะให้กำลังใจว่า ยังหนุ่มอยู่เลยนะคู้ณ

เจ็บ หลายครั้ง ตามสมควรแก่เหตุ แต่ที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิต น่าจะเป็นเมื่อตอนอายุ ราวเจ็ดวัน เป็นอะไรก็จำไม่ได้เสียแล้ว แต่บิดาเล่าให้ฟังว่าครั้งนั้นเกือบไม่รอด

ตาย ยังไม่ได้กำหนด และยังไม่อยาก




คำนำของผู้เรียบเรียง



ใคร ๆ ก็คงจะรู้จักวรรณคดีเรื่องนี้เป็นอย่างดีอยู่แล้วนะขอรับ ขุนช้าง - ขุนแผน

ขุนช้าง - ขุนแผน เป็นวรรณคดี คือเรื่องที่แต่งขึ้นอย่างงดงาม ทั้งความหมายโดยอรรถ และ นัยยะอย่างแท้จริง

วรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง - ขุนแผนนี้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ ร่วมกับ นักปราชญ์ราชบัณฑิตหลายท่าน ที่มาร่วมประพันธ์กันท่านละตอนสองตอน แล้วแต่ความถนัด

ฉะนั้น วรรณคดีเรื่องนี้ จึงมีความงดงามในแบบฉบับที่หลากหลาย ตามบุคลิกของท่านกวีแต่ละท่าน นั้นเอง

ส่วน ขุนช้าง - ขุนแผน ฉบับ นิทานข้างกองฟางนี้ เป็นหนังสือที่กระผมเขียนขึ้นมาด้วยความสนุกโดยแท้ ขอรับกระผม

เพราะกระผมได้อ่านวรรณคดีเรื่องนี้ ด้วยความสนุกอย่างแท้จริง ราวกับกำลังอ่านการ์ตูน หรือนิทาน ตั้งแต่เมื่อสมัยยังเป็นเด็ก ๆ อ่านอย่างกระหาย อยากที่จะติดตามตอนต่อไป

เนื่องจากเมื่อยิ่งอ่านมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็ยิ่งสัมผัสได้ว่า บทบาทที่โลดแล่น ของตัวละครในเรื่องนี้นั้น มันมี ชีวิต ขอรับ

มีชีวิตที่เต็มไปด้วยเลือดเนื้อ ความรู้สึกนึกคิด และวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์โดยแท้ คือ มีทั้งความรัก โลภ โกรธ หลง กิเลส ตัณหา เกียรติยศศักดิ์ศรี ความอ่อนหวานละมุนละไม ความเศร้าสร้อยอาลัยคร่ำครวญ ความอาฆาตแค้น หรือแม้แต่บทตลกโปกฮา ก็ตาม

เรียกว่าครบถ้วนบริบูรณ์ ทุกธาตุแห่งอารมณ์มนุษย์ธรรมดา อย่างแท้จริงทีเดียวเจียวแหละขอรับ

และนี่ก็คือเสน่ห์แห่งวรรณคดีเรื่องนี้ ขุนช้าง -ขุนแผน

นี่เป็นเสน่ห์ที่กระผมไม่อยากให้เลือนหายไป ด้วยกาลเวลาแห่งความเร่งรีบฉาบฉวยในยุคปัจจุบัน ชนิดที่เรียกว่ามีใครสักคนหนึ่ง มาเปิดหนังสือมาเห็นกลอนเสภา แล้วก็สะดุ้ง จากนั้นก็รีบวางลงบนชั้นหนังสือในร้านตามเดิม

กระผมจึงเกิดมานะที่จะเรียบเรียง ขุนช้าง - ขุนแผน ฉบับนิทานข้างกองฟาง นี้ขึ้นมา เพื่อให้ท่านผู้อ่าน สนุก ไปกับกระผมด้วย อย่างไรเล่าขอรับ

และเมื่อใดที่ ท่านผู้อ่านเกิด สนุก ไปกับนิทานข้างกองฟาง ฉบับนี้ ไปกับกระผมด้วยแล้วไซร้ แล้วเกิดนึกสนุกขึ้นมา ด้วยการหันไปหาวรรณคดีฉบับเต็ม ขึ้นมาอ่านด้วยความสนุก เหมือนกระผม เมื่อไหร่แล้วละก้อ…..

เมื่อนั้น ก็คงจะเป็นเวลาที่กระผมควรจะคิดได้ว่า กระผมก็น่าจะรู้สึกสมประสงค์ในการเล่านิทานอิงวรรณคดีเรื่องนี้ ให้ท่านฟังแล้ว ขอรับ.

จากใจจริง
พจนารถ






สารบัญ



สารบัญ

๑. ไหว้ครู

๒. พ่อตายเพราะควายเตลิด

๓. บวชเรียน

๔. ร้อน

๕. ในไร่ฝ้าย

๖. จำใจย้ายสำนัก

๗. ลาสิกขา

๘. วัวพันหลัก

๙. ขิงก็ราข่าก็แรง

๑๐. กลับบ้าน

๑๑. แต่งงาน

๑๒. จำพราก

๑๓. โพธิ์อธิษฐาน

๑๔. เสน่ห์สาวเหนือ

๑๕. เพื่อนทรยศ

๑๖. เรือนร้อน

๑๗. ขุนแผนอาละวาด

๑๘. คราวเคราะห์

๑๙. ราชทัณฑ์

๒๐. สองพ่อลูก

๒๑. กุมารทอง

๒๒. ฟ้าฟื้นและสีหมอก

๒๓. ผิดฝาก็ผิดตัว

๒๔. เข้าห้อง

๒๕. กลางไพร

๒๖. หนี

๒๗. สู้

๒๘. ใต้ร่มบุญ

๒๙. ชำระความ

๓๐. ปลาหมอตายเพราะปาก

๓๑. ลูกชาย

๓๒. ศึกชิงนาง

๓๓. ประลองฤทธิ์

๓๔. ยกรบ

๓๕. ช่วยเชลย

๓๖. ท้ารบ

๓๗. จำนน

๓๘. เสร็จศึก

๓๙. ที่พระสุรินท ฯ

##########








Create Date : 01 ตุลาคม 2550
Last Update : 2 ตุลาคม 2550 14:10:04 น. 6 comments
Counter : 1004 Pageviews.

 


โดย: ตาอ้วนชวนคุย วันที่: 1 ตุลาคม 2550 เวลา:10:14:13 น.  

 


โดย: ยาจก IP: 203.172.34.93 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:20:16 น.  

 


โดย: อุนจิ IP: 203.172.34.93 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:22:17 น.  

 
กร่ะผมไม่ค่อยได้ เข้ามาดู บล็อก ของตัวเองดอก ขอรับ

เพราะถือเปนเพียงเสมือน บันทึกประวัติศาสตร์

ที่ตัวเอง เคย เขียนไว้
ในครั้งหนึ่ง ของ ชีวิต เท่านั้น

แต่ พอกลับมาดูแล้ว
ก็ได้พบว่า
มีท่านสหาย
สนใจ เข้ามาอ่าน อยู่หลายท่าน

ดีใจนะ ขอรับ

แล ขอ ขอบพระคุณยิ่ง ทุกท่าน

ทั้ง ขอ ขอบพระคุณ แทน

ท่านครู บรรพบุรุษ
ผู้ รจนา วรรณคดี
ไว้เปนศักดิ์ศรี
แห่ง ภาษาไทย

ด้วย ฉะนั้น

ดังนี้ ขอรับ.


โดย: พจนารถ๓๒๒ IP: 58.9.185.126 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:5:00:48 น.  

 
แวะมาเยี่ยมค่ะ ชอบมาก


โดย: นิคแนค IP: 203.209.127.95 วันที่: 14 มกราคม 2551 เวลา:6:46:00 น.  

 
บันทึกความเห็นผู้ชมที่

Counter : 304 Pageviews.

วัน-เวลานี้


โดย: สีน้ำฟ้า IP: 119.42.64.110 วันที่: 16 มีนาคม 2551 เวลา:12:13:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พจนารถ๓๒๒
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add พจนารถ๓๒๒'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.