All Blog
เปลี่ยนทัศนคติของคุณใหม่ ในการลดน้ำหนัก

Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ
คุณต้องอดทน และยอมรับในความจริง เป็นไปไม่ได้เลยที่จะลดน้ำหนัก 20 กิโลกรัมภายในระยะเวลา 2 เดือน ที่จริงการลดน้ำหนักให้ได้ 2 กิโลกรัมภายใน 2 เดือนถือว่าคุณประสบผลสำเร็จแล้ว การลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะลดได้จริง แต่น้ำหนักจะกลับเพิ่มขึ้นมาใหม่อีก การอดอาหารเป็นการฝืนธรรมชาติของตัวคุณเอง คุณจะทำได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น บ่อยครั้งที่คุณมักจะได้ยินคนที่อดอาหารพูดว่า นี่เป็นช่วงที่ฉันกำลังอดอาหาร เมื่อน้ำหนักลดลงได้ตามต้องการแล้ว เขาเหล่านั้นก็จะกลับมากินอาหารใหม่อีก

นอกจากการเตรียมตัวทางด้านจิตใจแล้ว การให้กำลังใจตัวเองก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ อย่ามัวนั่งครุ่นคิดว่า คุณกินอะไรไม่ได้บ้าง แต่จงคิดว่า คุณกำลังจะมีรูปร่างที่ดีขึ้น รู้สึกกับตัวเองดีขึ้น และสามารถใส่เสื้อผ้าที่ตัวเองอยากใส่มานานได้

อย่าคิดว่าสิ่งที่คุณกำลังจะทำเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และอย่าโหดร้ายกับตัวเองมากเกินไป คนอ้วนหลายคนมองว่าตัวเองเหมือนตู้เย็นที่เดินได้ หรือ เหมือนลูกบอลที่มีขา 2 ข้าง การเตรียมตัวที่จะควบคุมน้ำหนัก คุณจะต้องให้อภัยตัวคุณเอง

ในพฤติกรรมผิดๆในการกินอาหารที่ผ่านมา การลดน้ำหนัก ก็เปรียบเหมือนการมีชีวิตคู่ เมื่อสามีภรรยาทะเลาะกัน ไม่ได้จบลงด้วยการหย่าร้าง

แต่มักจะลงท้ายด้วยการให้อภัยกัน จึงสามารถมีชีวิตคู่ที่ยืนยาวได้ การลดน้ำหนักก็เช่นเดียวกัน คุณต้องรู้จักให้อภัยตัวเองบ้าง การเคร่งครัดกับกฏระเบียบมากเกินไป จะทำให้คุณไม่สามารถลดน้ำหนักด้วย คุณอาจจะตั้งเป้าหมายไว้ และถ้าคุณทำได้ตามเป้าหมายได้ประมาณ 80 % คุณก็น่าจะพอใจแล้ว

อย่าตั้งความหวังว่าคุณจะมีรูปร่างสวยเหมือนนางแบบในนิตยสาร นางแบบในนิตยสารส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติ จงยอมรับน้ำหนักที่ควรจะเป็นตามโครงสร้างของร่างกายคุณ เมื่อคุณรู้สึกรับได้ คุณก็จะรู้สึกดีขึ้น และคุณก็จะเริ่มดูดีขึ้น แม้ว่าน้ำหนักจะลดลงไปเพียงเล็กน้อย
แม้ว่าปัจจัยด้านพันธุกรรมจะมีผลทำให้คุณมีโอกาสอ้วนมากกว่าปกติ แต่คุณก็ไม่ได้เกิดมาอ้วนตั้งแต่กำเนิด

คุณอาจจะไม่สามารถมีรูปร่างตามที่คุณต้องการได้ แต่คุณก็สามารถลดน้ำหนักได้
ไม่มีใครที่สามารถลดน้ำหนักได้อย่างถาวร ด้วยการใช้การควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว คุณจะต้องออกกำลังกายด้วย บางคนมองภาพการออกกำลังกายว่าจะต้องวิ่ง หรือเล่นกีฬาเท่านั้น อันที่จริงหลายสิ่งหลายอย่างที่คุณทำในชีวิตประจำวัน

ก็เป็นการออกกำลังกายเช่นเดียวกัน เช่น การเต้นรำ คุณลองหาการออกกำลังที่คุณชอบ และคุณก็จะสามารถควบคุมน้ำหนักได้ในระยะยาว ครึ่งหนี่งของคนที่ออกกำลังกายหยุดออกกำลังกายภายใน 2-3 เดือน ทั้งนี้เนื่องจากเขาบังคับให้ตัวเองทำในสิ่งที่เขาไม่ชอบทำ เช่น วิ่ง กระโดดเชือก เป็นต้น ลองหาการออกกำลังที่คุณชื่นชอบเช่น เต้นรำ เล่นโบลิ่ง เป็นต้น อะไรก็ได้ที่จะทำให้คุณได้ใช้พลังงานส่วนเกินที่มีอยู่ คนส่วนใหญ่ลืมไปว่า การเดิน หรือการทำสวน ก็เป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่ง

การออกกำลังกายให้มีผลต่อการลดน้ำหนัก คุณจะต้องออกกำลังกายครั้งละประมาณ 20 นาที และประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มที่ตัวเลขเหล่านี้ ใช้มันเป็นเป้าหมายของคุณ คุณอาจจะเริ่มด้วยการออกกำลังครั้งละประมาณ 5 นาทีก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อรู้สึกว่าร่างกายพร้อม การทำเช่นนี้ ทำให้คุณไม่รู้สึกยากเกินไปที่จะเริ่มต้น และทำให้คุณมีกำลังใจที่จะทำให้ได้ตามเป้าหมาย

Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 24 พฤษภาคม 2554
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 19:05:19 น.
Counter : 1241 Pageviews.

0 comment
ขจัด 4 วายร้าย ความอ้วน


Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ

"สี่วายร้าย" ที่กล่าวถึงนี้ คือ ภาวะหรือโรคที่ชอบร่วมก๊วนกันเป็นประจำ ได้แก่ ความอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ ทั้งสี่เป็นภาวะหรือโรคที่เป้นภัยคุกคามต่อสุขภาพของคนเรา ได้มากมายอย่างคาดไม่ถึง


โรคหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือโรคหลอดเลือดโคโรนารี่ เป็นภัยอันดับหนึ่งจากสี่วายร้ายนี้ และกำลังคุกคามคนไทยมากขึ้น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคไต เป็นภัยที่ไม่ยิ่งหย่อนไปจากโรคหัวใจ ที่น่าวิตกกังวลคือ ภัยเหล่านี้เป็นภัยเงียบ อยู่ในร่างกายของผู้มีสี่วายร้ายอย่างสงบ แต่ทำลายอย่างเลือดเย็น เมื่อเวลาพอเหมาะก็ออกฤทธิ์สำแดงอาการ จนบางครั้งตั้งตัวตั้งใจรับไม่ทัน ทำให้เสียชีวิต ผู้ที่รอดมาได้ก็ต้องเยียวยารักษากันตลอดไป


จริงหรือไม่ที่คนไทยผจญกับ "สี่วายร้าย" เพิ่มขึ้น ข้อมูลที่มีบ่งชี้ว่าเป็นความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อาศัยอยู่ในเมือง พบว่าคนอ้วนมีมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูง 
โรคเบาหวาน และไขมัน ในเลือดผิดปกติก็เพิ่มขึ้น ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นเชื่อว่า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในเมือง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินและทำงานออกแรงน้อยลง


ทำไม "สี่วายร้าย" (ความอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ) จึงชอบร่วมก๊วนกัน? จากการศึกษาพบว่า ภาวะทั้งสี่ที่กล่าวถึงนี้ มีสาเหตุทำให้เกิดได้หลายอย่างเหมือนๆ กัน ทั้งพันธุกรรมและปัจจัยภายนอก รายละเอียดของความสัมพันธ์แสดงให้เห็นในแผนภูมิข้างล่าง จะเห็นได้ว่ากลไกร่วมที่สำคัญที่มีผลต่อการเกิดภาวะทั้งสี่คือ "การดื้ออินสุลิน"


ความอ้วนซึ่งที่จริงแล้วควรเรียกว่า "โรคอ้วน" เป็นหมายเลขหนึ่งของสี่วายร้ายนี้ นั่นคือปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงไปถึงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติ จนในที่สุดเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงอุดตัน ที่สำคัญต้องเข้าใจว่าสี่วายร้ายนี้ 
ถ้ามีอยู่หนึ่งก็อาจเพิ่มเป็นสอง สาม และสี่ได้ และไม่จำเป็นต้องอยู่พร้อมกันจึงจะเกิดปัญหา เพียงหนึ่งเดียวหรือหนึ่งปัจจัยก็ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงอุดตันได้ แต่ถ้าเพิ่มจำนวนมากขึ้นจากหนึ่งเป็นสอง เป็นสาม และเป็นสี่ปัจจัยจะทำให้เกิดโรครวดเร็วขึ้น และรุนแรงได้มากเป็นลำดับ ดังนั้นหากมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่อย่างนี้ ก็ควรดูแลรักษาและควบคุมให้ได้ อย่างไรก็ตาม ความอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ อาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆ จากสาเหตุอื่นได้โดยไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน


ถ้าเรากินอาหารมากเกินไป จนร่างกายใช้พลังงานไม่หมด ร่างกายจะเปลี่ยน "พลังงานที่เหลือใช้" เป็น "พลังงานสะสม" ในรูปของไขมัน เก็บไว้ในเซลล์ไขมัน ตามที่ต่างๆ ดังนั้นเมื่อกินอาหารมากๆ แม้จะไม่กินไขมัน เราจึงมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีไขมันเก็บสะสมในผิวหนังและในร่างกายมากขึ้น ทำให้รูปร่างขยายออกตามแนวนอนกลายเป็นคนอ้วน หรือเรียกว่ามี "โรคอ้วน"


"โรคอ้วน" นอกจากทำให้เกิดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติแล้ว ยังมีผลร้ายอื่นๆ ต่อสุขภาพด้วย เช่นปวดหลัง ข้อเสื่อม บางคนเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากมีกรดยูริคสูง คือคนมีนิ่วในถุงน้ำดี คนที่อ้วนมากๆ จะมีปัญหาการหายใจ นอกจากนี้ยังบั่นทอนสุขภาพจิต หรือทำให้เกิดปมด้อย


ดังกล่าวข้างต้น โรคอ้วนเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติ มีสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดคือ "ภาวะดื้ออินสุลิน" คนอ้วนมีภาวะดื้ออินสุลินเกิดขึ้นเนื่องจากตันรับอินสุลินบนไขมันมีจำนวนน้อยลง หรือการทำงานของอินสุลินด้อยประสิทธิภาพ สำหรับคนอ้วนที่มีภาวะดื้ออินสุลินจะเป็นอ้วนแบบลงพุง คือมีไขมันสะสมมากภายในช่องท้องและหน้าท้อง โดยสามารถใช้อัตราส่วนของรอบเอวและรอบสะโพก เป็นดัชนีบ่งชี้อ้วนแบบลงพุง โดยในผู้ชายอัตราส่วนของรอบเอวและรอบสะโพกมากกว่า 1.0 และในผุ้หญิงอัตราส่วนของรอบเอวและสะโพกมากกว่า 0.8 บ่งชี้ว่าอ้วนแบบลงพุง ซึ่งคนอ้วนแบบลงพุงจะพบสัมพันธ์กับการมีสหายร่วมก๊วน คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติได้บ่อย คนอ้วนที่มีไขมันมากที่ตะโพกและต้นขา (Gynoid Type of Obesity) จะไม่ค่อยพบความผิดปกติทั้งสามร่วมด้วย


"อินสุลิน" เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นโดยเบต้าเซลล์ของตับอ่อน นอกจากมีหน้าที่นำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานแล้ว ยังช่วยในขบวนการควบคุมและเผาผลาญไขมัน รวมทั้งควบคุมการสลายตัวของโปรตีนในร่างกายด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ "การดื้ออินสุลิน" ในคนอ้วนทำให้เกิดสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ


การเกิดโรคเบาหวานภาวะดื้ออินสุลิน
การเกิดโรคเบาหวานในคนอ้วนมักเกิดขึ้นช้าๆ ในระยะต้น เมื่อเกิดภาวะดื้ออินสุลิน ตับอ่อนจะสังเคราะห์และหลั่งอินสุลินมากขึ้น ถ้าปริมาณอินสุลินที่สูงขึ้นสามารถทำให้การออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อ ที่เซลล์ไขมัน และที่ตับเป้นปกติได้ บุคคลนั้นก็จะมีการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และการครองธาตุอื่นๆ เป็นปกติ ไม่เกิดโรค คือเป็นคนอ้วนที่มีระดับอินสุลินในเลือดสูงเท่านั้น ถ้าปริมาณอินสุลินที่หลั่งมากขึ้น สามารถทำให้การออกฤทธิ์ดีขึ้นเพียงบางส่วน บุคคลนั้นก็จะเป็นคนที่มีการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลน้อยลง 
เริ่มมีภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติเล็กน้อย แต่ถ้าอินสุลินที่หลั่งมากขึ้นไม่เพียงพอที่จะออกฤทธิ์ควบคุมระดับน้ำตาลได้ จะเกิดโรคเบาหวาน เมื่อมีการดื้ออินสุลินอยู่นานเข้า ตับอ่อนจะเสื่อมสมรรถภาพไม่สามารถหลั่งอินสุลินชดเชยได้ จึงเกิดโรคเบาหวานที่รุนแรง


การเกิดโรคความดันโลหิตสูงในภาวะดื้ออินสุลิน
ระดับอินสุลินที่สูงกระตุ้นให้มีการดูดกลับของโซเดียมโดยไตมากขึ้น นอกจากนี้ภาวะดื้ออินสุลินยังทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติไวต่อการกระตุ้น และทำให้การหมุนเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงฝอยที่กล้ามเนื้อลดลง 
ทำให้มีความต้านทานปลายทางเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์คือความดันโลหิตสูง


การเกิดไขมันในเลือดผิดปกติในภาวะดื้ออินสุลิน
ความผิดปกติของไขมันที่พบบ่อยในคนอ้วน คือ ระดับไตรกรีเซอไรด์ และ/หรือ 
ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น แต่ระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL-C) ต่ำลง เนื่องจากตับนำกรดไขมันเพิ่มขึ้น และปล่อยเข้ากระแสเลือด นอกจากนี้พบว่า
ในภาวะดื้ออินสุลินทำให้เอ็นซายม์ ซึ่งย่อยสลายไขมันทำงานลดลงด้วย 
ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดที่สูง และ/หรือ ระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL-C) ต่ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงอุดตัน


การป้องกันโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติ
เป็นที่น่ายินดีว่าเราสามารถป้องกัน "สี่สหาย" ก๊วนนี้ได้โดยการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและปริมาณพอเหมาะกับร่างกาย
ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติขั้นแรก หรือ ขั้นพื้นฐานของการป้องกัน การศึกษาในคนแถบตะวันตกและประเทศจีน ยืนยันว่า การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันโรคเบาหวานได้จริง


เนื่องจากมีพันธุกรรมเป็นปัจจัยพื้นฐานในผู้ป่วยบางราย การป้องกันไม่ให้อ้วนหรือการรักษาโรคอ้วน และการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสุง และไขมันในเลือดผิดปกติ จึงทำได้ยากและไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี หากเกิดโรคแล้ว การรักษาต้องอาศัยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายเป็นหลักเช่นกัน เมื่อไม่สามารถควบคุมได้ดีจึงจำเป็นต้องใช้ยา


Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 24 พฤษภาคม 2554
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 10:46:49 น.
Counter : 1066 Pageviews.

0 comment
ยาลดไขมันในเลือด


Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ

การควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นนสิ่งสำคัญ ในการลดระดับโคเลสเตอรอล


ทำไมต้องรับประทานยาลดไขมันในเลือด
ไขมันโคเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด การศึกษาก่อนปี ค.ศ. 1994 พบว่าการลดไขมันโคเลสเตอรอล ไม่ได้ประโยชน์มากนัก เนื่องจากยาที่ใช้ในการศึกษาสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลได้น้อย แต่หลังจากการศึกษา ชื่อย่อว่า 4 S Study รายงานการใช้ยาลดไขมันกลุ่มใหม่ เรียกว่ากลุ่ม Statins ในผุ้ป่วยไขมันโคเลสเตอรอลสูงที่เป้นโรคหัวใจ พบว่าสามารถลดอัตราตายโดยรวม อัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้มาก การศึกษาต่อมาในผู้ที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง แต่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ พบว่ายากลุ่ม Statins นี้สามารถช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดลงได้เช่นกัน สำหรับไขมันไตรกลีเซอไรด์นั้น ปัจจุบันมีข้อมูลสนับสนุนว่า เป็นปัจจัยเสี่ยงตัวหนึ่ง สำหรับโรคหัวใจขาดเลือด แต่ข้อมูลเรื่องการลดไขมันนี้ ในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจยังมีไม่มากนัก ประโยชน์จากการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ เห็นได้ชัดในผู้ป่วยเบาหวาน และมีไขมัน เอช-ดี-แอล ต่ำ นอกจากนั้นแล้วหากไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงเกิน 500 มก.ต่อดล. ก็จำเป็นต้องรักษา เนื่องจากอาจเกิดตับอ่อนอักเสบ


เมื่อไรต้องรับประทานยาลดไขมันโคเลสเตอรอล
การควบคุมอาหารเต็มที่ จะลดระดับโคเลสเตอรอลได้ประมาณร้อยละ 10-15 ซึ่งอาจเพียงพอในผู้ที่มีไขมันสูงบางราย ในขณะที่อาจไม่เพียงพอในผุ้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยโรคหัวใจที่ควรให้ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลต่ำหว่า 100 มก./ดล. ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาจึงขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของผู้ป่วย ระดับไขมันโคเลสเตอรอล และดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาเป็นเพียงการลดโอกาสเกิดโรค หรือผลแทรกซ้อนทางเลือดเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันการเกิดโรค การรับประทานยา ต้องควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ และอยู่ในความดูแลของแพทย์เสมอ


รับประทานยาไปนานเท่าไร
จุดมุ่งหมายในการลดไขมันในเลือด ไม่ใช่เพียงการลดระดับไขมันในเลือดเท่านั้น แต่ควรหวังผลในการลดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดแดง หรือหลอดเลือดหัวใจนี้ เริ่มตั้งแต่วัยรุ่น และใช้เวลาสะสมนานหลายปีกว่าจะทำให้เกิดอาการ ดังนั้น หากต้องการให้ไขมันในผนังหลอดเลือดที่สะสมอยู่ลดลง ก็ต้องใช้เวลานานหลายๆ ปีเช่นกัน ประโยชน์จากการลดไขมันโคเลสเตอรอล จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อลดระดับไขมัน แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลลงต่ำ เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง เช่น อย่างน้อย 5 ปี (หรือตลอดไป) การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ระดับไขมันไม่ได้ต่ำตลอด อาจไม่ได้ประโยชน์จากยา


ยาลดไขมันในเลือดมีอะไรบ้าง

Bile Acid Sequestrants
ชื่อสามัญ Cholestyramine, Colessevelam (ยังไม่มีในประเทศไทย) ลดระดับโคเลสเตอรอลลง 7-25% แอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอลลง 11-36% มีผลต่อ เอช-ดี-แอล และไตรกลีเซอไรด์น้อย รับประทานวันละ 12 กรัม เนื่องจากยานี้ไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย จึงไม่มีผลต่อตับ แต่รสชาติไม่อร่อย รับประทานลำบาก ยาเป็นผลต้องผสมน้ำ มีผลแทรกซ้อนทางลำไส้บ่อย เช่น ท้องอืด ลมในท้องมาก ท้องผูก เป็นต้น ยังอาจขัดขวางการดูดซึมของยาบางชนิดด้วย


Statins
ยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเด่นมากในการลดไขมันโคเลสเตอรอล นอกจากลดไขมันโคเลสเตอรอลได้ดีแล้ว ยังเชื่อว่ามีผลดีต่อหลอดเลือดแดง โดยกลไกไม่เกี่ยวข้องกับการลดไขมันด้วย ยากลุ่มนี้มีด้วยกันหลายชนิด เช่น Fluvastatin Atorvastatin Pravastatin Simvastatin Cerivastatin (ปัจจุบันไม่มี Cerivastatin จำหน่ายแล้ว) และ Rosuvastatin (ยังไม่มีจำหน่าย) สามารถลดระดับโคเลสเตอรอล และ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ได้ดีมาก คือ 25-40% (ขึ้นกับชนิด และขนาดยา) เพิ่มเอช-ดี-แอล 6-10% ลด ไตรกลีเซอไรด์ได้ 10-20% ยานี้จึงควรใช้เป้นกลุ่มแรก สำหรับผู้ที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง สำหรับผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ตับอักเสบ (ค่า SGOT/SGPT ขึ้นสูงเล็กน้อย) พบได้น้อยประมาณ 1 ใน 15,000 ราย และกล้ามเนื้ออักเสบรุนแรง (Phabdomyolysis) 1 ใน 30,000 ราย ซึ่งนับว่าต่ำมาก แต่ก็ต้องระวัง โดยเฉพาะการใช้ยานี้ร่วมกับยากลุ่ม Fibrates และไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยโรคตับ


Fibrates
ชื่อสามัญ เช่น Gemfibrozil Bezafibrate Fenofibrate ได้ผลดีในการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ ลดลงได้ 20-40% ขึ้นกับขนาดยาลดโคเลสเตอรอลได้น้อยมาก (8-10%) จนไม่ควรใช้เป็นตัวยาแรกในโคเลสเตอรอล เพิ่ม เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล 10-15% จึงเหมาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มักจะมีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง และ เอช-ดี-แอล ต่ำ ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีเพิ่มขึ้นได้ (แต่พิสูจน์ยังไม่ได้ชัดเจน) ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ


Niacin
ทราบกันมานานแล้วว่า Nicotinic Acid หรือ Niacin สามารถลดไขมันในเลือดได้ทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไลด์ สามารถเพิ่มไขมัน เอช-ดี-แอล ได้มากที่สุดในบรรดายาที่มีอยู่ แต่ไม่เป้นที่นิยมใช้ เนื่องจากผลแทรกซ้อนจากยามีมาก ปัจจุบันมีการพัมนารูปแบบของยาเป้นชนิดออกฤทธิ์นาน ทำให้ผลแทรกซ้อนลดลง Niacin ลด แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ได้ 20-30% ลดไตรกลีเซอไรด์ 20-50% เพิ่มเอช-ดี-แอล ได้มากถึง 15-35% ผลแทรกซ้อนที่พบคือ อาการร้อนวูบวาบเนื่องจากการขยายหลอดเลือดแดง ความดันโลหิตต่ำ น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือควบคุมได้มากขึ้น กรดยูริคสูงขึ้น แต่ที่น่ากลัว คือ ตับอักเสบรุนแรง ปัจจุบันยานี้ในรูปแบบออกฤทธิ์นาน ยังไม่มีจำน่ายในประเทศไทย


กลุ่มอื่นๆ 
Orilstat เป็นยาที่ใช้ลดน้ำหนัก ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการดูดซึมของไขมันที่รับประทานเข้าไปในลำไส้ โดยลดการดูดซึมของไขมันเข้าร่างกายได้ประมาณ 30% เมื่อไขมันจากอาหารเข้าร่างกายลดลงผลพลอยได้ประการหนึ่ง คือไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงด้วยประมาณ 8-10% ยานี้มีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ไม่เป็นอันตราย แต่รำคาญ เช่น ท้องอืด ลมมาก ผายลมบ่อย อุจจาระเป็นน้ำมัน เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ในบางรายจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อลดไขมันในเลือด เพื่อหวังผลในการลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง และลดปัญหาการแทรกซ้อนทางหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้น


Fish Oils (Omega-3-Polyunsaturates) น้ำมันปลา ที่มีส่วนผสมของ EPA และ DHA ในขนาดสูง สามารถลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้พอสมควร แต่ไม่มีผลลดไขมันโคเลสเตอรอล ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ เกิดเลือดออกง่ายขึ้น จึงไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin, Orfarin) และควร ระวังการใช้น้ำมันปลาร่วมกับแอสไพริน ผลแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เรอเป็นกลิ่นปลา ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน แต่พบไม่บ่อยนัก


Ezetimibe เป็นยาที่อยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย ยานี้น่าสนใจเพราะยับยั้งการดูดซึมของไขมันโคเลสเตอรอลในลำไส้ โดยที่ยาไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย พบว่าสามารถลด แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ได้ประมาณ 18-20% หากให้ร่วมกับยากลุ่ม Statins จะลด แอล-ดี-แอล ได้มากขึ้นเป็น 50%
อาหารที่มีกาก หรือ เส้นใยอาหารมาก จะช่วยในการดูดซับ ไขมันจากอาหาร ลดการดูดซึมไขมันเช่นกัน เช่น ข้าวกล้อง เป็นต้น
กระเทียม สามารถลดโคเลสเตอรอลได้บ้าง แต่น้อยมาก อีกทั้งคุณสมบัติไม่แน่นอน ขึ้นกับหลายปัจจัย ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับในการแนะนำให้ใช้ยา


บทสรุป
การควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด และ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในการลดระดับโคเลสเตอรอลอย่างไรก็ตาม ในบางรายจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อลดไขมันในเลือด เพื่อหวังผลในการลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง และลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงอื่นๆ (เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดในช่องท้อง) หรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ เป็นต้น แม้ว่าไม่มียาตัวใดที่ปลอดภัย 100% แต่ยาในปัจจุบันก็มีผลแทรกซ้อนต่ำมาก อย่าลืมว่าการปล่อยให้ไขมัน แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลในเลือดสูงมาก เป็นระยะเวลานานๆ ก็เป็นความเสี่ยงเช่นกัน


Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 23 พฤษภาคม 2554
Last Update : 23 พฤษภาคม 2554 22:39:52 น.
Counter : 1563 Pageviews.

0 comment
ลดระดับโคเลสตอรอล..ด้วยอาหาร

Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ
การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นรากฐานสำคัญของการป้องกันและ รักษาภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ดังนั้นทุกท่านควรเข้าใจถึงแนวทางในการบริโภคอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและ ต้องมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงโรคร้ายต่างๆ ซึ่งมีภาวะโคเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด

หลักการบริโภคอาหารที่สำคัญเพื่อป้องกันและลดระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด

1. รับประทานโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม

โคเลสเตอรอลมีเฉพาะในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น มีมากในอาหารบางชนิด เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มันสัตว์ สัตว์น้ำบางชนิด (ดูรายละเอียดในตาราง) จึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณมาก

2. รับประทานอาหารในแต่ละวันซึ่งให้พลังงานรวมแล้วเพียงพอ
ต่อการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

โดยผู้ใหญ่ควรมีดัชนีความหนาของร่างกายประมาณ 20.0-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคำนวณจาก น้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง หน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง เช่น ถ้าใครมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 1.5 เมตร จะได้ดัชนีความหนาของร่างกาย = 50/(1.5)2 = 22.2 กก./ตารางเมตร แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ

3. หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง

เช่น กะทิ ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีมันติดมากๆ เช่น หมูสามชั้น เพราะกรดไขมันอิ่มตัว ส่วนใหญ่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น (ดูรายละเอียดในแผ่นพับ “ไขมันอิ่มตัวกับภาวะโคเลสเตอรอลสูง ในเลือด” : รศ.ดร. ปรียา ลีฬหกุล )

4. รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิก (linoleic acid) โดยสม่ำเสมอ

ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกประมาณร้อยละ 7-10 ของพลังงานที่ได้รับ (เช่น วันหนึ่งต้องการพลังงาน 2000 กิโลแคลอรี่ ควรได้กรดไลโนเลอิกประมาณ 16-22 กรัม ซึ่งได้จากน้ำมันถั่วเหลืองประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ) จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ เพราะมีการเปลี่ยนโคเลสเตอรอลอิสระเป็นโคเลสเตอรอลไลโนเลเอทเพิ่มขึ้น ทำให้มีการเผาผลาญโคเลสเตอรอลที่ตับเพิ่มขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามถ้าท่านมีโคเลสเตอรอลสูงในเลือดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น กรรมพันธุ์ โรคบางชนิด ท่านต้องรับประทานยาลดโคเลสเตอรอลและ รักษาโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุให้มีโคเลสเตอรอลสูงในเลือดควบคู่ไปกับ
การรับประทานอาหารให้ถูกต้อง โภชนบำบัดจะช่วยเสริมผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นและ ลดปริมาณการรับประทานยาลงได้

Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 23 พฤษภาคม 2554
Last Update : 23 พฤษภาคม 2554 14:05:48 น.
Counter : 741 Pageviews.

0 comment
ความอ้วนกับโรคหัวใจ

Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ
ความอ้วนคืออะไร
ความอ้วนไม่ใช่เพียงแต่การมีน้ำหนักเกินปกติเท่านั้น ยังแสดงถึงการที่มีการสะสมไขมันที่มากเกินความต้องการของร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบกับมวลกล้ามเนื้อ กระดูก และของเหลวในร่างกาย ความอ้วนก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ ซึ่งมักเกิดจากการขาดการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารมากเกินไป

ความอ้วนกับโรคหัวใจ
ความอ้วนแสดงถึงภาวะสุขภาพที่ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ น้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเพิ่มภาระให้กับหัวใจ และอาจนำไปสู่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง

การลดน้ำหนัก
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเริ่มทำการลดน้ำหนัก คือ สิ่งที่คุณเปลี่ยนเพื่อลดน้ำหนักต้องเป็นสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคุณ อาหารลดน้ำหนักที่โฆษณายาลดน้ำหนัก ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ล้วนแล้วแต่ให้ผลชั่วคราวระยะสั้น และก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพคุณ และเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะไม่เกิดผลในการลดความอ้วน ควรเปลี่ยนมาใช้วิธีเลือกอาหารที่มีคุณค่าและออกกำลังกาย จะช่วยลดน้ำหนักได้ผลดีกว่า

คุณต้องใช้พลังงาน 3,500 แคลอรี่ ในการลดน้ำหนักตัวลง 1 ปอน์ด ควรใช้วิธีออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการลดปริมาณแคลอรี่ โดยการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ใน 1 สัปดาห์ ควรลดน้ำหนักลงประมาณ 1-2 ปอน์ด ผู้หญิงส่วนใหญ่สามารถลดน้ำหนักได้ตามนี้ โดยการรับประทานอาหารวันละ 1,200 – 1,500 แคลอรี่ และ 1,500 – 1,800 แคลอรี่ในผู้ชาย

ควรเลือกรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (60-70% ของแคลอรี่ทั้งหมด) รับประทานอาหารประเภทโปรตีนพอประมาณ (10-15% ของแคลอรี่ทั้งหมด และรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย (น้อยกว่า 30% ของแคลอรี่ทั้งหมด) ร่วมกับการรับประทานอาหารในลักษณะดังต่อไปนี้

- รับประทานปริมาณน้อยลงและไม่เพิ่ม
- รับประทานช้า ๆ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เลือกรับประทานผลไม้ ผัก ปลา เนื้อเป็ด ไก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน
- หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด
- ลดอาหารประเภททอด ควรใช้วิธีอื่นในการประกอบอาหารแทนการทอด เช่น อบ ปิ้ง ย่าง หรือต้ม เป็นต้น
- รับประทานอาหารทีมีประโยชน์และเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
- อ่านฉลากส่วนประกอบของอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง
- ไม่ควรงดอาหารบางมื้อ
- หากลดน้ำหนักด้วยตนเองไม่สำเร็จ ควรปรึกษาโภชนากรหรือแพทย์ เพื่อช่วยวางแผนลดน้ำหนักที่เหมาะสมกับคุณ

การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยเผาผลาญแคลอรี่และกำจัดน้ำหนักส่วนเกินออกไป

ออกกำลังกายแบบแอโรบิค (เช่น การ jogging เดินเร็วหรือขี่จักรยาน) เป็นเวลา 30 นาที อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ จะช่วยให้คุณลดน้ำหนักลงได้ ควรหากิจกรรมที่คุณชอบและจัดตารางได้อย่างเหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มเลือกวิธีการออกกำลังกาย
Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 22 พฤษภาคม 2554
Last Update : 22 พฤษภาคม 2554 23:53:44 น.
Counter : 867 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  

ChaiKU
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



รับสมัครผู้สนใจหารายได้ทาง Internet
และให้คำปรึกษาผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก