All Blog
ยาลดไขมันในเลือด


Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ

การควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นนสิ่งสำคัญ ในการลดระดับโคเลสเตอรอล


ทำไมต้องรับประทานยาลดไขมันในเลือด
ไขมันโคเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด การศึกษาก่อนปี ค.ศ. 1994 พบว่าการลดไขมันโคเลสเตอรอล ไม่ได้ประโยชน์มากนัก เนื่องจากยาที่ใช้ในการศึกษาสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลได้น้อย แต่หลังจากการศึกษา ชื่อย่อว่า 4 S Study รายงานการใช้ยาลดไขมันกลุ่มใหม่ เรียกว่ากลุ่ม Statins ในผุ้ป่วยไขมันโคเลสเตอรอลสูงที่เป้นโรคหัวใจ พบว่าสามารถลดอัตราตายโดยรวม อัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้มาก การศึกษาต่อมาในผู้ที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง แต่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ พบว่ายากลุ่ม Statins นี้สามารถช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดลงได้เช่นกัน สำหรับไขมันไตรกลีเซอไรด์นั้น ปัจจุบันมีข้อมูลสนับสนุนว่า เป็นปัจจัยเสี่ยงตัวหนึ่ง สำหรับโรคหัวใจขาดเลือด แต่ข้อมูลเรื่องการลดไขมันนี้ ในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจยังมีไม่มากนัก ประโยชน์จากการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ เห็นได้ชัดในผู้ป่วยเบาหวาน และมีไขมัน เอช-ดี-แอล ต่ำ นอกจากนั้นแล้วหากไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงเกิน 500 มก.ต่อดล. ก็จำเป็นต้องรักษา เนื่องจากอาจเกิดตับอ่อนอักเสบ


เมื่อไรต้องรับประทานยาลดไขมันโคเลสเตอรอล
การควบคุมอาหารเต็มที่ จะลดระดับโคเลสเตอรอลได้ประมาณร้อยละ 10-15 ซึ่งอาจเพียงพอในผู้ที่มีไขมันสูงบางราย ในขณะที่อาจไม่เพียงพอในผุ้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยโรคหัวใจที่ควรให้ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลต่ำหว่า 100 มก./ดล. ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาจึงขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของผู้ป่วย ระดับไขมันโคเลสเตอรอล และดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาเป็นเพียงการลดโอกาสเกิดโรค หรือผลแทรกซ้อนทางเลือดเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันการเกิดโรค การรับประทานยา ต้องควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ และอยู่ในความดูแลของแพทย์เสมอ


รับประทานยาไปนานเท่าไร
จุดมุ่งหมายในการลดไขมันในเลือด ไม่ใช่เพียงการลดระดับไขมันในเลือดเท่านั้น แต่ควรหวังผลในการลดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดแดง หรือหลอดเลือดหัวใจนี้ เริ่มตั้งแต่วัยรุ่น และใช้เวลาสะสมนานหลายปีกว่าจะทำให้เกิดอาการ ดังนั้น หากต้องการให้ไขมันในผนังหลอดเลือดที่สะสมอยู่ลดลง ก็ต้องใช้เวลานานหลายๆ ปีเช่นกัน ประโยชน์จากการลดไขมันโคเลสเตอรอล จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อลดระดับไขมัน แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลลงต่ำ เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง เช่น อย่างน้อย 5 ปี (หรือตลอดไป) การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ระดับไขมันไม่ได้ต่ำตลอด อาจไม่ได้ประโยชน์จากยา


ยาลดไขมันในเลือดมีอะไรบ้าง

Bile Acid Sequestrants
ชื่อสามัญ Cholestyramine, Colessevelam (ยังไม่มีในประเทศไทย) ลดระดับโคเลสเตอรอลลง 7-25% แอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอลลง 11-36% มีผลต่อ เอช-ดี-แอล และไตรกลีเซอไรด์น้อย รับประทานวันละ 12 กรัม เนื่องจากยานี้ไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย จึงไม่มีผลต่อตับ แต่รสชาติไม่อร่อย รับประทานลำบาก ยาเป็นผลต้องผสมน้ำ มีผลแทรกซ้อนทางลำไส้บ่อย เช่น ท้องอืด ลมในท้องมาก ท้องผูก เป็นต้น ยังอาจขัดขวางการดูดซึมของยาบางชนิดด้วย


Statins
ยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเด่นมากในการลดไขมันโคเลสเตอรอล นอกจากลดไขมันโคเลสเตอรอลได้ดีแล้ว ยังเชื่อว่ามีผลดีต่อหลอดเลือดแดง โดยกลไกไม่เกี่ยวข้องกับการลดไขมันด้วย ยากลุ่มนี้มีด้วยกันหลายชนิด เช่น Fluvastatin Atorvastatin Pravastatin Simvastatin Cerivastatin (ปัจจุบันไม่มี Cerivastatin จำหน่ายแล้ว) และ Rosuvastatin (ยังไม่มีจำหน่าย) สามารถลดระดับโคเลสเตอรอล และ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ได้ดีมาก คือ 25-40% (ขึ้นกับชนิด และขนาดยา) เพิ่มเอช-ดี-แอล 6-10% ลด ไตรกลีเซอไรด์ได้ 10-20% ยานี้จึงควรใช้เป้นกลุ่มแรก สำหรับผู้ที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง สำหรับผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ตับอักเสบ (ค่า SGOT/SGPT ขึ้นสูงเล็กน้อย) พบได้น้อยประมาณ 1 ใน 15,000 ราย และกล้ามเนื้ออักเสบรุนแรง (Phabdomyolysis) 1 ใน 30,000 ราย ซึ่งนับว่าต่ำมาก แต่ก็ต้องระวัง โดยเฉพาะการใช้ยานี้ร่วมกับยากลุ่ม Fibrates และไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยโรคตับ


Fibrates
ชื่อสามัญ เช่น Gemfibrozil Bezafibrate Fenofibrate ได้ผลดีในการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ ลดลงได้ 20-40% ขึ้นกับขนาดยาลดโคเลสเตอรอลได้น้อยมาก (8-10%) จนไม่ควรใช้เป็นตัวยาแรกในโคเลสเตอรอล เพิ่ม เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล 10-15% จึงเหมาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มักจะมีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง และ เอช-ดี-แอล ต่ำ ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีเพิ่มขึ้นได้ (แต่พิสูจน์ยังไม่ได้ชัดเจน) ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ


Niacin
ทราบกันมานานแล้วว่า Nicotinic Acid หรือ Niacin สามารถลดไขมันในเลือดได้ทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไลด์ สามารถเพิ่มไขมัน เอช-ดี-แอล ได้มากที่สุดในบรรดายาที่มีอยู่ แต่ไม่เป้นที่นิยมใช้ เนื่องจากผลแทรกซ้อนจากยามีมาก ปัจจุบันมีการพัมนารูปแบบของยาเป้นชนิดออกฤทธิ์นาน ทำให้ผลแทรกซ้อนลดลง Niacin ลด แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ได้ 20-30% ลดไตรกลีเซอไรด์ 20-50% เพิ่มเอช-ดี-แอล ได้มากถึง 15-35% ผลแทรกซ้อนที่พบคือ อาการร้อนวูบวาบเนื่องจากการขยายหลอดเลือดแดง ความดันโลหิตต่ำ น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือควบคุมได้มากขึ้น กรดยูริคสูงขึ้น แต่ที่น่ากลัว คือ ตับอักเสบรุนแรง ปัจจุบันยานี้ในรูปแบบออกฤทธิ์นาน ยังไม่มีจำน่ายในประเทศไทย


กลุ่มอื่นๆ 
Orilstat เป็นยาที่ใช้ลดน้ำหนัก ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการดูดซึมของไขมันที่รับประทานเข้าไปในลำไส้ โดยลดการดูดซึมของไขมันเข้าร่างกายได้ประมาณ 30% เมื่อไขมันจากอาหารเข้าร่างกายลดลงผลพลอยได้ประการหนึ่ง คือไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงด้วยประมาณ 8-10% ยานี้มีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ไม่เป็นอันตราย แต่รำคาญ เช่น ท้องอืด ลมมาก ผายลมบ่อย อุจจาระเป็นน้ำมัน เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ในบางรายจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อลดไขมันในเลือด เพื่อหวังผลในการลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง และลดปัญหาการแทรกซ้อนทางหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้น


Fish Oils (Omega-3-Polyunsaturates) น้ำมันปลา ที่มีส่วนผสมของ EPA และ DHA ในขนาดสูง สามารถลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้พอสมควร แต่ไม่มีผลลดไขมันโคเลสเตอรอล ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ เกิดเลือดออกง่ายขึ้น จึงไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin, Orfarin) และควร ระวังการใช้น้ำมันปลาร่วมกับแอสไพริน ผลแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เรอเป็นกลิ่นปลา ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน แต่พบไม่บ่อยนัก


Ezetimibe เป็นยาที่อยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย ยานี้น่าสนใจเพราะยับยั้งการดูดซึมของไขมันโคเลสเตอรอลในลำไส้ โดยที่ยาไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย พบว่าสามารถลด แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ได้ประมาณ 18-20% หากให้ร่วมกับยากลุ่ม Statins จะลด แอล-ดี-แอล ได้มากขึ้นเป็น 50%
อาหารที่มีกาก หรือ เส้นใยอาหารมาก จะช่วยในการดูดซับ ไขมันจากอาหาร ลดการดูดซึมไขมันเช่นกัน เช่น ข้าวกล้อง เป็นต้น
กระเทียม สามารถลดโคเลสเตอรอลได้บ้าง แต่น้อยมาก อีกทั้งคุณสมบัติไม่แน่นอน ขึ้นกับหลายปัจจัย ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับในการแนะนำให้ใช้ยา


บทสรุป
การควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด และ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในการลดระดับโคเลสเตอรอลอย่างไรก็ตาม ในบางรายจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อลดไขมันในเลือด เพื่อหวังผลในการลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง และลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงอื่นๆ (เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดในช่องท้อง) หรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ เป็นต้น แม้ว่าไม่มียาตัวใดที่ปลอดภัย 100% แต่ยาในปัจจุบันก็มีผลแทรกซ้อนต่ำมาก อย่าลืมว่าการปล่อยให้ไขมัน แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลในเลือดสูงมาก เป็นระยะเวลานานๆ ก็เป็นความเสี่ยงเช่นกัน


Other Link
ลดน้ำหนักกับ Longderse ปรึกษาฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 23 พฤษภาคม 2554
Last Update : 23 พฤษภาคม 2554 22:39:52 น.
Counter : 1564 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ChaiKU
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



รับสมัครผู้สนใจหารายได้ทาง Internet
และให้คำปรึกษาผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก