ทำ E-Book โอกาสหรือกับดัก
– ทำ E-Book โอกาสหรือกับดัก –

E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบของหนังสือที่เสามารถอ่านในอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต หรืออะไรอย่างอื่นที่เปิดอ่านไฟล์ในรูปแบบดิจิตอลได้

ด้วยที่มีความสะดวกและสามารถพกพาหนังสือในรูปแบบนี้ได้มากและง่ายดายกว่าเพียงมีอุปกรณ์ที่สนับสนุน จึงให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้อนาคตข้างหน้ามีโอกาสสูงที่จะเข้าแทนที่หนังสือที่เป็นรูปเล่มทั่วไป ดังนั้นจึงมีหลายคนที่เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจในสายนี้ ไม่ว่าสนพ.ที่มีอยู่เดิม นักธุรกิจหน้าใหม่ รวมถึงเหล่านักเขียนทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ E-Book ยังเป็นธุรกิจใหม่ จึงทำให้ยังไม่ถูกพบเจอปัญหาอย่างแน่ชัด โดยที่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นของตนเอง ทำให้ผู้ที่ก้าวมาทำธุรกิจนี้มักจะยึดรูปแบบเดิมของธุรกิจที่เคยใช้อยู่กับธุรกิจ E-Book นี้ ซึ่งจะเห็นได้ชัดกับผู้ก้าวทำทำธุรกิจนี้จากที่เคยทำสนพ.มาก่อน ที่มักจะใช้รูปแบบของธุรกิจ E-Book ที่อ้างอิงมาจากธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตนเองเคยทำมากันแทบทั้งสิ้น

ทว่าบริบทของ E-Book ถือว่าแตกต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์อยู่มาก โดยสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

Product - ตัวสินค้าเป็นรูปแบบไฟล์ดิจิตอลที่อาจนับได้ว่าไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง จึงทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถคัดลอกไปสู่บุคคลอื่นโดยไม่ต้องผ่านการซื้อขายผ่านต้นสังกัดได้โดยง่าย อีกทั้งเพราะไม่มีรูปเล่มเหมือนหนังสือจริง ทำให้มีคุณค่าทางจิตใจที่น้อย ทั้งในปัจจุบันทางผู้บริโภคเองยังไม่มีการยึดมั่นในตัวแบรนด์ของ E-Book เหมือนที่เคยมีกับธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์อื่น

Place - E-Book ไม่จำเป็นต้องพึ่งสายส่ง หรือวางขายตามร้านหนังสืออีกต่อไป ขอเพียงมีโซเชียลเน็ตเวิร์คก็สามารถทำการซื้อขายได้ทุกที่บนโลกนี้ ทำให้ถือได้ว่ามีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ที่ต่ำ ซ้ำยังสามารถเผยแพร่ได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางมากกว่า

Price - ด้วยที่ Produce ไม่มีอยู่จริง สามารถคัดลอกสร้างใหม่ได้อยู่เสมอ ไม่มีคุณค่าทางจิตใจ และมีต้นทุนที่ต่ำ จึงทำให้ต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าหนังสือที่เป็นรูปเล่มจริง

Promotion - เทคนิคการตลาดที่ช่วยสนับสนุนการขายของสินค้าใช้กับ E-Book ได้ยาก ด้วยที่มันซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดข้อจำกัดในหลายด้าน

ด้วยเหตุนี้ทำให้เห็นได้ว่า บริบทของ E-Book มีความแตกต่างกับสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทำเป็นรูปเล่มจริงค่อนข้างมาก ดังนั้นหากใช้รูปแบบที่เคยทำมาในธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไปจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้เข้ามาทำธุรกิจนี้ จะต้องพัฒนาและดัดแปลงรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับบริบทที่แตกต่างของ E-Book เพื่อให้สามารถดำเนินอยู่ในธุรกิจนี้ได้อย่างลุล่วง

สรุป: แม้จะเป็นโอกาส แต่ E-Book ก็มีบริบทที่แตกต่างจากการทำสื่อสิ่งพิมพ์ปรกติอยู่มาก ดังนั้นหากไม่ทำการปรับปรุงรูปแบบของธุรกิจให้รองรับกับ E-Book ได้จริง แต่ยังคงยึดติดกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่น อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้

ไม่เพียงแต่ผู้ที่เข้าทำธุรกิจนี้โดยตรง หากด้วยการที่มีหลายสนพ.เริ่มก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจนี้ จึงทำให้นักเขียนหน้าใหม่มักถูกยื่นข้อเสนอให้ตีพิมพ์เป็น E-Book แทนที่จะเป็นการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มตามปรกติ
ซึ่งจุดนี้ให้เราถามตัวเองก่อน ว่าการที่เราเสนอต้นฉบับกับสนพ.เพื่ออะไร ?
โดยเรื่องนี้ขอสรุปให้ดังต่อไปนี้

1.    ให้ทางสนพ.ช่วยจัดรูปเล่ม และหาคนวาดปกที่เหมาะสมให้
2.    ให้ทางสนพ.จัดการขอเลข ISBN เพื่อขึ้นทะเบียนหนังสือของเรากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.    ให้ทางสนพ.ใช้แบรนด์ที่มีชื่อของตนเองในการช่วยเผยแพร่และโฆษณางานเขียนของเรา
4.    ให้ทางสนพ.ทำการใช้ทุนของตนเองเพื่อตีพิมพ์หนังสือให้กับเรา
5.    ให้ทางสนพ.ทำการติดต่อหาช่องทางวางจำหน่ายหนังสือให้กับเรา
6.    คุณค่าทางจิตใจ เพราะการที่ได้ผ่านการพิจารณาจนได้ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง

โดยข้อ 1 กับ 2 คนทั่วไปไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญสักเท่าไหร่ เพราะสามารถทำเองได้เสมอ สำหรับข้อ 3 หลายคนอาจจะถือว่าสำคัญ ทั้งอาจมีโอกาสเป็นไปได้บ้างสำหรับ E-Book แต่น่าจะยังไม่ใช่อนาคตอันใกล้นี้ ทว่าข้อ 4 และ 5 เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนักเขียนที่เสนอกับสนพ.ต่างไม่มีความสามารถในด้านนี้ที่มากพอจึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสนพ.ในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับข้อ 6 เป็นสิ่งที่ถือได้ว่าสำคัญยิ่ง เพราะในจุดนี้แม้จะทำได้ทั้งข้อ 1 – 6 ได้ด้วยตนเองทั้งหมด แต่ก็ไม่สะท้อนถึงความสามารถของตนเท่าไหร่นัก การที่สนพ.ให้การยอมรับด้วยการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มได้จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความภูมิใจในตนเองของนักเขียนมากกว่า

ทว่า สำหรับ E-Book มันไม่จำเป็นที่จะต้องมีส่วนที่ยกมานี้แทบทั้งสิ้น เพราะไม่มีความจำเป็นที่นักเขียนจะต้องลงทุนอะไรที่สูงมากนัก การวางจำหน่ายก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งสายส่งแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่ติพิมพ์เป็นรูปเล่ม ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะทำเป็น E-Book กับทาง สนพ.
ดังนั้น ทำ  E-Book กับสนพ. ไปทำไม ?

เพราะผู้ให้บริการวางจำหน่าย E-Book ในปัจจุบันที่ไม่ใช่สนพ.ก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะทำ  E-Book กับสนพ. ด้วยเหตุผลใดเป็นพิเศษ หากจะกล่าวถึงข้อได้เปรียบเดียวที่การทำ  E-Book กับสนพ.จะมีได้คือเมื่อ E-Book ของเราขายดี ก็จะมีโอกาสสูงที่บทความของเรานี้จะได้รับการตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม

แต่มีอะไรรับประกันว่าจะเป็นเช่นนั้นจริง ?

หนำซ้ำ แม้สนพ.ที่ทำ   E-Book ในปัจจุบันจะไม่มีความคิดที่จะตีพิมพ์หนังสือของเราเป็นรูปเล่ม แต่ใช่ว่าสนพ.อื่นจะไม่คิดเช่นนั้นตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ข้อได้เปรียบที่ว่าจึงไม่มีความสำคัญอย่างมีนัยยะอันใด

อย่างไรก็ตาม ถึงจุดนี้มีเพียงแค่พูดถึงว่าไม่มีความจำเป็นที่จะทำ E-Book กับทาง สนพ. เพียงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วไม่สมควรอย่างยิ่งที่นักเขียนจะเผลอทำสัญญาตีพิมพ์E-Book กับทาง สนพ. เสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1.    การทำ E-Book กับรายอื่น ไม่จำเป็นต้องทำสัญญามอบอำนาจสิทธิ์ในการทำธุรกรรมของตัวหนังสือให้กับทางสนพ. ทำให้นักเขียนสามารถตัดสินใจได้ต่อว่าจะทำอะไรกับหนังสือของเราต่อได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะทำ  E-Book กับที่อื่นเพิ่มขึ้นอีกหลาย ๆ ที่ ทำการตีพิมพ์หนังสือทำมือ หรือส่งสนพ.เพื่อให้พิจารณาตีพิมพ์เป็นหนังสือในสังกัด
2.    การทำ E-Book กับรายอื่น ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาพิจารณาเหมือนการทำ E-Book กับทาง สนพ.
3.     อาจมีการถูกหักรายได้มากกว่าการทำ E-Book กับรายอื่น
4.    สนพ.มักจะไม่ใช่ผู้ชำนาญในตลาด E-Book จึงทำให้อาจจะไม่สามารถโฆษณา E-Book ได้อย่างมีประสิทธิผล

ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับ E-Book ที่ทำกับสนพ. มักจะเป็นข้อ 1 เพราะหลายสนพ.พยายามที่จะแทงกั๊กต้นฉบับที่ได้รับมาด้วยการทำเป็น E-Book กล่าวคือหนังสือของนักเขียนจะถูกสนพ.ชี้เป็นชี้ตายได้ว่าจะทำอย่างไรกับมัน หากต้องการให้เป็นรูปเล่มก็ทำได้ทุกเวลา กลับกันหากคิดว่าไม่คุ้มค่าก็สามารถทิ้งหนังสือให้อยู่ในรูปแบบของ E-Book ตลอดไปจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา ซึ่งเวลาของการดำเนินสัญญาที่ว่านี้อาจลากยาวไปหลายปี และหากโชคร้ายก็อาจเกิดการผูกขาดส่งมอบสิทธิ์ทั้งหมดของตัวหนังสือไปให้สนพ.เลยก็ได้ โดยหากเกิดสัญญาเช่นนี้ฝ่ายนักเขียนจะเสียโอกาสอย่างแน่นอน เพราะหากนักเขียนทำ  E-Book กับแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สนพ. ก็ยังสามารถมีสิทธิ์เหนือหนังสือของตนเองได้อย่างเต็มที่

และแม้ถึงทางสนพ.จะไม่มีการทำสัญญาเกี่ยวกับสิทธิ์ที่ว่านี้กับตัวบทความ (แต่ที่จริงหลายสนพ.มักจะทำ เพราะติดจากรูปแบบการทำสัญญาแบบเดิม รวมถึงไม่เช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์ที่จะยื่นข้อเสนอนี้ให้กับนักเขียนแทนการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยตรง) ก็ยังมีจุดด้อยในข้อที่ 2 3 4 อีก ดังนั้นจึงไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะทำ  E-Book กับทางสนพ. และแม้ทางสนพ.จะกล่าวอ้างว่าไม่มีการทำสัญญาผูกมัด หรือสัญญาว่าจะทำการตีพิมพ์รูปเล่มให้ในภายหลัง แต่คำพูดเหล่านี้จะสามารถเชื่อถือได้มากแค่ไหน ?

สรุป: สำหรับนักเขียน ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะทำ E-Book กับทางสนพ. เพราะอาจจะทำให้เสียโอกาสในหลายอย่างได้
นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจสัญญาที่ทำกับสนพ.ให้ดี มีนักเขียนหลายคนพบเจอแล้วว่าสัญญาที่ตัวเองคิดว่าเป็นการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มนั้นแท้จริงเป็นการทำสัญญาตีพิมพ์เป็น E-Book โดยไม่มีการยื่นสัญญาใดให้อ่านก่อนเลย มีเพียงการบอกให้ส่งสำเนาบัตรประชาชนไปให้เพียงเท่านั้น

สรุป: สำหรับสนพ.ที่ต้องการทำ E-Book ให้ถามอยู่เสมอว่า นักเขียนจะได้อะไรที่น้อยกว่าหรือมากกว่าการทำ E-Book กับที่อื่นหรือไม่ ถ้าได้น้อยกว่า นักเขียนก็ไม่ทำ ที่ทำอาจเพียงเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพียงเท่านั้น


................




Create Date : 02 กรกฎาคม 2556
Last Update : 3 กรกฎาคม 2556 22:57:36 น.
Counter : 2520 Pageviews.

3 comment
เรื่องน่ารู้และควรรู้เกี่ยวกับไฟ 2
เรื่องน่ารู้อื่นเกี่ยวกับไฟ

อย่างที่ทราบกันว่า ไฟต้องประกอบด้วยกันถึงสามอย่างถึงจะเกิดไฟขึ้น
แต่หากมีครบสอง แล้วอย่างที่สามกำลังจะมา แล้วจะเกิดอะไรขึ้น

กรณีแรกเรียก Flash Fire
เป็นปรากฎการณ์ที่ทุกสิ่งมีพร้อมหมดไม่ว่าจะเชื้อเพลิง หรืออ๊อกซิเจน เหลือแต่อย่างเดียวก็คืออุณหภูมิ
หากถึงเมื่อไหร่ จะเกิดปรากฎการณ์คล้ายระเบิด ไฟลุกพรึ่บทั้งบริเวณขึ้นมาในทันที ไม่ใช่แค่กองเล็ก แล้ว
ค่อยขยายเป็นกองใหญ่เรื่อย ๆ
และหมายรวมถึงการลุกเป็นกองเล็ก ๆ แล้วขยายไปทั่วห้องภายในวินาทีเดียวได้ด้วยเช่นกัน

กรณีที่สองเรียก Backdraft
เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดเพลิงไหม้ขึ้นมา แล้วบางอย่างหมดไปก่อน เช่นอ๊อกซิเจน แต่ที่้เหลือทั้ง อุณหภูมิ
และเชื้อเพลิงยังคงอยู่ หากอ๊อกซิเจนกลับมาเมื่อไหร่ เช่นห้องปิดตาย ที่ลมเบา ๆ ไหวกระเพิ่มจนกระจกร้าว
ให้อ๊อกซิเจนเข้าไปได้ หรือ ใครบางคนเดินเซ่อซ่าเข้าไปเปิดประตู ให้อากาศภายนอกเข้าไป ก็จะเกิดการ
ระเบิดขึ้น แล้วก็ไฟลุกท่วมขึ้นอีกครั้ง

ปรากฎการณ์หลังเป็นสิ่งที่นักดับเพลิงกลัวมากที่สุด ดังนั้นจึงพยายามฉีดน้ำเลี้ยงไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ไฟจะดับ
ไปแล้วเพื่อไม่ให้ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นอีก เมื่อเขาเข้าไปสำรวจสถานที่


ทางการพิสูจน์ ทั้งสองปรากฎการณ์แม้จะเกิดด้วยวิธีที่ต่างกัน แต่การสืบสวนมักจะแยกไม่ออกว่า
ปรากฎการณ์ไหนเป็น Backdraft หรือ Flash Fire กันแน่ เพราะสภาพที่เกิดเหตุคล้ายกัน


อุปกรณ์ตรวจจับ ป้องกัน และดับไฟ
โดยปรกติคุณจะเห็นสิ่งต่อไปนี้ในอาคารทั่วไป ลองมาเข้าใจความแตกต่างและลักษณะเด่นของแต่ละอย่าง
กันดีกว่า

ฮีทดีเทคเตอร์ (Heat Detector)
เป็นสิ่งที่ใช้ในการดักความร้อน เพื่อสั่งให้สปริงเกอร์ทำงาน และ/หรือ แจ้งต่อศูนย์ควบคุมของอาคารว่าเกิด
เหตุการณ์ผิดปรกติขึ้น

สโม๊คดีเทคเตอร์ (Smoke Detector)
เป็นสิ่งที่ใช้ในการดักควัน เพื่อสั่งให้สปริงเกอร์ทำงาน และ/หรือ แจ้งต่อศูนย์ควบคุมของอาคารว่าเกิด
เหตุการณ์ผิดปรกติขึ้น

หมายเหตุ Smoke Detector รับทราบถึงเหตุเพลิงไหม้ได้เร็วกว่า Heat Detector เพราะควันมักจะเกิดก่อน
ในช่วงที่การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ แต่ Heat Detector มักจะจับได้ในช่วงที่เกิด Flash Fire กำลังจะเกิด หรือ
เกิดขึ้นมาแล้ว ส่วน Smoke Detector เองก็ต้องได้รับควันในระดับหนึ่งก่อน ถึงจะสั่งการขั้นมา แค่ควันบุหรี่
อย่างเดียว ไม่อาจจะทำให้เครื่องนี้ทำงานได้ หมายเหตุ อาจจะนะ ถ้ามันถูกปรับหใไวต่อการตรวจจับควันก็
อีกเรื่องหนึ่ง

สปริงเกอร์ Springer
เป็นหัวฉีดน้ำนั่นแหละ แต่ขอเสริมอย่างอื่นต่อ
สปริงเกอร์ที่ติดตั้งถูกต้องควรหันหัวขึ้นบนเพดาน ! เพราะหากไฟมันติดที่ท่องานระบบด้านบน หรือฉนวน
ด้านบน มันจะฉีดดับยังไง หลายที่จึงเห็นได้ว่ามีสปริงเกอร์ที่หันหัวขึ้นด้านบนด้วยเหมือนกัน

และที่สำคัญ มีคนเข้าใจผิดกันเยอะ สปริงเกอร์ ฉีดแค่ทีละหัวที่ไฟไหม้เท่านั้น ไม่ได้ฉีดพร้อมกันทั่วอาคาร
ในหนังหรือในนิยายนั้นผิดกันทั้งนั้น คุณ ควรรู้ไว้ว่า สปริงเกอร์ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากในแทงค์ ลำพังน้ำ
ประปาธรรมดามันสูบขึ้นมาใช้ไม่ได้หรอก ต้องผ่านปั้มน้ำเสียก่อน เนื่องจากมันแรงไม่พอ ดังนั้นสปริงเกอร์
จึงฉีดน้ำได้จำกัด เพียงแค่ 30 นาที แล้วหากต้องฉีดทั่วอาคารมันจะเหลือกี่วิ ?

นอกจากนี้ ในบางห้อง เช่นห้องเก็บข้อมูลในเซอร์เวอร์หรือคอมพิวเตอร์ ห้องพวกนี้จะใช้สปริงเกอร์ฉีดน้ำ
ไม่ได้ เครื่องมันจะเจ๊ง จึงต้องใช้อย่างอื่นฉีดดับเพลิงแทน

วัสดุกันไฟ - วัสดุทนไฟ
อย่าเข้าใจผิดว่าวัสดุที่อยู่ข้างหน้าท่านจะเป็นวัสดุุกันไฟ เพียงแค่มันสามารถทนอยู่ในไฟได้เฉย ๆ นั่นมัน
อาจจะแค่วัสดุทนไฟเฉย ๆ แต่หากเป็นวัสดุกันไฟ ต้องประกอบด้วยความสามารถต่อไปนี้

ทนไฟ - ไม่เสียหายเวลาไฟไหม้ อันนี้มีข้อกำหนดไว้ว่าอย่างน้อยต้องทนได้ถึงกี่ชั่วโมง
ป้องกันไม่ให้ความร้อนอีกมาอีกด้าน - ลองคิดดูหากว่าคุณหนีเข้าไปในทางหนีไฟแล้ว
แต่ความร้อนกลับผ่านเข้ามาได้ แค่เพียง 100 องศา คุณจะผ่านมันไปได้ไหม?
ไม่บิดงอ เวลาโดนความร้อน - นี่แหละข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัด บางทีประตูเหล็กที่คุณเห็นว่ามัน
เหลือรอดหลังไฟไหม้ สภาพมันดีอยู่ก็จริง แต่เวลาไฟไหม้อยู่ มันอาจจะบิดงอให้ไฟผ่านเข้ามาอีกฝั่งก็ได้
แล้วคนที่อยู่อีกฝั่งล่ะ?

แต่วัสดุที่บอกว่าทนไฟไม่ใช่กันไฟ อาจจะมีความสามารถแค่ "ทนไฟ" อย่างเดียว ดังนั้นควรระวังด้วย

เขตปลอดภัย
เป็น บริเวณที่ทางกฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นเขตที่สามารถหนีมาเพื่อรอความช่วยเหลือ ยังที่นี่ได้ โดยไม่มี
เปลวเพลิงรุกล้ำเข้ามาย่างกายชีวิตคุณ ! ซึ่งอาจจะได้แก่ บันไดหนีไฟ โถงรอลิฟต์(บางอาคาร) พื้นที่โถงชั้น
แรก(บางอาคาร) เป็นต้น บางครั้งอาจจะรวมถึงบางพื้นที่ ซึ่งแยกไว้ต่างหากของชั้นนั้นด้วยฉนวนกันไฟ เพื่อ
ป้องกันการลุกล้ำเข้ามาของไฟก็ได้



Create Date : 07 พฤษภาคม 2552
Last Update : 7 พฤษภาคม 2552 7:57:35 น.
Counter : 966 Pageviews.

4 comment
เรื่องน่ารู้และควรรู้เกี่ยวกับไฟ 1
(หมายเหตุ ก็อปและดัดแปลงมาจากที่เคยเขียนไว้ ดังนั้นอาจจะเดจาวูได้)

ขอออกตัวก่อน ว่าส่วนตัวไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ แต่พอจะมีความรู้อยู่บ้าง เลยขอเอาความรู้นี้มาแชร์กัน
ดังนั้นหากมีข้อผิดพลาดตรงไหน ก็ขออภัยด้วย

เรื่องแรก ขอเริ่มด้วย
องค์ประกอบของไฟ

ก่อนที่ไฟจะเกิดขึ้นมานั้นจะต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี้อย่างครบถ้วน หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา
ไฟก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้
องค์ประกอบของไฟนั้นมีทั้งหมดด้วยกันสามอย่างดังต่อไปนี้

อ๊อกซิเจน
เชื้อเพลิง
อุณหภูมิ

ซึ่งสามอย่างนี้ ต้องมีและอยู่ในสภาพเหมาะสม หากขาดอันใดอันหนึ่ง หรืออีกอันเกิดพร่องไปไม่สมบูรณ์
ขึ้นมา ไฟก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ ดังนั้น ไฟเกิดขึ้นยากกว่าที่คุณคิด



*รูปประกอบที่ 1.1 องค์ประกอบของไฟ จากวิกิพีเดีย*

อันตรายของไฟ

เรื่องที่ควรรู้กันเป็นอันดับแรก
คนที่ตายเพราะไฟ ไม่ได้ตายเพราะความร้อน แต่ตายเพราะการสำลักควันเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสิ่งแรกที่ควร
คำนึงมากที่สุดคือ เรื่องของควัน ไม่ใช่เรื่องของไฟ เราจึงควรอยู่ด้านล่างของไฟ เพราะควันไฟจะลอยขึ้น
ข้างบน แม้ไฟมาไม่ถึง แต่หากเราอยู่ข้างบนของไฟ ควันไฟก็อาจจะมาให้เราสำลักตายได้

และที่สำคัญ อากาศร้อนจะลอยตัว ไฟมักจะลามขึ้นข้างบน ดังนั้นหากเป็นไปได้ หนีลงข้างล่างก่อน อย่าหนี
ขึ้นข้างบน ตายสถานเดียว

เคยมีกรณีไฟไหม้ในอุโมงค์รถไฟ อีกร้อยเมตรจะถึงทางออกแล้ว แทบทุกคนเลยเลือกที่จะหนีขึ้นข้างบน
แต่ว่าการหนีขึ้นข้างบนนี้เป็นสิ่งที่คิดผิด ไม่มีใครรอดชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว แม้จะมีนักวิ่งมาราธอนระดับ
โลกที่อยู่ในนั้นด้วย เขาก็ไปไม่ถึง
กลับกัน คนที่เลือกลงมาข้างล่างซึ่งไกลกว่าเป็นกิโลกลับรอดหมดทุกคน

และนอกจากนี้ ไฟยังมีส่วนทำให้โครงสร้างอาคารวิบัติได้ (หมายถึงโครงสร้างรับน้ำหนักไม่ได้ดีเหมือนเดิม
และมันอาจจะพัง) โดยเฉพาะพวกโครงสร้างเหล็กจะพังทลายได้ง่ายกว่าโครงสร้างคอนกรีต ถึงแม้จะเป็น
เหล็กเส้นในคอนกรีตก็ตาม หากไฟมันลามไปถึงเหล็กเส้นข้างในเมื่อไหร่ อาคารนั้นมีหวังต้องทุบทิ้ง
ฉะนั้นระวังให้ดีกับอาคารสูงที่ประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่

ตึกใบหยก 2 ที่สูงสุดในประเทศไทย ก็ใช้โครงสร้างเหล็ก ดังนั้นเกิดเพลิงไหม้ขึ้นก็ตัวใครตัวมันก็แล้วกัน

วิธีเอาตัวรอดจากเพลิงไหม้
- พยายามสังเกตทางหนีทีไล่ให้ดี ๆ เช่นทางหนีไฟอยู่ตรงไหน บันไดอยู่ตรงไหน สังเกตด้วยว่าทางหนีไฟ
นั้นตันหรือมีอะไรขวางอยู่หรือเปล่า บางครั้งมีทางหนีไฟก็จริง แต่ทางนั้นถูกล็อกหรือมีสิ่งกีดขวางอยู่ก็มี
ประเทศไทยก็อย่างนี้แหละ ระวังหน่อย
- การใช้ "ผ้าชุบน้ำ" ปิดจมูก แต่บางคนบอกว่ามันจะทำให้หายใจไม่ออก ซึ่งอย่างน้อยควรมีอะไรบ้าง
อย่างมาปิดจมูก ผ้าเช็ดหน้าแห้ง ๆ ไม่เปียกน้ำก็ได้
- เดินเรียบไปตามกำแพง เพราะควันไฟมักจะบังวิสัยทัศน์ทำให้มองไม่เห็น การคลำไปตามกำแพงจะดีที่สุด
และพยายามก้มตัวต่ำไว้ เพราะควันพิษจะลอยอยู่ด้านบน
- ก่อนเปิดประตูให้ลองจับลูกบิดดูก่อน ถ้าร้อนอย่าเปิด เพราะไฟจะอยู่อีกด้านของประตู
- อย่าใช้ลิฟท์ เพราะปรกติลิฟท์มันไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการหนีไฟ หากมันดันหยุดชั้นที่เกิดเพลิงไหม้
คุณจะหนีไปไหนไม่ได้ หากมันเปิดยังชั้นที่มันมีไฟอยู่ ด้วยแรงดันอากาศที่แตกต่าง (เพราะไฟกินอากาศไป
แล้ว) ไฟมันจะวิ่งเข้ามาในลิฟต์ ดังนั้นคุณตายแน่นอน


วิธีดับไฟ
อย่างที่รู้กัน ว่าไฟจำเป็นต้องมีองค์ประกอบด้วยกันทั้งสามอย่าง หากขาดอันใดอันหนึ่ง หรืออันใดอันหนึ่ง
หมดไป ไฟก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้อีกดังนั้นวิธีการดับไฟคือวิธีการง่าย ๆ โดยการทำให้อย่างใดอย่างหนึ่ง
หายไปนั่นเอง

น้ำ เป็นวิธีที่นิยมกันที่สุด แต่เพราะอะไรหลายคนอาจจะไม่รู้ เรามาลองตีความด้วยกัน

- น้ำคงไม่ได้ดับไฟด้วยการชนะธาตุ แต่ด้วยที่มันสามารถเป็นตัวกลางส่งต่ออุณหภูมิได้ง่าย
- มันมีอุณหภูมิสูงสุดแค่ 100 องศาก็ระเหยเป็นไอไปแล้วดังนั้นมันจึงช่วยลดความร้อนได้
- อีกทั้งการราดน้ำลงไปมากก็เป็นการขัดขวางการเข้าถึงอ๊อกซิเจนได้ และมันยังไม่ใช่เชื้อเพลิงที่ติดไฟ
จึงเรียกได้ว่า มันเป็นสิ่งที่สามารถขัดขวางทั้งสามองค์ประกอบเลยทีเดียว

แต่น้ำ ก็ยังใช้ไม่ได้ในหลายกรณี
เนื่องจากแค่100 องศาก็ระเหย มันจึงไม่สามารถใช้ดับเพลิงที่อุณหภูมิสูงมากได้ เพราะยังไม่ทันถึงตัว
น้ำก็อาจจะระเหยไปเสียหมด
อีกทั้งเชื้อเพลิงบางชนิดเบากว่าน้ำ จึงไม่สามารถทำให้น้ำใช้เป็นตัวกลางถ่ายเทอุณหภูมิ หรือขัดขวางการ
เข้าถึงอ๊อกซิเจนได้เช่นน้ำมัน ดังนั้นการราดน้ำลงไปจึงไม่มีประโยชน์ อีกทั้งอาจจะทำให้เปลวเพลิงกระจาย
ตัวกินพื้นที่มากเข้าไปอีก


ดังนั้นวิธีอื่นที่เหมาะสมกับการดับเพลิงยังมีต่อไปนี้ เช่น
การเอาของมาคลุม ฉีดโฟม (เช่นในถังดับเพลิง)
เพื่อไม่ให้ก๊าซอ๊อกซิเจนเข้าได้
การสร้างแนวกำแพงกันไฟเช่นการเผาต้นไม่ในป่าบางส่วนล่วงหน้า เพื่อให้เชื้อเพลิงหายไป เป็นต้น



Create Date : 06 พฤษภาคม 2552
Last Update : 6 พฤษภาคม 2552 8:10:25 น.
Counter : 1832 Pageviews.

3 comment
[การเงิน] ระบบเศรษฐกิจ แบบชาวบ้านเข้าใจได้ 3
เน้นกันอีกที ว่าเป็นเรื่องที่เรียนมานาน และฟัง"เขา"มาอีกที
ดังนั้นมีส่วนที่ผิดพลาดก็ขออภัยด้วย

หลังจากพูดถึงวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจไปแล้ว ต่อมาขอพูดถึงการป้องกันบ้าง

สำหรับการป้องกันปัญหาเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นนี้ สามารถแบ่งได้เป็นหลายส่วน ตั้งแต่รัฐบาล ธนาคารจนถึง
นักลงทุนทั่วไป ซึ่งเมื่อสังเกตถึงการป้องกันดี ๆ แล้ว จะพบได้ว่าการป้องกันนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงความ
ไร้ประสบการณ์ในเชิงเศรษฐกิจของโลกใบนี้ได้เป็นอย่างดี
เพราะหลายอย่างน่าจะมีมาตั้งนานแล้ว เรื่องบางอย่างเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ไม่มีใครมาทำกัน

มีขึ้นก็ย่อมมีลง ยิ่งขึ้นสูงและเร็ว เวลาตกก็ย่อมเจ็บตัวมาก
เรื่องนี้หมายถึงการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งหลังจากได้เก็บสถิติกันแล้ว จะพบได้ว่า เศรษฐกิจจะมีการเติบโต
และการหดตัวเป็นวัฏจักร สำหรับบางชนิดการประกอบการนั้นจะพบได้ว่ามีการขึ้นลงเป็นรอบ อย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งผลที่ได้คือ ช่วงใดเศรษฐกิจขยายตัวช้า เวลาตกลงมาก็ช้าตาม แต่หากช่วงใดขึ้นเร็ว เวลาตกมักจะตกเร็ว
ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาตกที่ตกอย่างรวดเร็ว แต่การหดตัวที่ช้าปัญหาจะไม่เกิด

ขอโทษด้วยที่ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ว่า ทำไมขึ้นแล้วต้องลงด้วย คิดเสียว่า เป็นธรรมดาโลกก็แล้วกัน (ฮา)

กำหนดการกู้ยืม
ในส่วนนี้เป็นส่วนของธนาคาร เพราะอย่าลืมว่า โลกนี้เป็นโลกของทุนนิยม การลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้ได้กำไร
มากที่สุดนั้น ก็ไม่พ้นการกู้ยืม แม้คุณจะมีเงินพันล้าน แต่คุณก็ยังคงกู้ยืมเงินมาเพิ่มอยู่ดี เพื่อให้ได้เงินมา
ลงทุนให้ได้มากที่สุด เพราะคติของนักลงทุนคือ ลงทุนในสิ่งที่ได้กำไรมากที่สุด ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึง
วิธีการลงทุนด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่การลงทุนทุกครั้งถึงมีเงินอยู่แล้วก็ต้องกู้มาลงทุนเพิ่ม

ซึ่งในส่วนนี้เองทำให้เกิดปัญหาขึ้น เพราะธนาคารเมื่อสมัยต้มยำกุ้งยังไม่มีหลักเกณฑ์แน่ชัด ทำให้ไม่มีการ
กำหนดหลักการกู้ยืมออกมา เมื่อนักลงทุนกู้ยืมไป แล้วไม่มีเงินมาคืน ทางธนาคารก็ต้องยึด แต่เนื่องด้วย
ธนาคารไม่มีหลักการให้กู้ยืม ดังนั้น เวลาให้ยืม คนผู้นั้นจึงไม่มีทรัพย์สินมากพอให้ธนาคารยึด หนี้นั้นจึง
กลายเป็นหนี้เสีย ที่ธนาคารให้กู้ยืมเงินไปเสียเปล่า

ดังนั้นวิธีการป้องกันของธนาคารคือ การออกกฎให้การกู้ยืมเงินแก่บุคคลหรือนิติบุคคลเทียบเท่ากับสินทรัพย์
ที่คนผู้นั้นมีเท่านั้น และหากบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นได้กู้ยืมที่อื่นไปแล้ว วงเงินที่กุ้ได้ก้จะถูกลดลงมาอีกที
เพื่อที่จะให้แน่ใจได้ว่า หากผู้กู้ไม่มีเงินมาคืน ธนาคารจะได้สินทรัพย์มาคืนเท่าที่กับให้กู้ไปได้

ซึ่งรายละเอียดอื่นนั้นยังมีอีกมากเพื่อป้องกันการกู้แล้วไม่ได้คืนขึ้น ที่กล่าวมานี้เป็นแค่หลักเบื้องต้นเฉย ๆ

หมายเหตุ ธนาคารยึดทรัพย์สินใครเองไม่ได้ แต่ต้องฟ้องยึด ดังนั้นคนที่ยึดจึงไม่ใช่ธนาคาร แต่เป็นศาลที่จะ
อนุญาตให้ธนาคารยึดได้ต่างหาก ดังนั้นการใช้คำว่า"ธนาคารยึด"จึงผิด ที่จริงต้อง"ธนาคารฟ้องยึด"

หมายเหตุ 2 ธนาคารของสหรัฐอเมริกา ไม่มีหลักตรงนี้ในช่วงแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นใน
ตอนนี้ก็เพราะการไม่มีหลักนี้นั่นเอง

อย่าตื่นตระหนก
ในที่นี้หมายถึงผู้บริโภคเรา ๆ ท่าน ๆ และรวมถึงนักลงทุนด้วย ปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรงมากขึ้นส่วนหนึ่งก็
เป็นเพราะความตื่นตระหนกเกินเหตุ
เวลาเศรษฐกิจดี ก็ใจกล้าบ้าบิ่นไร้ซึ่งความกลัว ลงทุนมากเกินไป จนทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่ม
มากเกินควร หากวันหนึ่งเศรษฐกิจลงเงินที่ลงไปทั้งหมดนี้จะสูญเปล่า เวลาตกมาก็จะเจ็บหนัก
ส่วนเวลารู้ว่าเศรษฐกิจตกต่อแล้ว ก็ดันกลัวเกินเหตุ ไม่กล้าที่จะลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น เก้บเงินไว้กับตัว จนทำให้
เงินค้างในส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบมากเกินไป จนปัญหาเศรษฐกิจแย่ลงกว่าเดิม

แต่ก็คงแก้ได้ยาก เรื่องนี้มันเรื่องส่วนบุคคล ผลประโยชน์อะไรก็อยู่ที่ตัวทั้งสิ้น จะให้เสียสละตนเองทำเพื่อ
เศรษฐกิจระดับมหภาคคงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะควบคุมส่วนนี้


เสริม ข้อควรตระหนักเรื่องเศรษฐกิจ (มีความเห็นส่วนบุคคลปนอยู่ โปรดใช้วิจารณญาณ)

เงินงบประมาณ ไม่ใช่เงินที่มีอยู่จริงแต่เป็นการประมาณว่าจะใช้เท่าไหร่ แล้วจึงเก็บให้ครบเท่ากับจำนวณที่ใช้
เงินงบประมาณขาดดุลเกินดุลก็เพราะประมาณพลาด ซึ่งมันไม่มีทางไม่พลาดหรอก หลักล้าน ๆ เชียวนะ !

เงินกู้ยืมข้ามชาติ คนจ่ายคือรัฐบาล เพื่อมาส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีเงินในระบบไม่ขาดและอยู่ในสภาพคล่อง
หรือไม่ก็กู้ยืมมาใช้ทำโครงการต่าง ๆ โดยไม่ให้เกิดผลกระทบกับการจัดงบประมาณในด้านอื่น
ดังนั้นการกู้ยืมไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นในเวลาที่สมควร

การกู้ยืม อย่าเข้าใจว่ามันคือการติดหนี้ แต่ให้คิดไว้ว่ามันคือการ"ใช้เงินอนาคตซื้อเงินปัจจุบัน"จะดีกว่า
เพราะมันจะทำให้คุณเห็นภาพ และรู้ว่าสามารถทำอะไรกับเงินนี้ได้มากกว่า

การคืนเงินกู้ยืม อย่าลืมนะว่า เงินของรัฐบาลมาจากภาษี ดังนั้นการคืนเงินก็หมายถึงการนำเงินที่สมควรจะ
ได้ใช้ในการพัฒนาประเทศ หรือดูแลประเทศไปคืนเขา และทำให้เงินหายไปจากระบบ โดยถ้าไม่มีอะไรที่
ต้องดูแลเป็นพิเศษ หรือระบบเศรษฐกิจมีสภาพคล่องอยู่ รีบคืนไปก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ามีปัญหาอยู่ล่ะก็....

หนี้สาธารณะ หมายถึงเงินกู้ของรัฐบาลใช่ไหม ? ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเอามาคำนวณแล้วหารหัวเฉลี่ยบอกว่า
ตอนนี้หนึ่งหัวมีหนี้ติดตัวเท่าไหร่ด้วย ในเมื่อเงินที่ต้องคืนมันคือภาษี ซึ่งจ่ายภาษีแล้วรัฐบาลนำภาษีนั้นไป
จ่ายหนี้ ก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรกับชีวิตประจำวันเพราะยังไงเงินที่จ่ายภาษีไปก็เท่าเดิม (แต่โครงการรัฐบาล
อาจลด) และเงินภาษีที่แต่ละคนจ่ายก็ไม่เท่ากัน คนที่มีรายได้น้อยจ่ายน้อย คนที่มีรายได้มากจ่ายมาก
แต่การนำมาหารหัวเฉลี่ยอย่างนี้ ทำให้เกิดการตื่นตระหนกขึ้น ไม่เข้าใจว่ามันมีประโยชน์อะไรนอกจากความ
ตื่นตระหนก (หรือจะเห็นภาพ ???) ซึ่งทำให้ปัญหาเศรษฐกิจแย่ขึ้นไปอีก



หวังว่าจบซีรี่ย์นี้แล้ว คงทำให้ทุกคนเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้นนะ



Create Date : 30 เมษายน 2552
Last Update : 3 พฤษภาคม 2552 13:56:26 น.
Counter : 487 Pageviews.

2 comment
[การเงิน] ระบบเศรษฐกิจ แบบชาวบ้านเข้าใจได้ 2
เน้นกันอีกที ว่าเป็นเรื่องที่เรียนมานาน และฟัง"เขา"มาอีกที
ดังนั้นมีส่วนที่ผิดพลาดก็ขออภัยด้วย

สำหรับครั้งนี้ขอเล่าถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
โดยจากที่ครั้งที่แล้วได้บอกไปว่า ปัญหาเศรษฐกิจเกิดจาก เงินหายไปจากระบบ หรือเงินค้างอยู่ในส่วนใด
ส่วนหนึ่งของระบบ เช่นใน ทางภาครัฐ-ธนาคาร-ผู้ประกอบการ-ภาคประชาชน มากไป
ทำให้ไม่มีการจับจ่ายใช้สอย หรือไม่มีเงินมากพอที่จะให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายสำหรับคนที่อยู่ในระบบได้

ซึ่งทางออกของรัฐบาลที่สามารถทำได้คือ การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ทำโครงการระดับใหญ่ต่าง ๆ
และการลดดอกเบี้ยเงินฝาก กับลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ นั่นคือการเอาเงินจากนอกระบบเข้ามาในระบบ ทำให้เงินในระบบมีมากขึ้น
(เงินนอกระบบ ที่หมายถึงเงินกู้จากแหล่งกู้เงินเถื่อน มันนละความหมายกันนะ)

การทำโครงการระดับใหญ่ ๆเช่นเมกะโปรเจ็กต์ กิ๊กกะโปรเจ็กต์ หรือการสร้างสนามบิน ถนน
รถไฟฟ้า เป็นการสร้างงานขึ้น ทำให้เกิดการจ้างงานอีกครั้ง เพราะการจ้างงานจากภาครัฐบาล หมายถึง
การจ้างงานที่ส่งผลต่อคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบ ไม่ว่าจะผู้ประกอบการ ก็ถูกว่าจ้าง แล้วผู้ประกอบการเอง
ก็ว่าจ้างประชาชนทั่วไปให้มาทำงาน ทำให้เงินเกิดการหมุนเวียนขึ้นอีกครั้ง

นอกจากนี้ การทำโครงการเช่นการตัดถนนใหม่ ยังส่งผลอีกทางนึงก็คือ ค่าที่ดินที่ถนนตัดผ่านนั้นจะมีราคา
สูงขึ้น ทำให้เหล่านักเก้งกำไรทั้งหลาย ที่คิดว่าการรีบซื้อที่ดินตรงที่ถนนตัดผ่านนั้นคุ้ม จึงรีบเอาเงินมาใช้
ถือว่าเป็นการทำให้เงินหมุนเวียนอีกทางหนึ่ง

การลดดอกเบี้ยเงินฝาก หลายคนอาจจะสงสัย ซึ่งโดยส่วนตัวเองตอนเด็ก ๆ ก็สงสัยด้วย ว่ามันจะลด
ไปทำไม ลดแล้วไม่เป็นการซ้ำเติมกันหรือ ? เพราะเงินทองยิ่งหายาก ยิ่งลดดอกเบี้ยไปอีกยิ่งหายากกว่าเดิม
แต่นั่นเป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว เพราะนักลงทุนเองก้คิอเหมือนคุณ การฝากเงินของเขาจะทำเมื่อเขาพบ
ว่าการลงทุนอื่น ๆ จะให้ผลตอบแทนต่ำกว่าการฝากเงิน เขาจะเลิกลงทุนในทันที และหันมาฝากแบงค์แทน
เพราะคติพจน์ของนักลงทุนคือ ลงทุนในสิ่งที่ได้กำไรมากที่สุด หากการลงทุนอื่นได้เงินน้อยกว่า
การฝากแบงค์ เขาจะลงทุนไปทำไม สู้ฝากแบงค์แล้วนอนอยู่เฉย ๆ ไม่ดีกว่าหรือ ?

สำหรับนักลงทุน การฝากเงินเอาดอกเบี้ยก็ถือว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่ทว่าในมุมมองของ
รัฐบาลถือว่าการลงทุนนี้ เป็นการลงทุนที่ไม่สมควรทำที่สุด เพราะเป็นการเก็บเงินไว้เฉย ๆ ทำให้เงินค้างใน
ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบมากเกินไป เงินไม่หมุนเวียน และเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น

ดังนั้นการลดอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นการตัดทางเลือกในการลงทุนด้วยการฝากแบงค์ของนักลงทุน แล้วไป
ลงทุนด้านอื่นที่ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบแทน เพราะคติพจน์ทีว่า ลงทุนในสิ่งที่ได้กำไรมากที่สุด
จึงทำให้นักลงทุนไปใช้ลงทุนด้านอื่นอย่างแน่นอน

การลดดอกเบี้ยเงินกู้ เช่นเดียวกับการลดดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากดอกเบี้ยเงินกู้นั้น จะเป็นส่วน
หนึ่งที่จะถูกนำมาคิดว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่าหรือไม่ หากไม่คุ้มค่า นักลงทุนจะเลือกฝากแบงค์แทน ดังนั้นการ
ลดดอกเบี้ยเงินกู้จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้นักลงทุนเอาเงินมาใช้ได้


โดยทั้งสี่ข้อนี้ แม้ไม่ใช่ทั้งหมด แต่ก็เป็นวิธีแก้ปัญหาหลัก ๆ ของรัฐบาล ซึ่งที่จริงยังมีวิธีอื่นอีก เช่นการนำ
อสังหาริมทรัพย์(ทรัพย์ติดที่ดิน) หรือสังหาริมทรัพย์(ทรัพย์ไม่ติดที่ดิน) ราคาแพง ๆ ที่ถูกยึดมาประมูลขาย
ราคาถูก ๆ หรือช่วยอุ้มหนี้ของสถาบันการเงิน หรืออะไรต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างจะละเอียด
เข้าใจยากเล็กน้อย (และผู้เขียนยังไม่มีข้อมูล) มากพอ จึงขอข้ามไป

ส่วนสำหรับครั้งหน้าคือวิธีการป้องกันปัญหาเศรษฐกิจ ติดตามอ่านกันได้



Create Date : 30 เมษายน 2552
Last Update : 2 พฤษภาคม 2552 8:27:40 น.
Counter : 537 Pageviews.

2 comment
1  2  

ซ่อนนาม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]