ความไม่รู้เป็นลาภอันประเสริฐ

เกยตื้นทางความคิด

ความตื้นเขินทางกระบวนการความคิด นำพานาวาบุคคลติดอยู่ในสภาพเกยหินโสโครกของความคิด หรือไม่ก็ติดบนหาดแห่งความบ้องตื้น ไม่สามารถนำนาวาออกสู่ทะเลเพื่อเดินหน้าดำรงชีวิตต่อไปได้

เพราะการยัดเยียดกระบวนการคิดตางเดียว ที่ไม่ช่วยให้เกิดการคิดต่าง ที่เป็นมาในสมัยนานนม ความพยายามบ่อมเพาะการกดทับความคิด ให้ประชาชนเป็นเพียงเด็กที่ไม่พร้อมจะคิดเองได้ ต้องคอยรับคำสั่งจากเหล่าคุณพ่อรู้ดี ซึ่งก็อาจจะถูกใจเหล่าคุณพ่อทั้งหลายเพราะจะได้เหล่าลุกๆที่เชื่อฟังโอวาทด้วยความเรียบร้อย

ความคิดแบบโบราณที่ว่าด้วย ความสงบเรียบร้อยคือการปิดปากให้เหล่าประชาชนสยบใต้เท้าเหล่าผู้มีอำนาจ ยังหลอกหลอนผู้คนมาทุกเมื่อเชื่อวัน และยิ่งเข้มข้นมากขึ้นในตอนนี้ ที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ ซึ่งไม่ว่าจะพยายามบอกว่าเป็นวิกฤติ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือ อะไรก็ตาม แต่เนื้อแท้จริงๆ วิกฤติ ที่เป็นคือ วิกฤติความคิด

ด้วยความเอาแต่ได้และความหวงแหนอำนาจ หวงแหนสมบัติ ต่างๆ ของเหล่าผู้มีอำนาจที่ผ่านๆมา ทำให้ การครอบงำทางความคิด แพร่สพัดอยู่ตลอดมาในสังคมไทย ไม่ว่าจะสมัยไหน ระบบความคิดยังถูกจำกัดเพียงความคิดด้านเดียวเสมอมา คือความคิดของเหล่าผู้ใหญ่ เหล่าผู้มีอำนาจ (อำนาจรัฐ อำนาจเงิน อำนาจปืน ฯลฯ) ความคิดของผู้ไร้อำนาจ เป็นเพียงขยะทางความคิด ที่ไม่มีใครต้องการแม้มันจะดีเลิศแค่ไหน ก็จะถูกผู้มีอำนาจ ขยำทิ้งอย่างไม่แยแสใยดี เพียงเพราะมันไม่ตรงตามความคิดของผู้ใหญ่

วาทกรรมแจกแกรบต่างๆ ได้เกิดขึ้นมากมายในช่วงที่ผ่านๆมาจนถึงตอนนี้ เรียกร้องหา ความสามานฉันท์ โดยการอ้างอิงต่างๆนานา ซึ่งต่างยกมามากมายโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงเนื้อแท้ของความสมานฉันท์ คงเป็นได้เพียงความ สามานย์นะฉัน ที่ต้องการแค่เพียงให้ประชาชนที่คิดไม่เหมือนกันหุบปากลง เพื่อที่เวลาหุบปากจะได้บอกได้ว่าเออ บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว กลายเป็นผู้มีพระคุณอันใหญ่หลวงต่อประเทศไป ซึ่งก็ไม่รู้จะมาทวงบุญคุณกันต่อไปอีกรึเปล่า

และความสมานฉันท์แบบเอียงกะเท่เล่ผ่านกระบวนการที่เหมือนจะเป็นระบบ ที่เป็นเพียงคู่ตรงข้ามของกลุ่มอำนาจ ที่ก็ต่างห้ำหั่นกันทางการเมืองโดย ยัดเยียดดความคิด ให้กับประชาชนฝ่ายตน กลายเป็นสภาพใครยัดเยียดได้มากกว่าก็ชนะไป เป็นการสยบกันผ่านความคิดแบบคัดลอก

ข้ออ้างเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลต่อปากท้องโดยตรงของประชาชน ยังเป็นแค่เรื่องลมๆแล้งๆที่ ต่างฝ่ายต่างเอมาวาดฝัน เอามาโจมตีกัน แต่เอาเข้าจริง พวกผู้มีอำนาจทั้งหลายก็ไม่ได้ตกระกำลำบากเหมือนอย่างชาวบ้าน เหล่านักธุรกิจ นายทุน หรือแม้กระทั่งชนชั้นกลางทั้งหลาย ต่างอยากให้ เกิดความสงบเรียบร้อย ฟังเหมือนจะดี แต่ก็เหมือนว่าพอเอาจริงๆ พวกที่พูดนี่มันเห็นแก่ตัวกว่าพวกอื่นๆไม่ต่างกับเหล่าผู้มีอำนาจที่กรอกหัวคนผู้หิวเงินด้วยขี้เลื่อย พวกนี้เลย เพราะเนื้อแท้พวกนี้ก็พียงต้องกาความสงบแบบหุบปากไม่ต่างกัน คืออย่างน้อยทำให้ตัวเองมีเงินมีตังค์ก็พอ ให้กิจการตนเองดีขึ้น ให้ ตนเองมีงานทำ ฯลฯ คนเหล่านี้คือเหยื่อของวาทกรรมแด๊กแกรบไม่ต่างกันเลย

ความพยายามที่จะยกหางตนเองบอกว่าเหล่าชนชั้นกลาง พวกตนมีความคิด ความรู้ จบการศึกษาสูงหรือ จะเอาแม่น้ำไหนมาชักนักไม่รู้ กล่าวโทษด่าว่าตนต่างจังหวัดคนจน หรือพวกผู้ชุมนุมต่างๆ ว่าทำให้บ้านเมืองไม่สงบ มันเป็นสิ่งสะท้อนความทุเรศของสภาพสังคมแบบชัดจนไม่อยากจะมอง ความคิดแบบเบ็ดเสร็จที่โดนผู้มีอำนาจยัดขี้เลื่อยมาใส่กะโหลกมายังไง ก็คิด ก็ทำไปตามที่เค้าว่ามาอย่างนั้น ไม่ได้มองอะไรที่มากไปกว่าที่เค้าบอกให้มอง ผู้มีอำนาจว่าไงก็ว่างั้น แล้วยังมีภาวะกระหายเงินเป็นตัวช่วยอีก ยิ่งทำให้คนกลุ่ม นี้ เพิ่มเติมความย่ำแย่ลงไปอีก ได้แต่มาเหยียดหยามคนอีกกลุ่มและต้องการแค่ ตัวเองรอด เพียงแค่นั้นหรือคือที่คนกลุ่มนี้ต้องการ มีสถานการณ์ที่กระอักกระอ่วนอยู่ว่า ถ้าบ้านเมืองไม่สงบแต่คนพวกนี้ มีรายได้มีเงินมากขึ้นคนพวกนี้จะต้องการไหม นี่คือเรื่องที่น่าสนใจมาก ว่าคนกลุ่มนี้จะคิดยังไง และตัดสินใจยังไง

ส่วนพวกชาวบ้านที่มักจะโดนด่า โดนทับถม โดนเอารัดเอาเปรียบจากทางสังคมเสมอ ๆ ไม่ว่าจะทางรัฐเอง หรือว่าจะเป็นเอกชน หรือชนชั้นที่ได้เปรียบกว่า คนเหล่านี้ก็โดนวาทกรรมหลอกมาเหมือนๆกัน ความเสียเปรียบทางโอกาสที่รัฐไม่เคยแก้ให้ดีขึ้นได้ แล้วยังโดนเหยียบซ้ำจากผู้คนอื่นๆอีก กลายเป็นการกล่าวโทษว่าคนเหล่านี้เป็นความผิด แต่เพียงกลุ่มเดียวเสมอๆ ทั้งๆที่คนพวกนี้ไม่อาจจะทำอะไรได้เลย ได้แต่ต้องพึ่งพารัฐที่ก็ทำแค่หากินกับกล่องเสียงคนพวกนี้ ไหนจะนายทุนที่อ้วนเอาๆจากการสวาปาชาวบ้านกลุ่มนี้

ดังที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาทั้งหมดนั้นจะไปตกอยู่ที่ เรื่องของ ความคิดที่ตกหล่น และขาดหายไปจากทุกๆกลุ่ม
รัฐก็คิดจะเอาเพียงอำนาจ โดยไม่ได้มองเลยหาดที่จอดอยู่ว่า ไม่ได้มองว่า เรือที่จอดนับวันจะพุกร่อนลงหากไม่พัฒนาอะไรขึ้นมา คนกลุ่มนี้ติดบนหาดแห่งอำนาจที่หอมหวน จนทำให้อยากที่จะอยู่บนหาดที่พวกตนพึงพอใจ ไม่มองไปไหนไกลกว่านั้น

นายทุนเองก็ ยอมที่จะติดบนหาดไหนก็ได้หากว่าหาดนั้นทำเงินทำทองให้ สภาพหาดหรือทะเลจะเป็นยังไง ก็ช่างมันสำหรับเหล่านายทุน ที่กัดกินผู้คนและร่วมกันครอบงำ ไม่ต่างกับรัฐ

ชนชั้นกลางก็ ท่องแค่รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี เอาตัวรอดแข่งกัน เพื่อรอดในสังคม แล้ว ที่แย่ก็คือ ความคิดที่คับแคบเป็นการติดบนหาดที่ทอดยาว มองกลุ่มอื่นคนอื่น เป็นปัญหา แต่กับไม่มองย้อนมาที่กลุ่มตนว่าเป็นปัญหา ทั้งๆที่คนกลุ่มต่างก็ติดอยู่บนหาดที่เหล่าผู้มีอำนาจตั้งใจให้คนเหล่านี้อยู่

หาดความคิดที่แตกต่างหลากหลาย ที่กลายเป็นการยินยอมพร้อมใจกันติดบนหาดนี้ๆ นาวาทางความคิดของแต่ละคนพากันติดอยู่บนโขดหิน เกยตื้นบนหาดที่ต่างคนต่างทำเหมือนกับ ยอมรับการติดหาดนั้นแบบกลายๆ

ความคิด ที่ต่างพากันเกยตื้น และมองหาเพียงความคิดที่ตนเองอยากให้เป็น เหมือนๆกันไปหมด โดยไม่เดินลงจากหาดที่เกยตื้นนั้นไปสู่ทะเลความคิดที่ลึกซึ้งขึ้น จนสามารถที่จะนำเอานาวาความคิดเดินทางไปสู่ท้องทะเลแห่งอนาคตได้

มองออกไปยังท้องทะเล เหล่ากองเรืออื่นๆไปแล่นนาวาทางความคิดออกไปทิ้งห่างกองเรือของเราไปเรื่อยๆ ในขณะที่เราเริ่มที่จะหยุดการใช้นาวาความคิดลง และไม่ทำการผลิตเพิ่มทั้ง ตัวเรือ และเหล่านักสร้างเรือ หรือแม้กระทั่งลูกเรือ หากเป็นเช่นนี้ เราก็คงได้แต่ยอมรับว่าเรามีความสุขบนหาดที่เราเกยตื้นอยู่ แบบที่เราควรเป็นเช่นนั้นหรือ




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2550   
Last Update : 1 กรกฎาคม 2550 21:36:09 น.   
Counter : 564 Pageviews.  

เผด็จการนายทุน VS เผด็จการทหาร แตกต่างตรงไหน

เผด็จการ คือการรวมอำนาจการปกครองไว้ภายใต้บุคคลบางกลุ่มบางคน ซึ่งนั่นหมายถึงการพรากเอาอธิปไตยที่เป็นของประชาชน(ที่ไม่ค่อยจะเคยมี) ไปเป็นของพวกตนเอง กลุ่มตนเอง

อะไรคือสิ่งที่แตกต่างของการกระทำ ใน2ส่วนขั้วอำนาจที่ กำลังกล่าวว่า ตนเองดีกว่าอีกฝ่าย เราจะมาเปรียบเทียบเป็นข้อๆไป

ที่มาของอำนาจ
เผด็จการนายทุน ใช้อำนาจเงินในการยึดอำนาจ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการสมยอมประชาชนมอบอำนาจให้ด้วยเงิน ที่เรียกว่าการซื้อเสียงไม่จะเป็นด้วยตัวเงินหรือการซื้อเสียงด้วยนโยบาย แต่ถึงอย่างไรก็ จะขัดกับหลักการของประชาธิปไตย
เผด็จการทหาร ใช้อำนาจปืนในการยึดอำนาจ การเอาอาวุธต่างๆระดมสัพกำลังมาเอาอำนาจไป ในส่วนนี้อาจพูดได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่น่าจะเห็นด้วย อาจจะมีผู้สนับสนุนอยู่ที่มองเห็นเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ และแน่นอนว่าการได้มาแบบนี้ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยเหมือนกัน

การครอบงำองค์กรต่างๆ
เผด็จการนายทุน ครอบงำองค์กร ต่างๆ ทั้งสภาสูง สภาล่าง อาจจะมีผู้กล่าวว่าในบางครั้งตุลาการก็ด้วย นี่รวมไปถึงองค์กรอิสระต่างๆอีก และหน่วยงานราชการที่ต้องคอยตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งทำได้จากการใช้อำนาจเผด็จการเสียงข้างมาก ตามที่มีหลายฝ่ายกล่าวหา
เผด็จการทหาร ครอบงำเหมือนกันแต่ง่ายกว่านั้นนิดนึงด้วยการตั้งคนที่ตนต้องการมาดำรงค์ตำแหน่งและตั้งสภาขึ้นมาใหม่เลย อาจมีการจับขั้วกับศาลได้ และรวมไปถึงการ ใช้องค์กรอิสระเป็นเครื่องมือทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อโค่นล้มอำนาจเก่า และการใช้อำนาจทหารในการครอบงำหน่วยงานราชการต่างๆ

เศรษฐกิจในประเทศ
เผด็จการนายทุน ที่ใช้ระบบทุนนิยมสุดขั้ว ส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านตัวเลขต่างๆ การใช้ระบบเงินไหลผ่านให้ตัวเลขเศรษฐกิจดี จากระบบเงินอนาคตที่ถูกดึงมาใช้ในปัจจุบัน ระบบการค้าขายต่างๆ ที่ทำให้ภาพเศรษฐกิจดู(เหมือนจะ)ดี เพราะเงินจะหมุนเวียนและผ่านมือทำให้ ผู้ระกอบการและผู้คนรู้สึกได้ถึงอัตราการเจริญเติบโต (แม้จะเป็นภาพลวงที่สร้าง) อีกทั้งการนำเอาหน่วยงานรัฐเข้าตลาดหุ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของตลาด ในช่วงหลังสถานการณ์ที่ไม่นิ่งทำให้ ตัวเลขต่างๆลดน้อยลงไป
เผด็จการทหาร ที่ในภาพจริงก็เป็นทุนนิยมสุดขั้วไม่ต่างกัน แต่มีการเอาฉากของพอเพียงมาบังหน้าให้พอสวยงาม แต่หลังฉากก็แทบจะไม่ต่างกันเลย สิ่งที่อำนาจเก่าทำไว้เช่นไร เหล่าเผด็จการทหารก็เดินตามรอยเท้ากันเป๊ะๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุน ระดมทุนต่างๆ หรือแม้กระทั่งความพยายาม(บ้าง)ในการจะขายรัฐวิสาหกิจ แต่การทำแบบครึ่งๆกลางๆ กล้าๆกลัวๆ กลับเป็นผลร้ายเพราะ ความไม่ชัดเจนทำให้เหล่านักลงทุนหอบทุนไปที่อื่นมากกว่า ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่นิ่งทำให้ สภาพเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงกว่าของเก่าที่เป็น

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เผด็จการนายทุน ทำการเปิดประเทศเสรี วางกฎหมายเปิดทางต่างชาติเข้ามาลงทุน เพิ่มทุนผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ การเพิ่มจำนวนผู้ถือหุ้นต่างชาติได้ ที่เป็นชนวนให้เกิดความหมดศรัทธา ต่อการทำงานของรัฐบาล และยังมีการทำสัญญาเขตการค้าเสรี(FTA) ที่ไม่ชอบธรรม ที่หลายๆฝ่ายไม่เห็นด้วยแต่รัฐก็ทำจนผ่านไป ซึ่งมีชาติเป็นผู้เสียผลประโยชน์
เผด็จการทหาร ก็ไม่ได้มีการแก้ไขในเรื่องที่ผิด(ตรงที่ว่ากัน)อย่างการเพิ่มทุน ก็ได้แต่ปล่อยผ่านไป ส่วนสัญญาเขตการค้าเสรีก็ เซ็นแบบอัปยศเหมือนๆกัน เพราะ ก็ไม่ได้รับการยอมรับแบบเดียวกัน แต่ก็ยังเซ็นสัญญาไป

สังคม
เผด็จการนายทุน สังคมในตอนนั้นผู้คนเต็มไปด้วยความเห็นที่แตกต่าง กลายเป็นฝักฝ่าย ฝ่ายรัก ฝ่ายสนับสนุน สังคมมีแต่ความวุ่นวาย บางบ้าน บางครอบครัวไม่สามารถคุยกันเรื่องของการเมืองได้
เผด็จการทหาร ถึงตรงนี้เองข้ออ้างที่อ้างความแตกแยก นั้นก็ยังคงอยู่และจะแตกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้ สงบลงเลยอย่างที่กล่าวอ้างมาในตอนต้น และในบ้านก็ยังคุยไม่ได้เหมือนเดิม

กฎหมาย
เผด็จการนายทุน ก็ออกกฎหมายต่างๆเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง วงสาคณาญาติ ตนเอง แล้วก็มีกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมหลายตัวที่ออกมาเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง อีกทั้งในเรื่องของการใช้กฎหมายต่างๆที่เป็น2มาตรฐานอย่างคงเส้นคงวา
เผด็จการทหาร ออกฎหมายเพื่อโค่นล้มกลุ่มอำนานเก่า พุ่งเป้าไปที่การทำลายล้างมากกว่าการสร้างสรรค์ กฎหมายต่างๆก็ออกมาเพื่อเอื้อประโยชน์พวกตน กลุ่มตน เหมือนๆกัน กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมก็มากมายที่ออกมาภายใต้สภาเผด็จการ

การครอบงำสื่อ
เผด็จการนายทุน ใช้ระบบเงิน และการโฆษณาของกลุ่มทุนที่เป็นพวกพ้อง เป็นเครื่องมือในการบีบสื่อต่างๆให้นำเสนอและเซนเซอร์ตัวเองไปในทางที่ฝ่ายตนต้องการ และใช้กระทรวงที่เกี่ยวข้องทำการปิดกั้น อีกทั้งยังใช้การฟ้องร้องเป็นจำนวนเงินมหาศาลเพื่อปิดปากสื่อไม่ให้นำเสนอข่าสาร
เผด็จการทหาร ใช้อำนาจทหารวางกำลังไปคุมสื่อโดยตรง ใช้อำนาจกลายๆในการให้สัมภาษณ์ว่าจะจัดการกับสื่อนอกแถวที่ไม่ได้ดั่งใจตนเอง ใช้กระทรวงที่เกี่ยวข้องทำการปิดกั้นที่เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม โดยการอ้างเรื่องของ ศีลธรรม จริยธรรมเป็นเครื่องมือ

การรับมือกับกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้าน
เผด็จการนายทุน ตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุมด้วยการ ใช้กลุ่มผู้ชุมนุมมาชนกันเอง แต่ก็ไม่ได้ขัดขวางการชุมนุมโดยการใช้กำลังมาก เพราะใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับเก่า ซึ่งทำให้ สามารถมีการชุมนุมได้
เผด็จการทหาร ตอบโต้กลุ่มผู้ชุมุนมต่างๆ ด้วยการขัดขวางการเข้าร่วมชุมนุมผ่านการตั้งด่านตามจุดต่างๆ และก็อาศัยกฎหมายที่ตนเองร่างขึ้นชั่วคราว ที่เป็นกฎหมายเผด็จการทำให้ การชุมนุมที่เป็นหลักตามประชาธิปไตย อีกทั้งยังสนับสนุนความรุนแรง มากกว่าของเก่า

เหตุการณ์ไม่สงบใน3จังหวัด
เผด็จการนายทุน สถาณการณ์ความรุนแรงก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามลำดับขั้น ความไม่สงบยังคงก่อตัวต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ไม่ว่าจะใช้ ทั้งสายพิราบหรือสายเหยี่ยว หรือแม้กระทั่ง ปรากฏการณ์ นกกระดาษ ซึ่งท้ายที่สุด ก็ ไม่ได้ มีเหตุการณ์อะไรที่ดี ขึ้น ชาวบ้านยังคงลำบากอยู่ไม่หาย
เผด็จการทหาร สถานการณืที่ได้กลายเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ถูกหยิบยกมาเพื่อทำรัฐประหาร ซึ่งจนแล้วจนรอดในที่สุดเองตอนนี้ สถานการ์ก็มีแต่แย่ลงเรื่อยๆและก็ไม่ได้มองเป็นปํญาสำคัญ กลับให้ความสำคัญไปที่ การไล่เบี้ยอำนาจเก่ามากกว่า ทั้งที่ ชาวบ้าน ดับชีวิต ลงไปเรื่อยๆ

ฯลฯ


กลายเป็นภาพดังที่ อ. ส.ศิวรักษ์ เรียกว่า ‘อัปรีย์ไป จัญไรมา’ เพราะไม่ได้ต่างอะไรกันเลย ในพฤติกรรมต่างๆ ดังที่ยกมาให้เห็น

และทำให้นึกไปถึง บทความของ อ. เกษียรที่บอกว่า
“คำ ถามของผมคือ ทำไมเราต้องเลือกระหว่างสองอย่างนั้นด้วย "กูไม่เอาทั้งคู่" ได้ไหม? ขบวนการประชาชนไม่มีทางเลือกอื่นเลยหรือ? ทำไมชีวิตมันถึงบัดซบอย่างนี้?
ผมว่าต้องคิดใหม่ ต้องคิดจากสองเป็นสามให้ได้ ตอนนี้เราเห็นโลกแค่สอง คือ ถ้าไม่ "ทักษิณ" ก็ "คมช." “

มันแย่จริงๆเลย


อ้างอิง บทความ อ. เกษียร ถึงกัลยาณมิตร "อย่าเป็นหางเครื่องของรัฐและทุน"
//www.nokkrob.org/index.php?&obj=forum.view(cat_id=open,id=1285)




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2550   
Last Update : 27 มิถุนายน 2550 22:36:09 น.   
Counter : 710 Pageviews.  

ประชาธิปไตยมีจริงหรือ?

ประชาธิปไตยคืออะไร ต่างก็ว่ากันไป ตีความหมายกันไปไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สภาพสังคม ประเพณีวัฒนธรรม(อันดีงามแบบที่บางประเทศชอบเรียก) รวมไปถึงคุณภาพของประชากร และอีกมากมายที่จะเป็นปัจจัยให้ ประชาธิปไตยของแต่ละสถานที่ แตกต่างกัน

แต่ถึงอย่างไร ในความแตกต่างของายละเอียดปลีกย่อยเหล่านั้น ในเรื่องของเนื้อหาสาระและแก่นของประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่เหมือนกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นที่ไหน หรือการตีความแบบใดก็ตาม ประชาธิปไตยก็ยังต้องคงความหมายพื้นฐานของมันอยู่เสมอๆ นั่นก็คือ นัยความหมายถึงเรื่องของ สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และความเท่าเทียม สิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบพื้นฐานที่จะต้องมีหากว่าเป็นประชาธิปไตย ซึ่งหากตีความตามตัวอักษร แบบที่ชอบใช้กัน(แสดงภูมิความรู้แบบไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ) ก็จะได้ว่า อำนาจอธิปไตยของประชาชน

อำนาจอธิปไตย คืออะไร คืออำนาจปกครองสูงสุด ที่กลายเป็นเพียงคำโก้หรูมาอวดชาวบ้าน ไม่ต่างกับการอวดเครื่องประดับเพชรนิลจินดา เพราะอำนาจที่ว่ามานั้นประชาชนที่ถูกบอกว่าเป็นเจ้าของไม่เคยได้สัมผัสมันเลยแม้แต่เศษเสี้ยว หรือกระทั่งเงาของมันประชาชนยังไม่เคยได้ย่างกายเข้าใกล้ อำนาจที่ประชาชนเป็นเจ้าของ

อำนาจเหล่านั้น ตกอยู่ในมือเหล่าอภิชนทั้งหลายมาหลายยุคหลายสมัย และก็วนไปเวียนมา ผลัดกันชื่นชมในอำนาจเหล่านั้น แบบไม่ปล่อยให้ประชาชนได้รู้จักกับอำนาจที่เป็นของพวกเขาเลย และเมื่อไม่รู้จัก เหล่าอภิชนก็มักจะนำเป็นข้ออ้างเสมอๆว่า ประชาชนไม่พร้อม และก็จะวนไปวนมาเป็นแบบนี้ไปเรื่อย เพราะเหล่าอภิชนก็พร้อมใจกันจะทำให้ประชาชนไม่พร้อมไปตลอด เพื่อที่คนเหล่านี้จะได้ครองอำนาจไปเรื่อยๆแบบที่เป็น

คราวนี้กลับมามองในแง่ของประชาธิปไตยที่ว่า ว่าสิ่งนี้สัมผัสได้ระดับไหน เพราะการจับต้องได้หรือสัมผัสได้นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์รู้จักกับมันมากขึ้นและ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น และนั่นก็จะหมายถึงประชาธิปไตยในชีวิตประขำวันด้วย
เราอาจจะแบ่ง ประชาธิปไตยได้เป็น2ระดับ คือ
1 ขั้นปฐมภูมิประชาธิปไตย (Primary democracy) หมายถึงระดับเบื้องต้นที่จะสัมผัสได้โดยตรงในแบบไม่ผ่านสื่อกลางต่างๆ ซึ่งก็หมายถึง ประชาธิปไตยที่เป็นการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่2 หรือกับกลุ่มเผชิญหน้าหรือผ่านประสาทรับรู้ของร่างกายโดยตรง ตัวอย่างก็น่าจะเป็นระดับสังคมกลุ่มย่อย เช่น

- ในระดับครอบครัว ที่จะมีกิจกรรม ปฏิสัมพันธ์กัน และในส่วนนี้ก็จะเห็นได้ว่าระดับของคำว่าประชาธิปไตยในส่วนนี้ ไม่มี เพราะการปกครองในระดับนี้จะเป็นเผด็จการจากผู้ปกครอง เนื่องจากเด็กและเยาวชนยังไม่พร้อมที่จะรับรู้สิทธิหน้าที่ เสรีภาพ อีกทั้งภาวะพึ่งพาตนเองของเด็กและเยาวชนยังไม่มีหรือมีไม่ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยให้ผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ปกครองมีอำนาจสิทธิขาดในการตัดสินใจ ซึ่งในระดับนี้ไม่เพียงแค่ลูกเท่านั้น มันยังรวมไปถึง เรื่องของสามีภรรยาอีกด้วยที่มักจะไม่เท่าทียมกันและปราศจากการรับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่าย ดังนั้นเรื่องประชาธิปไตยหรือการแสดงความคิดความเห็น ต้องยอมรับว่าในจุดย่อยตรงนี้ยากจะเป็นได้ ทำให้ตรงส่วนนี้อาจพูดได้เลยว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยอยู่ในระดับครอบครัว
- ในระดับสถานศึกษา ซึ่งเป็นสถานที่พื้นฐานอีกอันหนึ่งของประชาชนที่จะเติบโตขึ้น ซึ่งในส่วนนี้การปกครองก็จะเป็นแนวดิ่งเหมือนเดิม คือเรื่องของการสั่งสอนต่างๆ และตัวอำนาจปกครอง เพราะผู้ให้ความรู้ ครูอาจารย์ต่างๆนั้น เปรียบเสมือนผู้ปกครองในยามที่อยู่ในสถานศึกษา และนั่นก็ย่อมหมายถึง เป็นผู้มีอำนาจสิทธิขาดในการกระทำ (ซึ่งรวมไปถึงบทลงโทษตามจารีตที่เน้นความถูกต้องของตัวผู้สอน) แต่ในกลุ่มย่อยส่วนนี้ก็จะมีประชาธิปไตยในระดับวัยวุฒิอยู่ กล่าวคือ ในสถานศึกษาจะมีเรื่องของความเชื่อที่เรียกว่า ระบบอาวุโส(Seniority) ซึงให้ความเคารพต่อรุ่นพี่ หรือว่าง่ายๆคือการสยบต่ออาวุโส ซึ่งกลายเป็นการบ่มเพาะเรื่องของชนชั้นและเผด็จการไว้ตั้งแต่วัยเยาว์ (ดูได้จากเรื่องของการรับน้อง) ดังนั้นเมื่อข้ามระดับชั้นก็จะปราศจากประชาธิปไตย แต่มันจะดำรงไว้เมื่อยามที่อยู่ในวัยและชั้นเดียวกัน ซึ่งหมายถึง คนที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกันนั้นจะยังพอมีประชาธิปไตยหลงเหลืออยู่บ้างไม่มาก็น้อย เพราะ กลุ่มย่อยนี้จะไม่มีเรื่องของกฎเกณฑ์ที่จะมาทำให้เกิดช่องว่างขึ้น จะมีบ้างก็คือเรื่องของอำนาจนิยมผ่านทางกำปั้น ที่เอาเรื่องของพละกำลังมาเป็นตัวกำหนดความเป็นใหญ่ ดังที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า ในส่วนนี้ก็จะมีประชาธิปไตยเพียงน้อยนิด
- ในระดับการทำงาน ในจุดนี้จะแยกเป็น2ส่วนคือ ส่วนของเอกชน และส่วนของราชการ
- ในส่วนของเอกชน ระบบงานก็จะเป็นลำดับขั้นลดหลั่นกันไปตามระดับความรู้ความสามารถ และนั่นย่อมหมายถึง ความแตกต่างข องการมีสิทธิมีเสียง ในการทำงาน ผู้น้อยย่อมต้องเคารพผู้ใหญ่ซึ่งก็เป็นไปตามทั่วไป ระบบเจ้านายลูกน้องที่เป็นระบบพื้นฐานทั่วไปที่ไหนๆก็ใช้กัน คงไม่มีบริษัทหรือห้างร้าน ใช้ประชาธิปไตยในการทำงาน และก็คือส่วนที่พิสูจน์ว่าไม่มีประชาธิปไตยในส่วนนี้
- ในส่วนของราชการ ระบบซี ยศ ตำแหน่ง ที่เป็นการบ่งบอกถึงความใหญ่โตของแต่ละบุคคล สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำแน่นอน และแทบจะไม่ต้องไปนั่งหาประชาธิปไตยในระบบราชการที่แทบจะเป็นเผด็จการฝังรากมานานนม

2 ขั้นทุติยภูมิประชาธิปไตย (Secondary Democracy) หมายถึงระดับที่ไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง คือเป็นการสัมผัสผ่านสื่อหรือเรื่องของตัวแทน ในระดับนี้ประชาธิปไตยจะขยายวงออกไปจากลุ่มย่อยที่กล่าวถึงในข้อแรก ซึ่งในแบบนี้จะแบ่งเป็นส่วนๆไปดังนี้
- ระดับชุมชน ที่จะมีเรื่องของตัวแทนทางความคิด ที่ทีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทางชุมชน อย่างตัวแทนระดับท้องถิ่น เช่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่เป็นตัวแทนความคิดในระดับชุมชน ซึ่งก็เป็นส่วนของประชาธิปไตยระบบตัวแทนที่ใช้ๆกันอยู่ทั่วไป ตรงนี้ค่อนข้างจะก้ำกึ่งกัน เพราะ ถ้าตัวแทนทำตามมติชาวบ้านก็จะเป็นประชาธิปไตยได้ และถ้าไม่ทำตามก็เป็น เผด็จการได้เช่นกัน
- ระดับชาติ ตรงนี้จะเป็นภาพที่ชัดขึ้นเพราะ จะเป็นเรื่องของตัวแทนของเหล่าประชาชนที่จะไปทำหน้าที่ปกครอง ในรูปแบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ซึ่งรูปแบบที่ใช้ก็จะเป็นการใช้การเลือกตั้งอาศัยเสียงข้างมาก เป็นตัวแทนเจ้าของอำนาจในการปกครอง โดยเป็นการมอบอำนาจผ่านความไว้วางใจในการเลือกตั้ง และก็จะมีไปถึงเรื่องของการออก การคิด การเขียน การตั้ง หลักกฎหมายต่างๆที่จะนำมาใช้ในการปกครอง(ที่ในบางครั้งหลอกว่าประชาชนมีส่วนร่วมเป็นวาทกรรมที่น่าชื่นชมยิ่ง) ที่ตรงส่วนนี้จะมีส่วนที่ย้อนแย้งอยู่คืออำนาจนั้นประชาชนผู้เป็นเจ้าของจะมีเวลาได้เป็นเจ้าของไม่กี่อึดใจ จากนั้นประชาธิปไตยทั้งหมด ก็จะตกไปในมือของเหล่าตัวแทน ซึ่งตรงนี้ จากที่ผ่านๆมาก็คงทราบไม่มากก็น้อยว่า มันเป็นอย่างไรกันบ้าง


ดังที่กล่าวมาทั้ง2ขั้น จะเห็นได้ว่า แท้ที่จริงแล้วประชาธิปไตยแทบจะหาไม่ได้เลยในระดับชีวิตประจำวัน และระดับใกล้ๆตัว เพราะทุกภาคส่วนนั้นจะเป็นการปกครองแบบเผด็จการเกือบทั้งหมด อาจจะไม่ไม่ถึงกับเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ก็จะเป็นอย่างน้อยคือ เผด็จการทางความคิด ที่จะเอาความคิดของตนเองเป็นบรรทัดฐานเพื่อตัดสินใจมากกว่าที่ใช้การยอมรับการตัดสินจากการรับฟังความคิดเห็นและร่วมกันหาคำตอบ

อาจจะกล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยระดับปฐมภูมิ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว ยังไม่มีเกิดขึ้นและไม่สามารถสัมผัสได้ รวมไปถึงไม่ได้มีการปลุกฝังและสั่งสอนในเรื่องของประชาธิปไตย ที่ว่าด้วยสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ เมื่อไม่รู้จักและ ใช้ไม่ได้ในระดับย่อย ก็จะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ที่จะให้รู้จักและเอาไปใช้ในระดับ สูงขึ้นไปก็คือ ปฐมภูมิไม่มีการจะให้เกิดขึ้นแบบปุบปับในทุติยะภูมิน่าจะเป็นเรื่องที่ยากเกินความเข้าใจได้

และเมื่อถึงตรงนี้ ความคิดเรื่องประชาธิปไตยก็จะกลับไปสู่จุดที่ว่า แท้จริงแล้วการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นมีจริงๆหรือไม่ เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น
- ตามธรรมชาติ ที่จะเป็นการปกครองแบบ ใช้สัพพะกำลัง แบบเผด็จการความรุนแรง ใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกัน ผู้อ่อนแอจะตกเป็นเหยื่อของผู้แข็งแกร่งกว่าไล่ไปตามห่วงโซ่อาหาร ซึ่งนั่นก็คือการที่ผู้มีอำนาจ(กำลังมากกว่า)ใช้ปกครองผู้ที่อ่อนด้วยกว่า นี่คงไม่อาจเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบธรรมชาติได้
- ส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้น ตามลำดับขั้นของ ยุคสมัย ที่ผ่านมาตามทางของประวัติศาสตร์ ก็จะเห็นว่าระบบการปกครองที่เปลี่ยนผ่านมาเรื่อยๆนั้น เป็นระบบการปกครองของคนๆหนึ่งและคนกลุ่มหนึ่งเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นช่วงยุคไหน ซึ่งต้องรวมไปถึงการใช้อำนาจกำลัง ในการขยายดินแดน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้เอง ก็จะพบว่า เนื้อแท้ประชาธิปไตยก็ยังไม่สามารถจะเกิดได้ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ก็ตาม เป็นได้ที่สุดก็เข้าใกล้ได้แค่ประชาธิปไตยในระบบตัวแทน

หากมองตรงนี้แล้วก็จะกลายเป็นว่า มันไม่เคยมีและไม่อาจจะมี แบบนั้อหรือเปล่า ประชาธิปไตยที่กล่าวขวัญถึงความเท่าเทียมกัน สิทธิเสรีภาพต่างๆ มองในมุมไหนๆ ก็จะหาพบยาก ย้อนกลับมองที่ตัวบุคคลที่จะเป็นจุดเริ่มของทุกอย่างเอง ประชาธิปไตยที่ว่าก็ยากจะเกิดขึ้นได้แล้ว เพราะ แต่ละบุคคลก็จะมี ตัวกรูของกรู ที่ยึดถือกันไว้ไม่มีการวางลง การจะมองหาประชาธิปไตยคงเป็นเรื่องตลกหากแม้แต่ตัวคนพูดเองยังไม่สามารถที่จะ เป็นประชาธิปไตยที่เคารพสิทธิเสรีภาพคนอื่นได้ก่อน แต่ต้องการให้คนอื่น เคารพสิทธิเสรีภาพตัวเอง ภาพที่เห็นมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่อาจจะปฏิเสธได้ เลย

เหล่าผู้ที่บูชาท่องคาถา ว่าประชาธิปไตยทั้งหลายแหล่ ที่กล่าวอ้างว่าประชาธิปไตยในสายเลือด หรือ สู้เพื่อประชาธิปไตย ทั้งหลายต่างก็มีความเป็นเผด็จการทางความคิดไม่ได้ต่างกับ ฝ่ายที่พวกเค้าสู้ด้วยเลย เหล่าวีรชนที่ต่อสู้เพื่อการนี้ต้องสูญชีวิตไปมากมาย แต่คนรุ่นต่อๆไปก็ยังคงเผด็จการกันมาเรื่อย เป็นเรื่องน่าเศร้าของสถานที่แห่งหนึ่งจริงๆ

ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับความเป็นประชาธิปไตยได้ สิ่งเหล่านั้นต้องปลูกฝังและสั่งสอน และสิ่งที่ว่ามาเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้สำหรับบางสถานที่


หรือว่าแท้ที่จริงมันไม่มี เป็นเพียงUtopia ที่ไม่มีอยู่จริงแบบเดียวกัน หรือว่า มันมีและมนุษย์ไม่อาจจะเดินทางไปถึง เพราะเราจะเอาแต่ถอยหลังลงเหวไปเรื่อยๆ กว่าจะพ้นปากเหว ซักพักเราก็จะลงไปใหม่ การเดินทางไปให้ถึงนั้นจะอีกยาวนานแค่ไหน หรือว่าสั้นเพียงไร เราจะได้เห็นจุดจบของมันหรือไม่

คำถามเหล่านี้ไม่ต้องการคำตอบ


"The contest is not between Us and Them, but between Democracy and Absolute,
and if those who would fight Absolute adopt the ways of Absolute, Absolute wins."




 

Create Date : 26 มิถุนายน 2550   
Last Update : 26 มิถุนายน 2550 18:14:19 น.   
Counter : 730 Pageviews.  

เลิกทะเลาะกัน บ้องตื้น หรือ สติไม่สมประกอบ ถึงคิดออกมาได้

การที่จะบอกว่าตอนนี้สังคมแตกร้าว มีแต่เหตุการณ์ทะเลาะกันต่างๆ เรื่องราวเหตุการณ์ของสังคมนั้นก็น่าจะเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสายตาผู้คน ทุกคนรับรู้อยู่แก่ใจ ไม่ใช่ว่าคนอื่นๆตาบอกหูหนวก เป็นใบ้ ที่จะทำให้คนอื่นๆนั้นไม่รู้ว่าในสังคมตอนนี้ทะเลาะกัน สื่อต่างๆก็นำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นสื่อไหนๆก็ตามก็น่าจะเห็นได้ หนังสือพิมพ์ก็พาดหัวการทะเลาะอยู่ทุกวัน ข่าวทีวีก็รายงานแทบจะทุกชั่วโมง่ามีเรื่องราวความขัดแย้งกันในสังคม

เรื่องที่จะมาแยกว่าเป็นใครกลุ่มไหนทะเลาะกัน คงไม่ค่อยน่าพิสมัยเท่าไหร่เพราะก็น่าจะรู้ๆกันอยู่ดีแล้ว มันก็เป็นเรื่องของการต่อสู้กันของอำนาจ2ขั้ว ที่แก่งแย่งชิงฐานอำนาจกัน อันไหนจะเลวกว่าอันไหนอย่าไปพูดถึงเลย

ที่น่าจะพูดถึงและน่าสนใจกว่าคือ พวก กลุ่มคนบางกลุ่มที่พยายามบอกว่าตนเองเป็นกลางเอย ไม่ชอบเห็นการทะเลาะเอย พวกที่ต้องการความสมานฉันท์ ต้องการความสามัคคี แบบไม่ได้ดูหัวดูหาง ไม่ได้สนใจต้นเหตุสาเหตุ อะไรต่างๆ สักแต่ออกมาพูดพล่ามแบบคนบ้าบอ ไร้ซึ่งเหตุผล ไม่รู้ว่าจงใจแอ๊บแบ๊วรึเปล่า หรือว่า แบ๊วจริงๆเองตามธรรมชาติ

เห็นมีอยู่หลายกลุ่มออกมาเรียกร้องความสงบ แบบต่างๆ นั่นหมายถึงอะไร หมายถึงว่า คุณไม่เคารพในความคิดของผู้อื่นเลย คนที่ออกมาทะเลาะกันจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม คนเหล่านั้นย่อมมีเหตุและผล แต่อยู่ๆคุณเดินมาบอกว่า ไม่สนใจเหตุผลหรอกจะทะเลาะกันมาจากไหน จะบาดหมางขัดแย้งมายังไง ตอนนี้ขอให้ดีกัน เอาอะไรคิด ไม่รู้ว่าสมองยังทำงานดีอยู่หรือเปล่า หรือเอาไว้แค่คั่น2หูแค่นั้น

พวกที่น่ารังเกียจและเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยที่สุด ก็คือคนกลุ่มที่อ้างความเป็นกลางนี้เอง คนพวกนี้เป็นเหมือนกับคนที่มือไม่พายแล้วยังลงไปว่ายน้ำเล่น ขวางทางเรืออีกต่างหาก คือไม่ช่วยไม่คิด ยังไปขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตยอีก

การที่คนคิดไม่เหมือนกันมันเรื่องปกติ ฝาแฝดตัวติดกันยังคิดไม่เหมือนกันเลย คุณเป็นตัวอะไร อยู่ๆจะมาบอกให้คนอื่นๆ คิดเหมือนคุณ บอกให้สมานสามัคคี แบบนี้ก็ไม่ต่าสงอะไรกับเผด็จการทางความคิดที่ขีดเส้นความดีขึ้นมาหนึ่งเส้นแล้วบอกว่าเออ ตรงนี้ดี ล้ำเส้นนี้ไปถือว่าเลวชาติ แบบนั้นรึไง

อยากให้คนกลุ่มที่ออกมาพูดแบบนี้ เข้าใจว่าอะไรคือ ประชาธิปไตย มันคือการยอมรับฟังความคิด ความเห็นคนอื่นๆ ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ ตามหลักประชาธิปไตย จะทะเลาะอะไรกัน ถ้ามันยังอยู่ในกรอบของกฏหมายอยู่ก็ จงตะหนักไว้ว่า มันคือประชาธิปไตย ถ้ามันล้ำกรอบออกมาก็ไม่ใช่ เรื่องของหลักการ สิทธิ เสรีภาพ มันเป็นเรื่องพื้นๆ ของประชาธิปไตย พวกคุณยังไม่รู้เลย จะออกมาเรียกร้อง ให้สมานฉันท์ พุดโธ่

ปัญหาบ้านเมืองที่เกิดๆ กันมาแต่สมัยไหน ก็ไอ้พวกเผด็จการทางความคิดแบบนี้แหละ ที่สักแต่คิดเองเออ เองไม่ดูอะไรเลย สภาพแวดล้อม เหตุผลต่างๆ ไม่เคยมีในหัว พอเผด็จการทางความคิดแบบนี้แพร่ไปเรื่อยๆ มันก็จะมาลงอีหรอบเดิมคือ พอถึงจุดนึงคนอื่นคิดไม่เหมือนก็มีปัญหา วนไปวนมาไม่จบไม่สิ้น

ไอ้ที่มันวุ่นวายกันอยู่ๆ นี่แหละคือประชาธิปไตย ตะหนักใส่ะโหลกบื้อๆ ไว้เลย เพราะประชาธิปไตยมันคือการเห็นต่าง สิ่งที่สำคัญสุดคือ ต้องหาข้อสรุปของความต่างให้ได้ และเป็นการประนีประนอมทางความคิดไม่ใช่เผด็จการทางความคิด และบ้านเมืองก็ต้องมีกฏหมายที่สร้างความเป็นธรรม เน้นนะ สร้างความเป็นธรรมในสังคม (ตรงนี้ไม่เคยมี มีแต่ ทีใครทีมัน ) บ้านเมืองมีนเลยเดินไปไม่ถึงประชาธิปไตย แล้วไหนจะมาเจอพวกมนุษย์สันติสุขเข้าสายเลือด แบบไม่รู้เหนือรู้ใต้แบบคนกลุ่มบ้านี้อีก ยิ่งไปกันใหญ่

อยากจะบอกให้พวกคนกลุ่มที่ออกมาเรียกร้อง สันติสุข สามัคคี กลับไปนั่งคิด นอนคิด ยืนคิด ตรองดูใหม่ว่า อะไรที่ตัวเองเรียกร้อง ความสามัคคี สมานฉันย์ อะไรนั่นมันง่ายแบบนั้นเลยเหรอ แค่คุณเดินมาบอก เออ เรารักกันเถอะนะ อย่าไปทะเลาะกันอีกเลย คุณไม่เคยสนใจและใส่ใจในความเป็นไปจริงๆเลยนี่หว่า

ไม่ได้สนใจเหตุการณ์บ้านเมืองเลยหรืออย่างไรว่า เรื่องที่ทะเลาะกันอยู่มันคืออะไร สื่อก็ลงให้ดูให้อ่านเยอะแยะ ไม่มีความคิดจะดูบ้างหรือไง ไม่ได้รู้เรื่องอะไร ก็ออกมาพร่ำบอกให้คนอื่นรักกัน สติยังดีอยู่หรือเปล่าไม่รู้ ไม่ได้รู้อิโหน่อิเหน่ก็ออกมาเรียกร้อง ทำแบบนี้คงจะหวังผลว่าพอทำแล้วตนเองจะดีเลิศประเสิฐศรี เป็นเหล่าพ่อพนะแม่พระที่สังคมจะเชิดหน้าชูตามากกว่า ไม่ได้มีความหวังดีแบบเนื้อแท้หรอก




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2550   
Last Update : 19 มิถุนายน 2550 23:06:54 น.   
Counter : 554 Pageviews.  

ล่มจม

ความล่มจม และหายนะ ตลอดเรื่อยจนเป็นกลียุค ที่กำลังคืบคลานเข้าหาทีละเล็กละน้อย ซึ่งเป็นไปอย่างแนบเนียนและ มั่งคงอย่างยิ่ง จนผู้คนไม่ทันระวังตัวและ ไม่รู้สึกถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

ผู้คนที่อาศัยอยู่ในภาวะวิกฤติ วิกฤติที่ปะเดปะดังเข้าหาผู้คนที่อาศัยอยู่ทั่วทุกหัวระแหง วิกตินั้นเป็นอย่างไรมีอะไรบ้างแล้วทำไม ถึงกล่าวว่ามันจะนำพามาซึ่ง ความล่มจมที่มองไม่เห็นนั้นๆ จะอธิบายกันเป็นฉากๆไป

ปัจจัย4ที่เริ่มจะเข้าไม่ถึงมากขึ้นทุกวัน ปัจจัย4ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการดำเนินชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ปัจจัย4ก็ต้องการไม่ต่างกัน
อาหาร ที่ราคาจะถีบตัวขึ้นทุกวันๆ และก็จะเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะความต้องการบริโภคของคนนั้นเป็นวิถีชีวิตปกติ ที่ใครๆก็ต้องกิน ช่องทางที่สดใสของเหล่านักทำกำไรก็เกิดขึ้น คือพวกพ่อค้าคนกลาง โรงสี ตลอดไปจนถึงรัฐที่ว่าด้วยภาษี ที่ขูดรีด เหล่าเกษตรกรจนแทบจะเหลือเพียงหนังติดกระดูก ชาวนาชาวไร่ ขนผลผลิตมาขาย ได้เงินซื้อ ผลผลิตที่ตัวเองขายกลับไปได้ไม่กี่ส่วน ส่วนต่างที่เหล่าคนหัวใสที่น่ายกย่องด้วยเกียตริยศความมีหน้ามีตาทางสังคมเหล่านั้นรับประทานไปอย่างอิ่มเอม แล้วก็เป็นแค่คนกลุ่มนี้ที่ได้ผลกำไรจากผลผลิตที่เหล่าชาวบ้านทำมา หรือว่าเรายังไม่ก้าวพ้นระบบฟิลดัล ด้วยระบบการผลิตที่นับวันเหล่าผู้ผลิตจะย่ำแย่ลงทุกวัน ที่ดินทำกินเองก็เป็นของนายทุน ชาวนาชาวไร่ได้แต่ไปเช่าเขาทำ ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตก็เพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ค่าตอบแทนให้กับผู้ผลิตน้อยลงทุกวัน ส่วนต่างนั้นไปตกกับเหล่าผู้มีอันจะกินหมดแล้ว หรือว่านี่คือสิ่งที่ควรจะต้องเป็น อาหารจะเริ่มไม่พอให้กับผู้คนในสังคม และจะไม่พอขึ้นเรื่อยๆ จะต้องรอให้มันไม่มีจะกินก่อนหรือถึงจะค่อยมาแก้กัน

เครื่องนุ่งห่ม ที่ไม่ถึงกับเข้าถึงยากแต่กลับเป็นเข้าถึงแบบฉาบฉวย ความใจร้อนด่วนได้ และด้วยสมัยนิยม ทำให้ผู้คนใช้ทรัพยากรเครื่องนุ่งห่มแบบขอไปที สักแต่ว่ามี สักแต่ว่าใช้ ข้ออ้างที่โดนหลอกต่อๆกันมา ไม่ว่าจะแฟชั่น อินเทรนด์ ฯลฯ ที่ต่างออกมายั่วความต้องการบริโภคอย่างถึงแก่น ผู้คนแสวงหาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมาใช้ ตามสมัย ตามข้ออ้างแห่งแฟชั่น การโอ้อวด แข่งขันกัน ทางเครื่องนุ่งห่มกลายเป็นสงครามกลายๆ ทั้งทางผู้ผลิตที่ก็มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเลือดพล่าน เพราะมีทั้งทางผู้ผลิตแบบที่เป็นยี่ห้อที่ ก่อให้เกิดความคลั่งยี่ห้อ หรือเกิดสาวกในยี่ห้อนั้นๆ อีกด้านคือเหล่าผู้ผลิตผี ที่คอยก๊อบปี้ยี่ห้อดังๆ ต่างวิ่งไล่ตามกันไปแบบไม่ลดระ เหล่าผู้บริโภคเองก็วิ่งตามไม่ต่างกัน จะด้วยเหตุผลกรใดก็ตามแต่ แต่ต่างคนก็ต่างใช้ทรัพยากรเครื่องนุ่งห่มแทบจะไม่ต่างกับ การใช้กระดาษชำระที่ ใช้ครั้งเดียวทิ้งก็มี เพราะ เสื้อผ้านั้นตกยุคไปแล้ว จะนำมาใส่อีกก็ไม่ได้ แล้วเรายังใส่เสื้อผ้าเพื่อปกป้องร่างกายจากธรรมชาติ หรือ

ยารักษาโรค ว่าด้วยวาทะยอดฮิต 30บาทรักษาทุกโรค ประโยคนี้สะท้อนอะไรให้เราคิดบ้าง สิ่งที่สะท้อนก็คือ ราคาของการรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วย ที่ในทุกวันนี้ต้องอาศัยเงิน เงิน เงิน แล้วก็เงิน คนมีเงินก็สบายไปในยามเจ็บไข้ ส่วนคนไม่มีเงินต้องรอคอยอาศัยแบ่งส่วนบุญจากนโยบายรัฐ ถึงจะมีการมาเปลี่ยนเป็นรักษาฟรีแล้วก็ตาม แต่ถึงอย่างไร สิ่งที่ปรากฏชัดก็ยังเป็นเรื่องของ การเข้าถึงปัจจัยการรักษาโรคที่คนเริ่มเข้าถึงยากขึ้นเรื่อยๆ ระดับการรักษาที่แบ่งระดับชั้นของคน รวมไปถึงตัวยาต่างๆที่มีการแบ่งระดับด้วย อีกทั้งยังมีเรื่องของยาตามสมัยหรือ การักษาโรคตามสมัย คือโรคความสวยความงาม หรือโรคอ้วน (บางทีก็ไม่ได้อ้วน) ซึ่งยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงโรคภัยไข้เจ็บที่ยิ่งมากขึ้น และการรักษาที่ก็ต้องใช้เงินมากขึ้นเป็นเงาตามตัว มาตรว่าถ้าจนก็ตายไปกับโรค การเข้าถึงยิ่งริบหรี่ลงทุกวัน

ที่อยู่อาศัยปัจจัยสุดท้ายที่ยากยิ่งที่จะเป็นเจ้าของ บางคนต้องใช้ทั้งชีวิตเพื่อการนี้ การจะเป็นเจ้าของที่ดินได้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจับจองเป็นเจ้าของ ราคาที่ถีบตัวสูงขึ้น การกว้านซื้อของเหล่านายทุน เพื่อเก็งกำไรหรือเพื่อการค้าต่างๆ และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม สิ่งเหล่าผู้มีอันจะกิน อภิชน ทั้งหลายทำคือ สิ่งที่มีผลกระทบมายังเหล่าผู้คนทั่วไปอย่างมาก เหล่าผู้เก็งกำไร ต่างพากันร่ำรวยที่ดินกันไป แต่ละตระกูลดังๆ มีทรัพสมบัติเพิ่มพูนขึ้นมากจากการทำมาหากินในรูปแบบนี้ ซึ่งเป็นการทำมาหากินที่ไม่ได้ช่วยให้ผู้คนทั่วไปได้อะไรด้วยเลย อีกทั้งรัฐเองก็เป่าสกพอกันที่จะไม่มีมาตรการดูแลสิ่งที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน ที่น่าจะให้ ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ ไม่ใช่กลายสภาพเป็นทรัพยากรที่ยกแก่การเข้าถึงไปเรื่อยๆ ผู้คนทั่วไปจะมีอนาคตต่อเรื่องนี้อย่างไร จะต้องใช้กี่ชั่วคนในการเข้าถึงและเป็นเจ้าของ ผู้คนที่ไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทอง เกิดมาเท้าแดง จะอาสํยผืนแผ่นดินส่วนไหนอยู่ เมื่อมันตกเป็นของเหล่าอภิชนและเหล่านายทุนไปหมดแล้ว

การพัฒนา การศึกษาที่ย่ำอยู่กับที่ไม่พอยังเริ่มนำพาตัวเองถอยหลังลงเหวไปเรื่อยๆ คำกล่าวที่ว่าเด็กและเยาวชนคืออนาคตของชาติ เป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง แต่คำกล่วนั้นไม่ได้ระบุลงไปว่า อนาคตนั้นจะสดใสหรือมืดมน และถ้ายังเป็นแบบนี้คำตอบน่าจะเป็นมืดมิดมากกว่า ผู้มีอำนาจที่มักจะพูดถึงการปฏิรูปการศึกษาที่ทำมาไม่รู้กี่ปีกี่ชาติ และก็ยังคงปฏิรูปกันไปเรื่อยๆ ในแบบที่ว่าคนใหม่เข้ามาทีก็มีนโยบายเป็นตัวของตัวเองที ซึ่งมักไม่ซ้ำกันในรูปแบบแต่มักจะไปซ้ำกันในจุดหมายปลายทาง คือปลายทางที่มักจะตันแบบเดียวกัน การพัฒนาการศึกษาที่เป็นการแข่งขันกันรับประทานทางการเมืองเอย หรือจะเป็นการหาเสียงกัน หรือแม้กระทั่งการพยายามทำการศึกษาให้กลายเป็นศึกษธนกิจ มากกว่า คือการทำให้เกิดช่องทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้นับวันระบบการศึกษาจะแบ่งระดับมากขึ้น กลายเป็นเรื่องการศึกษาที่มีชนชั้นในตัวมันเองกลายๆ แต่ละโรงเรียนแต่ละมหาลัย มีระดับแตกต่างกันไป คุณภาพการศึกษาที่ไม่เท่ากันทำให้เปิดทางการแบ่งแยก แย่งชิงกันเข้าสู่โรงเรียนที่มีชื่อและมหาลัยที่มีชื่อ กลายเป็นเรื่องของหน้าตาทางสังคมไปอีกส่วน นำพาไปสู่ปัญหาคลาสสิก ก็คือ เรื่องของแป๊ะเจี๊ยะ ตลอดไปจนถึงเส้นสาย ที่เป็นการสะท้อนว่าคนจนนับวันจะยิ่งโอกาสน้อยลงเรื่อยๆ และเปิดโอกาสให้อีกพวกเพิ่มพูนมากขึ้นด้วย อนาคตที่แบ่งทางเดินยิ่งชัดเจนมากขึ้น

และนอกจากรูปแบบโครงสร้างแล้ว ตัวเนื้อหาเองก็ด้อยไม่ต่างกันคือ เรื่องของการยัดเยียดเนื้อหาในรูปแบบของการท่องจำ ที่ว่าด้วยการจำๆกันไป ใครจำได้มากเป็นคนเก่ง การสอนให้ใช้ความคิดยังคงเป็นเรื่องต้องห้ามในรูปแบบเนื้อหาการสอน ไม่ว่าจะด้วยประเพณีอันดีงามของเราเองที่ พร่ำสอนกันมาว่า ให้เชื่อๆตามกันไป ให้ปฏิบัติตามๆกันไป เหล่านี้เป็นส่วนบั่นทอนทางความคิดให้ตายด้านลงไปเรื่อยๆ จนได้ประชากรแห่งอนาคตที่ออกมาพิมพ์เดียวกันไปหมดเต็มบ้านเต็มเมือง ราวกับออกมาจากสายพานโรงงานเดียวกัน สิ่งเหล่านี้คืออนาคตของชาติที่แสนภาคภูมิใจ

ระบบเศรษฐกิจเองที่แทบจะอยู่ด้วยตนเองไม่ได้ ต้องอาศัยต่างชาติเกือบๆทั้งหมด ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองไม่ได้เลย เพราะผู้คนทั่วไปในตอนนี้มีรายได้ไม่พอจะยาไส้กันซะมาก ส่วนพวกที่มีอันจะกินก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ เหล่าบริษัทต่างๆก็เป็นของต่างชาติซะมาก และถึงเป็นของคนไทยแต่พอตอนท้ายก็มักจะขายหุ้นให้ต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบริษัทใหญ่เหล่านี้นี่เองที่เป็นกระแสหลักของระบบเศรษฐกิจซึ่งหากวันไหนต่างชาติถอนหุ้นออกสภาพก็คงเป็นความล่มสลายของประเทศ เพราะเม็ดเงินต่างๆจะไม่เหลืออีกเลย ในจุดนี้เองพวกเหล่าคนที่อยู่ด้านบนก็คงไม่เดือดร้อนอะไรเท่าไหร่ พวกที่เหลือๆ จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรต่างหาก เพราะหากถึงจุดนั้นคงไม่มีใครสนใจจะช่วยเหลือใคร นอกเสียจากการเอาตัวรอดกัน ผู้ใดที่ไม่สามารถพาตัวเองรอดได้ก็คงสูญสลายไปเองตามธรรมชาติของการแข่งขันที่มีเพียงผู้มีศักยภาพพอเท่านั้นที่จะมีชีวิตรอดได้ อนาคตของเศรษฐกิจที่หวังพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธ์โชคลาภ ก็เป็นความหวังที่คนทั่วไปทำได้เพราะนอกจากนั้นแล้วจะให้พวกเขาทำเช่นไร

ระบบงานระบบอาชีพ ก็เป็นผลพวงต่อเนื่องมากจากระบบการศึกษาที่สร้างผลผิลตซ้ำๆ กันออกมาสู่ตลาด และประกอบกับระบบเศรษฐกิจที่ตอบสนองนายทุนและพวกชนชั้นอภิชนมากกว่า เมื่อ2แรงแข็งขันกัน ทำให้ เหล่าผลผลิตซ้ำ ทยอยออกสู่ตลาดจนกลายเป็นภาวะ งานซ้ำๆ หรือไปจนถึงงานที่ไม่ควรมี อย่างเหล่างานกินหัวคิวทั้งหลายที่หั่นออกมาในหลายๆรูปแบบ งานที่เป็นงานที่ก่อให้เกิดความเติบโตแบบแท้ๆ หรืองานที่สร้างผลผลิตตอบสนองสังคมจริงๆ หาน้อยมาก แล้วงานเกษตรที่มักพูดกันเสมอๆ ว่าเป็นกระดูกสันหลัง ที่เริ่มจะน้อยลงไปเรื่อยๆ และพอหมดเกษตรกรรุ่นนี้ไป ต่อไปจะมีคนรุ่นใหม่คนรุ่นต่อๆไปไปทำงานเกษตรอีกหรือ ไม่ เพราะสิ่งที่เรียนกันมามันตบสนองงานเมือง แล้วงานเกษตรที่เรากินๆผลผิลตกัน จะไม่เหลืออีก ต่อไป งานในรุ่นต่อๆไปจะเป็นเช่นไร จะเอาแค่กินหัวคิวกันไปมาแล้ว ก็การพนันมาต่อตาล่อใจให้หวังกับเงินทางลัด และไม่มีงานที่เป็นงานเป็นอาชีพ แท้ๆ

การเมืองที่มีแต่เรื่อง วาทกรรม กำมะลอ หลอกชาวบ้านชาวช่องกันไปวันๆ การปกครองที่ยังคงมุ่งเน้นเรื่องของอำนาจ ตามอำนาจนิยมที่เป็นความเชื่อฝังแน่นอยู่เป็นรากฐานของระบบการปกครอง อำนาจอธิปไตยที่เป็นของคนกลุ่มเล็กๆ ประชาชนแต่โดนหลอกไปวันๆว่ามีส่วนในการร่วมของการปกครองซึ่งแท้ที่จริงไม่เคยเห็นว่ามีอยู่ การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองที่ทำกันจนเป็นนิสัย อีกทั้งยังกีดกันประชาชนธรรมดาทั่วไปออกจากการเมืองด้วยกรรมวิธีต่างๆนานา เช่น การทำให้การเมืองน่าเบื่อมีแต่ข่าวการเมืองน้ำเน่าให้ผู้คนหน่ายจนเบื่อการเมือง การกำหนดคุณสมบัติต่างๆให้เพียบพร้อมซึ่งเป็นการกีดกันทางการเมืองกลายๆเพราะที่เพียบพร้อมมักจะมีเพียงคนแค่หยิบมือ และก็บางทีคนกลุ่มนี้ก็สามารถสร้างคุณสมบัติได้ และแน่นอนชาวบ้านทั่วไปคุณสมบัติถึง ทำให้กลายเป็นการเมืองเรื่องคนดีพร้อม ไป ส่วนผู้คนทั่วไปก็ได้แค่มองตาปริบๆเพราะถูกถีบหัวออกไปจาก การเมืองที่อ้างว่าทุกคนมีส่วนแต่ทุกคนที่ว่านั้นต้องเป็นเพียงทุกคนที่มีคุณสมบัติแบบที่กำหนด ฯลฯ อีกมากที่เป็นการกีดกันกลายๆที่ในบางครั้งก็ถูกละเลยจากคนทั่วไปและเป็นความจงใจของผู้มีอำนาจ และไหนเลยจะไปถึงอนาคตของการปกครองที่กล่าวอ้างเป็น วาทกรรมกำมะลอได้

ไหนเลยจะมีเรื่องของวาทกกรมรัฐธรรมนูญ กำมะลออีก ที่ เอาคนระดับบนไม่กี่มาร่างแล้วหลอกชาวบ้านให้เชื่อว่าจะดี สำหรับประชาชน เพียงเพราะเป็นฉบับที่จั่วหัวไว้ว่าฉบับรับฟังความคิดเห็น แน่นอนรับฟังไม่ได้ระบุต่อไปว่ารับฟังแล้วจะเป็นยังไงต่อ เพราะก็แค่รับฟังไม่ได้บอกว่าหลังจากฟังเสร็จแล้วจะทำเช่นไรกับเสียงนกเสียงกาที่ร้องออกมาหลังจาก ที่นกกาได้ร้องระงม ช่างน่าขันที่มีเพียงคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นมีสิทธิมีอำนาจกำหนดความเป็นไป แล้วกล่าวอ้างว่าประชาชนมีส่วนร่วม อนาคตที่กำหนดจากเหล่าอำมาติ ก็คงเป็นได้แค่ข้อกำหนดที่ยกยุคสมัยและ ก็จะนำพาให้ล้าหลังยิ่งขึ้นอีกต่อๆไป

สังคมที่ เต็มไปด้วยปัญหาสังคม ในรูปแบบที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาเรื้อรัง เพราะปัญหาเหล่านั้นแทบจะไม่ต่างกับโรคร้ายที่ยากจะรักษาหายได้ในสังคมไทย ปัญหามากมายที่หมักหมมไว้ตั้งแต่สมัยไหนต่อไหน ได้แต่คอยเอายัดไว้ใต้พรม ซึ่งพรมนั้นก็เก่าขึ้นทุกวัน ขยะที่อยู่ใต้ก็ส่งกลิ่นเหม็นมาคอยรบกวน แต่ไปๆมาๆ ผู้คนก็เริ่มที่จะชินกันกลิ่นเก่าๆ โดยให้ความสำคัญไปที่ขยะใหม่ๆที่ยังไม่ได้กวาดเข้าไปใต้พรม แต่มันก็จะทำความสะอาดได้ไม่ถึงไหนเพราะต้นเหตุแห่งขยะใหม่มันคือขยะเก่าๆที่ไม่ยอมที่จะขจัดกัน ก็จะกลายเป็นเรื่องที่หมักหมมกันไป วนไปวนมา ไม่มีแนวโน้มที่จะขจัดปัญหาออกไปได้เพราะ ไม่มีใครคิดจะแก้ปัญหาเก่าๆ รื้อสร้างระบบเก่าๆที่ก่อให้เกิดปัญหา อนาคตก็จะเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่อไป ขายผ้าเอาหน้ารอดแบบที่เราเป็นมาเสมอๆ

วาทกรรมครอบงำที่ยังครอบงำกันมานานนมและยังไม่มีวี่แววที่จะเลิก การครอบงำที่ปกคลุมไปทั่วทุกหัวระแหง ยิ่งเทคโนโลยี่พัฒนาไปเท่าไหร่การครอบงำผ่านเทคโนโลยี่ก็จะไปตาม สื่อทุกประเภทถูกเหยียบอยู่ใต้อุ้งเท้าของรัฐ เพียงเพื่อต้องารกให้สื่อที่ทำหน้าที่ให้ข่าวสารต่างๆให้ความรู้ต่างๆแก้ประชาชน กลายสภาพเป็นปากเป็นเสียงเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐ ช่างเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญเสียนี่กะไร เพราะประเทศชาติจะ สมัคสมานสามัคคี เต็มเปี่ยมไปด้วยความสมานฉันท์ เห็นพ้องต้องกันไปหมดแบบที่เหล่าผู้มรอำนาจต้อง มันง่ายมากเลยที่จะครอบงำสังคม และนั่นเองก็เป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญไปด้วยที่เหล่าผู้คนสมยอมให้ครอบงำ ด้วยการหันไปหาสิ่งบันเทิงเริงรมย์ เพราะชีวิตนั้นเครียดพอแล้วอยากพักผ่อน เป็นการสมประโยชน์กันไป เหล่าผู้มีอำนาจก็ไม่ต้องมี ประชาชนมาเรียกร้องอะไร ชาวบ้านก็สบายใจกันไปที่ได้รับความสนุกสนานไปวันๆ

ดังที่กล่าวถึงและก็ยังมีอีกมาที่ไม่ได้กล่าวถึง อนาคตที่รอเราอยู่มันช่างสดใสเสียนี่กระไร แต่ถึงไม่ว่าจะอย่างไรเราก้ได้แต่ก้มหน้ายอมรับชะตากรรมที่เหล่าผู้มรอำนาจกำหนดมา และได้แค่ยอมมีความสุขเพียงแค่นี้ เขากำหนดมาเช่นไรก็เป็นเช่นนั้น เขาบอกให้เรามีความสุขแค่นี้เราก็จงเลือกรับความสุขแค่ที่เค้ากำหนด เพียงแค่นั้นเองหรือที่คนทั่วไปทำได้

เมื่อถึงตอนนั้นหากลูกหลานถามเราผ่านหลุมศพ เราจะเอาอะไรไปตอบลูกหลานได้ ว่าทำไมลูกหลานแห่งอนาคตต้องมารับชะตากรรมที่พวกเขาต้องตกระกำด้วยน้ำมือคนยุคเรา

อีกไม่นาน เมื่อทุกอย่างล่มสลายลง เมื่อนั้นหมอกควันแห่งซากปรักหักพังจะยังบังตา ประชาชนได้อีกหรือไม่ คำตอบนั้นอยู่ข้างหน้า และได้แค่หวังว่า คำตอบน่าจะออกมาแบบที่เราคิด




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2550   
Last Update : 19 มิถุนายน 2550 22:44:43 น.   
Counter : 540 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  

KongMing
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เล่าจื้อกล่าวว่า"ผู้รู้เขาคือปราชญ์"
และกล่าวอีกว่า"ผู้รู้เราคือปัญญาชน"
ณ ปากทางเข้าถ้ำวิหารเทพอพอลโล่แห่งเดลฟี
มีป้ายทองคำเขียนว่า "Know thyself" แปลว่า รู้จักตนเอง
"temet nosce" ภาษาลาตินที่Oracleกล่าวให้
Neo รู้จักตนเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดของคนเราอยู่ที่ คำกล่าวเหล่านี้
[Add KongMing's blog to your web]