ความไม่รู้เป็นลาภอันประเสริฐ

ระบบคิดแทน

การคิดแทน หรือตัวแทนทางความคิดเป็นรากฐานของการปกครองพื้นฐานจากวัฒนธรรมไทยหลายส่วน

เริ่มจากขั้นพื้นฐานของการปกครองที่มีจุดเริ่มจากครอบครัว ซึ่งในวัฒนธรรมไทยนั้น พ่อและแม่ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในครอบครัวจะมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเด้ดขาดแบบไทยๆในลักษณะที่ตรงข้ามกับระบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพื้นฐานที่สิทธิเสรีภาพทางการแสงออกไม่ว่าจะเป็นทางความคิดหรือทางพฤติกรรม การเป็นใหญ่ทางความคิดแทนของผู้ปกครองในครอบครัว ก็มีรากเหง้ามาจากระบอบปกครองแบบเก่า ซึ่งเป็นการมอบสิทธิและอำนาจให้ผู้ที่ทำการปกครองอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงออกถึงสิ่งต่างๆ อันจะเห็นได้จาก หลายๆคำพูดซึ่งเป็นส่วนในการบั่นทอนแนวความคิดทางประชาธิปไตย เช่น

คำกล่าวที่ว่า
- เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ที่บ่งบอกถึงการปฏิบัติตามผู้ใหญ่เพราะเขาเหล่านั้นจะช่วยปกป้องเราจากสิ่งที่จะมาทำร้ายได้ และย่อมหมายความรวมไปถึงด้วยว่า หากเราไม่ทำตามอาจทำให้เราได้รับบาดเจ็บจากการทำร้ายได้
- อาบน้ำร้อนมาก่อน ที่หมายถึงการเชื่อผู้ใหญ่ซึ่งผ่านประสบการณ์ต่างๆมาก่อนแล้ว เป็นการตอกย้ำถึงเรื่องของความรู้ที่ได้รับการสั่งสอนกันต่อๆมาเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามต่อๆไป ผู้ที่อาบมาก่อนไม่ใช่เรื่องของความถูกต้องเสมอไป แต่ด้วยความหมายที่ไม่ชัดเจน คำนี้กลายสภาพเป็นคำที่ใช้ เพื่อความถูกต้องของผู้ปกครองไป
- เถียงคำไม่ตกฟาก ความหมายของคำนี้ก็คือ พูดคำถียงคำไม่หยุดปาก,เถียงโดยไม่ฟังเหตุผล หากแต่เมื่อนำมาใช้จริงแล้วปรากฏว่าคำนี้ไม่ได้หมายถึงความหมายของตัวมันเอง เพราะคำนี้ได้รับการนำไปใช้ในการปรามผู้อยู่ภายใต้การปกครอง ในลักษณะที่ความหมายผิดเพี้ยนกลายเป็น อย่าเถียงมาก แต่ละเลยถึงเรื่องของเหตุและผลในการถกเถียงนั้นๆไป

และอีกหลายๆคำกล่าว ซึ่งมิได้นำมาพูดถึง ณ ที่นี้

ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น วัฒนธรรมเก่าที่ยังคงปกคลุมบ้านเมืองอยู่ทำให้สภาวะประชาธิปไตยยังคงยากที่โตขึ้นได้อย่างเป็นลำดับ สังคมไทยยังคงยอมรับการคิดแทนเป็นเรื่องที่ถูกที่ควรอยู่ การมอบอำนาจทางความคิดทั้งหมดให้กับผู้หลักผู้ใหญ่เป็นเรื่องที่ดีด้วยเหตุผลต่างๆตามอย่างที่เคยคิดกันมา

วัฒนธรรมความคิดเก่าอาจเป็นเรื่องที่ถูกต้องในสมัยหนึ่งๆได้ แต่นั้นย่อมต้องหมายถึงการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยด้วย ไม่ใช่การรับต่อมาโดยที่ไม่มีการกลั่นกรอง และแน่นอนไม่จำเป็นต้องไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆที่ไหน เพราะปัจจัยต่างย่อมนำมาซึ่งสิ่งทั้งหลายต่างกันด้วย ไม่มีการระบุได้หรอกว่า วัฒนธรรมตะวันตก หรือตะวันออก ของไทย หรือของเทศ เก่าใหม่ อันไหนดีกว่ากัน หรืออันไหนดีที่สุด มันเป็นเรื่องของการนำมาประยุกษ์ไปใช้ไม่ใช่การที่เลือกทำตามแบบไม่ยั้งคิด

ระบอบประชาธิปไตยคือเรื่องของการเสรีภาพในการแสดงความคิดความเห็นและการแสดงออกอย่างเสรี ซึ่งแน่นอนหากกล่าวเช่นนี้ ความย้อนแย้งย่อมตกไปอยู่ที่ความคิดแบบไทยๆ ดังที่กล่าวมา แนวคิดเรื่องของผู้ปกครองมีอำนาเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและ แนวคิดเรื่องการเชื่อฟังผู้ปกครองเป็นสิ่งที่ดี เป็นเครื่องหล่อหลอมให้กับตัวโครงสร้างทางสังคมมาจนปัจจุบัน

ระบบคิดแทน อาจเป็นประชาธิปไตยในลักษณะตัวแทน ซึ่งหากมองกันถึงบริบทที่แท้แล้ว ตัวแทนน่าจะต้องเป็นเพียงผู้รับเอาแนวความคิด ของผู้ที่เลือกผู้นั้นเป็นตัวแทนของพวกเขานำไปปฏิบัติมากกว่าที่เป็นไปอยู่ในปัจจุบันที่ ตัวแทนเหล่านั้นกลับกลายเป็นผู้เสนอแนวความคิดมาให้เหล่าผู้เลือกตัวแทน และเมื่อเป็นเช่นนี้ เหล่าตัวแทนนั้นก็จะกลายสภาพเป็นผู้คิดแทน และส่งให้ผู้คนที่เลือกอยู่ในสภาพเชื่อในความคิดของพวกเขา

เมื่อประชาธิปไตยคือการแสดงความคิดเห็น แต่การมอบอำนาจทางความคิดกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย นั่นเป็นเรื่องราวที่พิสูจน์ชัดว่า หลายอยางย้อยแย้งในตัวของมันเอง

ปัจเจกบุคคลที่มีความคิดหลากหลายแตกต่างกันไป ตามหลักของยุคหลังสมัยใหม่ หากแต่ความคิดที่แตกต่างพอมาสู่ระบบการปกครองความต่างนั้นก็จะถูกจำกัดรวมศูนย์ลงไปอยู่ที่ กลุ่มผู้ได้รับการคัดเลือกแล้ว ซึ่งหมายความว่าอำนาจทางความคิดจะตกไปอยู่กับชนชั้นปกครองที่เป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น การเปลี่ยนถ่ายอำนาจก็จะเป็นไปในแนวระนาบ ไม่มีการกระจายในแนวดิ่งลงสู่ผู้คนทั่วไป

อย่างการร่างกฎหมายซึ่งกฎหมายที่นำมาบังคับใช้ผู้คนทั่วไปแต่การร่างนั้น เป็นการร่างมาจากระบบคิดแทน ย่อมไม่สะท้อนความจริง ถึงสิ่งที่ร่างออกมาได้ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเองไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร
การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารจากประชาชนโดยการคิดแทนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ดีไม่งาม ไม่ฟังเสียงของประชาชนผู้ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน กล่าวอ้างเพียงเพื่อศีลธรรมอันดีงาม และความหวังดีต่อลูกหลาน
การกระทำแบบคิดแทนหลายๆอย่างก็ยิ่งสะท้อนภาพความผิดเพี้ยนทางความคิดมากขึ้นไปเรื่อยๆ
จากหลายปัจจัยทำให้ระบบคิดแทนเพื่อการปกครองเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ทั่วไป เพราะความเชื่อในการมอบอำนาจทางความคิดให้กับผู้ใหญ่ที่ยังปกคลุมสังคมไทยอยู่เสมอมา

เมธีปราชญ์หลายท่าน โสเครติส เพลโต อริสโตเติ้ล อาจกล่าวถึง ผู้นำปราชญ์ แต่นั่นไม่ใช่การมอบอำนาจทางความคิดทั้งหมด ให้ผู้นำนั้นๆ แต่จะมอบอำนาจความคิดเมื่อมีความขัดแย้งที่ตัวสังคมไม่อาจตัดสินได้ จึงมอบอำนาจนั้นให้เพื่อการตัดสินต่างๆ การมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคนเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับสังคมและเหล่าปราชญ์นั้นๆก็กล่าวถึงเช่นนั้น

ภาคประชาชนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนให้คิดและแสดงออกทางการเมือง จะมีผลให้ประชาธิปไตยที่มุ่งเน้น ความมีสิทธิ์และเสรีภาพทางความคิดเป็นประชาธิปไตยไม่เติบโตอย่างที่ควรเป็น นับวันภาคประชาชนจะถูกกีดกันออกไปจากเรื่องของการเมืองมากขึ้น

แล้วการเมืองจะเป็นเรื่องไกลตัว ย้อนกลับไปสู่วันวานที่คนเราตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน เรื่องการเมืองก็ปล่อยให้ผู้ใหญ่เค้าคิดกันไป พวกเราก็แค่ปฏิบัติตามเขา อีกทั้งยังมีแนวความคิดเรื่องของการยินยอมต่ออำนาจที่คิดแทนนั้นอย่างสิโรราบ ด้วยความคิดที่ว่า เรามันแค่คนตัวเล็กๆจะไปทำอะไรได้ เป็นสิ่งที่แสดงชัดเจนถึงการโดนคิดแทนจน ความคิดโดนตัดดอนไปแล้ว ไม่อาจกล้าคิดกล้าแสดงออกมาได้

ตามหลัก ของคำกล่าวที่ได้ยกตัวอย่างมา อาจเป็นเรื่องของผู้ปกครองที่หวังดี คอยเฝ้าประคบประหงมลูกๆ ด้วยความเป็นห่วง แต่นั่นกลับกลายเป็นการดองลูกๆไว้ในขวดโหลไม่ปล่อยให้เจริญเติบโตขึ้นมาได้
แล้วภาพเหล่านี้ก็จะเกิดต่อไป ไม่มีวันจบสิ้น หากผู้ใหญ่ไม่ให้เด็กคิด และเด็กเองก็ไม่พยายามที่จะคิด

เด็กเหล่านั้น ไม่เข้าใจ หรือไม่พยายามเข้าใจ
ผู้ใหญ่เหล่านั้น ไม่เข้าใจ หรือพยายามไม่เข้าใจ

การคิดแทนและการตัดตอนทางความคิด ไม่ใช่เรื่องที่ดี การส่งเสริมทางความคิดน่าจะต้องได้รับการส่งเสริมยอมรับมากขึ้นกว่านี้ พอเด็กเริ่มคิดเอง แต่มีความคิดที่ไม่ลงรอยกัน ผู้ใหญ่ก็กลับไปออกตัวแทนมาห้ามปรามความคิดต่างๆ แล้วเข้าสู่กระบวนการอย่าคิด เชื่อผู้ใหญ่ แล้วทุกอย่างจะดีเอง มีความสงบสามัคคี(แบบขอไปที) นี่คือ สิ่งที่ผู้ใหญ่หวังดีนะ

หมอกควันแห่งยุคสมัยจะไม่มีวันจางลงได้หาก ทุกคนไม่ช่วยกันปัดเป่าหมอกควันที่ปกคลุมนั้น
หากมัวแต่เกี่ยงกันหรือโยนความรับผิดชอบกันไปมา สภาพการก็จะวนเวียนอย่างที่เห็นอยู่นี้
เมื่อสังคมพร่ามัวด้วยหมอกควัน จะยิ่งคลำทางไปได้ยากขึ้น

แล้วตอนนี้ เราคิด เราจึงมีอยู่หรือไม่



Create Date : 17 ตุลาคม 2549
Last Update : 17 ตุลาคม 2549 22:20:20 น. 0 comments
Counter : 538 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KongMing
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เล่าจื้อกล่าวว่า"ผู้รู้เขาคือปราชญ์"
และกล่าวอีกว่า"ผู้รู้เราคือปัญญาชน"
ณ ปากทางเข้าถ้ำวิหารเทพอพอลโล่แห่งเดลฟี
มีป้ายทองคำเขียนว่า "Know thyself" แปลว่า รู้จักตนเอง
"temet nosce" ภาษาลาตินที่Oracleกล่าวให้
Neo รู้จักตนเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดของคนเราอยู่ที่ คำกล่าวเหล่านี้
[Add KongMing's blog to your web]