ความไม่รู้เป็นลาภอันประเสริฐ

ประชาธิปไตยเกิดจากความรู้และเหตุผล ไม่ใช่ความเชื่อและศรัทธา

ระบบการปกครองที่ให้ความสำคัญต่อผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ที่จะมาในรูปแบบของตัวแทนและการต่อรองผลประโยชน์ที่มีอยู่ในสังคม การปกครองนี้เป็นการปกครองภายใต้พื้นฐานของความจริงที่ว่า มันมีทั้งความดีและความเลว เป็นการสะท้อนภาพของความจริงหายๆอย่าง แต่ทว่าหลายๆอย่างนั้นมีผู้ต้องการที่จะปกปิดความจริงหลายๆอย่างนั้น

ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ การปกครองสมัยแรกเริ่มเดิมทีของมนุษยชาติเอง ตามแต่ที่จะมีบันทึกมามากน้อยแค่ไหนนั้น การปกครองจะมาในรูปแบบของการอำนาจที่เหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็นอำนาจที่เหนือกว่าในเรื่องของศักยภาพทางด้านร่างกาย ที่บางชนเผ่าได้ใช้เรื่องของสัญชาตญาณในการดำรงชีวิตมาเป็นเครื่องตัดสิน หรือว่าจะเป็นอำนาจทางด้านสัญลักษณ์ต่างๆ ที่จะมาในรูปแบบของตัวแทนทางความคิดที่ได้รับมอบอำนาจจากทางใดทางหนึ่งมาเพื่อปกครองผู้คน

และต่อมาการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองก็ยังคงมี2ลักษณะ สืบเนื่องมาเรื่อยไม่ขาดหายไป

การใช้กำลังที่เหนือกว่าได้รับการพัฒนาจากแค่ด้านร่างกาย ไปเป็นเครื่องทุ่นแรงรูปแบบต่างๆ ที่ช่วยให้การขยายอำนาจเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็คือเครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถรบราฆ่าฟันชีวิตผู้อื่นที่ไม่เห็นพ้องต้องกัน จากกำปั้นเป็นท่อนไม้ จากท่อนไม้เป็นหิน จากหินเป็นเหล็ก เรื่อยมาจนเป็นอาวุธทำลายล้างสูงอย่างระเบิดปรมาณู ทั้งนี้การพัฒนาอาวุธ ก็จะอยู่บนพื้นฐานแห่งอำนาจ ทั้งให้ได้มา และทั้งไม่ให้สูญเสียไป

ส่วนอีกด้านที่เป็นอำนาจที่ปราศจากกำลังและอาวุธ ที่เป็นการได้รับมอบอำนาจผ่านกระบวนการทางจัดระเบียบต่างๆ ผ่าน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และศรัทธา ของแต่ละเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติที่แตกต่างหลากหลายกันไป แต่ทว่าเป้าหมายก็คือ การปกครองผ่านอำนาจที่ขึ้นอยู่กับสภาพของสถานที่นั้นๆ

และต่อมากระบวนพัฒนาซึ่งการปกครองยังคงเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง จนเรื่องของอำนาจเริ่มกระจายตัวไม่กระจุกตัวอยู่เพียงที่บางคนบางกลุ่มอย่างสมัยก่อน อำนาจที่ประชาชนกลายเป็นเจ้าของอำนาจ และมีโอกาสต่อรองอำนาจนั้นๆกับเหล่าตัวแทนและผู้รับมอบอำนาจ หรือที่เรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย

รายละเอียดของประวัติศาสตร์นั้น จะไม่ขอกล่าวถึงมากมาย เพราะเชื่อว่าผู้ที่สนใจจะสามารถหาได้ไม่ยากในยุคที่การสื่อสารและข้อมูลข่าวสาร สามารถเข้าถึงได้ไม่ยากเย็น แม้จะมีการพยายามปิดกั้นมากมายแค่ไหนก็ตาม

ส่วนที่จะกล่าวถึงคงเป็นหมอกควันแห่งอำนาจทั้ง2รูปแบบที่ยังปกคลุมประชาธิปไตยอยู่

ประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้อาศัยเรื่องของความเชื่อและศรัทธา เหมือนอย่างระบอบเก่าๆ ที่เน้นการมอบอำนาจให้ด้วยวิธีการและวาทกรรมแบบนั้น แต่ประชาธิปไตย อาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่สั่งสมมาจากกระบวนประชาธิปไตยในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระบบตัวแทน ประชามติ หรือระบบการตรวจสอบ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นการเรียนรู้ของประชาธิปไตยที่ไม่สามารถมาสั่งสอนกันได้ผ่านทางตำราและคำสอน

กระบวนการทางความเชื่อและศรัทธาที่ครอบงำความคิดมาแต่สมัยโบราณและมายังปัจจุบัน รังแต่จะทำให้ประชาธิปไตยมีปัญหาที่ทับซ้อนกันมากขึ้น เพราะว่ากระบวนทางความคิด ที่ต้องอาศัยเหตุและผล ในการไตร่ตรองและตัดสินใจเลือกตัวแทนที่จะไปทำหน้าที่แทนตนเองในการปกครองเป็นเรื่องขาดเสียไม่ได้ในประชาธิปไตย จะบกพร่องลงไปหากว่าเอาเรื่องอขงความเชื่อมาแทนเหตุผล และเอาเรื่องศรัทธามาแทนความคิด

ความเชื่อและศรัทธาที่เป็นนามธรรม ไปกันไม่ได้กับประชาธิปไตยที่เป็นรูปธรรม ตัวแทนที่ประชาชนเลือกสรรและจับต้องได้ในกระบวนการประชาธิปไตย

ทั้งนี้จะเห็นได้จากเรื่องของการครอบงำผ่านสื่อแขนงต่างๆที่ระดมให้เกิดความเชื่อ มากไปกว่าเหตุและผล อย่างที่พยายามให้ผู้คนเชื่อในถ้อยแถลง ที่บอกว่าแก้ไขปัญหาได้ โดยการบอกแบบลอยๆ มีเพียงอากาศที่จับต้องได้ ไม่ยืนอยู่บนพื้นฐานที่ผู้คนสามรถจับต้องได้

แล้วในที่สุดความปราศจากความคิดและเหตุผล จะนำพาไปสู่การเลือกตัวแทนที่มาทำหน้าที่บนพื้นฐานอะไร และนั่นมันจะสะท้อนอะไร

ตราบใดที่ยังยัดเยียดความคิดเห็นของผู้กุมอำนาจใส่หัวผู้คน โดยปราศจากจะให้ผู้คนคิดเองได้ และยังไม่มีกระบวนให้ความรู้กับผู้คนมากไปกว่าการเรียนในห้องเรียน ไม่มีการสร้างพื้นฐานทางความคิด พื้นฐานทางเหตุผล มีเพียงความเชื่อและศรัทธา ที่เหล่าผ๔้ปกครองมอบให้ซึ่งมันเป็นแบบนั้นไม่ได้ ถ้ายังเป็นเช่นนั้นมันก็จะเป็นเพียงประชาธิปไตยกำมะลอ ต้องคอยมานั่งล้มกระดาน แก้ไข นับ1ใหม่กันเสมอๆ

เพราะว่าประชาธิปไตยเป็นเหตุผล ความคิดความรู้ ซึ่งต้องสั่งสมและเติบโตไปพร้อมกับสังคม ไม่ใช่ต้องคอยประคองและจูงมือเดินไป เมื่อผู้ปกครองยังไม่ปล่อยมือ และเชื่อใจในประชาชนในสังคมที่ล้มลง ว่าจะลุกมาเองได้ ก็จะเป็นสภาพจูงมือกันเรื่อยไป แล้วประชาชนจะเป็นเด็กดองให้ผู้ปกครองไปถึงเมื่อไร่

การตราหน้าประชาชน เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นแล้ว ประชาชนได้เวลาที่จะเรียนรู้เอง ไม่ใช่ให้ใครมาบอก เพราะนั่นเป็นการเลือกของพวกเขา ต่างคนต่างมีเหตุและผล ใช่ว่าจะมีใครถูกหรือผิดทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ ประชาธิปไตยคือความกลมกลืนกันของ ความถูกต้องและความผิดพลาด

อำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทย ยังเป็นเพียงคำที่จารึกอยู่ในกระดาษ พอเอาเข้าจริงแล้วเราจะพบกับเหตุผลมากมายที่ถูกหยิบยกมา เพื่อบิเบือนคำกล่าวข้างต้น

ถ้าสังคมยังไม่เคารพในความคิดเห็น และเหตุผลผู้อื่น ยึดติดกับความเชื่อและศรัทธาของตน แล้วเมื่อไร ต้นประชาธิปไตยที่ปลูกไว้จะงอกเงยได้


Create Date : 03 กันยายน 2550
Last Update : 3 กันยายน 2550 20:33:03 น. 1 comments
Counter : 595 Pageviews.  

 
ผมชอบคำนี้ "ประชาธิปไตยคือความกลมกลืนกันของ ความถูกต้องและความผิดพลาด "

ที่จริง สังคมประชาธิปไตย ใช้หลักการ "ถัว" กันระหว่างความดี และความเลว ความโง่ และความฉลาด ความรู้มากและความรู้น้อย ถ้าสังคมใดเลือกแต่คนรู้มาก ไม่ยอมรับคนรู้น้อย ถามว่าสิทธิ เสรีภาพของคนในสังคม ยังมีอยู่ หรือ เพราะมันไม่มีวันเป็นไปได้ ที่จะทำให้คนเรารู้อะไร เท่าๆ กัน


โดย: เนื่อง มาจากเหตุ วันที่: 4 กันยายน 2550 เวลา:17:39:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KongMing
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เล่าจื้อกล่าวว่า"ผู้รู้เขาคือปราชญ์"
และกล่าวอีกว่า"ผู้รู้เราคือปัญญาชน"
ณ ปากทางเข้าถ้ำวิหารเทพอพอลโล่แห่งเดลฟี
มีป้ายทองคำเขียนว่า "Know thyself" แปลว่า รู้จักตนเอง
"temet nosce" ภาษาลาตินที่Oracleกล่าวให้
Neo รู้จักตนเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดของคนเราอยู่ที่ คำกล่าวเหล่านี้
[Add KongMing's blog to your web]