โนรา





โนรา









































ผมมีโอกาสได้ชมการรำโนราเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2551 ที่ จ.นครศรีธรรมราช ในโอกาสที่ไปพร้อมกับทริปเพื่อนมหาวิทยาลัยเดียวกัน ไปทอดกฐินที่ อ.จันดี จ.นครศรีธรรมราช



ผมไม่ได้ชมการรำโนราแบบนี้มานานมากแล้ว ทั้งๆที่เป็นคนใต้ ชมแล้วก็รู้สึกปลาบปลื้ม ขอปรบมือให้ดังๆกับคณะผู้แสดงโนราทุกคน



และอยากจะกล่าวชื่นชม หากเด็กรุ่นใหม่คนใดสนใจจะเรียนรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน เพราะนับวันที่อารยธรรมของเกาหลี ญี่ปุ่น ยุโรป และฮอลลีวู้ด บุกเมืองไทยไปทุกหัวระแหง หากวัยรุ่นไทยยังคงสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ไว้ ชาติไทยก็จะยังคงมีวัฒนธรรมไทยไปได้อีกนาน



ผมรู้สึกถึงเสน่ห์ของเด็กไทย ถ้าหากเขาจะมีอะไรบางอย่างแบบไทยๆในตัวตนของเขา เพียงแค่ 1-2 อย่าง ....อาจจะเป็นมวยไทย เตะตะกร้อ ร้องหมอลำ เล่นลิเก ตีระนาด เป่าขลุ่ย เป่าแคน เล่นกลองยาว เล่นกลองสะบัดชัย ร้องเสภา ร้องเพลงไทยเดิม ร้องเพลงลูกทุ่ง เล่านิทานไทย เขียนลวดลายไทย ทำอาหารไทย แกะสลักผลไม้ รวมทั้งเล่นหนังตะลุง หรือรำโนรา


ผมว่า เมื่อเด็กไทยไปเมืองนอกเมืองนา วัฒนธรรมไทยเหล่านี้จะทำให้เขามีเสน่ห์ในสายตาของชาวต่างชาติ ....น่าจะมีเสน่ห์กว่าการเล่นเปียโนเป็น การดีดกีตาร์เป็น การเต้นระบำปลายเท้าเป็น หรือการแสดงละครใบ้เป็น เพราะศิลปะเหล่านั้นเขาชาวต่างชาติจะเห็นกันเป็นประจำ และบางครั้งเขาอาจจะแสดงเองได้ดีกว่าด้วย





















































โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวใต้ที่สืบทอดกันมายาวนานนับหลายร้อยปี เป็นการแสดงที่มีทั้งการรำและการร้อง แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่เล่นเป็นเรื่อง ….กำเนิดของโนราสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากการร่ายรำของอินเดียที่ได้รับมาจากพ่อค้าชาวอินเดียก่อนสมัยศรีวิชัย สังเกตได้จากท่าร่ายรำหลายท่าซึ่งมีการใช้แขนและใช้นิ้ว จะใกล้เคียงกับท่าร่ายรำของอินเดีย และเครื่องดนตรีที่เรียกว่า เบญจสังคีต อันได้แก่ โหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ก็จะใกล้เคียงกับเครื่องดนตรีของอินเดีย



เชื่อกันว่า โนรา เริ่มปรากฏเป็นการแสดงจริงจังที่เมืองพัทลุงก่อน เมื่อประมาณปี พ.ศ.1820 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น(ประมาณ 730 ปีที่แล้ว) แล้วแพร่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆทั่วภาคใต้ ตลอดจนถึงภาคกลาง ซึ่งกลายมาเป็น ละครชาตรี…..คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้นเป็นคำที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอาเรื่อง “พระสุธน-มโนราห์” มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า “มโนราห์” ในภาคกลาง




เครื่องแต่งกายของโนรา มี 14 อย่าง ประกอบด้วย



1. เทริด(อ่านว่าเซิด) เป็นเครื่องประดับศีรษะ ทำเป็นมงกุฎเตี้ย มีกรอบหน้า


2. เครื่องลูกปัด จะร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลาย มีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ประกอบด้วยชิ้น 5 ชิ้น คือ ชิ้นบ่ามี 2 ชิ้น สวมทับบนบ่าซ้าย – ขวา, ปิ้งคอ มี 2 ชิ้น สำหรับห้อยคอหน้า - หลัง คล้ายกรองคอ, และพาน-อก หรือพานโครง จะร้อยลูกปัดเป็นตารางรูปสี่เหลี่ยม ใช้พันรอบตัวบริเวณอก


3. ปีกนกแอ่น หรือปีกเหน่ง มักทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนกนางแอ่นกำลังกางปีก ใช้สำหรับ โนราใหญ่ สวมติดกับสังวาลย์อยู่ที่ระดับเหนือสะเอวด้านซ้ายและขวา คล้ายตาบทิศของตัวละคร


4. ทับทรวง สำหรับสวมห้อยตรงกลางอก อาจทำด้วยแผ่นเงินรูปขนมเปียกปูน ฝังเพชรพลอยหรือร้อยด้วยลูกปัด



5. ปีก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หาง นิยมทำด้วยเขาควาย เป็นรูปคล้ายปีกนก 1 คู่ ซ้าย ขวา ประกบกัน ปลายปีกเชิดงอนขึ้นและผูกรวมกันไว้ มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้เหนือปลายปีก และใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอดทั้งซ้าย-ขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้สำหรับสวมคาดทับผ้านุ่งตรงระดับสะเอว ปล่อยปลายปีกยื่นไปด้านหลังคล้ายหางกินรี



6. ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่งทับชายแล้วรั้งไปเหน็บไว้ข้างหลัง การนุ่งผ้าของโนราจะรั้งสูงและรัดรูปแน่นกว่านุ่งโจงกระเบน



7. สนับเพลา คือกางเกง (เมื่อสวมแล้วจะนุ่งผ้านุ่งทับอีกชั้นหนึ่ง) ปลายขาจะใช้ลูกปัดร้อยทับ



8. หน้าผ้า สำหรับคาดห้อยลงด้านหน้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ทำเป็นผ้า 3 แถบ



9. ผ้าห้อย สำหรับคาดห้อยลงด้านซ้ายและด้านขวา



10. กำไลต้นแขน



11. กำไลข้อมือ อาจสวม 5-10 วง เพื่อเวลาปรับเปลี่ยนท่าของข้อมือ จะได้มีเสียงดังเป็นจังหวะด้วย



12. เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้วมือให้โค้งงาม คล้ายเล็บกินนร กินรี ทำจากทองเหลืองหรือเงิน ต่อปลายด้วยลวดที่มีลูกปัดร้อยสอดสี นิยมสวมมือละ 4 นิ้ว ยกเว้นหัวแม่มือ



13. หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" แกะเป็นรูปใบหน้าจากไม้ แต่จะไม่มีส่วนที่เป็นคาง ตรงปลายจมูกจะงุ้มเล็กน้อย เจาะรูตรงส่วนทื่เป็นดวงตาให้ผู้สวมมองเห็นได้ ทาสีแดงทั้งหมด เว้นแต่ส่วนที่เป็นฟัน จะทำด้วยโลหะขาวหรือทาสีขาว(มีเฉพาะฟันบน) ส่วนบนต่อจากหน้าผากจะใช้ขนเป็ดสีขาวติดทาบไว้คล้ายคนผมหงอก



14. หน้าทาสี เป็นหน้ากากของตัวตลกหญิง ทำเป็นหน้าผู้หญิง ทาสีขาวหรือสีเนื้อ





















ครูสวัสดิ์ ครูโนราชื่อดัง ของจ.นครศรีธรรมราช ให้เกียรติมารำในงานต้อนรับทริป













ครูสวัสดิ์ ท่านทั้งรำและร้อง …ท่านด้นกลอนสด ร้อง “ชมวัดพระบรมธาตุ” …คำว่า “ชม’ หมายถึง นำชม

















ท่านเป็นโนราที่ได้รับเกียรติสูง มีโอกาสเข้ารำโนราต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ท่านมีโอกาสเข้ารำโนราต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ต่อหน้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ต่อหน้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และต่อหน้าพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงแทบทุกพระองค์ ... ท่านนับเป็นบุคคลสำคัญของจ.นครศรีธรรมราชทีเดียว























ครูสวัสดิ์ ท่านมีอายุ 73 ปี ในปีนี้









ผมชอบดูตอนโนรากรีดนิ้ว มันจะลงตัวกับจังหวะของทับและของกลอง ….มันดู พลิ้ว รวดเร็ว แต่มีพลัง


























ฮ่า ฮ่า ฮ่า.... โนรา มีนิ้วเดียว





ท่านครับ ท่านกำลัง “ขยุ้มหลังคา” มะ ช่าย ท่านกำลัง “กรีดนิ้ว”










อายุของครูสวัสดิ์ 73 ปีแล้ว แต่ท่านยังรำและร้องคล่องแคล่ว ผมคิดว่า ท่านแบกคนเช่นนี้ ท่านคงจะต้องซ้อมมานานพอสมควร ... นับป็นบุญตาที่ได้เห็น “โนราชั้นครู - ศรีสง่าของชาวนคร”

























เครื่องดนตรีของโนรา



เครื่องดนตรีของโนรา มี 6 อย่าง ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้จังหวะ แต่แปลกจากเครื่องดนตรีของการแสดงชนิดอื่น คือ ดนตรีของโนราจะเล่นตาม จังหวะของผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำเปลี่ยนท่าร่ายรำตามจังหวะของเสียงดนตรี ลูกคู่ที่ร้องรับก็เช่นเดียวกัน จะร้องสร้อยรับตามเนื้อร้องของผู้ร้อง ที่ปกติจะร้องด้นกลอนสด และรำไปด้วยในขณะร้อง



1. ทับ เป็นชิ้นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง ผู้ทำหน้าที่ตีทับจะต้องนั่งมองผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิงของผู้รำ


2. กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) มี 1 ใบ ทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ


3. ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน


หมายเหตุ : ปี่ จะมี 7 รู แต่สามารถให้กำเนิดเสียงได้ถึง 21 เสียง ...ปี่ เป็นเครื่องดนตรีที่กล่าวกันว่า ทำเสียงใกล้เคียงกับเสียงคน มากกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นใด... เสียงเด็กร้อง ปี่ก็สามารถทำได้



4. โหม่ง คือ ฆ้องคู่ มีเสียงต่างกัน.. ชิ้นหนึ่ง จะออกเสียง "โหม้ง" อีกชิ้นจะออกเสียง "หมุ่ง"



5. ฉิ่ง หล่อด้วยโลหะหนารูปฝาชี มีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เป็นเครื่องตีเสริมเน้นจังหวะ



6. กรับ มี ทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่าง กรับพวง





ตัวอย่าง กลอนโนรา นำมาจากเว๊ปอื่น(kanchanapisek.or.th)

เชิญลองกดฟังกลอนโนรา





ท่ารำของโนรา



ท่ารำโนราที่เป็นท่าหลัก สืบได้ไม่ลงรอยกันเพราะต่างครูต่างตำรา และเนื่องจากผู้รำประดิษฐ์ท่าเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ ท่ารำของโนราที่ต่างสายตระกูลและต่างสมัยจึงผิดแปลกแตกต่างกัน แม้บางท่ารำ ที่ชื่ออย่างเดียวกัน บางครูบางตำราก็กำหนดท่ารำแตกต่างกัน


ท่ารำโนรา ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวมไว้จากคำชี้แจงของนายจง ภักดี(ขาว) ผู้เคยเล่นละครชาตรีที่เมืองตรัง ในบทพระนิพนธ์ตำนานละครอิเหนา ว่ามี 12 ท่าดังนี้



1. ท่าแม่ลาย หรือท่าแม่ลายกนก

2. ท่าผาลา

3. ท่าลงฉาก

4. ท่าจับระบำ

5. ท่ากินนร หรือกินนรรำ (ท่าขี้หนอน)

6. ท่าฉากน้อย

7. ท่าราหูจับจันทร์ หรือท่าเขาควาย

8. ท่าบัวแย้ม

9. ท่าบัวบาน

10. ท่าบัวคลี่

11. ท่าบัวตูม

12. ท่าแมงมุมชักใย



ที่กล่าวว่า ท่ารำมีหลายตำรา และแตกท่าออกไปตามแต่ละครู เช่น


ท่าแม่ลาย บางตำราเรียกว่า ท่าเทพนม(คือแม่ของลายไทย) แล้วแตกท่าออกไปเป็น ท่าเครือวัลย์ บ้าง ท่าพรหมสี่หน้าบ้าง หรือท่าลงฉาก บางครูแตกย่อยเป็น ท่าสอดสร้อย บ้าง


ท่าแมงมุมชักใย บางครูจะยืนรำและใช้มือเลียนท่าแมงมุมชักใย บ้าง แต่บางครูจะรำแบบตัวอ่อนแอ่นหลังแล้วม้วนตัวลอดใต้ขา บ้าง เป็นต้น





พรานบุญ ออกมาแล้ว

















ผู้ชม ที่นั่งชมกับพื้น ...จากซ้าย เป็นหัวหน้าเภสัชกร, ผู้บริหารห้างใหญ่ในกรุงเทพ, ซีอีโอบริษัทกลั่นน้ำมัน, และอาจารย์ดอกเตอร์สอนมหาวิทยาลัย





คณบดี กับ นักธุรกิจเมืองนคร





รำเต็มที่ ขยับขาเต็มก้าว บังเอิญผ้านุ่งหลุด






ผู้แสดงมีปฏิภาณไวแก้ปัญหาด้วยท่ารำของตนเอง

ดูท่ารำแล้ว ไม่ขัดจังหวะสายตาว่า ผ้านุ่งหลุด









คิดว่าการแสดงครั้งนี้ จะใช้ท่ารำที่ยากกว่าปกติ เลยใช้ผู้ชายแสดงเป็นกินนร ที่ถูกคล้องบ่วงบาศ














มีการดึง และขัดขืนกันแบบจริงจัง













ท่วงท่าสวยสง่า ทั้งกินนร และพรานบุญ









ฉีกขาเต็มที่ ฝืนแรงดึงเชือก……ท่านี้ ผู้แสดงคงจะเกร็งขาน่าดู













โดนมัดหลายรอบ สุดท้ายก็แพ้





พรานบุญ บอกว่า “เฮ้อ เหนื่อยน่าดู”





และบอกว่า “ไป๊ จะเอาไปฝากทริป ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน”

ฮ่า ฮ่า ฮ่า ทริปพวกเราในวันรุ่งขึ้น จะไปยังเขื่อนเชี่ยวหลาน ‘กุ้ยหลินเมืองไทย’






เมื่อเปิดหน้ากากออกมา ....โอ้ โห มหัศจรรย์

ผู้แสดง 'พรานบุญ' ที่แท้คือบัณฑิตปริญญาโทจุฬาฯ เรียนคณะเดียวกับ “น้องอร – อรอนงค์ ปัญญาวงศ์”







อยากบอกว่า ‘เป็นปลื้มมาก’ ที่ได้ชมโนราชั้นครู ครั้งนี้



ภาพอาจจะโหลดช้านะครับ เพราะภาพมีจำนวนมาก จึงต้องขออภัยหากใคร มีความเร็วเน็ตต่ำ และถ้ายังชอบชมภาพ ผมอาจจะนำภาพ ‘เขื่อนเชี่ยวหลาน’ มาลงให้ชมกัน




yyswim






Create Date : 19 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2551 0:42:59 น. 31 comments
Counter : 9689 Pageviews.

 


ปอก็ชอบดูนะคะการรำโนรา ชอบเสียงดนตรีที่หนักและมีจังหวะแน่น การรำอ่อนช้อย แต่มีพลัง
การแสดงของทางภาคใต้ ส่วนใหญ่จะดูขลังนะคะ

อย่างหนังตลุงเป็นต้น

คราวหน้ารบกวนพี่สินอัพเรื่องของหนังตลุงให้ชมบ้างสิคะ งุงิ...แหะๆ ^ ^


วันนี้ปอเอาลาเต้มาฝากค่ะ
เสริฟตรงสู่เพื่อนบล๊อกแก๊งค์ที่น่ารักค่ะ งุงิ ^ ^

Have a nice day...^ ^


โดย: Butterflyblog วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:32:21 น.  

 

555 ใครอยากรู้จักผมครับคุณสิน
ไม่เอาแล้วอ่ะ ว่าจะหยุดเล่นบบล็อคสักพักหนึ่งครับ
หรืออาจจะหยุดไปเลยแต่ไม่เลิกครับ

ผมไม่มีเวลาเลยที่จะมาทักทายเพื่อนๆ
แล้วก็ทำความรู้จักกับใครๆ ได้หรอกครับ
ไม่มีเวลาเลยครับ

แต่อาจจะมีเข้ามาทักทายบ้างครับ

ว่าแต่ข้อมูลเรื่องโนราแน่นมากเลยครับ
ขยันค้นความหาข้อมูลเอามาลง
พร้อมกับรูปสวยๆ

ขอให้มีความสุข ฝันดีนะครับ
ราตรีสวัสดิ์

ครับผม



โดย: ฟ้าสดใส ทะเลสีคราม วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:23:09:08 น.  

 
ขนาดว่าไม่ได้ติดตามมากมายกับศิลปะ
ของภาคใต้อย่างโนราห์นะคะ แต่ว่ามาอ่านบล็อก
คุณสินแล้ว เหมือนว่ายิ่งอ่านยิ่งอยากดูเค้าแสดง
เพราะคุณสินบรรยายซะจนเราอยากดู อยากสังเกตุ
พวกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายน่ะคะ ดูว่าเป็นเอกลักษณ์
เลยเชียว โดยเฉพาะเรื่องสีสันและรูปลักษณ์ค่ะ .


เดี๋ยวนี้ไม่ว่าอะไรทีเป้นของใหม่ๆ ก็ทะยอยเข้ามา
ให้เราได้เห็นเรื่อยๆ นะคะ แต่วาของเก่าก็เหมือนกัน
กำลังจะเริ่มจางหาย ถ้าหากว่าไม่ได้รับการอนุรักษ์
จากคนรุ่นใหม่ๆ คาดว่าไม่นานค่ะ สิ่งดีๆ เก่าๆ
ของเราที่บ่งบอกความเป็นไทยอาจจะลดน้อยลงไปแล้ว

น่าเสียดายค่ะถ้าหากว่าของเก่าต้องถูกเก็บมิดชิด
ในขณะที่สิ่งใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ เชื่อแน่ว่าเราคงสามารถ
ทำอะไรได้บ้าง เพื่ออนุรักษ์สิ่งดีๆ เก่าๆ เอาไว้
คู่กับบ้านเมืองเราค่ะ เพื่อที่จะได้บอกคนอื่นๆ ได้ว่า
บ้านเรา มีทุกอย่างเป็นของเรา .. มีเอกลักษณ์
ประเพณีและวัฒนธรรมเป็นของตัวเองน่ะค่ะ ..

.....................

คุณสินค่ะ ที่เม้นท์บอกว่าสาวสวย หนุ่มหล่อทั้งนั้น
อันนี้ล่ะใช่เลยค่ะ แต่วาถ้าเกิดถ่ายรูปตัวเองติดไป
แม้จะ 1 ใบ ก็สงสัยว่างานนี้คุณสินคงได้แต่บอกว่า
ภาพอื่นสวยหมด ยกเว้นภาพ จขบ. แบบนี้ตายหยังเขียด
เลยอ่ะค่ะคุณสิน ... คิดได้อย่างนั้นเลยไม่ได้ถ่ายรูป
ตัวเองเลยอ่ะคะ ..


โดย: JewNid วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:0:54:16 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ยามเช้าค่ะพี่ชายคุณสิน

ห่างหายกันเลยค่ะ
ช่วงนี้เศรษฐกิจเป็นพิษค่ะ
เลยไม่ค่อยแวะทักทายใครนะค่ะ
เหนื่อยๆๆๆๆค่ะ


โนราเนื้อหาดีมากเลยค่ะ
สวยจังค่ะ
ได้ทั้งบุยและความรู้เพียบเลยค่ะ

อนุโมทนากฐินนี้ค่ะ

ระลึกถึงพี่ชายคนดีคนนี้เสมอค่ะ

^ _ ^




โดย: cattleya.. IP: 58.9.59.61 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:6:43:59 น.  

 
อ่อนช้อยงดงามมากเลยครับพี่....
มีโนรา..แล้วไม่มีโนบราเหรอครับ....






เรื่องที่ถามครับ


ระเมียร แปลว่าดู , น่าดู มาจากภาษาเขมรว่า รมึล
รวมความ ระเมียรงาม คือดูงาม ,ดูสวย ,น่าดูน่ามอง ประมาณเนี๊ยะครับ

ส่วน ปฏิภาค, ปฏิภาค [ปะติพาก, ปะติพากคะ-] น. ส่วนเปรียบ. ว. เทียบเคียง, เหมือน.
มาจากภาษาบาลีว่า ปฏิภาค; สันสกฤตว่าปฺรติภาค

ไพฑูรย์ คือ ชื่อรัตนะอย่างหนึ่ง ในจําพวกนพรัตน์ มีสีเหลืองแกมเขียว หรือนํ้าตาลเทา มีนํ้าเป็นสายรุ้งกลอกไปมา, เพชรตาแมว หรือ แก้วสีไม้ไผ่ ก็ว่า

รวมความ
ระเมียดระเมียรงาม ปฏิภาคไพฑูรย์
แปลว่า ดูงดงามเหมือนแก้วไพฑูรย์ที่ทอแสง


ประมาณเนี๊ยครับพี่สิน


โดย: big-lor วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:8:58:46 น.  

 
สวยงามอ่อนช้อยมากค่ะพี่
ไม่เคยไปนั่งดูสดๆ เคยแต่ดูผ่านทีวี


ข้าวผัดต้มยำที่หนูเคยเห็นก็ร้านพรานทะเล
ตามห้างน่ะค่ะพี่ แต่รสชาดป็นไง หนูไม่เคยลองค่ะ


โดย: kai (aitai ) วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:56:04 น.  

 
ยอดเยี่ยมเลยครับพี่นภ


โดย: Mahdee IP: 161.200.255.162 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:32:52 น.  

 
รูปอย่างแจ่มเลยครับ.......... ผมชอบคนใต้นะครับ


โดย: อืม...ครับ เชิญตามสบาย วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:36:16 น.  

 
สวยมาก ๆ ครับพี่


โดย: พยัคฆ์ร้ายแห่งคลองบางหลวง วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:45:09 น.  

 
รำกันอ่อนช้อยมากกกกกกกกกกกกกก

เอ๋อชอบดูการร่ายรำแบบนี้ สวยงาม อ่อนช้อย

แต่หาดูได้ยากอะ

แล้วงานของเอ๋อนะ ก็เป็นหุ่นละครเล็ก โขน ที่นำไปแสดงให้แขกบ้านแขกเมืองดูอะ

จะหาโนราที่ไหนดู แล้วรำถูกต้องตามแบบด้วยแล้ว


โดย: err_or วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:30:17 น.  

 
อ่านบลอกนี้ทีไร ได้ความรู้กลับไปเป็นกระบุงทุกที สุดยอดมากๆค่ะ

ชอบท่าทีเงยหน้า + ตัวสุดแล้วเอาหัวชฎาปักกับพื้นอ่ะ

...
เท่ซ้า ..


โดย: blueschizont วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:16:55:50 น.  

 
ถนัดดูหนังตะลุงมากกว่า
เคยอ่านเจอในเล่ม บันทึกจากหุบเขาฝนโปรยไพร ของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ มีเรื่องเกี่ยวกับมโนห์ราในบท คืนนั้นจันทร์ฉาย ชอบตรงรำมโนห์รา เข้าจิตวิญญาณ ถึงนิพพานขณะรำไปเลย สุดยอดครับ รักมโนห์ราขึ้นมาอีกโขเล

ปล. จขบ.เป็นคนสุราษฎร์ฯ ด้วยหรือครับเนี่ย คนบ้านเดียวกัน


โดย: คนขับช้า วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:20:52:07 น.  

 
อ้อ ตอนนี้กำลังคลั่งเพลง เติม/เต็ม/ตรัง ของพี่จุั้ย ศุ บุญเลี้ยง ในชุดใหม่ โปรดฟังอีกครั้ง
พี่จุ้ยร้องโนราด้วย แต่ไม่ค่อยเพราะ และถึงใจเท่าไหร่ แต่ดนตรีใช้วงมโนห์ราของเมืองนคร สุดยอด เสียงปี่เนี่ย ปลุกให้ลุกขึ้นรำได้สบาย
เพลงนี้เชิดชูเกียรติแก่โนราเติม แห่งจังหวัดตรังครับ
ว่างๆ ลองหามาฟังนะครับ


โดย: คนขับช้า วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:20:55:43 น.  

 
ชอบดูโนรามากเหมือนกันครับ
โดยเฉพาะชองเสียงเครื่องดนตรีประกอบมาก
อีกอย่างดูการรำโนราแล้วผมรู้สึกว่ากว่าจะออกแสดงได้ควต้องฝึกกันมากพอควร ดูการรำเหมือนยากจริงๆ


โดย: ลุงแอ๊ด วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:57:19 น.  

 
ไม่มีแบบโนรานอนในถาดเหรอคะพี่


โดย: butbbj วันที่: 21 พฤศจิกายน 2551 เวลา:7:54:41 น.  

 
เรื่องความสามารถนี่
ผมว่าต้องมีใจรักด้วยครับ
ใช่ว่าจะเน้นเอาไปโชว์เพียงอย่างเดียว


โดย: Marvellous Boy วันที่: 21 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:02:50 น.  

 
สวัสดีครับ คุณสิน
ขอชมว่า เขียนบล้อค ได้ละเอียด และให้ความรู้แก่ผู้อ่านมากจริงๆครับ คุณสิน เขียนบล้อคแล้ว ทำให้ผู้อ่านได้ความรู้ เปิดโลกทัศน์เรื่องของใต้ สู่ท่านอื่นๆ ได้อย่างน่าประทับใจ ขอปรบมือให้ด้วยความจริงใจ ครับ

ผมเองชอบศิลปชาวใต้หลายอย่าง โดยเฉพาะหนังตะลุง แต่ก่อนนี้ดูหนังตลุงก็สนุกไปตามประสา ดู ไอ้เท่ง กับ หนูนุ้ย ขบ (แซว) เรื่องต่างๆแล้ว หัวเราะ นำ้ตาใหลทุกที

พอตอนหลังๆ ได้รู้เรื่องหนังตลุงมากขึ้น จึงได้รู้ว่า หนังตลุงเป็นอะไรที่ สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน ของชาวบ้านระดับรากหญ้า สุดๆเลยครับ เรื่องอะไรที่ชาวบ้านไม่กล้าพูด ไอ้เท่ง ให้หนูนุ้ย พูดได้หมด แล้วคนไม่เกลียด คนก้เชื่อ จริงๆครับ

ไม่ทราบว่าวันหลัง คุณสิน เขียนเรื่องหนังตลุง หใ้เหมือนเรื่อง มโนราได้ใหม ผมจะรออ่านครับ

คิดถึงเสมอ


โดย: ทวีซศักดิ์ ถาวรรัตน์ (คนตาพิการ ) วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:5:30:57 น.  

 

คุณปอ และ คุณทวีศักดิ์.....

เรื่องหนังตะลุง น่าสนใจครับ แต่ผมยังเขียนไม่เก่ง ไม่กล้าเขียนครับ

ข้อสำคัญ ผมไม่มีรูปจากกล้องตัวเองเลย จึงยังไม่สามารถเขียนได้


แต่

เรื่องหนังตะลุง มีคนเขียนไว้เยอะแล้วครับ ลองเลือกอ่านนะครับ


1. จาก มรดกใต้ดอทคอม


2. จากหนังตะลุงดอทคอม.... และ เลือกคลิกชมหนังตะลุงแต่ละโรง


3. จาก เว๊ปของคุณaroonsangob(นายหนัง).... บางข้อความที่เป็นสีน้ำเงิน คลิกอ่านรายละเอียดได้


4. และจากวิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์





โดย: yyswim วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:50:10 น.  

 

น้องหนุ่ม.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า นิสัยดี แถมรูปทอง ปานนี้ มีหรือสาวๆไม่อยากรู้จัก

ขอบคุณที่บอกว่าชอบเรื่อง โนรา


คุณพู่....เขียนเมนต์ให้อ่านกันยาวๆ ชอบครับ ขอบอกว่าชอบ

เคยดูเขาฟ้อนเล็บที่โรงแรมแถวเชียงใหม่ตอนทานขันโตก ผมเองหยุดทานขันโตกไปเลย ฮ่า ฮ่า ฮ่า เสียดายไม่ได้พกกล้องไป

บล๊อกเรื่องหน้า ผมจะยังคงเอ้อระเหยอยู่แถวๆใต้ครับ




โดย: yyswim วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:50:39 น.  

 

คุณแคท......หวัดดีครับ ขอให้มีความสุขในวันหยุดนะครับ

ช่วงนี้ มีวันดี วันมงคล ต้องไปงานแต่งงานหลายงานเลย

คุณแคทต้องแต่งสวยไปงานไหมเนี่ย?


BL….ตื่น ยาง มะ คืน ดึกมากมั๊ย? เขียนเล่าหน่อยดิ อยากติดตาม

เจ้า ถ แจ้งกะทันหันอะไรปานนั้น กำลังตักข้าวเข้าปาก เลยไม่อยากเทกับข้าวทิ้ง ทานเสร็จ ก็ อิ่ม เฮ้อ อยากนอน

เรื่องที่เมนต์ในบล๊อก

ระเมียดระเมียรงาม ปฏิภาคไพฑูรย์ …แปลว่า ดูงดงามเหมือนแก้วไพฑูรย์ที่ทอแสง

โห โห โห มะ ช่าย น้ำโห แต่ โอ้ โห คิดได้ไง อลังการ ซะ





โดย: yyswim วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:51:13 น.  

 

คุณไก่.....ขอบคุณที่ชอบเรื่องนี้

เออ เมื่อคืน เขาสังสรรค์กัน ไป อ๊ะ ปล่าววว


น้องมาฮดี....ขอบคุณ กั๊บ

ว่างๆแวะมาให้กำลังใจกันบ้างนะ





โดย: yyswim วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:51:37 น.  

 

โจ เอ๊ย.....หนุ่ม ใต้ อารมณ์ รุนแรง นา

แก จะไป สน ทำ ม้ายยยย – ราด รี อ่ะ ดี แล้ว


ฐม..... เมื่อคืน พอทานข้าวอิ่มที่บ้าน พ้มก็อยากนอน 5 5 5 5 5 5

ขอบคุณที่ชอบบล๊อก





โดย: yyswim วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:52:55 น.  

 

เอ๋อ .....รำ โนรา แท้ ในกรุงเทพ ต้องถามพวกนักศึกษา ที่เขามาเรียนต่อ ตรี ต่อโท ในกรุงเทพ นักศึกษาพวกนี้หาหยิบยืมชุดได้ ดนตรีก็เปิดแผ่นเอา แต่พวกเธอเป็นผู้เรียนและรำโนรามาโดยแท้จริง รำสวยทีเดียว

หากอยากจะให้ช่วยติดต่อ น่าจะทำให้ได้ คร้าบ


คุณ blueschizont....บ้านนี้ เล่าแต่เรื่องหนักบล๊อกครับ ขอบคุณนะก๊ะ ที่มาเยี่ยม





โดย: yyswim วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:53:22 น.  

 

คุณคนขับช้า..... เคยอ่านเจอครับว่า คุณเป็นคนสุราษฎร์ ตอนนี้คงจะทำงานอยู่กรุงเทพเหมือนๆกัน ยินดีรู้จัก ย้ำ ยินดีได้พบคนบ้านเดียวกันครับ มีคนสุราษฎร์เล่นบล๊อกอยู่หลายคนนะครับ เท่าที่สังเกตดู คุณเขาพนม ….คุณสเตอร์ลิงค์…..คุณblueschizont เป็นต้น

โนราเติม บ้านเดิมอยู่ตรัง เคยดูตอนเด็กๆครับ พอไปกรุงเทพ ก้ไม่ได้ดูอีกเลย

จุ้ย เป็นรุ่นน้องครับ คุณแม่ของเขากับคุณแม่ของผม สนิทสนมกันทีเดียว ผมรู้จักกับพี่ของจุ้ย มากกว่าตัวจุ้ย อ้อ ผมอยู่ เกาะหมุย

เรื่องเกาะหมุย นี่ก้อใกล้ๆ จะลงบล๊อกอีกแล้วล่ะครับ





โดย: yyswim วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:54:37 น.  

 

ลุงแอ๊ด.... ผมว่าคงจะฝึกบ่อย และฝึกกันตั้งแต่เด็ก หากใครคิดจะฝึกเพื่อขึ้นแสดงโชว์ตอนปีใหม่ คิดว่าจะฝึกไม่ได้ คล้ายๆกับโขน เพราะต้องฝึกฉีกขา

แต่โนราชั้นครู มียกขาสูงเกินหัวไหล่ด้วย ยืนขาเดียว แน่ะ ไม่ล้ม ... นี่คง เพราะ ฝึกบ่อย


น้องบุด.....กลับจากดื่มเมื่อคืน มีใครไปช่วยส่งล่ะ ซซ ชวนไหม? พี่ไม่ได้ไป ขออภัย งวดหน้า น้องบุด ช่วยโทร.บอกพี่สินเลย

โนรานอนถาด เดี๋ยวให้ ลิงจ๊ากกกแสดงให้ดู เอา มะ


เอก.....ผมเชื่อว่า โนรา ชุดนี้ เขามีใจรักแสดง

เรื่องศิลปการแสดงแบบไทยๆ ที่เอ่ยว่าเด็กรุ่นใหม่น่าจะมีสัก 1-2 อย่าง แน่นอนเด็กจะต้องมีใจรักก่อน จึงจะทำได้ดี เพราะเท่าที่สังเกตมา การเรียนในโรงเรียนมัธยมก็มีสอนใช่มั๊ย? แต่ เพราะเด็กคงอยากจะเล่นกีต้าร์ มากกว่า จะตีฆ้อง ตีทับ

ผมก็เอ่ยไป เขียนไป แต่ก็ไม่ได้บอกหนทางออก หนทางแก้ไขเอาไว้ น่ะครับ





โดย: yyswim วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:55:19 น.  

 
สมัยเด็กได้ดูบ่อยแต่ระยะหลังมานี้ นานมากแล้ว อย่างเก่งก็ได้เห็นตามงานวันเด็กที่พวกเค้าแสดงกันน่ะครับ


ภาพสวยทั้งน้ำเสนอรายละเอียดเรื่องราวโนราได้เยี่ยมเลยครับ


โดย: เขาพนม วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:06:46 น.  

 
เป็นศิลปะที่น่าชมอีกแบบนึงนะครับพี่สิน
ผมชอบตอนที่เขาต่อตัว เป็นความสามารถที่ยอดเยี่ยม
ท่ารำเขาดูเร็วกว่าภาคอื่นๆ ก็เร้าใจดี

ยังคิดถึงพี่สินเสมอนะครับ แต่ยอมรับว่ายุ่งหลายเรื่องมาก
จะพยายามหาเวลาเข้าบล้อกนะครับ
บล้อกพี่สินให้ความรู้แบบลึกๆ เด็กๆ เอาไปทำรายงานได้สบาย
อ้าว ผมเพิ่งนึกได้ พี่สินคนเกาะสมุยนี่ครับ
ถึงว่ารู้เรื่องโนราดี คารวะครับพี่


โดย: basbas วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:52:45 น.  

 
แวะมากราบขอบพระคุณที่เข้าไปอวยพรวันเกิดค่ะ
ขอให้ความสุขที่มังคุดได้รับ กลับไปหาคุณเจ้าของบล็อคนะคะ


โดย: mungkood วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:18:03:48 น.  

 


สวัสดีค่ะพี่สิน
ปอแวะมาเยี่ยม และเอากาแฟเย็นมาเสริฟค่ะ

Have a nice day...^ ^


โดย: Butterflyblog วันที่: 23 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:01:04 น.  

 
นุ๋ยจะอนุรักษ์ศิลปะโนราไว้ให้สืบทอดต่อไป
เพราะนุ๋ยก็ได้รำโนราด้วย
(นุ๋ยะลา)


โดย: น้ำฟ้า IP: 118.173.193.95 วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:18:13:12 น.  

 
สวยดีครับ


โดย: หล่อฮะ IP: 118.173.20.157 วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:15:49:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yyswim
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]





บล็อกสรรสาระนี้ จขบ.ไม่ได้เขียน-ไม่ได้ถ่ายภาพ-ไม่ได้อัพโหลดคลิปเอง หากแต่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบล็อก เสาะหาเรื่องดีๆ รูปสวยๆ คลิปแปลกๆ มาไว้ในบล็อก


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม ขอเชิญชมหรืออ่านตามสบาย ไม่ต้องคอมเมนต์ก็ได้ จขบ.ชอบการเข้ามาเยี่ยม แบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆ




เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2548


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 เวลา 23.30 น.


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม




Latest Blogs

New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add yyswim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.