ความรู้เกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน และอื่นๆ
Group Blog
 
All Blogs
 

การขอรื้อฟื้นคดีอาญา "ช่วงสาระเข็มเดียว"

"ช่วงสาระเข็มเดียว"

'มาทำความรู้จักกับ กระบวนการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ กันครับ' !

การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ คือ การขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่หลังจากที่คดีนั้นๆสิ้นสุดแล้ว


หลักเกณฑ์ในการขอรื้อฟื้นคดีอาญามีอย่างไรบ้าง?

ตามมาตรา 5 ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้
๑.เป็นคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้รับโทษอาญาในคดีแล้ว
๒.เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
๒.๑. พยานบุคคลที่ศาลอ้างเป็นหลักในการพิพากษาคดีนั้นๆ มีคำพิพากษาในคดีถึงที่สุดภายหลังว่า พยานบุคคลเบิกความเท็จ หรือไม่ตรงกับความจริง (ฟ้องพยานคนนั้นว่าให้การเท็จจนคดีถึงที่สุดก่อน)
๒.๒. พยานหลักฐานอื่นนอกจากข้อแรก ที่ศาลอ้างเป็นหลักในการพิพากษาคดีนั้นๆ มีคำพิพากษาถึงที่สุดภายหลังว่า เป็นพยานหลักฐานปลอม หรือเป็นเท็จ หรือไม่ตรงกับความจริง
๒.๓. มีพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดแจ้งและสำคัญกับคดี ถ้านำมาใช้ในคดีนั้นๆ จะพิสูจน์ให้ผู้รับโทษทางอาญานั้นไม่ผิด


ใครมีสิทธิยื่นคำร้องรื้อฟื้นคดีอาญา? 

ตามมาตรา ๖ ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้
๑.ผู้ที่ได้รับโทษอาญา จากคำพิพากษาถึงที่สุด
๒.ผู้แทนโดยชอบธรรม / ผู้อนุบาล กรณีผู้รับโทษฯเป็น เด็ก หรือ ถูกศาลสั่งว่าไร้ความสามารถ
๓.ผู้จัดการ / ผู้แทนอื่นของนิติบุคคล กรณีผู้รับโทษฯเป็นนิติบุคคล
๔.พ่อ แม่ พี่น้อง ลูกตามสายเลือด / สามีภรรยาที่จดทะเบียนกันถูกต้องตามกฎหมาย กรณีผู้รับโทษฯตายก่อนที่จะมีการยื่นคำร้อง
๕.อัยการ กรณีที่อัยการไม่ใช่เป็นโจทก์ในคดีเดิม


วิธีการยื่นคำร้อง ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๒๐ ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้


ยื่นที่ไหน?

ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีนั้นๆ หรือศาลอื่นที่มีเขตอำนาจแทนศาลนั้น
***(ข้อยกเว้นตาม ม.๘(๒))


ต้องยื่นอะไรบ้าง? :

๑.อ้างเหตุการรื้อฟื้นให้ชัดเจนตามเงื่อนไขที่กำหนด ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
๒.ถ้าต้องการ ขอค่าทดแทน หรือ ขอรับสิทธิที่ผู้นั้นเสียไปจากผลคำพิพากษานั้นๆคืน ให้ระบุด้วย
๓.สิทธิตามข้อ ๒ ไม่รวมสิทธิในทางทรัพย์สิน


ต้องยื่นภายในเมื่อไหร่? :
๑.ยื่นภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่ปรากฏเงื่อนไข หรือ
๒.ยื่นภายใน ๑๐ ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือ
๓.ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาทั้ง ๒ ข้างต้นกรณีเป็นพฤติการณ์พิเศษ


กระบวนการทางศาลหลังจากได้รับการยื่นคำร้อง 

ตามมาตรา ๙ – ๑๗ ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้
๑.ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้อง (ตรวจสอบว่าเข้าหลักเกณฑ์หรือไม่) และส่งสำเนาคำร้องและวันนัดไต่สวนให้โจทก์ในคดีเดิมรู้
-ส่งให้อัยการกรณีที่อัยการกรณีที่อัยการไม่ใช่โจทก์ในคดีเดิมด้วย
-อัยการและโจทก์ในคดีเดิมจะมาฟังการไต่สวนฯและซักค้านพยานของผู้ร้องด้วยหรือไม่ก็ได้
-ผู้ร้องและโจทก์ในคดีเดิมมีสิทธิแต่งตั้งทนาย**
๒.หลังจากนั้นศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนการไต่สวนและความเห็นของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์
๓.ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าเข้าหลักเกณฑ์การรื้อฟื้นฯ ศาลอุทธรณ์รับคำร้องและสั่งศาลชั้นต้นให้รับพิจารณาคดีใหม่
-ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ จะสั่งยกคำร้อง
-คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นคำสั่งถึงที่สุด***** (อุทธรณ์ไม่ได้)
๔.เมื่อศาลชั้นต้นรับคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นจะแจ้งวันนัดสืบพยานผู้ร้องให้อัยการและโจทก์ในคดีเดิมรู้
-อัยการและโจทก์คดีเดิมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านได้ก่อนวันสืบพยาน
-เมื่อสืบพยานผู้ร้องเสร็จ อัยการและโจทก์ในคดีเดิมมีสิทธินำพยานของฝ่ายตัวเองเข้าสืบพยานได้
-ศาลอาจเรียกพยานที่นำมาสืบแล้วมาสืบใหม่เพิ่มก็ได้ หรือเรียกพยานอื่นมาสืบเพิ่มก็ได้
๕.ในระหว่างการดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ ผู้รับโทษฯที่กำลังรับโทษอยู่ มีสิทธิทำคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อออกมาต่อสู้คดี*****
๖.กรณีที่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีเดิมเป็นของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณาพิพากษา
-ถ้าเห็นว่าผู้รับโทษฯทำผิดจริง ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกคำร้อง
-ถ้าเห็นว่าผู้รับโทษฯไม่ได้ทำผิดจริง ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาว่าผู้นั้นไม่ได้กระทำผิด


กรณีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีเดิมเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ / ศาลฎีกา ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณา และทำความเห็นและส่งสำนวนไปยังศาลที่เป็นเจ้าของคำพิพากษาเดิม เพื่อพิจารณาว่าจะยกคำร้อง หรือยกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาว่าไม่ได้กระทำผิด


*ทั้งนี้ทั้ง ๒ กรณีดังกล่าว ถ้ามีคำขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนและศาลยกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาว่าผู้นั้นไม่ได้ทำผิด ศาลต้องกำหนดค่าทดแทนหรือมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอรับสิทธิคืนด้วย (ดูเพิ่มเติมได้ในเรื่องการกำหนดค่าทดแทน)
๗.เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว อัยการ / ผู้ร้อง / โจทก์ในคดีเดิม มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ดังนี้
-ถ้าเป็นคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
-ถ้าเป็นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ มีสิทธิฎีกาต่อศาลฎีกา


การกำหนดค่าทดแทนของศาล

ตามมาตรา ๑๔ ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้
๑.ศาลจะกำหนดค่าทดแทนได้ไม่เกินที่ขอไว้ในคำร้อง
๒.กรณีถูกโทษริบทรัพย์สิน ให้คืนทรัพย์สินที่ริบไป
-แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายให้ริบไม่ว่าจะเป็นของใคร ห้ามคืน แต่จะชดใช้เป็นเงินตามราคาขณะที่ศาลพิพากษา
-ถ้าทรัพย์สินที่ถูกริบเป็นเงิน ให้คืนเงินโดยศาลจะคิดดอกเบี้ยในอัตรา 15% ต่อปีของจำนวนเงิน นับแต่วันริบจนถึงวันที่ศาลเห็นสมควร
๓.กรณีถูกโทษปรับและชำระค่าปรับต่อศาลไปแล้ว ให้รับเงินค่าปรับคืน โดยศาลจะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตรา15% ต่อปีของจำนวนเงิน นับแต่วันปรับจนถึงวันที่ศาลเห็นสมควร
๔.กรณีถูกโทษกักขัง/กักขังแทนปรับ/จำคุก ให้รับค่าทดแทนเป็นเงินโดยคำนวณจากวันที่ถูกกักขัง/จำคุก (วันละ ๔๐๐ บาท)
๕.กรณีถูกโทษประหารชีวิตและถูกประหารแล้ว กำหนดเงินทดแทนเป็นเงินไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๖.กรณีถูกใช้วิธีการเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษ ให้ศาลกำหนดค่าทดแทนตามสมควร
***คำร้องเกี่ยวกับผู้ต้องรับโทษอาญาคนหนึ่งในคดีหนึ่งให้ยื่นได้เพียงครั้งเดียว*** (ม.๑๘)




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2558    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2558 15:19:11 น.
Counter : 933 Pageviews.  

"ช่วง สาระเข็มเดียว"

การเริ่มต้นของการศึกษาพฤติกรรมอาชญากรรมนั้นมาจากแนวคิดของกลุ่มสำนักอาชญาวิทยาดั้งเดิม (Theories of the Classical School of Criminology) โดย ผู้ก่อตั้งแนวคิดอาชญาวิทยาดั้งเดิม คือ นักปราชญ์ชาวอิตาลี ซีซาร์ แบ็คคาเรีย (Cesare Bonesana, Marchese de Baccaria, 1738-1794) โดยผลงานที่โดดเด่นที่สุดของแบ็คคาเรีย คือ การนำเสนอแนวความคิดใน เรียงความเกี่ยวกับอาชญากรรมและการลงโทษ ,1764 ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมของรัฐบาลในแถบยุโรปสมัยนั้น ซึ่งแบ็คคาเรียเห็นว่ามีการดำเนินการโดยไม่ยุติธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้พิพากษาไม่ได้ทำหน้าที่รักษาความยุติธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตรงกันข้ามกลับเป็นผู้ใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือของรัฐหรือผู้ปกครองในการรักษาอำนาจปกครอง ซึ่งแบคคาเรียเห็นสมควรว่าจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมใหม่ เพื่อให้เป็นองค์การที่ทำหน้าที่รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม เริ่มตั้งแต่การออกกฎหมาย การแปลกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการป้องกันอาชญากรรม โดยบทความของแบ็คคาเรียไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุของอาชญากรรมโดยตรง เพียงแต่กล่าวว่ากระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพจะป้องกันไม่ให้คนประกอบอาชญากรรม และทำให้สังคมมีความสงบสุขต่อไป


"So that any punishment be not an act violence of one or of many against another, it is essential that it is public, prompt , necessary, minimal in severity as possible under given circumstances, proportional to the crime and prescribed by the laws. "so that any punishment be not an act of violence of one or of many against another , it is essential that it is public, prompt , necessary , minimal in severity as possible under given circumstances, proportional to the crime and prescribed by the laws"

by Cesare Bonesana, Marchese de Baccaria, 1738-1794

https://www.facebook.com/the1200




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2558    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2558 15:19:25 น.
Counter : 793 Pageviews.  


i am good day
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอข่าวสารที่จำเป็น และที่ทุกคนต้องทราบในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อทำธุรส่วนตัว ธุระของครอบครัว และเรื่องอื่น ๆที่น่าจะเป็นประโยชน์ จรรโลงใจ เป็นความจริงที่ควรทราบ
Friends' blogs
[Add i am good day's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.