ความรู้เกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน และอื่นๆ
Group Blog
 
All Blogs
 
การตรวจสอบประปา น้ำดี น้ำเสีย สุขภัณฑ์

1.การตรวจสอบระบบสุขาภิบาลภายในบ้านหลังน้ำลด
หลังน้ำลด ระบบสุขาภิบาลภายในบ้าน เป็นอีกหนึ่งระบบที่เจ้าของบ้านละเลยไม่ได้ การดูแลรักษาระบบสุขาภิบาลของบ้านแบ่งเป็นระบบน้ำดี และระบบน้ำเสีย
สำหรับระบบน้ำดี อันดับแรกต้องตรวจสอบความสะอาดภายในถังเก็บน้ำใต้ดิน ว่ามีตะกอนดินหรือขยะสะสมภายในถังหรือไม่ โดยน้ำภายในถังควรถ่ายทิ้งทั้งหมดก่อนเติมน้ำประปาเข้าถังใหม่ และตรวจสอบลูกลอยภายในถังเก็บน้ำใต้ดินว่ามีการงอเสียหายหรือไม่เนื่องจากเกิดน้ำท่วมให้ลูกลอยงอมากกว่าปกติ และอาจทำให้งอเสียหายได้
ส่วนระบบน้ำเสีย ก็ต้องตรวจสอบอย่างละเอียด เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม จุลินทรีย์ภายในถังบำบัดน้ำเสียจะไหลออกนอกถังไปกับน้ำท่วม ดังนั้นควรเติมจุลินทรีย์ใหม่ก่อนการใช้งานหลังน้ำท่วม เปิดฝาเพื่อตรวจเช็คปริมาณตัวกลางจุลินทรีย์ที่อาจหลุดลอยออกไปตอนน้ำท่วมได้ จากนั้นตรวจสอบระบบชำระล้างของสุขภัณฑ์ว่าสามารถชำระล้างได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ หากมีการอืด ตัน ซึ่งจะเกิดจากการอุดตันในเส้นทอระบายน้ำ ให้ตรวจเช็คการอุตตันภายในเส้นท่อ เช่นท่อระบายน้ำเสียจากสุขภัณฑ์และท่อระบายอากาศต่างๆภายในบ้านว่ามีเศษขยะ หรือตะกอนไปอุดตันหรือไม่
คำแนะนำเพิ่มเติม คือ ถังเก็บน้ำใช้ใต้ดิน เมื่อทำความสะอาดถังเรียบร้อยแล้ว ควรรีบเติมน้ำทันที เพื่อปรับให้แรงดัน ภายในและภายนอกถังเก็บน้ำมีความสมดุล หากไม่เติมน้ำทันทีจะเกิดปัญหายังยุบตัว
2.ตรวจสอบระบบท่อน้ำอย่างไรให้ปลอดภัย
ก่อนอื่นต้องตรวจสอบระบบท่อน้ำดีก่อนการใช้งาน ตรวจสอบจุดรั่วต่างๆ โดยปิดจุดจ่ายน้ำทุกจุด จากนั้นเช็คว่ามิเตอรืหมุนหรืไม่ ถ้ามีแสดงว่ามีจุดรั่วในระบบ ต้องจัดการซ่อมแซมจากนั้นเช็คอุปกรณ์ต่างๆว่ามีรั่วซึมหรือไม่ได้แก่ ก๊อกมีหยดน้ำ สายฉีดชำระมีน้ำหยดสายเข้าหม้อน้ำหรือสายเข้าก๊อกแตก เป็นต้น สำหรับจุดที่มีการรั่วซึมให้แจ้งเจ้าหน้าที่การประปา เพื่อมาตรวจหาจุดรั่วของเส้นท่อและจัดการแก้ไข ซ่อมแซมและเพื่อให้ทุกคนในบ้านได้ใช้น้ำอย่างสบายใจ หลังน้ำท่วมแล้วเราควรตรวจเช็คการรั่วซึมและคุณภาพน้ำ หากไม่มีปัญหาก็สามารถใช้งานได้ตามปกติจากนั้นตรวจเช็คแบบง่ายๆโดยเปิดให้น้ำไหลแรงๆเพื่อล้างทำความสะอาดภายในท่อพร้อมกับดผุว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ แต่กาหพบว่ามีการรั่วซึม ต้องรีบหาจุดที่เกิดการรั่วและแก้ไขเฉพาะจุดนั้นๆก่อนที่จะใช้งาน
3.ถังเก็บน้ำใช้บนดิน-ใต้ดิน ทรุดตัวจากน้ำท่วมทำอย่างๆไร
เชื่อเหลือเกินว่าบ้านแทบทุกหลังจำเป็นต้องมีถังเก็บน้ำใช้ ซึ่งมีทั้งถังเก็บน้ำใช้บนดินและถังเก็บถังใต้ดิน ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังน้ำท่วมก็คือ ถังเก็บน้ำมีการทรุดตัวและอาจทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำจากภายนอกเข้าไปปนเปื้อน
ถังเก็บน้ำใช้บนดินที่มีการทรุดตัว เบื้องต้นเจ้าของบ้านสบายใจไว้ก่อนได้เลยว่าถังเก็บน้ำใช้บนดินยังคงปกติ เพราะโดยปกติแล้วตัวถังจะไม่แตก แต่สิ่งที่ต้องตรวจสอบ ก็คือ ข้อต่อ เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วม ระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ถังลอยตัว โดยเฉพาะถังที่บรรจุน้ำไม่เต็ม ทำให้ข้อต่อหักชำรุดได้ อย่าลืมตรวจสอบรอยรั่วของถัง โดยรอจนกระทั่งน้ำลดก่อน แล้วเติมน้ำให้เต็มดูว่าระดับน้ำในถังเก็บน้ำซึมหายไปหรือไม่ กรณีที่ระดับน้ำสูงกว่าถังเก็บน้ำ ควรรอให้น้ำลดลงเสียก่อน แล้วค่อยทำความสะอาดถังเก็บน้ำ
วิธีแก้การทรุดตัวของถังเก็บน้ำใช้ใต้ดิน กรณีที่เป็นถังคอนกรีตอาจเกิดรอยแตกร้าว ทำให้น้ำซึมผ่านได้ ต้องทำการดูดน้ำทิ้งและทำความสะอาดถังให้แห้ง จากนั้นแนะนำให้ใช้สารเคลือบกันซึมน้ำมาซ่อมแซม โดยเคลือบภายในบริเวณถังที่แตกหรือจะเคลือบใหม่ทั้งถังก็ได้
ในระยะยาวการทรุดตัวของถังเก็บน้ำสำเร็จรูปที่เกิดจากโครงสร้างการวางถังเก็บน้ำไม่แข็งแรง ควรแก้ปัญหาโดยเก็บถังขึ้นมา แล้วเสิมโครงสร้างให้แข็งแรง แต่กรณีที่เกิดรอยแตกพียงเล็กน้อย ความยาวไม่เกิน 10 ซม. สามารถซ่อมแซมได้ด้วยการเชื่อมทับโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ
4.วิธีทำความสะอาด ถังเก็บน้ำใช้เมื่อมีน้ำสกปรกปนเปื้อน
เมื่อพบว่าน้ำในถังเก็บน้ำใช้สกปรกเพราะมีน้ำภายนอกเข้าไปปนเปื้อน
วิธีการทำความสะอาดกรณีที่เป็นถังเก็บน้ำบนดิน ให้ระบายน้ำที่มีในถังออกให้หมด จากนั้นกวนตะกอนออกแล้วเปิดน้ำไล่ตะกอนที่มีอยู่ในถังออกให้หมดแล้วเติมน้ำใหม่เข้าไปจนกว่าน้ำจะใสสะอาด
ส่วนถังเก็บน้ำใต้ดิน สามารถทำความสะอาดได้โดยใช้ปั้มชนิดจุ่มดูดทำการดูดน้ำขึ้นมา จากนั้นทำการกวนตะกอนและดูดออกให้หมด เมื่อดูดและทำความสะอาดแล้ว ต้องเติมน้ำลงไปทันที เพื่อป้องกันการยุบตัวของถังแต่ถ้าไม่มีปั๊มชนิดจุ่มดูดควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมามำความสะอาดให้จะดีกว่า
เพื่อสร้างความมั่นใจในความสะอาดของถังเก็บน้ำใช้ควรติดตั้งเครื่องกรอง และใช้น้ำยาทำความสะอาดอีกครั้ง

5.ระบบบ่อปฏิกูลหลังน้ำลดจะต้องทำอย่างไร
หลังน้ำลด ทั้งระบบไฟฟ้า การประปา โครงสร้างของบ้านต่างก็ได้รับผลกระทบ มีความเสียหายเกิดขึ้นไม่เว้นแม้แต่ระบบบ่อปฏิกูล เพราแน่นอนว่าถังบำบัด บ่อเกราะ บ่อซึม อาจจะมีน้ำเต็มอยู่ ปัญหานี้เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เจ้าของบ้านมีความกังวลกันไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะเป็นระบบที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับระบบสุขภัณฑ์ภายในบ้าน และยังเป็นระบบที่สำคัญต่อสุขอนามัยในการขับถ่ายของสมาชิกทุกคนในบ้านด้วย จึงเป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าระบบอื่นๆภายในบ้าน
เจ้าของบ้านควรตรวจสอบดูระดับน้ำถ้ามีมากให้เรียกรถสูบสิ่งปฏิกูลมาดูดออก ส่วนถังบำบัดหลังทำการดูดสิ่งปฏิกูลแล้วควรเติมเชื้อจุลินทรีย์ลงไปด้วย เพื่อเริ่มต้นระบบบำบัดน้ำใหม่
6.ถังดักไขมัน จัดการอย่างๆไรดีหลังน้ำลด
ถังดักไขมันอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องแก้ไข เพื่อให้ระบบท่อน้ำประปาภายในบ้านสามารถทำงานได้ดีการทำความสะอาดถังดักไขมันหลังเกิดน้ำท่วมไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยากนัก เจ้าของบ้านทำความสะอาดด้วยตนเองได้ เพียงแค่ตักกากไขมัน และสิ่งสกปรกออกให้หมด แล้วล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำร้อนล้างในเส้นท่อ เพื่อให้ไขมันละลายและหลุดออก เท่านี้ถังดักไขมันก็สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว
7.ห้ามกดชักโครก เมื่อเข้าบ้านครั้งแรกหลังน้ำลด
หลังจากที่เดินสำรวจความเสียหายในหลายๆส่วนของบ้านไปแล้ว ห้องน้ำ-ห้องส้วม เป็นจุดที่เราเข้าไปสำรวจสภาพหลังน้ำท่วม คำเตือนที่ต้องรีบไว้ก่อนคือ ห้ามกดชักโครกทันที เพราะอาจเสี่ยงต่อการทำให้ส้วมระเบิด
สาเหตุที่ต้องบอกเตือนว่ากรุณาอย่ากดชักโครก เมื่อเข้าบ้านครั้งแรกหลังน้ำท่วม ก็เพราะว่าหากเป็นกรณีที่ยังมีน้ำท่วมขัง ระดับน้ำภายนอกจะมีแรงดันมากกว่าแล้วจะดันให้น้ำไหลย้อนกลับออกทางหัวชักโครก อาจทำให้เกิดสภาพคล้ายกับส้มระเบิดได้ กรณีที่บ้านน้ำลดแล้ว คงไม่มีปัญหาใด สามารถใช้งานชักโครกได้ตามปกติหลังจากย้ายวัสดุต่างๆไม่ว่าจะป็นถุงทราย ดินน้ำมัน ดินเหนียว หรือแม้แต่ถุงพลาสติดที่นำไปอุดโถสุขภัณฑ์ออกให้หมดเสียก่อน จากนั้นก็ทำความสะอาดท่อก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ


8.วิธีการจัดการกับห้องน้ำ ชักโครก ท่อระบายน้ำที่เกิดการอุดตันหรือน้ำเจิ่งนอง
เมื่อเข้าใช้งานห้องน้ำได้แล้วสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้งานจำเป็นต้องทำความสะอาดและตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานเสียก่อนโดยถอดสายน้ำดี เพื่อล้างตะกอนในเส้นท่อก่อนเข้าโถ จากนั้นเมื่อน้ำสะอาดแล้วจึงประกอบสายน้ำดีคืน และจ่ายน้ำเข้าในโถ เพื่อทำความสะอาดอุปกรณ์ภายในหม้อน้ำซึ่งอยู่ในโถ ก่อนจะตรวจสอบระบบการทำงาน ได้แก่ ลูกลอยเปิด-ปิดน้ำ ว่ายังคงทำงานได้เป็นปกติได้หรือไม่ ลูกยางเปิด-ปิดน้ำลงโถ สามารถปิดน้ำได้สนิทหรือไม่ ทดสอบการทำงานด้วยการกดชำระล้างของโถสุขภัณฑ์โดยการกดชักโครกเสียก่อน หากพบว่าชักน้ำไม่ลงหรือน้ำลงช้า แสดงว่าอาจมีสิ่งอุตตันในโถสุขภัณฑ์ ปัญหานี้แนะนำให้ใช้ลูกยางปั๊มดูดขึ้นมา หากพบว่าห้องน้ำชั้นล่างใต้ฐานส้มหลังทำความสะอาดแล้ว และยังคงมีคราบน้ำซึมออกมา อาจเกิดจากวัสดุยาแนวเกิดการสึกกร่อนหรือลหุดล่อน แนะนำให้ทำการรื้อและติดตั้งเข้าไปใหม่
ส่วนท่อระบายอากาศ หลังเจอน้ำท่วมอาจเกิดการอุตตันแนะนำให้ใช้สายยางสอดเข้าไปจนสุดแล้วเปิดน้ำไล่ เพื่อขจัดสิ่งอุดตันต่างๆและแนะนำให้ตรวจสอบกับทุกจุดที่เป็นท่อระบายอากาศในบ้านด้วยวิธีการเช่นเดียวกันนี้
สำหรับอุปกรณ์พวกก๊อกน้ำ ฝักบัวสานโลหะเกลียวน้ำท่วมแช่ขัง ต้องทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกเสียก่อน โดยใช้น้ำยาหรือครีมอเนกประสงค์ขัดโลหะให้สะอาด
9.ส้วมชั้นล่างถูกน้ำท่วมมิด ทำความสะอาดอย่างไร
ระดับน้ำที่ไหลทะลักเข้าท่วมภาในบ้านสูงเหลือเกิน ทำให้ห้องน้ำถูกน้ำท่วม วิธีทำความสะอาดห้องส้วมชั้นล่างที่ถูกน้ำท่วมจนมิด ทำได้โดยน้ำยาล้างทำความสะอาดกระเบื้องโดยเฉพาะ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านค้าที่จำหน่ายกระเบื้องเซรามิกทั่วไปเพื่อล้างบริเวณพื้นและผนัง ห้ามใช้นำยาทำความสะอาดที่เป็นกรดเข้มข้น ซึ่งวางขายตามท้องตลาดทั่วไป เพราจะกัดร่องยาแนวและผิวกระเบื้อง ทำให้สียหายได้
ขอแนะนำอีกประการหนึ่ง คือ ควรทำความสะอาดมทันทีหลังน้ำลด เพรายิ่งทิ้งไว้นาน ก็ยิ่งทำความสะอาดยากโดยให้ระวังส่วนที่เป็นโลหะหรือพลาสติก ไม่ควรใช้น้ำยาดังกล่าวจะทำให้เกิดคราบด่างดำ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้


สำหรับบางบ้านที่มีตู้อาบน้ำ เมื่อถูกน้ำท่วมแล้ว ตู้อาบน้ำยังสามารถใช้งานต่อไปได้ เพียงแค่ทำความสะอาดส่วนที่เป็นคราบด้วยน้ำยาล้างจาน เพียงเท่านี้ก็ใช้งานได้เหมือนเดิมแล้ว แต่ถ้าบ้านไหนมีอ่างน้ำวนในห้องน้ำชั้นล่าง ควรตัดระบบไฟฟ้าและงดใช้งาน จากนั้นเรียกผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบโดยละเอียดก่อนใช้งาน
10. ระบบท่อน้ำทิ้งต้องจัดการอย่างไรก่อนใช้งาน
ระบบท่อน้ำทิ้ง หมายความถึงอ่างล้างหน้า ซักล้าง ซิงค์ในครัว ลานซักล้าง เมื่อโดนน้ำท่วมขังในบ้านเป็นเวลานานระบบท่อน้ำทิ้งเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลและทำความสะอาดอย่างถูกต้องด้วย การจัดการท่อน้ำทิ้งในบ้านควรเริ่มตั้งแต่การนำวัสดุต่างๆที่ไปอุดไว้เพื่อป้องกันน้ำทะลักขึ้นมาตามเส้นท่อของบ้านออกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นดินน้ำมัน ถุงยาง ดินเหนียว ถุงพลาสติก จากนั้นทดลองเทน้ำลงอ่าง ถ้าน้ำไหลลงไดเสะดวกแสดงว่าระบบท่อระบายน้ำไม่ให้อุดตัน สามารถใช้งานได้ปกติ แต่กรณีที่เกิดการระบายช้า แสดงว่าเกิดการอุดตัน แนะนำให้ใช้โซดาไฟ ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืนจากนั้นเทน้ำราดลงไปอีกครั้งหนึ่งแต้การใช้โซดาไฟนั้นต้องใช้เมื่อระดับน้ำในโถสุขภัณฑ์ต่ำเท่านั้น
อีกหนึ่งวิธี ก็คือ การใช้งูเหล็กซึ่งหาซื้อได้ตามร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไปก็ได้ ทะลวงลงไปในเส้นท่อ ก่อนที่จะทำการทดสอบอีกครั้งโดยเทน้ำลงไปในอ่าง สังเกตว่าน้ำไหลได้ตามปกติหรือไม่กรณีน้ำยังไหลไม่ดี อาจจะต้องเช็คไล่เส้นท่อเพื่อหาจุดอุดตันและควรเช็คจุดอุดตันอื่นๆด้วย ได้แก่ ท่อระบายลงบ่อบำบัดหรือท่อระบายลงบ่อพัก โดยต้องไม่ลืมที่จะทำความสะอาดตะแกรงระบายน้ำพื้น เอาเศษวัสดุที่ไปอุดตะแกรงออกด้วย
12.ปั๊มน้ำถูกแช่ไว้นานๆจะใช้งานใหม่ต้องทำอย่างไร
ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ปั๊มน้ำเมื่อถูกแช่น้ำไว้นานๆจากภาวะวิกฤตน้ำท่วม ก็คือ ปั๊มน้ำยังจะใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่ ข้อแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับปัญหานี้ก็คือ ห้ามเปิดใช้งานอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร เพราะปั๊มน้ำที่แช่น้ำนานๆมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบมอเตอร์ ซึ่งควรให้ช่างไฟฟ้ามาตรวจดู หรือติดต่อบริษัทผู้ผลิตเพื่อรับเอามอเตอร์ของปั๊มไปอบไล่น้ำภายในปั๊มออกก่อนใช้งาน ซึ่งเจ้าของบ้านควรจะพิจารณาความคุ้มค่าระหว่างการซ่อมปั๊ม หรือซื้อใหม่มาติดตั้ง

ข้อแนะนำเพิ่มเติม ก็คือควรติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว ไฟช็อตเพื่อความปลอดภัย กรณีของหม้อค้มน้ำร้อน ซึ่งบางบ้านอาจติดตั้งไว้ใต้เคาเตอร์ในห้องน้ำชั้นล่างและน่าจะเกิดความเสียหาย จุดนี้แนะนำให้แจ้งช่างผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขจะดีกว่า
12.จะเปลี่ยนระบบท่อทั้งชุดต้องเตรียมงบประมาณเท่าไหร่
เมื่อคิดอยากจะเปลี่ยนระบบท่อภายในบ้าน เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ต้องมีการวางแผนการเงินล่วงหน้า แต่ไม่รู้ว่าต้องใช้งบประมาณสักเท่าไร และงานแบบนี้จะทำเองได้ไหม หรือต้องให้มืออาชีพเข้ามาช่วย ก่อนอื่นคงต้องบอกว่างานเปลี่ยนระบบท่ออาจใช้งบประมาณซึ่งรวมทั้งระบบท่อ ค่าของและค่าแรง โดยเฉลี่ยอยู่ที่15,000 – 20,000 บาท ซึ่งก็แล้วแต่ความยากง่ายของระบบท่อภายในแต่ละบ้าน
แต่สำหรับบ้านที่เดินระบบท่อแบบลอยอยู่แล้ว ไม่ได้ฝังท่อในพื้นหรือผนังบ้าน จะสามารถติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงระบบท่อได้ง่ายกว่า ดังนั้นกรณีเจ้าของบ้านต้องเปลี่ยนระบบท่อทั้งชุด แต่ไม่ต้องการทุบพื้นหรือผนัง อาจเปลี่ยนมาทำการติดตั้งระบบท่อด้วยการเดินลอยก็ได้ เพราะสามารถทำให้สะดวก ประหยัดซ่อมแซมได้ง่าย ซึ่งงานแบบนี้ จะให้ดีแนะนำให้ปรึกษาช่างประปาจะดีที่สุด
13.วิธีจัดการกับสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์มีพิษหรือแมลงต่างๆและกลิ่นที่มากับท่อน้ำ
เมื่อน้ำท่วม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์มีพิษและแมลงต่างๆจะหนีน้ำด้วยการหลบซ่อนตัวอยู่ในบ้าน หรือระบบท่อน้ำ
ดังนั้นเมื่อกลับเข้ากลับเข้าบ้าน ต้องรีบจัดการกับสัตว์เลื้อยคลาน ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ โดยมันจะโผล่ออกมาตามท่อระบายน้ำ ทั้งแมลงสาบ ตะขาบ หนูซึ่งอาจรวมถึงงูเงี้ยวเขี้ยวขอต่างๆด้วย เราสามารถทำความสะอาดด้วยการฉีดน้ำไล่ หรือฉีดยาฆ่าแมลงตามท่อน้ำ และซอกหลืบต่างๆที่เป็นไปได้ว่าจะมีสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ หรือเลิอกใช้วิธีนำสารที่มีกลิ่นระเหยสูง เช่น การบูร ลูกเหม็น กำมะถันโรยลงไปในท่อระบายน้ำ เพียงแต่ต้องดูทิศทางการให้โดยไล่จากกลางบ้านลงไปนอกบ้าน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์อีกด้วย ข้อแนะนำในการกำจัดกลิ่นอย่างง่ายๆ ก็คือ การไล่น้ำเสียออกจากท่อระบายน้ำ โดยเทน้ำดีลงไปจากนั้นตรวจสอบว่าได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยดักกลิ่นหรือไม่ กรณีที่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ใดๆเพื่อป้องกันกลิ่นแบบถาวร
แนะนำวิธีง่ายๆในการกำจัดกลิ่นให้หมดไปด้วยการติดตั้งถ้วยดักกลิ่นและท่อดักกลิ่น (P-Trap) เพียงเท่านี้กลิ่นไม่พึงประสงค์ก็จะหายไปไม่รบกวนการสูดอากาศบริสุทธิ์ภายในบ้านอีกต่อไป




Create Date : 07 มกราคม 2555
Last Update : 7 มกราคม 2555 15:38:49 น. 0 comments
Counter : 987 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

i am good day
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอข่าวสารที่จำเป็น และที่ทุกคนต้องทราบในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อทำธุรส่วนตัว ธุระของครอบครัว และเรื่องอื่น ๆที่น่าจะเป็นประโยชน์ จรรโลงใจ เป็นความจริงที่ควรทราบ
Friends' blogs
[Add i am good day's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.