โยคะเป็นไปเพื่อดับการปรุงแต่งของจิต
Group Blog
 
All blogs
 

เ มื่ อ ค รู โ ย ค ะ จะ วิ่ ง ม า ร า ธ อ น ตอนที่ 26- โอเว่อรโหลด

สวัสดีค่ะ


วันนี้วันที่ 9 เมษายน 2558 ตั้งใจว่าจะเขียนเรื่องของการทานอาหารต่างๆสำหรับการวิ่งโดยให้ชื่อตอนนี้ว่า …โอเว่อร์โหลด


ย้ำอีกครั้งหนึ่ง!! โดยส่วนใหญ่เวลาเขียนบันทึกหมวยมักจะใช้ข้อมูลจากที่เรียนมาทั้งจากการศึกษาโยคะ การฝึกเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนส่วนตัวและรวมถึงเรื่องโภชนาการสำหรับนักกีฬาด้วย ทั้งนี้อาจจะยังฝึกไปไม่ได้ถึงขั้นนักวิ่งมาราธอนหรอกนะ ตอนนี้แค่วิ่งมินิมาราธอนน่ะไม่ต้องถึงกับจะต้องเอาทฤษฎีอะไรมาตั้งมากมายนะ ออกไปวิ่งซะก่อนเถอะ 555(กำลังบ่นกับตัวเองอยู่) ที่เขียนอย่างนี้เพราะเกรงใจผู้ที่วิ่งมานมนานกาเลกว่า เดี๋ยวจะพาลคิดว่า...นักทฤษฎีวิ่ง...เพิ่งจะวิ่งจะเอาอะไรมาเล่าให้นักปฏิบัติวิ่งที่วิ่งมาหลายปีแล้วฟัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อจะเอาข้อมูลเหล่านี้ที่บันทึกไปช่วยการฝึกซ้อมในภายภาคหน้า


ชื่อตอนในวันนี้ก็มาจากตอนแรกที่เริ่มวิ่ง เห็นน้องสาวและเพื่อนๆพูดถึงอะไรบางอย่าง...โหลดๆ แล้วเธอก็โพสรูปอาหารบ้าง ขนมบ้าง พอมาหาข้อมูลก็เลยเข้าใจว่า...อ๋อ เป็นการเตรียมเรื่องของอาหารก่อนวันวิ่ง คือ…ตอนที่เรียนก็เรียนเป็นภาษาอังกฤษไม่เห็นพูดถึงการกินว่า load นี่นา ก็ใช้แต่ eat กับ take -_-"


ทีนี้พอเราเห็นว่าเขาโหลดอาหารกันจัง โดยเฉพาะว่า...โหลดคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรต จึงเกิดความสงสัยว่า...โหลดกันขนาดนั้น...จะนึกมั๊ยว่าต้องโหลดเท่าไหร่? ที่เราบอกว่า...เราโหลดคาร์โบไฮเดรตน่ะ...จริงๆแล้วเราต้องกินเท่าไหร่ ร่างกายเราต้องกินเท่าไหร??? คือ…ใครไม่คิดแต่หมวยคิดอ่ะ!


ในความเป็นจริงคือ...คุณเก็บคาร์โบไฮเดรตในรูปไกลโคเจนได้ไม่เกินไปกว่าที่คุณจะใช้สำหรับ RMR(ค่าการใช้พลังงานในขณะพัก) ที่คำนวนได้หรอก ที่เหลือคุณจะเอาไปเก็บเป็นไขมันทั้งหมด!! เช่น น้ำหนักตัว 50 กก. ถ้าคำนวน RMR ง่ายๆคือ เอาน้ำหนักตัวคูณด้วย 22 ในผู้หญิง ส่วนผู้ชายคูณด้วย 24 ก็จะได้ 1100 กิโลแคลอรี่ ซึ่งคำนวนกลับไปเป็นคาร์โบไฮเดรตก็แค่ 250-300 กรัมเท่านั้น(ยังไม่ใช่การคำนวนเป็นน้ำหนักอาหารนะ เช่น..ต้องทราบว่าข้าวหนึ่งร้อยกรัมให้คาร์โบไฮเดรตเท่าไหร่ จึงจะทำให้ทราบว่าต้องทานข้าวเท่าไหร่จึงได้คาร์โบไฮเดรต 250 กรัม) 


บางคนอาจจะเคยอ่านในทางทฤษฎีเกี่ยวกับการเก็บไกลโคเจนว่า..ในตับสามารถเก็บได้ 100 กรัม ในกล้ามเนื้อสามารถเก็บได้ 400 กรัม ถ้าเทียบเป็นแคลอรี่ก็อาจจะได้มากถึง 1500-2000 กิโลแคลอรี่ ซึ่งแตกต่างกันไปตามบุคคล …และคำกล่าวนี้เองที่อาจจะทำให้เราเข้าใจผิดไป


การวิ่งมาราธอนไม่ได้ทำให้เราเก็บไกลโคเจนได้มากเท่ากับที่ทฤษฎีกล่าวไว้ เพราะแท้จริงแล้วองค์ประกอบของไกลโคเจนจะมีน้ำเป็นหลัก ดังนั้นถ้าเราจะเก็บไกลโคเจนให้ได้เหมือนกับที่ทฤษฎีกล่าวเอาไว้...ตัวเราก็จะบวมใหญ่ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราจะเห็นในนักวิ่งมาราธอน แต่จะไปเห็นได้ในนักเพาะกาย นักกีฬายกน้ำหนักซะมากกว่า ดังนั้นถ้าคุณเป็นนักวิ่งมาราธอนที่ผอมลีบ ไม่ค่อยมีกล้ามเนื้อแล้วหล่ะก็...คุณไม่ได้เก็บไกลโคเจนไว้มากขนาดนั้นหรอกค่ะ เพราะไกลโคเจนจะแทรกตัวอยู่ตามกล้ามเนื้อ ถ้าคุณมีกล้ามเนื้อที่น้อย(หมายถึงปริมาตร ไม่ได้พูดถึงสัดส่วนนะคะ) คุณก็จะไม่ค่อยมีพื้นที่ในการจัดเก็บไกลโคเจนมากนักหรอก ดังนั้นร่างกายก็จะเก็บแค่เพียงพอกับการใช้พลังงานขณะพัก ซึ่งบางคนที่ซ้อมจนมี RMR หรือการใช้พลังงานขณะพักมาก...ร่างกายก็จะสั่งให้เก็บไว้มากหน่อยแต่ก็ยังไม่สามารถเก็บได้มากเท่านักเพาะกายหรือนักกีฬายกน้ำหนักอยู่ดี


การทานอาหารในช่วงก่อนการแข่งขันก็มียังต้องมีสัดส่วนของอาหารที่เหมาะสม แม้ว่าจะมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่สูง แต่...ในวันที่เราไม่ได้ฝึกหรือวันที่เราลดการฝึกซ้อมลงเพื่อให้ร่างกายพักอย่างเต็มที่ก่อนการฝึกนั้น..ก็ไม่ได้หมายความว่า...เราจะกินอะไรได้เต็มที่เพราะเดี๋ยวก็เผาผลาญในวันแข่งแล้ว! อันนี้เป็นความคิดที่ไม่เหมาะสมนะคะ 


ยกตัวอย่าง ในวันที่เราซ้อมวิ่งระยะไกล อาจจะต้องทานอาหารในวันนั้นให้ได้พลังงานถึง 2500-3000 กิโลแคลอรี่ ในวันที่เราวิ่งระยะสั้นก็อาจจะอยู่ที่ 2500 กิโลแคลอรี่ และในวันพักก็อาจจะอยู่แค่ 2000กิโลแคลอรี่(อันนี้ยังไม่กล่าวถึงสัดส่วนของ คาร์โบไฮเดรต/โปรตีน/ไขมัน นะ)


ดังนั้นถ้าเป็นวันพักก่อนวันแข่งขันวิ่งมาราธอนซึ่งเราควรจะทานแค่ 2000 กิโลแคลอรี่ แต่เรากลับทานไปถึง 3000 กิโลแคลอรี่ ที่โอเว่อร์โหลดแล้วเหลือจากการใช้งาน 1000 กิโลแคลอรี่ก็จะแปลงเป็นไขมัน ซึ่งจะทำให้ตัวเราเกิดความหนืดขึ้นมากะทันหัน และถ้าทำอย่างนี้หลายๆวันติดกัน ก็เท่ากับเพิ่มน้ำหนักขึ้นมาอย่างกะทันหัน ทำให้วันที่วิ่งแข่งจริงๆเราอาจจะรู้สึกว่าร่างกายเกิดความหนักได้ วิ่งได้ไม่ดี ซึ่งก่อนวันลงแข่งวิ่งมาราธอนนักกีฬาจะต้องลดความหนักและลดสัดส่วนอาหารลงมาตามความหนักและแคลอรี่ที่ใช้จริง การลดความหนักและปล่อยให้ร่างกายได้พักอย่างเต็มที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายเก็บสะสมไกลโคเจนตามกำลังของมันอย่างเต็มที่(ไม่มากไปกว่าที่ร่างกายของบุคคลนั้นสามารถทำได้ ไม่ใช่ตามทฤษฎี)


และสัดส่วนของ คาร์โบไฮเดรต/โปรตีน/ไขมัน ก็จะต่างกันไปตามความหนักของการซ้อมก่อนการแข่งด้วยเช่นกัน


และนั่นก็เป็นเหตุที่เราจะต้องเตรียมอาหารเจลหรือพวกเกลือแร่ต่างๆให้พร้อมหากมีการวิ่งระยะไกล เพราะต้องเสริมพลังงานให้ร่างกายอย่างเพียงพอ ไม่อย่างนั้นก็จะเกิดการน็อกในขณะวิ่งได้


ทั้งนี้…อันนี้เป็นเรื่องของการวิ่งมาราธอน คนที่ฝึกวิ่งมินิมาราธอนอาจจะยังไม่ต้องคิดเยอะขนาดนั้นหรอกนะ แต่ถ้าเพื่อการวิ่งที่ดี มีความสุข และไม่บั่นทอนสุขภาพกายและใจ ก็อาจจะต้องดูแลตรงนี้บ้างในภายภาคหน้าค่ะ ^_^


หมายเหตุ…ตอนนี้ยังไม่มีเวลาคำนวนเรื่องอาหารอย่างเต็มที่เหมือนกัน เขียนไว้เตือนตัวเองเมื่อยามไต่ระดับขึ้นไป เป็นการเตรียมความรู้ไว้สำหรับการเทรกกิ้งในปีหน้าด้วย เพราะปีหน้าวางแผนว่าจะเทรกกิ้งที่เนปาล 10 วัน เพราะเทรกกิ้งครั้งแรกไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้เตรียมอะไรเลย ชีวิตบัดซบและทรหดอยู่กลางภูเขา -_-"




 

Create Date : 09 เมษายน 2558    
Last Update : 9 เมษายน 2558 23:24:10 น.
Counter : 860 Pageviews.  

เ มื่ อ ค รู โ ย ค ะ จะ วิ่ ง ม า ร า ธ อ น ตอนที่ 25 - วอร์มอัพและคูลดาวน์ปรับคลื่นสมองกันก่อน

สวัสดีค่ะ


วันนี้วันที่ 8 เมษายน 2558


ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาซ้อมน้อยเพราะติดดูแลลูกและสอนครูโยคะ แต่ตอนช่วงที่กำลังนั่งรอลูกซ้อมการแสดงอยู่ก็ได้มานั่งทวนเรื่องคลื่นสมองเพื่อเตรียมสอนครูโยคะ ก็ได้หลักบางประการมาปรับใช้เพื่อช่วยในการซ้อม


จากการสังเกตุตัวเอง จะชอบการซ้อมที่ฟิตเนสช่วง11 โมงเป็นต้นไปจนถึงบ่ายสองโมงกว่าๆ ตอนเช้าจะไม่ชอบตื่นมาวิ่งเท่าไหร่ตอนเย็นก็ยังโอเคกว่าตอนเช้า แต่เช้าๆปั่นจักรยานเบาๆได้อยู่ แต่วันที่แข่งมินิมาราธอนกลับพบว่าไม่มีปัญหาเท่าไหร่ เลยเกิดเป็นคำถามกับตัวเองว่า เพราะอะไร? พยายามจะขุดตัวเองมาซ้อมในตอนเช้า เพราะวิ่งมาราธอนปลายปีก็จะต้องวิ่งแต่เช้า


จากข้อมูลที่มีอยู่ทำให้เราเชื่อมโยงความรู้เข้าด้วยกัน มันเป็นเรื่องของคลื่นสมองด้วย


คลื่นสมองของเรามีหลายแบบ


แต่ละช่วงของคลื่นสมองมีไว้เพื่อการทำงานแบบต่างๆของร่างกาย เช่น เวลาที่เราทำงานตามปกติเราจะใช้คลื่นสองในช่วงเบต้า ส่วนช่วงที่เราผ่อนคลายและเริ่มจะหลับจะเป็นคลื่นสองแบบธีต้า และถ้ามันไม่อยู่ในช่วงของมันก็จะทำให้ร่างกายไม่ตอบสนองแบบที่สอดคล้องกัน เช่น ตอนทำงานแต่กลับมีคลื่นสมองแบบธีต้าก็จะทำให้ง่วงหงาวหาวนอน และถ้ามีคลื่นสมองแบบเบต้าตอนจะนอนก็จะทำให้นอนไม่หลับ

และช่วงของคลื่นสมองเหล่านี้ก็ไม่ควรกระโดดข้ามไปมา เช่น จากเบต้าไปธีต้าเลย หรือจากธีต้าแล้วไปเบต้าทันที เช่น ทำงานและเดินทางกลับถึงบ้านก็ล้มตัวลงนอนเลย แต่ให้นั่งพักแล้วอาบน้ำอาบท่าก่อนจะเข้านอน เขาถึงได้มีการออกแบบไฟในห้องนอนให้สลัวๆนวลๆ เป็นการปรับคลื่นสมองเช่นกัน เพราะถ้าคลื่นสมองกระโดไปกระโดมาบ่อยๆก็จะทำให้เกิดความล้าสะสมได้

เช่นเดียวกับการออกกำลังกายเช่นกัน การวอร์มอัพเป็นการปรับคลื่นสมองให้พร้อมกับการออกกำลังกาย ค่อยๆไต่ขึ้นไป ถ้าเราวอร์มด้วยการเดินหรือวิ่งก็ควรจะวิ่งเหยาะๆเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะรู้สึกเหมือนวิ่งไปแล้วเหนื่อยมาก ส่วนการคูลดาวน์ก็เป็นการค่อยๆปรับคลื่นสมองของเราลงมาให้พร้อมกับการผ่อนคลายหรือเตรียมตัวเองสู่การทำงานอื่นๆ ถ้าเราหยุดออกกำลังกายแล้วไปทำงานที่ต้องใช้สมองทันทีเราอาจจะรู้สึกว่าร่างกายสั่นๆอยู่ทั้งที่หัวใจอาจจะกลับมาเต้นเป็นปกติแล้วก็ได้ เพราะภาวะของร่างกายยังทำงานอยู่ทำให้ไม่สอดคล้องกับการต้องมานั่งโต๊ะทำงานทันที

เราสามารถใช้การหายใจช่วยได้อีกด้วย

ในโยคะอธิบายไว้ในสวรโยคะว่า ถ้าเราต้องการออกกำลังกายแล้วรู้สึกดี ให้ปิดรูจมูกข้างซ้ายแล้วหายใจเข้าออกทางด้านขวาเป็นเวลาสัก 5-10 นาที แล้ววอร์มอัพ ส่วนเมื่อคูลดาวน์เสร็จก็หายใจเข้าออกทางด้านซ้ายสัก5-10 นาที เพื่อปรับมาใช้สมองเพื่อการทำงานหรือการผ่อนคลายค่ะ

ทีนี้พอพิจารณากับตัวเอง ช่วง 10โมงถึงบ่ายสอง เป็นช่วงที่คลื่นสมองปรับเข้าสู่การทำงานของร่างกาย เลยทำให้หมวยรู้สึกดีกว่าเมื่อออกกำลังกายตอนกลางวัน แต่ตอนเช้า แม้ว่าจะทานกล้วยก่อนก็ตามแต่ดูเหมือนว่าจะปรับไม่ทัน ก็คิดว่าน่าจะต้องใช้การหายใจเข้าร่วม แต่เวลาที่ไปแข่งจะต้องไปก่อน และตื่นก่อนเวลาวิ่งนานมาก ทำให้เราค่อนข้างตื่นตัว จึงไม่รู้สึกว่าการเริ่มวิ่งติดขัดมาก

อันนี้ก็เป็นเรื่องของการปรับคลื่นสมองก่อนการวื่งหรือออกกำลังกาย นอกจากนี้เรายังปรับไปใช้กับเรื่องอื่นๆได้อีกด้วยนะ ลองศึกษากันดูค่ะ ^^
ทั้งนี้ใครจะใช้เวลาเท่าไหร่ในการวอร์มอัพหรือคูลดาวน์เพื่อปรับคลื่นสมองก็ต่างกันไปในแต่ละคนนะคะ ^^




 

Create Date : 08 เมษายน 2558    
Last Update : 8 เมษายน 2558 17:15:34 น.
Counter : 290 Pageviews.  

เ มื่ อ ค รู โ ย ค ะ จะ วิ่ ง ม า ร า ธ อ น ตอนที่ 24 - ปรับแผนการฝึก

สวัสดีค่ะ


วันนี้วันที่ 2 เมษายน 2558 นับจากวันที่ 17 กุมภาพันธ์ก็เป็นเวลาเดือนครึ่งแล้วที่เริ่มฝึกวิ่งอย่างตั้งใจ


ก่อนที่พรุ่งนี้จะเขียนเรื่องคลื่นสมองกับการวอร์มอัพ วันนี้ขอมานั่งทบทวนแผนการฝึกก่อนดีกว่า เพราะว่าเมื่อวานที่ฝึกไปแล้วพบว่าไม่ชอบสภาวะบางอย่างที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่อวานนี้ วันนี้เลยมานั่งคิดทบทวนเป้าหมายต่างๆของการฝึก


แผนการฝึกก็เหมือนเป้าหมายของชีวิต ซึ่งต้องมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว


โดยที่แผนการฝึกของหมวยมีเป้าหมายระยะไกลคือ....นับตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ไปถึง 15 พฤศจิกายน ก็มีระยะเวลาประมาณ 9 เดือนที่จะเตรียมความพร้อมสู่การวิ่งมาราธอน 


และมีเป้าหมายระยะกลางคือ พัทยามาราธอนในวันที่ 19 กรกฎาคม 


ส่วนเป้าหมายระยะสั้นในช่วงสองเดือนแรกของแผนคือ 1. วิ่งให้ได้ตลอด 1 ชม. และ 2. วิ่งให้ได้ตลอดจนครบ 10 กม. ซึ่งสามารถทำให้เป้าหมายเป็นจริงในเวลาหนึ่งเดือนครึ่ง ก็นับว่าน่าพึงพอใจ 


เมื่อเราเข้าถึงเป้าหมายระยะสั้นที่ตั้งไว้แล้วก็ต้องมาทบทวนแผนฝึกสักที ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าฝึกถึงเป้าหมายเร็วกว่าที่กำหนดไว้แล้วจะดีเสมอไป และก็ไม่ได้หมายความว่าแผนอาจจะง่ายไปแล้วต้องปรับให้ยากขึ้น ต้องดูสภาวะร่างกายด้วย


จากเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมานี้นับว่าพึงพอใจมาก แต่รู้สึกว่าร่างกายล้าๆ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า...ดื่มน้ำไม่พอ ยังไม่ถึงภาวะขาดน้ำ แต่รู้สึกได้ว่าน้ำไม่พอทำให้ล้า และอาจจะโหมทำตามเป้าหมายมากเกินไป ทำให้มึนๆหัว ดังนั้นเลยตั้งใจปรับแผน อาจจะด้วยความที่เป็นฤดูร้อนด้วยเหตุหนึ่งและด้วยเราเป็นคนที่แพ้ความร้อนด้วย ฤดูร้อนทีไรมักจะเป็นฮีทสโตรคเรื่อย ดังนั้นก็ต้องดูตรงนั้นด้วย และในวันพุธตารางสอนโยคะก็พอสมควรอยู่ ดังนั้นก็ต้องปรับกัน


เลยตั้งใจจะปรับการฝึกไปคุมเวลาและเพิ่มความเร็วแทน


โดยวันอังคารจะวิ่ง 40 นาที วันพุธ 1 ชั่วโมง และวันพฤหัสบดี 40 นาที ทั้งสามวันก็จะมีแผนการฝึกปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม และก็มีการฝึกเวทเทรนนิ่งไปด้วย และวันเสาร์หรืออาทิตย์ก็จะวิ่งยาวเพิ่มระยะสัปดาห์ละ 0.5 กม.


ทั้งนี้การพิจารณานี้ก็เหมือนเวลาที่ฝึกโยคะเช่นกัน ตามหลักยมะของโยคะ ในข้ออหิงสาคือเรื่องของการเบียดเบียน เราต้องมาพิจารณาด้วยว่า...เราเบียดเบียนร่างกายด้วยการใช้มันจนเยอะไปรึปล่าว หรือว่าใช้น้อยเกินไป ต้องดูแลให้สมดุล


ตอนนี้ก็ต้องขอเวลาไปพักละจ้า เพื่อจะได้ไปซ้อมได้ต่อ ^^




 

Create Date : 08 เมษายน 2558    
Last Update : 8 เมษายน 2558 17:04:18 น.
Counter : 840 Pageviews.  

เ มื่ อ ค รู โ ย ค ะ จะ วิ่ ง ม า ร า ธ อ น ตอนที่ 23 - การล้างจมูกช่วยให้การวิ่งดีขึ้นได้อย่างไร?

สวัสดีค่ะ ชาวโลกกกกกก


วันนี้วันที่ 28 มีนาคม 2558 วันที่ 39 ของการฝึก


วันนี้รู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้เขียนเรื่องนี้ ขอบคุณโยคะ ขอบคุณสถาบันRishikesh Yog Peeth ขอบคุณน้องสาว Lekasus Orawan ขอบคุณครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิประสาทวิชามา ทำให้วันนี้ได้แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้มาและน่าจะมีประโยชน์สำหรับหลายๆคน 


เป็นความตื่นเต้นทุกครั้งที่สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้เข้าหากันได้ นี่เอง…ที่เขาเรียกว่า …ญาณโยคะ คือบรรลุด้วยองค์ความรู้


เรื่องมันอธิบายยาก แต่จะพยายามอธิบายสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายๆ -_-"


เหตุเกิดจากเมื่อเช้าสอนนักเรียนครูโยคะรุ่นที่ 13 ทำชลเนติหรือล้างจมูกโดยการใช้กาที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อการล้างจมูกใส่น้ำเกลือรสชาติปะแล่มๆแล้วเอาจ่อปิกรู้จมูกให้มิดข้างนึง กระดกกาขึ้นมาให้น้ำไหลผ่านไปยังรูจมูกอีกข้างหนึ่ง จะช่วยในการชำระล้างเมือกตามโพรงจมูก และช่วยให้กระบวนการณ์หายใจดีขึ้น ช่วยอย่างไร???


เมื่อเราล้างโพรงจมูกโดยพยายามให้น้ำผ่านโพรงจมูกอย่างน้อย 6 วินาทีต่อเนื่องจะกระตุ้นให้โพรงไซนัสเกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งขนเล็กๆในโพรงไซนัสก็จะสั่นพริ้วเพื่อเอาเมือกที่มีฝุ่นผงเกาะอยู่ออกมากับน้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในโพรงจมูก ซึ่งจะทำให้โพรงไซนัสทำหน้าที่ได้ดีขึ้น โพรงไซนัสจะสร้างเมือกเพื่อดักจับฝุ่นและสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเพื่อปล่อยออกไปสู่คอและลงไปยังกระเพาะอาหาร น้ำย่อยในกระเพาะอาหารก็จะฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในเมือกนั้นด้วย แต่บางครั้งเมื่อเชื้อโรคมีมากและการกำจัดเมือกในโพรงไซนัสไม่ได้เป็นไปตามปกติก็จะเกิดการขยายตัวของเชื้อต่างๆได้ และนอกจากนี้เนื้อเยื่อในโพรงไซนัสยังสามารถสร้างก๊าซไนตริกออกไซด์ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคที่เรียอีกด้วย ทีนี้…ก๊าซไนตริกออกไซด์นี้ยังมีส่วนสำคัญอย่างไรบ้าง?


ก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้น เราก็จะต้องทราบเรื่องของการแลกเปลี่ยนก๊าซที่เราเรียกว่า Bohr Effect ซะก่อน

ภาพจาก meforum.info



ง่ายๆตามภาพเลย...เมื่อเซลล์ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ฮีโมโกลบินก็จะปล่อยออกซิเจนให้กับเซลล์เป็นการแลกเปลี่ยน 

ในความหมายคือ จะต้องมีคาร์บอกไดออกไซด์ซะก่อน! แต่ในขณะที่เราออกกำลังกายหนักๆ เซลล์จะพยายามผลิตพลังงานจำนวนมาก ดังนั้นเซลล์จะรับสารอาหารจำนวนมากเข้ามาในเซลล์ ไม่ว่าจะด้วยการออสโมซิส ด้วยการฟาซิลิทต หรือกระตุ้นด้วยพลังงานก็แล้วแต่  เมื่อเซลล์ปล่อยให้สารต่างๆผ่านเข้ามาและย่อยจนเกิดพลังงานก็จะได้ของเหลือคือน้ำและของเสียอื่นๆเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ด้วยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เซลล์ไม่สามารถระบายของเสียและน้ำออกได้เท่ากับที่เอาเข้ามาก็จะทำให้เซลล์เกิดความล้าเพราะเต็มไปด้วยของเสีย เมื่อไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ฮีโมโกลบินก็ไม่ปล่อยออกซิเจน ทำให้ร่างกายล้าจนเต็มที่หรือที่หลายคนบอกว่า หมด…ก๊อก ไม่สามารถขยับได้อีก! บางทีอาจจะเคยเห็นภาพนักวิ่งที่คลานเข้าเส้นชัยกันเลยทีเดียว!

หรือบางครั้งถ้าเราวิ่งในเมืองที่มีมลภาวะสูงและมีก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์สูง เมื่อเราสูดอากาศเข้าไป มีความเป็นไปได้ว่าก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จะเข้าไปจับกับฮีโมลโกลบินและจะปล่อยตัวออกยาก ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าเพราะไม่ว่าจะหายใจเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่พอเนื่องจากไม่มีฮีโมโกลบินจับกับออกซิเจนนั่นเอง

ตรงจุดนี้นี่เองที่ก๊าซไนตริกออกไซด์จะเข้าช่วย

ในกรณีปกติ เพราะเมื่อกรดไนตริกผ่านลงไปที่ปอดเกิดการแพร่เข้าไปในปอดก็จะรวมกับน้ำเกิดเป็นกรดไนตริกซึ่งมีความเป็นพิษกับร่างกายสูง ร่างกายก็จะพยายามที่จะกำจัดกรดไนตริกนี้ก่อน ก็จะกระตุ้นให้ฮีโมโกลบินปล่อยออกซิเจนออกมาเพื่อจะได้มีที่ว่างไปจับก๊าซไนตริกออกไซด์ เมื่อมีออกซิเจนปล่อยออกมา โปรตีนบนผนังเซลล์ซึ่งมีตัวรับสัญญาณก็จะสั่งให้เซลล์ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาซึ่งการแพร่ด้วยวิธีฟาซิลิเทตจะทำให้ปล่อยสารออกมาได้มากก็จะกระตุ้นให้ปล่อยของเสียออกมาด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ก็จะถูกนำไปแลกเปลี่ยนที่ปอด และของเสียก็จะถูกฟอกที่ไต ก็จะทำให้ภายในเซลล์โล่งขึ้นและมีเนื้อที่ในการรับสารอาหารได้ต่อ ทำให้เซลล์สามารถยืดอาการอ่อนล้าออกไปได้ ทำให้เราออกกำลังกายได้นานขึ้น

และในกรณีขอก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ก็เช่นเดียวกัน ก๊าซไนตริกออกไซด์จะกระตุ้นให้ฮีโมโกลบินสลัดเอาก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ออกไป เพื่อกำจัดออกจากร่างกาย เพราะตัวฮีโมโกลบินเองต้องการรับเอาก๊าซไนตริกออกไปกำจัด เนื่องจากกรดไนตริกจะมีความเป็นพิษมากกว่า และเมื่อสารมารถกำจัดก๊าซไนตริกออกไซด์ออกไปได้ก็จะกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ

อ่านไปอาจจะเข้าใจยากสักนิด แต่โดยสรุปคือ...การล้างจมูกช่วยให้การหายใจและการหมุนเวียนของเลือดดีขึ้นนะเองค่ะ

ปกติหมวยจะล้างจมูกเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ไม่ได้บ่อย แต่พอมาเริ่มวิ่งมาราธอนแล้ว....ก่อนวิ่งสักหนึ่งวันก็จะล้างจมูก พบว่าทำให้การหายใจดีขึ้นมากทีเดียว และทำให้เหนื่อยน้อยลงจริงๆ คงเพราะประสิทธิภาพการทำงานมันดีขึ้นอย่างที่อธิบายไปข้างต้นนี่เอง

หมายเหตุ…อันนี้เป็นการเชื่อมโยงความรู้ของหมวยนะ มันอาจจะได้ผลหรือได้แตกต่างกันไปจากนี้ตามแต่เงื่อนไขและสภาพร่างกายของแต่ละคนค่ะ ^^

อย่างไรก็ตาม...ทางโยคะก็ยืนยันว่าการล้างจมูกมีประโยชน์มากทีเดียว มาล้างจมูกกันเถอะค่ะ สัปดาห์ละครั้ง ไม่มากไม่มาย ^^




 

Create Date : 28 มีนาคม 2558    
Last Update : 28 มีนาคม 2558 23:37:38 น.
Counter : 570 Pageviews.  

เ มื่ อ ค รู โ ย ค ะ จะ วิ่ ง ม า ร า ธ อ น ตอนที่ 22 - วิกฤติการณ์พลังงานขาดแคลน

สวัสดีค่ะ


วันนี้วันที่ 25 มีนาคม 2558 เป็นวันที่ 36 ของการฝึกฝนตนเองสู่การวิ่งมาราธอนปลายปีนี้


หัวข้อวันนี้ วิกฤติการณ์พลังงานขาดแคลน... ไม่ได้จะมาเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์หรือรณรงค์เรื่องสภาพแวดล้อมนะคะ


สืบเนื่องมาจากข้อความที่เขียนเล่นหยอกเพื่อน


เรื่องของพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน บางวันมาก บางวันก็น้อย แล้วแต่ว่าฝึกอะไรบ้าง แม้ว่าส่วนตัวจะมีเรื่องของน้ำหนักตัวที่ต้องปรับลดลงมาเนื่องจากยังเยอะอยู่ แต่ตอนนี้ไม่ได้กังวลกับน้ำหนักที่ควรจะลดลงแล้ว เพราะแน่นอนว่าเราฝึกเยอะขึ้น ถ้ามีวินัยพอ เดี๋ยวมันก็ลดลงไปเอง แต่ตอนนี้ที่ต้องคำนวนแคลอรี่และสารอาหารบ้าง เพราะว่ามันจะไม่เพียงพอสำหรับแต่ละวัน

เวลาที่เราคำนวนค่าการใช้พลังงานมันจะมีค่า RMR ซึ่งคือค่าการใช้พลังงานขั้นพื้นฐานของชีวิต ซึ่งอวัยวะต่าๆต้องได้รับเพื่อการทำงานของร่างกายอย่างเหมาะสมซึ่งก็รวมถึงว่าพลังงานนี้คือส่วนที่เซลล์ไขมันก็ใช้ด้วย โดยคำนวนว่า น้ำหนักตัว 50 กก.จะมีค่าRMR(คำนวนแค่คร่าวๆ)อยู่ที่ 22x50= 1100 กิโลแคลอรี่ นั่นหมายความว่านี่คือค่าพลังงานขึ้นต่ำที่คุณต้องการให้ชีวิตดำเนินอยู่ได้ด้วยการนอนเฉยทั้งวันทั้งคืน แค่หายใจอย่างเดียวก็หมด 1100 กิโลแคลอรี่ 

แต่ถ้าเรามีกิจกรรมอื่นๆ เช่น ลุก เดิน ก้มตัวหยิบของ อันนี้ก็เพิ่มให้อีก 200 แคลอรี่ โดยรวมๆแล้วผู้หญิงน้ำหนัก 50 กก.อายุสัก 25 ปี ทั้งวันไม่มีการออกกำลังกายอื่นนอกจากไปทำงานแล้วก็กลับบ้าน ก็จะอยู่ที่ 1500-2000 กิโลแคลอรี่ ถ้าทานประมาณนี้ก็จะคงน้ำหนักอยู่ที่ 50 กก.

แต่เรื่องของอาหารจะไม่เพียงแค่ทานแคลอรี่ให้ครบเท่านั้น ยังมีเรื่องของสารที่จำเป็นแต่ไม่ให้แคลอรี่ นั่นคือเกลือแร่วิตามินและรวมถึงน้ำด้วย!!

เพราะอะไร??? 

น้ำ- ถ้าคุณมีน้ำในร่างกายน้อย เลือดจะข้นขึ้น ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปคุณดื่มน้ำเข้าไปจำนวนมากๆ กทำให้ความเข้มข้นของเลือดเปลี่ยนอีก แต่ความดันโลหิตยังคงสูงอยู่ เพราะสารอาหารในเลือดถูกทำให้เจือจางทันที ก็ต้องเพิ่มการบีบตัวเพื่อส่งสารอาหารไปให้ร่างกาย ไตจะได้รับคำสั่งจากต่อมใต้สมองว่าน้ำเยอะเกินไปให้ขับออกโดยเร็ว ไตก็จะทำงานหนักและต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะเข้าสู่สภาวะสมดุล ทำให้อวัยวะภายในต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของเลือดอยู่ตลอดเวลา

ในความคิดของหมวยเองถ้าไม่เป็นนักวิ่งล่ารางวัลหรือวิ่งมาราธอนในโอลิมปิกอะไรละก็ การดื่มน้ำเรื่อยๆทีละน้อยๆน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ หมวยจึงเลือกที่จะพกน้ำคาดเอวไปและจิบหนึ่งอึกทุก 1-2 กม. และก็ดื่มน้ำทุกสถานีน้ำ โดยไม่ได้ดื่มหมดแก้ว ดื่มสักครึ่งแก้วแล้วเอาล้างหน้าบ้าง ล้างมือบ้าง

บางคนอาจจะได้รับคำแนะนำกันมาหลายหลายแบบ เช่น ให้ฝึกเพื่อยืดการดื่มน้ำออกไปให้ได้นานๆ อาจจะทุก 5 กม.หรืออะไรก็ตาม อันนี้ก็ไม่ได้บอกว่าไม่ควรทำตาม เพราะหมวยจะฝึกร่างกายทั้งสองแบบ ตอนนี้สามารถยืดการดื่มน้ำออกไปได้ประมาณสักครึ่งชม.หรือ3-4 กม. เพื่อให้คุ้นชินบ้างกับสภาวะที่น้ำอาจจะหมด แต่จะฝึกการดื่มน้ำในแบบแรกเพื่อรักษาการทำงานของอวัยวะภายในมากกว่า ดังนั้น ใครจะมองว่าบ้าหอบฟางก็ยอมค่ะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ตัวคุณด้วยนะ ไม่มีอะไรเป็นสูตรตายตัวค่ะ เรียนรู้ตัวเองดีที่สุด ดูว่าคุณเป็นคนเหงื่อออกมากน้อยแค่ไหน

เกลือแร่และวิตามิน- อันนี้ก็เหมือนกันขาดไม่ได้  เพราะว่าในกระบวนการทำงานเพื่อดึงพลังงานออกมาและกระบวนการย่อยอาหารหรือทุกระบบจะต้องใช้ค่ะ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญทีเดียว เรามักจะพูกันถึงแต่กินคาร์โบไฮเดรตให้พอ โปรตีนให้พอ  แต่กระบวนการทั้งหมดในร่างกายต้องใช้วิตามินและเกลือแร่ทั้งนั้น เช่น น้ำย่อย การสร้างน้ำย่อยก็ต้องใช้ ถ้าไม่พอ การสร้างน้ำย่อยก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้ย่อยได้ไม่ดี ท้องอืดท้องเฟ้อ พวกนี้ก็เกิดขึ้นได้ การเผาผลาญพลังงานก็ต้องใช้ ถ้าไม่พอก็ทำให้ได้พลังงานออกมาไม่เต็มที่และของเสียในระบบเยอะเพราะไม่สารมารถนำสารประกอบต่างๆไปเผาผลาญต่อได้

เช่น

ในช่วงแรกจะเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตต้องใช้สาร A ได้พลังงานมาจำนวนหนึ่งและสารประกอบชุดที่สอง พอจะเผาผลาญสารประกอบนั้นก็ต้องใช้สาร B จึงจะได้พลังงานอีกชุดและสารประกอบอีกชุด

ทีนี้ถ้าเราขาดสาร B ก็จะทำให้เผาผลาญต่อไม่ได้ ก็ตกค้างรอเอาออกไปทิ้ง หรือถ้าขาดทั้ง A และ B หรือ อื่นๆด้วยละก็ ร่างกายจะเริ่มสลายเซลล์ต่างๆของร่างกายเพื่อหาสาร A และ B ที่ต้องการค่ะ ทีนี้การสลายเซลล์ในร่างกายมันอาจจะเริ่มจากการสลายเซลล์กล้ามเนื้อก่อน เพราะเซลล์กล้ามเนื้อมีความสำคัญน้อยกว่าอวัยวะ พอสลายเซลล์กล้ามเนื้อจนถึงจุดหนึ่งที่ร่างกายบอกว่า …ไม่ได้ละ ถ้าสลายเซลล์กล้ามเนื้อมากกว่านี้จะทำให้ขยับไม่ได้ ก็จะไปสลายเซลล์ของอวัยวะ เพราะเซลล์อวัยวะนั้นก็คือเซลล์ชนิดเดียวกับกล้ามเนื้อนี่แหละ มันจะนำจากอวัยวะที่ที่ความสำคัญน้อยไปจนถึงสำคัญมาก ไม่ได้เอาจากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งจนหมด แต่เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อคือ เหลือให้แค่ทำงานได้เหมาะกับสภาวะของร่างกาย แต่เมื่อถึงจุดนึงอวัยวะต่างๆอาจจะหยุดทำงานกะทันหันไปเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตได้

บางคนอาจจะแย้งในใจว่า เฮ้ย กว่าเขาจะหัวใจวายเสียชีวิตก็ตั้งอายุ 70-80 ปี แล้ว ถ้าอย่างนี้ก็ถือว่าใช้ชีวิตคุ้มค่าแล้ว แต่ตามหลักอายุรเวทหรือโยคะกล่าวไว้ว่า คนเราไม่ต้องการความเจ็บปวดก่อนเสียชีวิตเพราะจะทำให้เราไม่พบกับความสงบและถ้าจะต้องไปเกิดใหม่ก็จะทำให้เราจดจำช่วงความทรมานนั้นและไปเกิดใหม่ในสภาวะที่ใกล้เคียงกัน(เช่น ก่อนเสียชีวิตคิดถึงภรรยา อาจจะไปเกิดเป็นสุนัขเฝ้าภรรยาเก่าก็เป็นไปได้ 5555) เราอยากให้การละสังขารของเราค่อยเป็นไปอย่างไม่เจ็บปวดหรือเหมือนผลแตงที่สุกก็ปลิดขั้วหล่นลงพื้นดินไปตามกาลเวลาของมัน เราจะได้ไปสู่ภพภูมิหรือชีวิตใหม่ที่มีความสงบสุข

บางคนอาจจะมีสูตรการดื่มน้ำเกลือแร่ต่างกันออกไป บางคนก็บอกว่าถ้าต้องการลดไขมัน การดื่มน้ำเกลือแร่ก็อาจจะทำให้ดึงไขมันออกมาไม่ได้เต็มที่ อันนี้ก็แล้วแต่ร่างกายของแต่ละคนนะคะ แต่หมวยจะดูสภาพร่างกายและทดสอบความแตกต่างที่ตั้งอยู่บนสุขภาพของร่างกายระยะยาว ก็จะดื่มน้ำเกลือแร่ทุก45 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง เวลาไปวิ่งในรายการต่างๆ กระเป๋าน้ำคาดเอวข้างหนึ่งจะเป็นเกลือแร่ที่ความเข้มข้นไม่เกิน 8 เปอร์เซ็น และอีกข้างเป็นน้ำเปล่า เพราะว่าสถิติการวิ่งของตัวเอง วิ่งมินิมาราธอนยังอยู่เกินหนึ่งชั่วโมง เมื่อเหงื่ออกมากๆก็จะขาดวิตามินและเกลือแร่ตามไปด้วย ทำให้เกิดความล้าของร่างกายเพราะดึงพลังงานออกมาไม่ได้

ทีนี้ในคนที่ต้องการลดน้ำหนักก็ต้องดูแลเรื่องจำนวนพลังงานที่ได้รับด้วย บางคนเข้าใจไม่ถูกต้อง เช่น ยิ่งได้รับพลังงานน้อยๆ ลดอาหารลงได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งลดน้ำหนักได้มากขึ้น ตรงนี้ก็จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมและเกิดกรณีเหมือนนักกีฬาขาดสารอาหารตามข้างต้นเหมือนกัน ทีนี้จะดูยังไงให้ลดน้ำหนักได้อย่างมีสุขภาพแข็งแรง ก็ดู RMR หรือค่าการเผาผลาญขณะพัก เช่น ตัวอย่างข้างบนคือผู้หญิงน้ำหนัก 50 กก. ควรได้รับพลังงานขั้นต่ำRMR ที่ 1100 กิโลแคลอรี่ แต่ผู้หญิงท่านนั้นไม่เคยออกกำลังกาย ดังนั้นเธอคนนั้นจะต้องทาน 1700 กิโลแคลอรี่ถ้าต้องการมีน้ำหนักเท่าเดิม แต่ถ้ากะว่าจะลดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ผู้หญิงคนนี้ก็ไม่ควรทานน้อยกว่า 1100 กิโลแคลอรี่ ไม่งั้นก็จะทำให้ร่างกายเกิดสภาพวะขาดอาหาร ส่งผลไม่ดีต่ออวัยวะภายในค่ะ ที่เหมาะสมคือควรจะทาน 1200-1300 กิโลแคลอรี่ เพื่อไม่ให้น้ำหนักลดลงเร็วเกินจนเกิดการขาดสารอาหาร หรือที่เหมาะสมในบุคคลทั่วๆไปที่น้ำหนักเกินไม่มากก็ลดลงไม่เกิน 500 กิโลแคลอรี่ ในหนึ่งสัปดาห์จะลดได้ 3500 กิโลแคลอรี่ หรือประมาณ 1/2 กิโลกรัม

ทีนี้บางคนอาจจะขัดแย้งในใจว่า อ้าววววแล้วคนที่ลดได้ที 10 กิโลกรัมในหนึ่งเดือนล่ะ ก็ไม่ได้ไปตามกฎด้านบนซะหน่อย คือ…อันนั้นคือบุคคลที่น้ำหนักเกินมากกว่าปกติ ในคนที่น้ำหนักเกินไม่เกิน 10-15% ก็ควบคุมไปให้ลดทีละน้อยๆเช่นนี้ก็จะปลอดภัยแล้ว ส่วนคนที่ลดลงมาเป็นสิกกิโลกรัมนั่นเพราะเขามีต้นทุนเดิมที่สูงอยู่

และนอกจากนี้ยังมีวิกฤติการณ์ขาดคาร์โบไฮเดรต โปรตีนอีก น้อยคนที่จะเกิดภาวะขาดไขมัน เพราะอาหารส่วนใหญ่มีไขมันเกินอยู่แล้ว ดังนั้นอาจจะยังไม่กล่าวถึงตรงนี้มากนัก 

การขาดคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนดูได้จากอะไรบ้าง ดูได้จากการบาดเจ็บของร่างกายค่ะ ถ้าคุณซ้อมวิ่งแล้วมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อที่นานกว่าสองวัน หรือมักเดินสะดุดบ่อยขึ้น ข้อเท้าพลิกข้อเท้าแพลงบ่อยๆในขณะวิ่ง ข้อหนึ่งอาจหมายถึงการซ้อมที่ไม่เหมาะสมหรือทำเกินจากที่ร่างกายสามารถปฏิบัติได้ไปมาก พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือข้อสอง...คุณทานอาหารไม่เพียงพอ! โดยเฉพาะโปรตีน เพราะโปรตีนจะเป็นองค์ประกอบใน DNA ดังนั้นไม่ว่าจะกล้ามเนื้อหรือเซลล์ประสาทก็ต้องมีโปรตีนทั้งนั้น ตื่นนอนมาแล้วไม่แจ่มใส่ ปวดกล้ามเนื้อ ลองดูว่าถ้าคุณดื่มนมอุ่นๆก่อนนอนจะช่วยคุณมั๊ย หรือทานพวกโปรตีนเสริมก่อนนอนแล้วดีขึ้นมั๊ย ถ้าเป็นอย่างนี้ก็แปลว่าคุณขาดสารอาหารละ! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณต้องเลือกทาน เช่น อาหารเย็นอาจมีเนื้อปลานึ่งหรือย่าง เพื่อให้ย่อยง่ายและนำไปใช้ได้ง่าย

ทั้งหมดนี้ก็ลองไปปรับกันนะคะ บอกแล้วว่าไม่มีสูตรสำเร็จ ทั้งหมดนี้ต้องสังเกตุร่างกายตัวเองค่ะ อย่าให้เกิดวิกฤติการณ์ขาดแคลนพลังงานนะคะ ^^




 

Create Date : 26 มีนาคม 2558    
Last Update : 26 มีนาคม 2558 11:24:14 น.
Counter : 296 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

หมวยเกี๊ยะA2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




สาวน้อย(อิอิ)ธรรมดา ที่มีพี่ๅน้องแสนฉลาด พี่สาวคนโตจบดอกเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร พี่ชายคนโตจบศิลปะแต่ได้ผันตัวเองมาทำงานภาพยนตร์จนเป็นผู้กำกับ พี่ชายคนเล็กก็เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารที่คนเขาแย่งตัวกัน ส่วนน้องสาวคนเล็กก็เป็นหมอฟันประจำตัวให้เราน่ะเอง

ส่วนตัวเองเรียนจบมาทางด้านภาพยนตร์ ที่ล้วนแล้วแต่มายา แต่ดันผ่าอยากศึกษาด้านธรรมะและโยคะ เพราะความล้มเหลวด้านชีวิตครอบครัวเป็นเหตุ

วันดีคืนดีจึงนั่งเครื่องบิน บินไปอินเดียที่เป็นแหล่งกำเนิดโยคะและศึกษาอย่างจริงจัง (เที่ยวอย่างจริงจังด้วย)
ที่ Yoga Vidya Gurukul
ณ เมืองนาสิก ประเทศอินเดีย
เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.2549

ตอนนี้ก็รับสอนโยคะอย่างจริงจังมาก็เริ่มปีที่ห้าแล้ว

ในปี 2553 ได้จบหลักสูตรต่างๆทุกหลักสูตรที่มีอยู่ในสถาบันแล้ว รวมทั้งศึกษาศาสตร์อื่นๆมามากมายก่ายกอง ไม่ว่าจะเป็น โยคะบำบัด อายุรเวท เรกิ ธรรมชาติบำบัด :-D

ตอนนี้เริ่มสอนอีกครั้งแล้วค่ะ ถ้าสนใจเรียนเป็นกลุ่มหรือเรียนตัวต่อตัวหรือเป็นวิทยากร
ก็ติดต่อมาได้นะคะ
Tel.+66 (0)85 1420201
[Add หมวยเกี๊ยะA2's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.