สวัสดีครับ บล็อคนี้เชิงวิชาการนะครับ(คณิตศาสตร์ วิศวกรรม ปรัชญา)
 
 

ปรัชญาคณิตศาสตร์

ปรัชญาคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์มีเนื้อหาใกล้เคียงกับปรัชญาวิเคราะห์คือการทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง ความรู้ทางคณิตศาสตร์ให้ความสนใจเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์เกี่ยวความจริงที่แม่นตรง ความรู้ของคณิตศาสตร์จึงเป็นส่วนที่สำคัญของทฤษฏีความรู้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข เซต สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นแบบเชิงนามธรรม ความรู้ของคณิตศาตร์ที่เราได้ศึกษากันมานั้นไม่ได้ขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงของเอกภพ และ เวลาแถบจะกล่าวได้ว่า มันเทียบเท่ากับอภิปรัชญา ที่อยู่เหนือรูปธรรมทั้งหลาย นอกจากนี้ภาษาคณิตศาสตร์ยังมีความเข้มงวด รัดกุม ด้วยศัพท์และโครงสร้างการใช้ภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ที่พัฒนาด้วยกระบวนการถกเถียง กลั่นกรอง จัดสรร จนเป็นวิทยาการที่มีรากฐาน และกระบวนดังปัจจุบัน

ธรรมชาติของคณิตศาสตร์เป็นอย่างไร อะไรบางที่ถือว่าเป็นคณิตศาสตร์ เราจะเข้าถึงคณิตศาสตร์ได้อย่างไร แท้จริงแล้ว เพลโต ได้ให้คำตอบง่าย ๆแก่เราแล้วว่า คณิตศาสตร์คือความเป็นนามธรรม อย่างเช่นรูปสามเหลี่ยม ทรงกลม มันคือเงาสะท้อนแบบจากโลกแห่งที่สะท้อนมาไม่สมบูรณ์ ก่อนที่มนุษย์เกิดมา จิตเคยได้สัมผัสแบบแผน เพียงแต่เราหลงลืม ซึ่งสอดคล้องกับที่โสเครติสได้ทำการสอนทาสคนนึง โดยตั้งคำถาม ลำดับคำถามที่ต่อเนื่องทำให้ทาสคนนี้สามารถเข้าใจทฤษฏีทางเรขาคณิต โดยที่เขาไม่ได้บอกทฤษฏีนั้นเลย นั้นเพราะทาสคนนี้ต้องรู้ทฤษฏีอยู่ก่อนแล้ว ด้วยเหตุนี้เองคณิตศาสตร์จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับความรู้ที่มาจากประสบการณ์

แต่ก็มีผู้ไม่เห็นด้วยหนึ่งในนั้นคือ อริสโตเติล ได้จัดให้สามเหลี่ยม ทรงกลม หรือนามธรรมเหล่านี้ล้วนมาจากประสบการณ์ การรับรู้คราว ๆของความกลมทำให้เราสร้างแบบของความกลม สรรหาเหตุผลเพื่ออธิบายความกลม

แนวคิดทั้งสองนั้นมีรากฐานแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนจนเกิดเป็นสองลัทธิคือพวกสัจนิยม และ พวกประสบการณ์นิยม ซึ่งให้ความสำคัญกับ ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิด และ ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ จอห์น ล๊อคถือเป็นนักประสบการณ์นิยมซึ่งยอมรับว่าคณิตศาสตร์นั้นมาจากการรับรู้ที่มีบ่อเกิดจากประสบการณ์ ในขณะที่เดส์การ์ตผู้เป็นต้นแบบของสัจจนิยม กล้บเห็นว่าคณิตศาสตร์มีบ่อเกิดมาจากความรู้แต่กำเนิดที่แจ่มชัด ค้นพบด้วยการคิดไม่ใช้ประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่เชื่อถือไม่ได้

ความแตกต่างเกียวกับความรู้ของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กลับเพิ่มขึ้นเมื่อ ไลบ์นิส จำแนกความจริงแจ่มชัด(axiom) และความจริงจากนิรนัย ในทำนองเดียวกับ ฮูมก็ได้จำแนกความจริงอุปนัย และ ความเป็นจริง และมองว่าความจริงแบบคณิตศาสตร์ไม่ได้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

คานท์กลับเห็นว่าสาระสำคัญของความจริงนั้นควรพิจารณาว่าการค้นหาความจริงของคณิตศาสตร์นั้นไม่จำเป็นต้องอ้างจากประสบการณ์ แต่ได้มาจากการวิเคราะห์ ในขณะที่ความจริงทางวิทยาศาสตร์ต้องอ้างจากประสบการณ์ซึ่งได้มาจากการสังคราะห์

บกพร่องตรงไหนแนะนำด้วยครับ แปลมาแบบไม่ค่อยมีความรู้ปรัชญามากนัก ยังไม่มีเวลาแปลอีก 7 หัวข้อ

ไว้แค่นี้ก่อน




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 6 มกราคม 2554 23:14:38 น.   
Counter : 3052 Pageviews.  


การเมืองไทยไร้น้ำยา กับขี้ข้าตะวันตกนิยม

ผมนั่งรถไปเรียนที่จุฬาทุกเช้า เดินผ่านตึกคณะรัฐศาสตร์แทบทุกวันมองไปเห็นผ้าใบ เกี่ยวกับการประชุมวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ในหัวข้อความไร้น้ำยาของรัฐศาสตร์ไทย กับ การพัฒนาประชาธิปไตย

- การกำเนิดของกระทรวงศึกษาพิการ ผมจะไม่ขอพูดในส่วนของวิทยาศาสตร์ที่ไม่แตกต่างกันนัก
แต่จะกล่าวในส่วนของสังคมศาสตร์ เป็นที่เลื่องลือของวิชาสังคมศาสตร์ตั้งแต่ไหนแต่ไรว่าเป็นวิชา
นกแก้วนกขุนทอง การเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการฟัง และการอ่าน จบด้วยการสอบที่มักถูกตั้งคำถาม
ในเชิงที่ว่า ระบอบประชาธิปไตยคืออะไร สิ่งนั้น สิ่งนี้เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ แน่นอนคำตอบของมันไม่ใช่อะไร อื่นนอกเสียจากการวิ่งไปหากรรไกร คัตเตอร์สักนึงอัน เพื่อที่จะนำมันมาตัดข้อความในตำรา และแปะ
ไว้ในส่วนของคำตอบ แน่นอนความเป็นวิทยาการของมันภายใต้ระบบกฏ สูตร นิยาม ทฤษฏีเป็นสิ่งสำคัญ แต่ ความเป็นศิลป์ของมันได้ถูกฉีกทิ้งไป ความคิด ความสร้างสรรค์ และอุดมการณ์เป็นสิ่งสาปสูญ ไม่มีการตั้งคำถามว่า ระบอบประชาธิปไตยควรเป็นอย่างไร
สิ่งนั้น สิ่งนี้ควรเป็นประชาธิปไตยหรือไม่และความไร้น้ำยาก่อตัว

- การเมืองเก่าคือขี้ข้าตะวันตก ประชาธิปไตยที่เราบูชาเป็นที่รับรู้ว่ามาจากตะวันตก ระบอบการ
ปกครองที่ลอกเลียนมาภายใต้ความแตกต่างของมวลชล ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การศึกษาของมวลชน
ประชาธิปไตยที่เราได้มา จึงประธิปไตยในตำราของตะวันตก เมื่อถึงวาระเราจึงถือกระดาษใบนึง
เรารู้สึกได้ว่าวันนี้คือวันที่เรามีอำนาจอยู่ในมือ ทำการกากบาทลงไป และเราได้ฝากอำนาจของเราไว้
แต่ในความเป็นจริงแล้วเราได้ทิ้งอำนาจของเราในพริบตา เพราะเมื่อเราออกมาเรียกร้องขออำนาจคืน
มีเพียงเศษเงินที่โยนลงมาบนมือ หากไม่รับไว้อำนาจใหม่ทำให้เราเพียงกระดาษมาติดไว้ที่กลางหน้า
ว่ากบฏ พร้อมมือที่ว่างเปล่า เพียงเพราะเราไม่เห็นด้วยกับความชอบทำบนความชอบธรรม
เขาได้หยิบประชาธิปไตยแบบตะวันตกสวมใส่เสียมิดชิด และใช้ทุนนิยมถีบส่งสังคมนิยมจนไม่เหลือ
จิตสำนึกความเป็นไทย

- การเมืองที่มีคือเป็นกลาง สภาวะตายด้านทางการเมือง ก่อให้เกิดความห่อเหี่ยว อัดอั้นตันใจ ที่ไม่สามารถตอบสนองสัญชาติญาณได้ เบื่อหน่ายการเมืองเก่าที่มี แต่หงุดหงิด
สิ่งเร้าการเมืองใหม่ที่ทำอะไรให้ตนไม่ได้ อ้างความเป็น และไม่เป็น เอกภาพคือประโยชน์นิยม
ที่เหยียบจริยศาสตร์เสียจมดิน

- การเมืองใหม่คือการเปลี่ยนแปลง เราตระหนักดีว่าเอกภาพของความเป็น และความไม่เป็นนั้นคือการเปลี่ยนแปลง จะนำมาซึ้งความขัดแย้ง ความขัดแย้งนี้เอง
ที่จะนำมนุษย์ไปสู่ทางเดินเดียว เ่ช่นเดียวกับที่มีนักปรัชญาเคยเปรียบไว้ดั่งคันธนู
ี่ที่แยกออกไปคนละทิศคนละทาง เชือกที่ถูกนำมาผูกไว้ด้วยกันนี้เอง ทำให้ลูกธนูนั้น
พุ่งตรงออกไป จากน้ำเหลว ๆของการเมือง่จะค่อย ๆเริ่มก่อตัวเป็นวุ่นที่แข็งตัว
แต่เราก็ไม่อาจจะคาดเดาได้

เซียนแห่งmath




 

Create Date : 24 กันยายน 2551   
Last Update : 24 กันยายน 2551 13:20:37 น.   
Counter : 716 Pageviews.  


ละครน้ำเน่า

ละครน้ำเน่า
ปัจจุบันีละคร และภาพยนต์ที่ถูกสร้างออกมามากมาย มันได้ถูกจำแนกออกมาในรูปแบบต่าง ๆ มีผลิตผลให้เราได้เลือกสรรค์ และผลิตผลหนึ่งในนั้นคือ ความน้ำเน่า
- เนื้อแท้ของละคร
เนื้อแท้ของละครคืออะไร สาระของมันคือคณูปการหรือคุณค่า ความบันเทิง เทคนิค แสงสี สิ่งเหล่านี้คือคุณค่าที่มนุษย์หยิบยื่นให้แก่มัน หากแต่การสะท้อนความคิด การสะท้อนสังคม ต่างหากที่เป็นสาระของมันอย่างแท้จริง
ละครเรื่องใดที่มุ่งแสวงหาความบันเทิงอย่างสุดโต่ง เท่ากับว่าละครเรื่องนั้นหลงผิด มันเพียงแต่แสวงหาความเป็นมายาใส่ตัว แต่ละครเรื่องใดที่มุ่งสะท้อนสังคมและความคิด เท่ากับมันได้เดินถูกทาง
- เราโยนความผิดให้แก่ละคร
เราอาจจะสามารถคาดเดาเหตุการณ์ต่าง ๆในภาพยนต์ ในละคร วิพากษ์วิจารณ์ การแสดง บทบาท และการถ่ายทำ แต่น้อยคนนักทีจะคาดเดาถึงสาระของมัน เรามองการกระทำอันไร้เดียงสาของตัวละครนั้นเป็นความเขลา เรามองการกระทำของผู้ร้ายนั้นเป็นสิ่งเกินจำเป็น และ เรากล่าวถึงการตายของตัวเอกนั้นเป็นสิ่งเกินเหตุ แต่เรามักลืมนึกถึงความไร้เดียงสาของตน ความเห็นแก่ตัว และคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ เราเรียกความเป็นจริงที่ปรากฏในละครว่า ความน้ำเน่า แล้วเราก็ได้กระทำการฆาตกรรม
- การสัมผัสที่จิตวิญญาณ
ในสุนทรียศาสตร์ของโจด ได้กล่าวถึงการสัมผัสที่จิตวิญญาณไว้ว่า '' การสร้างสรรค์ของศิลปินที่ยิ่งใหญ่นั้นเกิดจาก การที่ได้หยั่งรู้ ทะลุเห็นความจริงที่อยู่ภายใต้พื้นผิวที่ปรากฏอยู่ ภาพที่เขาได้เห็นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความยิ่งใหญ่ของเขา เขาได้เอาภาพนี้ ลงมาปรากฏบนผืนผ้า ตรงภาพนี้เอง มิใช่ที่สี ที่รูปแบบ ที่เทคนิค หรือที่เหมือนของ แต่ที่เป็นจิตวิญญาณของจิตกรรม''
- ความน้ำเน่าเป็นของผู้เสพ และผู้สร้าง
เบื้องหลังของมันเกิดจากความคิดของผู้สร้าง และพฤติกรรมการบริโภคที่เปลือกของผู้เสพ นั้นเป็นความคิดที่ติดอยู่ในวังวน มิได้ปลดปล่อย เพิ่มเติม และขัดเกลา เฉกเช่น แหล่งน้ำที่ไม่มีการไหลเวียน และกลั่นกรอง จนก่อเกิดเป็นความเสื่อม ความน้ำเน่านั้นมิได้ถูกจารึกไว้ในละคร แต่มันถูกจารึกไว้ที่ตัวมนุษย์ ตรงส่วนที่เรียกว่าความคิดนั่นเอง




 

Create Date : 05 มกราคม 2550   
Last Update : 23 มกราคม 2550 21:14:25 น.   
Counter : 439 Pageviews.  


อภิปรัชญา




 

Create Date : 30 ธันวาคม 2549   
Last Update : 30 ธันวาคม 2549 12:51:51 น.   
Counter : 338 Pageviews.  


ความรู้นั้นสำคัญกว่าจิตนาการ

เป็นการยากที่จะกล่าวว่าการศึกษาไทยนั้นกำลังรุดหน้า หรือ ถดถอย และเป็นการยากเช่นกันที่จะกล่าวว่าคุณภาพ หรือ ปริมาณสำคัญกว่ากัน เป้าหมายของการศึกษาคือความรู้ มันเป็นเครื่องมือนึงในการดำรงชีพ แต่เรากลับยอมรับว่าจินตนาการนั้นสำคัญกว่า

แท้จริงแล้วจินตนาการและ การสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมี หากแต่ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกปิดผนึกไว้ รากฐานของจินตนาการและ ความสร้างสรรค์คือความรู้ มันเป็นเบื้องหลังของความคิดที่ถูกปลดปล่อย จิตนการมิได้เป็นสิ่งที่ห่อหุ้มความรู้อย่างที่เราเข้าใจ

พฤติกรรมจินตนาการนิยมจึงเป็นเพียงการใช้นิสัย และ สัญชาติญาณในการค้นหาความจริง มันรั้งแต่จะทำให้เราห่างไกลจากความจริง ความรู้ต่างหากที่นำเราไปสู่การต่อยอดอย่างแท้จริง รากเหง้าของศาสตร์ได้เติบโตและออกผลิตผลเป็นวิทยาการใหม่ๆ หากเราใช้จินตนาการเป็นรากเหง้าแห่งปัญญา มันไม่ก่อให้เกิดแม้แต่วุ้นด้วยซ้ำไป

แม้กระบวนการจินตนาการนั้นจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่จินตนาการที่ไร้รากแห่งความรู้นั้นคือจิตนาการอันมืดบอด เพียงเท่านี้เราก็สรุปได้ว่า ความรู้นั้นสำคัญกว่าจิตนาการและกระบวนการของมัน

ณ ที่นี้เรากำลังพิจารณากิจกรรมของจิต 2 อย่าง
อย่างแรกคือความรู้ มันมิได้หมายถึงสิ่งอื่นใด
นอกเสียจากประทีปแห่งเหตุผลซึ่งเป็นความคิด
อันแจ่มกระจ่างที่ให้ได้แก่เราอย่างชัดเจน
และนำเราไปสู่ความจริงที่แน่นอน

อย่างที่สองคือจินตนาการนั้นเป็นเพียงความคิดอันมืดมัว
รังแต่จะนำเราสู่ความกลัวและความเข้าใจผิด

อ้างอิง เดการ์ต 1596-1650


เราคงไม่เปรียบเทียบความรู้เป็นวัตถุสิ่งของ
แล้วให้จินตนาการเป็นกิจกรรมของจิต
เพราะความรู้เป็นสิ่งที่อยู่ในสมองมิใช่สิ่งที่อยู่ในตำหรับตำรา
คนมีความรู้มิได้หมายถึงอื่นใดนอกเสียงจาก บุคคลผู้มี
ความคิดมันเป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่คนบุคคลผู้แบกตำหรับตำรา
กองเท่าภูเขา




 

Create Date : 30 ธันวาคม 2549   
Last Update : 26 กรกฎาคม 2552 22:57:33 น.   
Counter : 420 Pageviews.  



คณิตศาสตร์โลกที่สาม
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




T_T
[Add คณิตศาสตร์โลกที่สาม's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com