With money you can buy sex but can't buy Love .
เครื่องมือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์

ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการ PR.
1..สื่อบุคคล (Personal Media)
สื่อบุคคล หมายถึง สื่อที่ใช้คำพูดเป็นตัวกลางในการดำเนินการประชาสัมพันธ์ คำพูดเป็นสื่อดั้งเดิมที่ประหยัด และสามารถใช้ได้ในทุกโอกาส ซึ่งสามารถที่จะรับทราบข่าวสารกับจากกลุ่มประชาชนเป้าหมายได้ทันที โดยทั่วๆ ไป
ประเภทของคำพูดที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์
ประเภทของการใช้คำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ 5 ประเภทคือ
1. การพบปะพูดจาธรรมดา
2. การจัดตั้งหน่วยติดต่อ – สอบถาม
3. การพูดติดต่อทางโทรศัพท์
4. การแสดงปาฏกถา
5. การประชุมอภิปราย
2.สื่อมวลชน (Mass Communication)
สื่อมวลชน เป็นสื่อสำคัญในการประชาสัมพันธ์ และเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มประชาชนเป้าหมายจำนวนมากได้ สื่อมวลชนในปัจจุบันมีหลายปกระเภท โดยทั่วไปจะแบ่งออกได้ ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์
2. วิทยุกระจายเสียง
3. วิทยุโทรทัศน์
4. ภาพยนตร์
3.สื่อกิจกรรม
ปัจจุบันสื่อนี้มีความหมายขยายขอบเขตกว้างขวางไปถึงกิจกรรมที่สามารถสื่อความรู้สึกนึกคิด ความรู้ อารมณ์ และเรื่องราวข่าวสารไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้ สื่อประเภทกิจกรรมมีได้มากมายหลายรูปแบบ เช่น การจัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม การแถลงข่าว การสาธิต การจัดริ้วขบวน การจัดนิทรรศการ การจัดแข่งขันกีฬา การจัดแสดง การจัดกิจกรรมทางการศึกษา การจัดกิจกรรมเสริมอาชีพ การจัดกิจกรรมการกุศล เป็นต้น
สื่อกิจกรรมนี้สามารถปรับปรุงดัดแปลงแก้ไขให้ยืดหยุ่น เหมาะสมกับโอกาสและสถานการณ์ได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดคือผู้รับมีจำนวนจำกัดเฉพาะกลุ่มที่ร่วมกิจกรรมนั้นๆ เท่านั้นการประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา

..
4.สื่อสิ่งพิมพ์/ เอกสาร
สิ่งพิมพ์เป็นสื่อมวลชนที่สำคัญในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเป็นสื่อที่มีความถาวรสูงให้รายละเอียดได้มาก
ชนิดของสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์
1. หนังสือพิมพ์
2. นิตรสาร
3. เอกสารประชาสัมพันธ์
หนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ และยังเป็นเครื่องมือที่ทรงอิทธิพลในการสร้างกระแสประชามติได้อีกด้วย
นิตรสาร
นิตรสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะรูปเล่มกระทัดรัดและทนทานกว่าหนังสือพิมพ์ และยังรูปภาพ ประกอบด้วยเรื่องราว ข่าวสาร สารคดี รวมทั้งนวนิยายก็มีอยู่หลายรูปแบบ จึงทำให้ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปมาก
เอกสารประชาสัมพันธ์
เอกสารประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่สถาบันต่างๆ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นสื่อในการโฆษณาเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ นโยบาย บริการ การดำเนินงาน รวมทั้งผลงานไปสู่ประชาชน ซึ่งสามารถเผยแพร่มุ่งตรงสู่เป้าหมายได้เป็นอย่างดี เอกสารประชาสัมพันธ์ แบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. เอกสารประชาสัมพันธ์ทั่วไป ได้แก่ ข่าวแจก จดหมายข่าว แผ่นปลิว แผ่นพับ สมุดภาพ และหนังสือ จุลสาร ที่จัดพิมพ์เป็นครั้งคราว เนื่องในโอกาสสำคัญๆ เป็นต้น
2. วารสารประชาสัมพันธ์ เป็นเอกสารที่สถาบันจัดพิมพ์ออกมาเป็นระยะๆ ติดต่อกันไป ซึ่งมีอยู่ 3 ประการคือ
1) วารสารประชาสัมพันธ์ภายใน
2) วารสารประชาสัมพันธ์ภายนอก
3) วารสารประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก


5. สื่อโสตทัศน์เป็นสื่อที่ผู้รับสามารถรับได้ทั้งภาพ และหรือเสียง โดยปกติสื่อโสตทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสื่อวัสดุ และส่วนที่เป็นสื่ออุปกรณ์ โดยสื่อวัสดุอาจจะสามารถใช้ได้ด้วยตัวเองโดยตรง เช่น ภาพวาด แบบจำลอง หรือของตัวอย่าง หรืออาจต้องนำไปใช้ร่วมกับสื่ออุปกรณ์ เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดีทัศน์ ฟิล์มภาพยนต์ แผ่นดิสเก็ต แผ่นซีดีรอม เป็นต้น ส่วนที่เป็นสื่ออุปกรณ์ได้แก่ เครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายภาพยนต์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
โดยภาพรวมแล้ว สื่อโสตทัศน์มีข้อดีคือมีความน่าสนใจ เป็นสื่อที่คงทนถาวร นำมาใช้ได้บ่อยครั้ง และสามารถคัดลอกเพื่อนำไปใช้ที่อื่นได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดคือต้องใช้อุปกรณ์ซึ่งบางประเภทมีราคาแพง และต้องมีความรู้ในการใช้ และจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ เป็นแหล่งพลังงาน
ในปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการติดต่อสื่อสารและในงานประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อผสม (Multi-media) ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นสื่อที่สามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดีเนื่องจากให้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ที่สมจริงเป็นธรรมชาติ และผู้รับยังสามารถมีส่วนร่วมและตอบสนองต่อสื่อดังกล่าวได้ ส่วนข้อจำกัดคือมีความยุ่งยากในการจัดเตรียมอุปกรณ์ ผู้รับต้องมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์พอสมควร และต้องใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงาน
นอกจากนี้ ในยุคที่โลกไร้พรมแดน การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) ยิ่งทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพลโลกในอนาคตอันใกล้นี้ โดยอินเตอร์เน็ตมีข้อดีคือสามารถเข้าถึงประชาชนทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว และเป็นการสื่อสารสองทางที่ผู้รับสามารถโต้ตอบเพื่อซักถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือข้อมูลที่ไม่เข้าใจได้โดยตรงผ่านทางระบบจดหมายอิเลคโทรนิค (E-mail)




6.การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์

การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Advertising) เป็นเครื่องมือหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ การโฆษณาแบบนี้จึงมิใช่การโฆษณาเพื่อการค้า (Noncommercial Advertising) แต่เป็นการโฆษณาองค์กร หรือสถาบัน เพื่อมุ่งหวังผลทางด้านการประชาสัมพันธ์ เรียกว่า การโฆษณาบริษัท หรือ สถาบัน
การโฆษณาสินค้า VS การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
การโฆษณาขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการขายการบริการ เรียกว่า การโฆษณาสินค้า (Product Advertising)
การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์มิได้มุ่งเน้นในด้านการขายสินค้าหรือบริการโดยตรง
การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
มุ่งหวังทางด้านชื่อเสียง เกียรติคุณ ภาพลักษณ์ ที่ดีของบริษัทหรือสถาบัน รวมทั้งการสร้างและปรับปรุงความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับประชาชน
การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาที่มิได้มุ่งผลในด้านการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใดโดยตรง แต่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี (Favorable Image) รวมถึงการสร้างทัศนคติที่ดีในจิตใจของประชาชน
ลักษณะของการโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
1.จะต้องเป็นการให้ความรู้หรือการศึกษา – ชี้แจง บอกกล่าว หรือสร้างความประทับใจ เช่น ด้านนโยบาย วัตถุประสงค์
2. จะต้องทำให้ประชาชนเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรโดยเน้นให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ เทคโนโลยี บุคลากร เป็นต้น
3. จะต้องทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย สถานะขององค์กร
4. จะต้องทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าเป็นองค์กรที่น่าเข้าร่วมดำเนินงานด้วย
5. ไม่มีโฆษณาสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการอยู่ในการโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
วัตถุประสงค์ของการโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
เพื่อสร้างภาพลักษณ์
เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด
เพื่อกระตุ้นความสนใจแก่บรรดาผู้ถือหุ้นและกลุ่มให้ความสนับสนุน
เพื่อสร้างความนิยมแก่ชุมชนในละแวกใกล้เคียง
เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับพนักงาน
เพื่อชี้แจงและให้บริการแก่ผู้บริโภค
เพื่อให้บริการสาธารณะ
เพื่อเหตุผลในการทำโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
เพิ่มพูนความเป็นมิตรไมตรีต่อบริษัท
เหตุผลในการทำโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
ประหยัดค่าใช้จ่าย
องค์กรหรือสถาบันมีโอกาสเลือกข่าวสารที่นำเสนอได้มาก (ประเด็นในการนำเสนอ)
มีความยืดหยุ่น – จะทำPRทั่วประเทศ หรือระดับท้องถิ่น
การสื่อสารและเผยแพร่กระจายข่าวสาร สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว
สามารถทำผ่านสื่อได้หลากหลาย


7.เครื่องมือประเภทเทคโนโลยีสมัยใหม่

การโฆษณา (Advertising) คือการกระทำใด ๆ ที่เป็นการชักจูงให้มีความ ประสงค์หรือความมุ่งหมาย เพื่อการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ หรือเป็นการโฆษณาเชิญชวนให้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยวิธีการโดย ผ่านสื่อสารมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์
วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ หรืออาจจัดรถโฆษณาเคลื่อนที่ (Mobile Unit) เช่น รถโฆษณาเชิญชวนให้เลือกพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่ง รถโฆษณาของธนาคาร การโฆษณาโดยทั่วไปจะต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการซื้อเสียงต่าง ๆ อันได้แก่ การซื้อเนื้อที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร การซื้อเวลาจากสถานีวิทยุ โทรทัศน์ ค่าป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (Cut out) แผ่นโฆษณา (Poster) แผ่นพับ (Folder) นอกจากนี้ยังมีสื่อโฆษณาเคลื่อนที่ติดตามรถประจำทาง ตามด้านข้าง (Bus side) และด้านหลัง (Bus back) เป็นต้น ฉะนั้นการโฆษณาจึงหมายถึง รูปแบบของการเสนอใด ๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายและมิได้เป็นการโฆษณานี้เป็นการส่งเสริมเผยแพร่ความคิดเห็น สินค้าหรือบริการ ต่าง ๆ โดยมีผู้อุปถัมภ์ตามที่ระบุไว้การโฆษณาเป็นหน้าที่ทางการตลาดที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่ง ซึ่งมีบทบาทในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ผลิตสินค้าออกจำหน่ายกับประชาชนผู้บริโภค เพราะการโฆษณาเป็นการสื่อสารโน้มน้าวใจ (Persuasive Communication) จากผู้ขายไปยังผู้ซื้อหรือผู้คาดว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้หวังให้สินค้า ผลิตภัณฑ์หรือบริหารนั้น ๆ จำหน่ายได้ใน ปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการโฆษณาจะหมายถึง การเชิญชวนหรือชักจูงให้ประชาชน “เกิดความอยากใช้” หรือ “อยากจะซื้อบริการ” เพราะประชาชนก็มีความต้องการที่จะหาซื้อหรือใช้บริการต่าง ๆ อยู่แล้ว เช่น การโฆษณาขายรถยนต์ บ้าน บริการ ซักอบรีด ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าเป็นเรื่องธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันหน่วยงานของทางราชการ ก็มักจะใช้วิธีโฆษณาในกิจกรรมของตนเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนมาใช้บริการของตนเช่น ธนาคารออมสิน หรือเทศบาล เชิญชวนให้ประชาชน
รักษาความสะอาดของถนน ดังนั้นในการนี้บางครั้งหน่วยงานก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ โฆษณา จึงเห็นได้ว่า การโฆษณาไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการค้าเสมอไป

ลักษณะสำคัญของการโฆษณา ก็คือ มุ่งที่จะชักจูงปลูกฝังความนิยมไปสู่ประชาชนฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นระบบเอกวิธี (One-way Process) หรือ (One-way Communication) คือการโฆษณา หรือเผยแพร่ไปสู่ประชาชนแต่เพียงฝ่ายเดียว มักไม่มีการฟังความเห็นหรือเสียงของประชาชนว่าจะมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง

การโฆษณาสถาบัน (Institutional Advertising)
เป็นที่น่าสังเกตว่าการโฆษณาสินค้าในปัจจุบันนี้มิได้มุ่งเพื่อการขายสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียวแต่มุ่งที่จะสร้างความประทับใจและสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ให้แก่สังคมตลอดจนเป็นการมุ่งสร้างชื่อเสียง เกียรติคุณ ภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์การ/สถาบันการศึกษา การโฆษณาประเภทนี้เราเรียกว่า การโฆษณาสถาบัน/องค์การ (Institutional Advertising) หรือการโฆษณาบริษัท (Corporate Advertising)

คือ

1. เพื่อให้ได้รับการสนับสนุน การที่ผู้บริโภคจะให้การสนับสนุนกิจการของบริษัทหรือสถาบันด้วยความเต็มอกเต็มใจนั้น บริษัทหรือสถาบันจะต้องมีการบอกกล่าวให้ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อได้ทราบการดำเนินงานของบริษัท นโยบาย, กิจกรรม, แผนงาน และความสำเร็จของบริษัท เพื่อให้เกิดความยอมรับ ความนิยม ความเลื่อมใสและความศรัทธาแล้ว ย่อมบังเกิดความร่วมมือและความสนับสนุนในกิจกรรมของบริษัทอย่างแน่นอน
2. เพื่อการประชาสัมพันธ์ ในบางครั้งการโฆษณาบริษัทจะมีลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ จากบริษัทไปยังกลุ่มประชาชนเป้าหมาย เช่น การฉลองครบรอบบริษัท การโฆษณาการแสดงงบดุลประจำปีของบริษัท การบริจาคสินค้าของบริษัทให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ฯลฯ โดยผ่านเครื่องมือและสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ
3. เพื่อบริการสาธารณะ เป็นการโฆษณาที่แสดงจุดยืนหรือแนวความคิดต่อเรื่องสำคัญ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มักจะแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยต่อประเด็นหรือปัญหาของสังคม เช่น การโฆษณารณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมของห้างเซ็นทรัล โครงการโสร่งและผ้าซิ่นของธนาคารกสิกรไทย เป็นโครงการช่วยส่งเสริมให้ทุกคนในสังคมไทย ให้รู้จักมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การโฆษณาส่งเสริมความปลอดภัยบนทางหลวงของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณาชวนเชื่อ


การโฆษณาชวนเชื่อ


เป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งของการปฏิบัติการด้านจิตวิทยา
การโฆษณาชวนเชื่อ คือ การสื่อมวลชนไม่ว่าในรูปใดที่ทำเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของชาติ โดยเจตนาที่จะชักจูงความเห็น อารมณ์ ทัศนคติ พฤติกรรมของกลุ่มชนใด ๆ อันจะยังประโยชน์แก่ผู้ดำเนินการนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม หรืออีกนัยหนึ่ง การโฆษณาชวนเชื่อหมายถึง บรรดาข่าวสาร ความคิดเห็น ลัทธินิยม หรือการชักชวนเป็นพิเศษที่เผยแพร่เพื่อชักจูงความเห็น อารมณ์ ท่าที หรือประพฤติกรรมของกลุ่มชนใด ๆ โดยเฉพาะ เพื่อที่จะยังประโยชน์แก่เจ้าของกิจกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือปริยาย
การโฆษณาชวนเชื่อ มีความแตกต่างกับการโฆษณา (Advertising)ในแง่ที่เป็นการมุ่งประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว มีความมุ่งหมายที่จะโน้มน้าวความคิดและจูงใจคนด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้เห็นดีเห็นงามไปกับผู้โฆษณาชวนเชื่อหรือให้เป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่ต้องการโดยปิดบังอำพรางข้อเท็จจริงเป็นวิธีกลบเกลื่อนสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดีพยายามปิดบังซ่อนเร้นผู้กระทำหรือต้นตอของข่าวสารมีการปรักปรำให้ร้ายป้ายสีฝ่ายตรงกันข้ามเพื่อประโยชน์ของตน
ความจริงแล้วการโฆษณาชวนเชื่อหรือคำว่า Propaganda นั้น มีความหมายกลาง ๆ ไม่ดีไม่เลวแต่มีผู้นำไปใช้ในการควบคุมสังคมทางการเมือง สร้างประโยชน์ส่วนตัวอย่างไร้ศีลธรรมขาดความรับผิดชอบจึงมีความหมายไปในทางที่เสื่อมเสียมากกว่าทางดี อย่างไรก็ตามการโฆษณาชวนเชื่อก็ได้มีการนำมาใช้ในวงการต่าง ๆ เช่น การค้า การทูต การเมือง การบริหาร ฯลฯ เป็นต้น
เมื่อพิจารณาถึงการประชาสัมพันธ์กับการโฆษณาชวนเชื่อ แม้ว่าจะดูคล้ายกันในรูปแบบที่ใช้การติดต่อสื่อสาร ซึ่งเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไม่ว่าจะเป็นวิธีการสื่อสารด้วยภาษา อากัปกริยาท่าทาง การใช้ระบบสัญลักษณ์ การใช้สื่อสารมวลชน (Mass Communication) หรือสื่อมวลชน (Mass Media) ที่เหมือนกันอีกด้วย เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างการประชาสัมพันธ์กับการโฆษณาชวนเชื่อ
ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการประชาสัมพันธ์ กับการโฆษณาชวนเชื่อก็คือ ในเรื่องของ “วัตถุประสงค์”
การประชาสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชื่อเสียง ความรู้ความเข้าใจ ร่วมกันและสร้างสัมพันธภาพอันดีให้เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานกับกลุ่มประชาชนผู้เกี่ยว ข้องด้วย ระบบการติดต่อสื่อสารสองทาง
(Two-way Communication) คือหน่วยงาน/สถาบันเพื่อสื่อสารไปยังประชาชน ขณะเดียวกันก็รับฟังความคิดเห็นหรือประชามติ (Public Opinion) จากประชาชนด้วย
วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ จึงต้องเป็นไปด้วยความสุจริตใจ และกระทำอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก หลีกเลี่ยงการหลอกลวงหรือ โป้ปดมดเท็จ เป็นแนวทางการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบกับประชาชนอย่างเต็มที่
ส่วนวัตถุประสงค์ของการโฆษณาชวนเชื่อนั้น เป็นไปเพื่อความมีอิทธิพลเหนือทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคคลอื่นโดยเจตนาให้มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อผลประโยชน์โดยเฉพาะด้วยเหตุนี้ การโฆษณาชวนเชื่อจึงมักถูกมองไปในแง่ไม่ดีหรือในแง่ลบ เสมอ และถูกมองว่าเป็นสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัวเพราะเป็นการดำเนินการโดยหวังประโยชน์ของผู้โฆษณาชวนเชื่อแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น
ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกนำมาใช้ในวงการวิชาชีพต่าง ๆ มากมายเพื่อที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และถูกต้องน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยี ที่น่าจับตามองด้วยความเป็นอัจฉริยะ ประกอบกับการพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สถานการณ์อินเทอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์
ด้วยอรรถประโยชน์นานัปการของอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะใช้ทางด้านการค้า การศึกษา การเผยแพร่ ข้อมูลสินค้าและบริการ ตลอดจนอินเทอร์เน็ตเพื่อการ ประชาสัมพันธ์องค์กร ทุกองค์กรเริ่มปรับตัวศึกษา และเรียนรู้เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นเครื่องมือ ในการประชาสัมพันธ์ได้อย่างลงตัว ตลอดจนในปัจจุบัน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจของเนค เทคพบว่า อายุผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคืออายุต่ำกว่า 20 ปี และ 20 - 29 ปี ซึ่งถือเป็นกลุ่มใหญ่ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูล ร้อยละ 32.2 ซึ่งรองจากไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์คือ ร้อยละ 35.7 (เนคเทค, 2545) จะเห็นได้ว่าการใช้งาน อินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลาย และได้รับความนิยม ไม่เฉพาะเด็กเท่านั้น ผู้ใช้วัยทำงาน เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล เพิ่มมากขึ้น ทำให้เป็นโอกาสทางหนึ่งที่หน่วยงานทุก หน่วยงานจะเริ่มหันมา ใช้อินเทอร์เน็ตในการ ประชาสัมพันธ์ องค์กรให้ทันสมัย และรองรับการ เปลี่ยนแปลงที่นับวันจะ ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
การประชาสัมพันธ์องค์กรในยุคอินเทอร์เน็ต
การประชาสัมพันธ์ เป็นการเสริมสร้างความ เข้าใจอันดีระหว่างองค์การกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น นักประชาสัมพันธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกสรร สื่อประชาสัมพันธ์ ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพที่สุด เน้นการสื่อสารแบบสองทาง (Two way communication) เพื่อทราบความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขในการสื่อสารต่อไป ด้วยเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของการประชาสัมพันธ์ไปในตัว โดยอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทด้านการสื่อสารการประชาสัมพันธ์ ยิ่งหน่วยงานของรัฐแล้วยิ่งจำเป็นต้องให้ข้อมูล ข่าวสารเบื้องต้นกับประชาชน ตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 4 "บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้อง หรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารได้" นอกจากนี้เหตุผลในการประกาศ ใช้พรบ.ฉบับดังกล่าวคือ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการ ดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ จากประเด็นดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการประชาสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี และจากจำนวน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเริ่มมีมากขึ้น การใช้ข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตจึงถือเป็นการประชาสัมพันธ์องค์การได้เป็นอย่างดี และหน่วยงาน ของรัฐเองก็ได้ปฏิบัติตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารอีกด้วย

กลยุทธ์การนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาเสริมทัพงานประชาสัมพันธ์
การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่องานประชาสัมพันธ์ เริ่มมีการใช้มากยิ่งขึ้น และเห็นเป็นรูปธรรม เช่น การนำเสนอข่าวสารของหน่วยงาน ผ่านทางเว็บไซท์ การรวบรวมกิจกรรมที่จัดทำขึ้น การรวบรวมข่าวสาร ที่แถลงต่อสื่อมวลชน การรวบรวมคำกล่าว สุนทรพจน์ต่าง ๆ ของผู้บริหารหน่วยงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นการนำ ข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กล่าวคือ เมื่อมีข่าวสารหรือมีการประชุม แถลงข่าวต่าง ๆ ก็นำมาไว้บนโฮมเพจเพื่อที่จะให้ผู้เข้าชมได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงอีกด้วย
นอกจากนี้สื่ออินเทอร์เน็ตสามารถสร้างกระบวนการปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือสามารถติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้อิเล็กทรอนิกส์เมล์ (E-mail) โดยให้สมัครเป็นสมาชิกในการ รับข่าวสารขององค์การ หรือการประยุกต์ ใช้การ chat เพื่องานประชาสัมพันธ์ การมีเว็บบอร์ดในการแสดงความคิดเห็น หรือสอบ ถามปัญหาต่าง ๆ จากผู้บริหาร ในลักษณะทันทีทันใด เป็นต้น นอกจากนี้สื่ออินเทอร์เน็ตยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา เป็นสื่อที่สามารถเปิดรับข่าวสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถให้ข่าวสาร ข้อมูลได้มากกว่าสื่อชนิดอื่น ๆ ทั้งข้อความ ภาพและเสียง ในลักษณะของ คลิปวิดีโอสั้น ๆ และยังเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ที่ใช้งบประมาณ น้อย แต่ผลประโยชน์กว้างไกล ซึ่งสามารถ ส่งสารไปได้ทั่วโลกได้อีกด้วย นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่จำเพาะเจาะจง (Selective) ได้เป็นอย่างดี


บทสรุป
การนำสื่ออินเทอร์เน็ตมาใช้ในการประชาสัมพันธ์นั้น นับว่ามีความจำเป็นและมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยม มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีฐานจากผู้ใช้ที่เป็นนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนพนักงานบริษัทเป็นจำนวนมากที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ และเพิ่มจำนวน มาขึ้นเรื่อย ๆ การใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นคว้าหาข้อมูลก็มีเว็บไซท์ที่ให้บริการในลักษณะ Search engine ที่ชาญฉลาดอย่าง //www.google.com ทำให้การเข้าถึงข่าวสารได้อย่างกว้างขวางมีคุณภาพ และมีความรวดเร็ว เพื่อเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์อีกประเภท หนึ่งที่กำลังมีบทบาทสำคัญยิ่ง ต่องานประชาสัมพันธ์ ดังนั้นนักประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ไม่ควรที่จะละเลยรูปแบบการสื่อสาร ผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนมากยิ่งขึ้น หากหน่วยงานเราไม่มีเว็บไซท์ในการให้ข้อมูลข่าวสารด้วยแล้ว โอกาสที่จะเสริมสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์การอาจต้องพ่ายแพ้กับคู่แข่งขันได้ในที่สุด.







Create Date : 09 กรกฎาคม 2550
Last Update : 6 สิงหาคม 2550 8:58:27 น. 1 comments
Counter : 17466 Pageviews.

 
เก่งมากค่ะ
การให้กำลังใจตนเองถือเป็นการประชาสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง


โดย: ดอกกล้วยไม้ป่า วันที่: 9 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:11:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ดอกกล้วยไม้ป่า
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ดอกไม้ ถ้าใส่ปุ๋ย เติมน้ำ ดอกไม้นั้นย่อมส่วย แต่คงไม่มีดอกไม้ใดจะสวยเท่าดอกไม้ธรรมชาติ
ได้เวลาทวงหัวใจคืนมาเสียที สิ้นสุดความทรงจำที่มีแต่ความสุขสม จะลืมให้หมดใจ... ว่าเคยมีใครทำให้ตรอมตรม จะคิดเสียว่า... เป็นแค่สายลมที่พัดผ่านไป
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ดอกกล้วยไม้ป่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.