ฟงอวิ๋น ขี่พายุทะลุฟ้า
Group Blog
 
All blogs
 
พุทธานุภาพอุ่นเรืองรอง

โหลดไวรัสเงา
//www.uploadtoday.com/download/?467408&A=212749

//www.uploadtoday.com/download/?479301&A=774621
............
พุทธะ แปลว่า รู้, ตื่น, เบิกบาน หรือหมายถึง ผู้รู้, ผู้ตื่น, ผู้เบิกบาน ก็ได้ ซึ่งคำว่า รู้ ก็หมายถึงมีความรู้จริงในเรื่องการดับทุกข์ คำว่า ตื่น หมายถึง ตื่นจากความโง่ หรือ จากความไม่รู้, คำว่า เบิกบาน หมายถึง สดชื่นไม่มีทุกข์ ส่วนคำว่า พุทธศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนของท่านผู้รู้ อันหมายถึงพระพุทธเจ้าที่เป็นศาสดาของพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า หมายถึง ผู้รู้สูงสุด ซึ่งอดีตของพระพุทธเจ้าก็คือ เจ้าชายสิทธัตถะ จากวงศ์ศากยะ แห่งนครกบิลพัสดุ ของประเทศอินเดีย เมื่อประมาณ ๒,๖๐๐ กว่าปีมาแล้วที่ทรงออกผนวชเพื่อค้นหาความพ้นทุกข์ คือในยุคนั้นเป็นยุคที่กำลังมีการค้นคว้าหาวิธีการดับทุกข์กันอยู่อย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังไม่มีใครค้นพบวิธีการดับทุกข์ที่แท้จริงได้ จนเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงผนวชแล้วได้ทรงค้นพบและประกาศตนว่าทรงเป็นผู้รู้จริง(พุทธะ)ในเรื่องการดับทุกข์และได้ทรงนำวิธีการดับทุกข์นี้มาสอนแก่ผู้ที่สนใจของยุคนั้น จนได้รับความเคารพเชื่อถือจากผู้มีปัญญาของยุคนั้นอย่างแพร่หลาย จนทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา จึงทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน
เรื่องราวของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้นโดยสรุปก็มีเพียงเท่านี้ แต่ต่อมาภายหลังได้ถูกแต่งเติมขึ้นเพื่อเอาใจศาสนาพราหมณ์ เพราะสมัยที่แต่งขึ้นนั้นพุทธศาสนากำลังเสื่อมโทรมเต็มที่ส่วนศาสนาพราหมณ์กำลังมีอำนาจมาก ใครสอนผิดไปจากเขาจะไม่เป็นที่ยอมรับและจะถูกทำร้ายได้ จึงทำให้มีเรื่องราวที่ว่าพระพุทธเจ้าไปเกี่ยวข้องกับเทวดาบ้าง กับพระพรหมบ้าง รวมทั้งเรื่องที่พระพุทธเจ้าในอดีตได้บำเพ็ญบารมีมาเป็นแสนๆชาติ อย่างที่เราเคยได้รู้กันมาก่อน ซึ่งเราก็ต้องเข้าใจว่านั่นเป็นเพียงเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อส่งเสริมคำสอนระดับศีลธรรมเท่านั้น .
..............................
นิพพานคืออะไร?
นิพพาน แปลว่า ความสงบเย็น หรือความเย็นใจ คือเมื่อใดที่จิตของเราเกิดอาการของกิเลสใดๆขึ้นมา จิตของเราก็จะไม่บริสุทธิ์ หรือจะเศร้าหมอง แล้วมันก็จะเกิดความทุกข์ชนิดต่างๆขึ้นมา ซึ่งจะรุนแรงบ้าง ไม่รุนแรงบ้างตามกิเลสที่เกิดขึ้น แต่ขณะใดที่จิตเรามีสมาธิและปัญญา จิตของเราก็จะบริสุทธิ์ จากกิเลส แล้วมันก็จะสงบ เยือกเย็น ปลอดโปร่ง แจ่มใสขึ้นมาทันที ซึ่งนี่คืออาการที่เรียกว่านิพพาน
นิพพานนี้ในแต่ละวันเราทุกคนก็พอจะมีกันอยู่บ้าง แต่ไม่มากหรือไม่ถาวรถ้าใครมีมากหรือถาวรก็จะเป็นพระอริยบุคคล.
...............................
ตายแล้วไปไหน?
ตามหลักพุทธศาสนาแล้วไม่สอนว่าตายแล้วไปไหน เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้
แต่จะสอนให้คิดว่า เมื่อเทียนดับ แสงสว่างหายไปไหน? คือร่างกายก็เหมือนแท่งเทียน จิตใจก็เหมือนแสว่างที่เกิดจากการเปลวเทียนที่ลุกไหม้ เมื่อเปลวไฟเทียนดับ แสงสว่างก็จะดับหายตามไปด้วย เมื่อจุดไฟใหม่ แสงสว่างก็กลับมามีอีก ซึ่งนี่เป็นการคิดตามหลักวิทยาศาสตร์.
...............................
นรก-สวรรค์คืออะไร?
คำว่า “นรก” ของพุทธศาสนาจะหมายถึง สภาวะจิตขณะที่กำลังที่เร่าร้อนทรมาน เพราะทำบาปเอาไว้มาก(เช่นขณะที่เรากำลังร้องไห้เพราะเสียใจมาก)
คำว่า “สวรรค์” ของพุทธศาสนาจะหมายถึง สภาวะจิตขณะที่กำลังมีความสุขใจ หรืออิ่มเอมใจอย่างยิ่ง เพราะได้ทำความดีเอาไว้มาก( เช่นขณะที่เรากำลังยิ้มร่าเพราะสุขใจมาก).
ส่วนนรกที่อยู่ใต้ดิน และสวรรค์ที่อยู่บนฟ้า ที่จะไปถึงได้ต่อเมื่อตายไปแล้วตามที่เราเคยได้ยินมานั้น ไม่ใช่ของพุทธศาสนา แต่เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ที่ปะปนเข้าอยู่ในพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จนทำให้ชาวพุทธหลงเข้าใจผิดคิดว่านี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเราจะต้องเข้าใจจุดนี้เอาไว้ด้วย.
.................................
เรื่องสำคัญอีกอย่างก็คือ พุทธศาสนาระดับสูงจะสอนเฉพาะเรื่องในปัจจุบันของชีวิตนี้เท่านั้น ไม่สอนเรื่องภายหลังจากตายไปแล้วหรือเรื่องก่อนที่เราจะเกิด เพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน และมันก็ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรแก่การศึกษานี้เลย ซ้ำยังจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นมาได้ แล้วการปฏิบัติก็จะผิดตามไปด้วย (ความจริงแล้วเรื่องตายแล้วมีวิญญาณไปเกิดใหม่ได้นั้นเป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูไม่ใช่ของพุทธศาสนา)
________________________________________
ชีวิตของมนุษย์เรานี้จะประกอบด้วยร่างกายและจิตใจที่จะต้องทำงานร่วมกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ถ้าแยกกัน มันก็จะแตก(ใช้กับร่างกาย)ดับ(ใช้กับจิตใจ)และหายไปด้วยกันทั้งคู่ทันทีโดยร่างกายก็เกิดมาจากธาตุดิน, ธาตุน้ำ,ธาตุไฟ, ธาตุลมสร้างขึ้นมาส่วนจิตใจประกอบด้วยวิญญาณ, ความรู้สึก,ความจำ,และความคิด ซึ่งนี่คือสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์ที่สุดในเอกภพ ที่เกิดมาจากการสร้างสรรค์ขึ้นมาของธาตุตามธรรมชาติ ภายใต้กฎสูงสุดของเอกภพ.
________________________________________
สิ่งที่ ไม่เกิดขึ้น” คือไม่มีการสร้างให้เกิดขึ้นมาอันได้แก่นิพพานนี้ จะเป็นตัวตนของใครๆไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะของนิพพานนั้นจะเป็นสภาวะที่ว่างจากการมีตัวตน ดังนั้นถึงแม้จะมีใครบรรลุนิพพานสักเท่าใดก็ตาม ก็เท่ากับว่าไม่มีตัวตนของใครที่เป็นผู้นิพพาน มีแต่จิตที่ว่างจากความมั่นว่ามีตัวตนเท่านั้นที่นิพพาน.
________________________________________
ส่วนวิญญาณ หรือการรับรู้นี้ก็มีการเกิดขึ้นมาและดับหายไปตามระบบประสาทของอวัยวะตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, และใจ(สมอง)อยู่ตลอดเวลาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพื่อรับรู้รูป, เสียง, กลิ่น, รส เป็นต้น ถ้าร่างกายตาย วิญญาณก็ต้องดับหายตามไปด้วย
________________________________________
ส่วนทั้ง ๔ นี้จะรวมกันเป็น จิต ที่หมายถึง สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ ซึ่งถ้าเราจะสังเกตให้ดีเราก็จะพบว่าจิตก็มีการเกิดและดับอยู่ตลอดเวลาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง คือบางทีก็เกิดไปเกิดที่ตาเพื่อรับรู้รูป แล้วก็มาเกิดที่ใจเพื่อคิดเรื่องรูปนั้น แล้วก็มาเกิดที่หูเพื่อรับรู้เสียงอีก เป็นต้น คือมันจะมีการเกิดและดับสืบต่อกันเอาไว้ตลอดเวลาจนดูเหมือนกับว่ามันเกิดนิ่งๆอยู่ตลอดเวลาจนทำให้เราเกิดความเข้าใจผิดคิดว่ามีจิตที่เป็นอัตตาขึ้นมา ส่วนเวลาหลับจิตก็จะดับลงชั่วคราว และถ้าร่างกายตายจิตก็จะดับลงอย่างถาวรซึ่งนี่เรียกว่าเป็นลักษณะที่ไม่เที่ยงของจิตใจ
________________________________________
ส่วนความเป็นอนัตตาของจิตก็คือ จิตต้องอาศัยวิญญาณเป็นพื้นฐาน และวิญญาณก็ต้องอาศัยร่างกายเกิดขึ้นมา เมื่อร่างกายตาย จิตก็ย่อมที่จะต้องดับหายตามไปด้วยเสมอและ เมื่อจิตไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ชั่วนิรันดร แล้วเราจะมายึดมั่นว่าจิตนี้เป็นเรา หรือเป็นของเราหรือเป็นของใครๆได้อย่างไร?ถ้ามีคนถามว่า “คนเราตายแล้วจิตหรือวิญญาณไปไหน? ” ถ้าเราเข้าใจแล้วว่าจิตหรือวิญญาณคืออะไรแล้ว เราก็คงไม่รู้จะตอบคนที่ถามเช่นนั้นว่าอย่างไร เพราะแท้จริงจิตก็เป็นเพียงธาตุที่มาประชุมกันขึ้นมาทำหน้าที่ชั่วคราวแล้วก็ดับหายไปเท่านั้น หรือถ้าจะตอบก็ต้องตอบว่า “มันไม่มีเราตาย เพราะมันไม่มีเรามาเกิด และแม้ชีวิตที่มีอยู่นี้ก็ยังไม่มีเราอยู่จริงด้วยเหมือนกัน”
...............................................
เรื่องที่ไม่ควรสนใจ
ผู้คนที่มาศึกษาพุทธศาสนาส่วนใหญ่มักจะตั้งคำถามว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าตายแล้วไปไหน? เกิดหรือไม่เกิด? ถ้าเกิดอะไรไปเกิด? หรือนรกสวรรค์มีจริงหรือไม่? และใครสร้างโลก? เป็นต้น ซึ่งคำถามเหล่านี้เมื่อมีผู้นำไปถามพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ทรงตอบ เพราะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการดับทุกข์เลย
ในเบื้องต้นของการศึกษาเพื่อดับทุกข์นี้
พระพุทธองค์ทรงสอนว่าอย่าเพิ่งไปสนใจเรื่องต่างๆเหล่านี้คือ
๑. เรื่องว่าพระพุทธเจ้าจะมีจริงหรือไม่?
๒. เรื่องว่าสมาธิสูงๆจะทำให้มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้จริงหรือไม่?
๓. เรื่องการทำดีและชั่วที่จะได้รับผลดีและชั่วในอนาคตจริงหรือไม่?
๔. เรื่องนรก-สวรรค์, ชาติก่อน, ชาติหน้า, ตายแล้วไปไหน?, ใครสร้างโลก?, เป็นต้น รวมทั้งเรื่องต่างๆของชาวโลกๆที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการดับทุกข์ด้วย
สาเหตุที่ไม่ให้สนใจเรื่องเหล่านี้ก็เพราะมันไม่เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เลยมันเป็นเรื่องของการเล่าต่อๆกันมาหรือมีผู้แต่งเรื่องขึ้นภายหลังซึ่งหาหลักฐานยืนยันไม่ได้ถึงศึกษาไปก็ไม่รู้จักจบ จะทำให้เสียเวลาและปวดหัวไปเสียเปล่าๆ อีกทั้งยังจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเข้าใจไขว้เขวต่อการศึกษาเพื่อดับทุกข์นี้ได้ อันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดพลาดขึ้นมาได้
........................................


Create Date : 22 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 23 สิงหาคม 2552 13:30:52 น. 0 comments
Counter : 234 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Wiizento
Location :
ปทุมธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




"ความจริง ดีชั่วอยู่ที่ความคิดชั่ววูบ..ระดับของเทพยดากับอสูรร้ายก็เป็นเช่นเดียวกัน.."
"ไม่มีสิ่งใดได้มาโดยปราศจากการสูญเสีย.."
"เมื่อคนในโลกรู้จักความสวยงาม..ความน่าเกลียดก็อุบัติขึ้น.."

"มีหรือไม่มีเกิดขึ้นด้วยการรับรู้..
ยากกับง่ายเกิดขึ้นด้วยความรู้สึก..
สูงกับต่ำเกิดขึ่นด้วยการเทียบเคียง..
หน้าและหลังเกิดขึ้นด้วยการนึกคิด.."
จำนวนผู้เข้าชมขณะนี้คน free counters
Friends' blogs
[Add Wiizento's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.