บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
All Blogs
 

มุมมองบวก กับ Covid 19

มุมมองบวก กับ Covid 19
วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj) // Jung

สถานการณ์ Covid 19 เริ่มรุนแรงขึ้น ทั่วโลก ถึงแม้นว่าประเทศไทย จะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในการควบคุม โควิด ก็ตาม ประชาชนก็ยังมีความหวาดระแวงกับการติดโรค และ จากสถานการณ์อยู่ดี
.
เราจะต่อสู้กับสถานการณ์นี้ ได้ ถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจ อยู่บ้าน กักตัวเอง ดูแลป้องกันตนเอง และ พบปะกับคนอื่นๆให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพราะ เราไม่รู้ว่าเราติดเชื้อ หรือ ผู้ใดติดเชื้อ ทั้งหมดก็เพื่อป้องกันไม่ให้เราแพร่เชื้อให้ใคร และ ไม่ให้ใครแพร้เชื้อให้เรา...
.
ทุก ปัญหา มีทางแก้ไข ทุกวิกฤติ มีโอกาส จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงอยากให้ทุกท่าน คิดในเชิงบวกกับเหตุการณ์วิกฤติ Covid 19 ในครั้งนี้ ซึ่งผมขอแชร์มุมมองของผมดังนี้...
.
1. การที่เราต้องอยู่กับบ้าน ทำงานที่บ้าน Work from Home (WFH) เป็นเรื่ืองที่ดีที่จะทำให้สายสัมพันธ์ในครอบครัวมีมากขึ้น ทั้งนี้ บางคนอาจจะชอบ บางคนอาจจะไม่ชอบ อันเนื่องจากพฤติกรรมของคู่ครองหรือสมาชิกในครอบครัว ถึงอย่างไรแล้ว นี่ก็เป็นโอกาสในการอยู่ร่วมกัน ศึกษาลักษณะนิสัยร่วมกัน ผลที่ได้อาจจะมีความอบอุ่นของครอบครัวมากขึ้น เมื่อทุกคนปรับตัวและเข้าใจซึ่งกันและกัน หรือ ผลที่ได้อาจจะเกิดการแตกหัก อันเนื่องจากแต่ละคนเห็นประโยชน์ของตนเองมากเกินไป ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร มันขึ้นกับตัวของเราเองว่า จะปรับตัวเอง ยอม หรือ แม้นกระทั่ง ปรึกษาหารือกันมากน้อยเพีงใด
.
2. เมื่อลูกๆต้องเรียนผ่าน Internet ทำให้เห็นว่า ลูกๆเรียนอย่างไร เข้าใจหรือไม่เข้าใจสิ่งที่เรียนมากน้อยเพียงใด และ เห็นว่า อาจารย์สอนอย่างไร สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเห็น ลักษณะพฤติกรรม การเรียนของลูกๆได้ดีขึ้น จะได้ส่งเสริม สนับสนุนการเรียน ของลูกๆได้ อีกทั้ง อาจารย์ บางท่าน จะเริ่มเข้าใจวิธีการเรียนการสอนทางไกล บางคนชอบ บางคนอาจจะลำบากใจ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะทำให้การเรียนการสอนในอนาคต มีการปรับเปลี่ยน และใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มากขึ้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น
.
3. ลูกที่มีอายุน้อย โรงเรียนไม่ได้จัดการเรียนการสอนผ่าน อินเทอร์เน็ต ก็ทำให้รู้ว่า ลูกๆมีนิสัยอย่างไร ชอบกินอะไร ไม่ชอบอะไรมากขึ้น เพราะได้ใช้เวลาอยู่กับลูกมากขึ้น ผู้ปกครองบางคนก็ไม่ชอบเพราะปวดหัวกับพฤติกรรมของลูกๆ ที่ซนเหลือเกิน นั่นก็เป็นเรื่องที่ทำให้ ผู้ปกครองจะได้ฝึกการควบคุมอารมณ์ของตนเอง และ มองความเป็นจริงของลูกๆ แต่ถ้า ผู้ปกครองฝึกตนเองไม่ได้ ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องปวดหัวของผู้ปกครอง คิดมาก วุ่นวาย เป็นโอกาสของผู้ปกครองที่จะฝึกฝนตนเองให้มีความ กรุณา ปราณี ต่อเด็กๆมากขึ้นด้วย
.
4. สถานศึกษาที่ไม่สามารถสอนผ่านทางไกล อาจจะมองเห็นถึงปัญหาของสถานศึกษา ซึ่ง ผู้บริหารฯ อาจจะลงทุน เพิ่ม เทคโนโลยี เข้าไปยังโรงเรียน มหาวิทยาลัย มากขึ้น เพื่อสร้างให้เกิด การเรียนการสอนผ่าน ดิจิทัล ให้กลายเป็น สถานศึกษา 4.0 ต่อไป
.
5. บางบ้านที่ไม่มี อินเตอร์เนต จะเห็นความสำคัญ ความจำเป็นในอนาคต ทำให้ การผลักดัน Digital 4.0 ของภาครัฐ หลังจบ วิกฤติโคโรน่า มีการตอบสนองมากขึ้น
.
6. เราได้เรียนรู้ คน ได้มากขึ้น ว่า คนรอบข้างเรา ใครมองเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ หรือ ใครเป็นกัลยาณมิตร ให้กับคนทั่วไปมากน้อยเพียงใด จากการช่วยเหลือ แบ่งปัน ให้กับสังคม
.
7. เราได้เรียนรู้ว่า หัวหน้างาน ผู้บริหาร และ เจ้าของกิจการ มีลักษณะนิสัยในการบริหารอย่างไร เขามองเรื่อง ความสำคัญของพนักงาน สุขภาพอนามัยของพนักงาน คนงาน มากน้อยเพียงใด หรือ เขาเห็นแก่ผลประโยชน์ของตนเองมากน้อยเพียงใด ทำให้เราเข้าใจและปรับตัวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีขึ้น
.
8. ประเทศไทย คนไทย ที่มี พูทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ มีคนพุทธ มากที่สุดในประเทศ จะนำเอาหลักธรรมของศาสนา มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้มากน้อยเพียงใด คนที่ฝึกฝนตนเอง ก็จะเป็นโอกาสให้นำเอาหลักธรรมมาฝึกฝนจิตใจ ได้มากยิ่งขึ้นด้วย
.
9. คนไทยจะตื่นตัวเรื่อง สุขภาพอนามัย มากขึ้น
.
ทั้งหมดทั้งมวล ผมมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผม เป็นมุมมองส่วนบุคคล ที่ผมได้รับ และ หวังว่า ทุกคน จะมองในมุมบวกของตนเอง จะได้ไม่เครียดกับข่าวสาร ในยุคดิจิทัล นะครับ...
.

วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj) // Jung




 

Create Date : 28 มีนาคม 2563    
Last Update : 28 มีนาคม 2563 10:03:18 น.
Counter : 2405 Pageviews.  

เมื่อรู้จักแยกแยะ สิ่งที่เกิดขึ้น กับ การปรุงแต่งด้วยความรู้สึก...

หลังจากดู Inside Out และ ได้ฟังการบรรยายจากน้องเล็ก ที่นำเอาวิธีการอบรมที่เขาได้เข้าไปอบรมมาถ่ายทอด ทำให้มองว่า ในชีวิตของคนเรา มีสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งคนเรากลับไปปรุงแต่งด้วยความรู้สึก จึงทำให้ แยกแยะไม่ออกว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ มีความสุข หรือ มีความรู้สึกแย่ๆ มีความทุกข์...



เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจริง กับ ก
ารเติมแต่งความรู้สึก เ
ราได้ดำเนินการกับมันอย่างต่อเนื่องจนเราไม่สามารถแยกระหว่าง ความจริง กับ ความรู้สึกได้ เช่น 

ถ้าเพื่อนคนหนึ่งที่เราไม่ชอบ ตีแขนเรา ความไม่ชอบซึ่งเป็น ความรู้สึกพื้นฐานเดิม ทำให้เราแต่งเติม การตีแขนจากเพื่อนคนที่เราไม่ชอบ ทำให้เราเกิดความไม่ชอบซ้ำๆขึ้นมา ทำให้การตีแขนครั้งนั้น ทำให้เราไม่พอใจ...

แต่ถ้า เพื่อนคนนั้น เป็นเพศตรงข้ามที่เราชอบ จะพบว่า การตีแขน เราจะแปลความหมายแต่งเติมความรู้สึกว่า เขาห่วงใย หรือ เขาต้องการเล่นด้วย หรือ เขากำลังหยอกเล่นกับเรา...

เหตุการณ์เดียวกัน ซึ่งเป็นความจริงคือ การตีแขน แต่ การตีความแตกต่างกัน การตีความเช่นนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกของตัวเรา ทำให้เกิดตัวตนของเราเกิดขึ้น และ เมื่อการตอบสนองสิ่งใดๆ บ่อยๆ จะทำให้เกิดเป็น ลักษณะนิสัย หรือ ความเชื่อเกิดขึ้น 




 

Create Date : 08 กันยายน 2558    
Last Update : 8 มกราคม 2559 10:00:32 น.
Counter : 3514 Pageviews.  

แก้วน้ำชา...

ที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง แห่งหนึ่งของสยามประเทศ บรรดาศิษย์เก่าที่จบจากสถาบันนี้ แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพมีชื่อเสียงในวงสังคมตามวงการต่างๆ มากมาย มีทั้งที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และที่กระท่อนกระแท่นยังดิ้นรนอยู่ในหน้าที่การงานก็เยอะ

เนื่องในวาระที่อาจารย์พ่อซึ่งเป็นที่เคารพของศิษย์เก่าทุกคน เกษียณอายุ บรรดาศิษย์เก่าจึงถือเป็นโอกาสดีที่จะกลับไปเยี่ยมสถาบัน เพื่อเลี้ยงสังสรรค์และรำลึกถึงอาจารย์พ่อ

หลังจากกินเลี้ยงกันมาได้พักใหญ่ วงสนทนาก็เริ่มเปลี่ยน ไปเป็นการบ่นพร่ำเกี่ยวกับความเครียด ในการทำงานและปัญหาชีวิต แต่ละคน มีปัญหาแตกต่างกันออกไปมากบ้างน้อยบ้าง อาจารย์พ่อฟังปัญหาของลูกศิษย์ทุกคนอย่างตั้งใจ รับฟังโดยไม่มีคำวิจารณ์ หรือนำเสนอความเห็นของอาจารย์เลยแม้แต่น้อย

เมื่อฟังปัญหาของลูกศิษย์จบทุกคน อาจารย์พ่อเสนอเลี้ยงกาแฟกลุ่มลูกศิษย์เก่า ท่านเดินเข้าไปในครัว และออกมาพร้อมกับกาแฟเหยือกโตและถ้วยกาแฟ แบบต่างๆ บ้างเป็นถ้วยกระเบื้องบ้าง เป็นถ้วยพลาสติก และบ้างทำด้วยแก้ว มีถ้วยกาแฟหลายใบที่เป็นแบบพื้นๆ ธรรมดา บางใบ สวยวิจิตรสูงค่า

" อาจารย์ ชงกาแฟใส่เหยือกมาให้แล้ว พวกเธอจัดการรินใส่แก้วดื่มกันเองนะ" บรรดาลูกศิษย์ มองถ้วยกาแฟหลากหลาย ด้วยความสนใจ แล้วพากันเลือกถ้วยกาแฟพร้อมๆ กับรินกาแฟออกมาจากเหยือกใส่ถ้วยต่างกันออกไปเอามือไว้

เมื่อลูกศิษย์ทุกคนต่างมีถ้วยกาแฟในมือกันทุกคน แล้วอาจารย์พ่อ กล่าวว่า
" ลองดูถ้วยกาแฟในมือของพวกเธอ กับถ้วยกาแฟที่เหลืออยู่ในถาดซึ่งไม่มีคนเลือกสิ "
" สังเกตุกันรึเปล่า.... ถ้วยสวย ๆ แพง ๆ ถูกเลือกไปหมด เหลือไว้แต่ถ้วยแบบธรรมดาราคาถูก "
" เป็นเรื่องปกติ...ที่พวกเรามักจะเลือก สิ่งที่ดีที่สุดโดยลืมคิดถึงความต้องการที่แท้จริงของเราและ นี่คือที่มาของความเครียดและปัญหาทั้งหลายในชีวิต "

" ความจริงวันนี้สิ่งที่พวกเราต้องการแท้จริงคือกาแฟ ไม่ใช่ถ้วยกาแฟ แต่จิตสำนึกกลับ นำพาเราไปเลือกที่ถ้วย มิหนำซ้ำยังคอยชำเลืองมองถ้วยของคนอื่นๆ อีกด้วย

หากชีวิตคือกาแฟ หน้าที่การงาน ตำแหน่งต่างๆ ในสังคม ก็คือ ถ้วยกาแฟ มันเป็นเพียงเครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยหยิบจับหรือประคองชีวิตของเรา มันไม่ได้ทำให้เนื้อหาจริงๆ ของชีวิต เปลี่ยนไป บางครั้ง....การมัวเพ่งที่ถ้วยใส่กาแฟ มันก็จะทำให้เราลืมใส่ใจกับรสชาติของตัวกาแฟ "

" ถ้ารู้จักชีวิตที่แท้จริง....ของหรือตำแหน่งหน้าที่ มันก็แค่ส่วนเคลือบ ไม่ใช่เนื้อหาหรือแก่นแท้ที่สำคัญของชีวิต"





 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2557    
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2557 16:48:04 น.
Counter : 1376 Pageviews.  

10 วิธีในการคิดของแอปเปิ้ล - สตีฟ โทบัก

สตีฟ โทบัก เป็นนักที่ปรึกษา นักเขียน และผู้บริหารระดับอาวุโสของบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังของสหรัฐฯ เขาคร่ำหวอดในวงการมานานกว่า 20 ปี ได้ทำการศึกษาบุคคลที่ร่วมงานกับแอปเปิล เขาได้สรุป รูปแบบวัฒนธรรมของแอปเปิล ออกมาเป็น 10 วิธีที่คิดต่างในแบบแอปเปิล ที่ทำให้บริษัทนี้ โดดเด่นกว่าบริษัทอื่นๆ และพลิกฟื้นจากบริษัทที่ใกล้ล้มละลาย มาเป็นบริษัทที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงเป็นอันดับสองของโลก

1. เสริมสร้างให้พนักงานคิดต่าง

พนักงานคนหนึ่งของแอปเปิลกล่าวว่า สตีฟ จ็อบส์มักจะพูดเสมอว่าเราต้องทำสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น และเขาเชื่อว่าพวกเราทำได้



2. สิ่งที่สำคัญคือการให้คุณค่า อย่าใส่ใจกับเรื่องเล็กน้อย

พนักงานของแอปเปิลทุกคนเห็นว่าออฟฟิศเป็นสถานที่ที่สนุกที่จะทำงาน ดังนั้นพวกเขาจึงอยู่กันอย่างไร้กฎระเบียบ ใครจะทำอะไรก็ได้ แต่ว่างานต้องเสร็จเรียบร้อย ซึ่งโทบักเคยเข้าประชุมร่วมกับผู้บริหารของแอปเปิล ที่มาร่วมประชุมด้วยเท้าเปล่า ที่น่าแปลกก็คือไม่มีใครสังเกตเห็นซะด้วยซ้ำ



3. รักและใส่ใจกับผู้ริเริ่มสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ

เมื่อใส่ใจกับสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อหาสิ่งใหม่ที่ดีขึ้นไป



4. ทำทุกสิ่งที่สำคัญ และทำจากใจ

โทบักตั้งข้อสังเกตว่า การบริหารงานของแอปเปิลนั้นจะไม่มีการแยกฝ่ายกันอย่างชัดเจน ทุกอย่างต้องทำภายใต้การรับผิดชอบร่วมกัน



5. ดูแลการตลาดอย่างใกล้ชิด

จ็อบส์ให้ความสำคัญกับการทำการตลาดเป็นอย่างมาก โดยแอปเปิลจะไม่มีการจ้างบริษัทอื่นเพื่อมาทำการวิจัยทางการตลาด แต่พวกเขามีทีมเป็นของตัวเองในการรับผิดชอบเรื่องนี้



6. ควบคุมสาส์นที่จะสื่อออกไปถึงผู้บริโภค

ซึ่งแอปเปิลจะมีวิธีการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และการประชาสัมพันธ์บริษัทที่แตกต่างจากบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด



7. สิ่งเล็กๆน้อยๆก็อาจสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้

พนักงานของแอปเปิลรู้ซึ้งถึงแนวคิดนี้เป็นอย่างดี ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ระหว่างการเปิดตัวไอโฟน 4 ซึ่งเป็นช่วงที่พนักงานทุกคนทำงานอย่างหนัก ผู้บริหารก็สั่งอาหารอย่างดีมาให้ บางสาขาถึงกับลงทุนจ้างพนักงานนวดมาเพื่อนวดคลายเส้นให้แก่พนักงานของแอปเปิลโดยเฉพาะ



8. อย่าปล่อยให้คนทำงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องปล่อยให้พวกเขาทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

จ็อบส์เคยกล่าวเอาไว้ว่า หน้าที่หลักของเขาคือทำยังไงให้พนักงานทำงานดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคำตอบก็คือ เขาจะต้องคอยผลักดันให้พนักงานทุกคนก้าวหน้า



9. เมื่อคุณค้นพบว่าสิ่งนั้นทำแล้วได้ผล จงทำต่อไปเรื่อยๆ

แอปเปิลเป็นบริษัทที่ทำในสิ่งที่ตนเองถนัด และพัฒนาจนสิ่งนั้นๆล้ำหน้ากว่าคนอื่น



10. การคิดต่าง

จ็อบส์เคยกล่าวไว้ในงานวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดว่า อย่าปล่อยให้เสียงหรือความคิดของคนอื่น ดังกว่าเสียงหรือความคิดของตัวคุณเอง ดังนั้น ไม่ว่าสิ่งที่คุณคิดจะแตกต่างจากคนอื่นแค่ไหน จงเชื่อมั่นและทำต่อไป



หวังว่าคงมีประโยชน์กับทุกๆคนนะครับ...




 

Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2555    
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2555 7:18:20 น.
Counter : 4951 Pageviews.  

การพัฒนาทักษะความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน

พลตรี เอนก แสงสุก

วิเคราะห์ศัพท์

การพัฒนา -- การทำให้ดีขึ้น เจริญขึ้น ทันสมัยขึ้น ก้าวหน้าขึ้น

ทักษะความคิด -- ความชำนาญในการคิด

การปรับปรุงงาน -- การทำให้งานดีขึ้น รวดเร็วขึ้น เรียบร้อยขึ้น


สรุปเป็น “การทำให้เกิดความชำนาญในการคิดเพื่อการปรับปรุงงาน”


๑. วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงงาน

๑.๑ ทำไมบุคลากรภาคเอกชนจึงคิดปรับปรุงงานอยู่เสมอ ?

- เพราะเป็นการแข่งขันกันนำเสนอสิ่งที่ดีกว่า

- เพราะผู้บริโภคชอบอะไรใหม่ ๆ เสมอ

- เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น

- พนักงานทุกคนได้รับแบ่งปันผลกำไรในรูปโบนัส

- ถ้าไม่ปรับปรุงงานอยู่เสมอ อาจถูกเชิญออก ให้ออก ไล่ออก

- ขั้นตอนการทำงานน้อย

- ผู้ตัดสินใจน้อย

- ค่าตอบแทนสูง

- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น





๑.๒ ทำไมบุคลากรภาครัฐจึงคิดปรับปรุงงาน หรือดำเนินการปรับปรุงงานได้น้อยกว่าภาคเอกชน ?

- เพราะเป็นงานบริการ ไม่ใช่ธุรกิจหากำไร ไม่มีการแข่งขัน

- เพราะผลที่ได้รับจากการพัฒนาเป็นเพียง “ความพอใจ” ของผู้ใช้บริการ ไม่ใช่ “ผลกำไร”

- บุคลากรภาครัฐกินเงินเดือน ไม่ได้รับเงินเพิ่มจากผลกำไร

- ถ้าไม่ปรับปรุงงาน ก็ไม่มีการเชิญออก ให้ออก ไล่ออก เว้นแต่กระทำผิดวินัยร้ายแรง

- งานบางงานต้องใช้งบประมาณราชการ ถ้าได้น้อยก็ปรับปรุงได้น้อย

- มีระบบพวกพ้อง

- เป็นองค์กรขนาดใหญ่

- มีสายการบังคับบัญชา และขั้นตอนการตัดสินใจมาก

- ความรู้ความสามารถของบุคลากรบางส่วนสู้ภาคเอกชนไม่ได้

- หัวหน้างานบางคนไม่รับฟังความคิดเห็นลูกน้อง

- ถูกปลูกฝังความคิด หรือรูปแบบการทำงาน โดยคนรุ่นก่อน

- มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มาก

- เปลี่ยนนโยบายตามผู้บริหารอยู่เสมอ

- มีการโกงกิน

- กลัวว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เพิ่มงาน เพิ่มภาระ


๑.๓ ทำไมจึงต้องปรับปรุงงาน ?

- เพื่อให้งานดีขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น มากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น

- เพื่อให้ได้ผลงานมากขึ้น ได้ผลกำไรมากขึ้น

- เพื่อให้ได้รับความสนใจ ความพอใจจากผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการมากขึ้น

- เพื่อลดต้นทุน ลดขั้นตอน

- เพื่อช่วยพัฒนาองค์กร และประเทศชาติโดยรวม



๒. การพัฒนาความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน

- ต้องพัฒนาทั้งความคิดของ ๑. ตัวเอง ๒. หัวหน้าหน่วยรองหรือลูกน้อง

๒.๑ การพัฒนาความคิดของตัวเอง

- จะปรับปรุงงานต้องปรับปรุงตัวเองก่อน เพราะจะไม่ได้รับ “ความร่วมมือ - ร่วมใจ”
หรืออาจได้รับแต่ “ความร่วมมือ” ไม่ได้รับ “ความร่วมใจ”

- ต้องเริ่มที่ใจ
-- ตั้งใจที่จะคิด ที่จะริเริ่ม

-- ตั้งใจว่าจะไม่ทำงานแบบตั้งรับ

-- ตั้งใจว่าจะทำงานเชิงรุก

-- ตั้งใจว่าจะริเริ่มพัฒนาไม่หยุดนิ่ง

-- ตั้งใจว่าจะสู้ไม่ถอย

-- ตั้งใจว่าจะเป็น “คนแก่ความรู้ ใช่อยู่นาน”

-- ตั้งใจว่าจะไม่ทำงานแบบ “ทำอาหารตามสั่ง”

-- ตั้งใจที่จะยอมรับฟังความคิดของผู้อื่น


- ปรับทัศนคติตัวเองและลูกน้อง

-- ไม่ควรคิดว่ายิ่งริเริ่มยิ่งเพิ่มงาน ยิ่งเหนื่อย

-- เลิกคิด เลิกพูดว่า “เรื่องที่แล้ว ครั้งที่แล้ว ปีที่แล้ว เขาก็ทำกันมายังงี้”

-- ไม่คิดว่า จะเกษียณแล้ว ใครอยากทำอะไรก็ทำไป

-- ไม่คิดว่า ทำงานไปเรื่อย ๆ ไม่ได้หวังสองขั้น ใครอยากได้ก็ทำไป

-- เปิดใจรับความคิดใหม่ของคนใหม่ ไม่คิดว่าตัวเองอยู่มาก่อน

-- คิดว่าทุกคนมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ปล่อยให้หัวหน้าคิดคนเดียว

-- คิดว่าการปรับปรุงงานจะทำให้ช่วยทหารผ่านศึกได้ดีขึ้น เร็วขึ้น มากขึ้น

-- คิดว่าการปรับปรุงงานอาจทำให้ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ลดขั้นตอน ได้



- เมื่อ “ทำใจ” และ “ปรับทัศนคติ” ได้แล้ว จึงเริ่มพัฒนาความคิดที่จะปรับปรุงงานต่อไป

- วิธีที่ ๑ โดยการตั้งใจว่า

-- จะทำวันนี้ให้ดีกว่าวันก่อน

-- จะทำงานนี้ให้ดีกว่างานที่แล้ว

-- จะทำเรื่องนี้ให้ดีกว่าเรื่องที่แล้ว

- วิธีที่ ๒ โดยการถามตัวเองอยู่เสมอว่า

๑. งานในหน้าที่ ทำครบถ้วน ถูกต้อง รวดเร็ว ไม่ผิดพลาด ไม่บกพร่องแล้วหรือยัง

๒. วิธีทำให้เร็ว ให้มาก ให้สะดวก ให้สมบูรณ์ กว่านี้ มีหรือไม่

๓. จะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือทหารผ่านศึก ได้มาก ได้สะดวก ได้รวดเร็วกว่านี้อีก

๔. หน่วยงานอื่นที่ทำงานลักษณะเดียวกับเรา เขาทำอย่างไร


- วิธีที่ ๓ โดยการใช้หลักอริยสัจสี่พิจารณาทุกเรื่อง (หรือหัวข้อการเขียนข้อพิจารณาของ
ฝ่ายอำนวยการ)

๑. ทุกข์ - ปัญหา (มีข้อขัดข้องอะไรในการทำงาน)

๒.เหตุให้เกิดทุกข์ - ข้อเท็จจริง (ข้อขัดข้องนั้นเกิดจากอะไร)

๓.ทางสู่ความดับทุกข์ - ข้อพิจารณา (มีทางแก้ข้อขัดข้องอย่างไรบ้าง)

๔.วิธีการพ้นทุกข์ - ข้อเสนอ (ทางแก้ข้อขัดข้องที่ดีที่สุดคืออะไร)

- สำรวจตัวเองหรือหน่วยงานว่า ทำงานเต็มที่ เต็มเวลา แล้วหรือยัง ทำไมจึงถูกตำหนิว่า
ไม่เรียบร้อย ว่าช้า --- ดูที่ คน + เครื่องมือ ในเรื่อง ความพอเพียง ประสิทธิภาพ แล้วแก้ให้ตรงจุด

-- คนไม่พอขอเพิ่ม บรรจุ จ้างเพิ่ม

-- คนไม่มีประสิทธิภาพ -- ว่ากล่าวตักเตือน ฝึกสอน สับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย
ส่งคืน

-- เครื่องมือ -- ไม่พอ - ขอเพิ่ม เก่า - ขอใหม่ ใช้เครื่องมือแทนคน

- ดูตัวอย่างความคิดที่ดีของ คนอื่น หน่วยงานอื่น ของ ผู้บังคับบัญชา นำมาประยุกต์ใช้

- ประสานงาน พูดคุย ขอดูงาน หน่วยงานอื่นที่ทำงานลักษณะเดียวกัน แล้วนำมาพิจารณาใช้

- พยายามคิดเสมอว่า งานที่ทำอยู่ จะนำคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีอื่นเข้ามาช่วยได้หรือไม่
อย่างไร

- สังเกตการคิดของผู้บังคับบัญชา ฝ่ายอำนวยการ หรือบุคคลสำคัญ เป็นตัวอย่าง

- ไม่ยึดติดกับระเบียบข้อบังคับหรือตัวอักษรเกินไป เพราะระเบียบเหล่านั้นก็เกิดจากความคิดของคนในยุคก่อน ๆ หากเรามีความคิดดีกว่าก็อาจเสนอแก้ไขได้ ให้เหมาะกับยุคสมัย

- ใช้การระดมความคิดภายในหน่วยงาน เพื่อร่วมกันหาวิธีที่ดีที่สุด

- คิดทำงานเชิงรุก เหมือนการรบในสนาม จุดไหนอ่อนต้องจัดกำลังเสริม ใครอ่อนล้าต้อง
เปลี่ยนตัว สับเปลี่ยนหน้าที่กันบ้าง

- คิดวาดมโนภาพลำดับงานแต่ละงาน ตั้งแต่ต้นจนจบ ว่าจะเกิดปัญหาข้อขัดข้องอะไรบ้าง
แล้วหาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า ไม่รอให้เกิดปัญหาก่อน

๒.๒ การพัฒนาความคิดของหัวหน้าหน่วยรองหรือลูกน้อง

- เป็นหัวหน้าต้องพัฒนาความคิด ทั้งของตัวเอง และของหัวหน้าระดับถัดลงไป โดยการ
ถามความเห็น เรียกมาหารือ สั่งให้ไปคิดมาคุยกัน หรือคิดมาเสนอในที่ประชุม

- สั่งงานแบบมอบภารกิจ ไม่ต้องสั่งวิธีปฏิบัติ (ถึงแม้เราจะรู้วิธีปฏิบัติในเรื่องนี้มาก่อน)

- มอบให้เขารับผิดชอบ เพื่อฝึกให้คิด ไม่ใช่โยนความรับผิดชอบ ให้ลูกน้องทำการแทน (เรื่องที่อาจถูกนายตำหนิ) โดยอ้างว่า “เพื่อฝึกความคิดลูกน้อง”

- เป็นหัวหน้าอย่าแย่งหัวหน้าหน่วยรองคิดเสียทั้งหมด ฝึกให้เขาคิดเองบ้าง

- เป็นหัวหน้าอย่ารอฟังแต่ความคิดของนาย เราก็ต้องเตรียมคิดไว้เสนอ

- เปิดโอกาสให้ลูกน้อง แสดงความคิดเห็น เสนอแนะในการปรับปรุงงานได้ ทั้งอย่างเป็น
ทางการและไม่เป็นทางการ

- เมื่อลูกน้องเสนอความคิด ต้องสนใจให้ความสำคัญ กล่าวชมให้กำลังใจไว้ก่อน รับฟังไว้ก่อน ถ้าเราเห็นจุดอ่อน ก็ถกแถลงกันด้วยเหตุผล ไม่พูดให้เขาเสียกำลังใจ

๓. การสร้างนิสัยหรือวิธีฝึกให้เป็นคนช่างคิด

๑. ฝึกคิดจากเรื่องส่วนตัวในชีวิตประจำวัน หาทางใหม่ วิธีใหม่ -- การขับรถ

๒.ดูทีวี หนังสือพิมพ์ แล้วคิดตาม ทั้งข่าว ทั้งโฆษณา

๓. พบเห็นใครทำอะไร ลองคิดในใจว่า เรื่องนี้งานนี้ถ้าเป็นเราจะทำยังไง อย่าคิดว่า
“ธุระไม่ใช่”

๔. ลองแสดงความคิดเห็นในอินเตอร์เน็ตดูบ้าง แต่ให้มีสาระในลักษณะ “เสนอแนะเพื่อสร้างสรรค์” ไม่ใช่ “ตั้งกระทู้เพื่อระบายอารมณ์”



๔. เทคนิควิธีที่จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงงาน

- สอบถาม ปัญหา ข้อขัดข้อง และคำแนะนำ จากผู้ที่เคยทำงานนั้น ๆ มาก่อน หรือดำรง
ตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ มาก่อนเรา

- ศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกัน ที่เคยทำมาก่อนแล้ว นำปัญหาข้อขัดข้องมาแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำ
คิดปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ไม่คิดว่า “เอาเหมือนเดิม” ไปเสียทุกเรื่อง (แต่ถ้าของเดิมดีแล้วก็ใช้ได้)

- งานสำคัญ เมื่อจบภารกิจแล้ว ควรมีการรายงานสรุปผลการดำเนินงาน และปัญหา
ข้อขัดข้อง กับข้อเสนอแนะในการแก้ไขในครั้งต่อไป (ต้องเปลี่ยนทัศนะคติว่า หากรายงานว่าหน่วยเรา

หรืองานที่เรารับผิดชอบมีปัญหาข้อขัดข้อง จะถูกผู้บังคับบัญชามองไม่ดี)

- เมื่อถึงครั้งต่อไปหรือปีต่อไปจะทำงานนั้นอีก ก็ควรนำรายงานนั้นมาพิจารณา หรือกำหนดเป็นหัวข้อหรือระเบียบวาระการประชุม ก่อนแบ่งมอบงานครั้งใหม่

- ทำแฟ้มบันทึกหรือถ่ายเอกสาร เรื่องที่เคยถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิ ทั้งของเราและหน่วยอื่น และหาทางแก้ไขไม่ให้ผิดซ้ำ ไม่ปล่อยให้ลืมเลือนไปตามกาลเวลา

- ทำแฟ้มบันทึกคำพูดของผู้บังคับบัญชาที่เป็นลักษณะ “นโยบายหรือความคิด” แล้วหาทาง
ทำให้ได้ตามนโยบายหรือความคิดนั้น

- การ “เตรียมการ” และ “การซักซ้อม” ที่ดี จะทำให้เห็น “ปัญหาข้อขัดข้อง” ก่อนถึงวันจริง ซึ่งสามารถนำมา “ปรับแผน” หรือ “ปรับปรุงงาน” ได้



๕. การปรับปรุงงาน

๕.๑ หลักการ

- ลดขั้นตอน

- รวมงานลักษณะเดียวกัน

- บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One stop service)

- กระจายการบริการให้เพียงพอ

- ระดมทรัพยากร

- ใช้สายการบังคับบัญชา

- ใช้เทคโนโลยี

- ทำงานได้โดยต่อเนื่อง

- จัดระบบจัดระเบียบ

- รับฟังความคิดเห็น

๕.๒ วิธีการ

- ลดขั้นตอน ได้แก่ ลดขั้นตอนเอกสาร มอบอำนาจการอนุมัติและลงนาม ฯลฯ

- รวมงานลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น งานกำลังพล งานกรรมวิธีข้อมูล ของสองหน่วย

- บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เช่น ใช้เจ้าหน้าที่จำนวนน้อยให้บริการได้ทุกเรื่อง ฯลฯ

- กระจายการบริการให้เพียงพอ เช่น ตำบลจ่ายยาของโรงพยาบาล ห้องสมุดของสถานศึกษาขนาดใหญ่ ตู้เอทีเอ็ม โต๊ะเขียนคำร้องพร้อมตัวอย่าง ฯลฯ

- ระดมทรัพยากร เช่น บางสถานการณ์หรือบางภารกิจ อาจต้องทำงานแบบ “รวมการ”
โดยการระดมเจ้าหน้าที่หรือเครื่องมือของทุกหน่วยช่วยกันทำงานนั้น

- ใช้สายการบังคับบัญชา บางงานต้องยึดถือสายการบังคับบัญชา ไม่ก้าวก่าย ไม่ข้ามขั้นตอน

- ใช้เทคโนโลยี เช่น บันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์แทนการจดบันทึกด้วยมือลงเอกสาร
การออกใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ

- ทำงานได้โดยต่อเนื่อง ได้แก่ มอบงานหนึ่ง ๆ ให้มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อยสองคนเพื่อให้
ทำงานแทนกันได้เมื่ออีกคนหนึ่งไม่อยู่ การให้บริการโดยไม่มีการพักเที่ยง เตรียมการทำงานบางเรื่อง
เมื่อไฟฟ้าดับโดยใช้กระดาษ ปากกา เครื่องพิมพ์ดีด

- จัดระบบจัดระเบียบ ได้แก่ จัดระบบงานให้สั้น สะดวก รวดเร็ว แก่ผู้มาติดต่อ จัดระบบการเดินเอกสาร จัดระเบียบการเก็บข้อมูลและเอกสารให้ค้นหาง่าย ให้เป็นส่วนกลางไม่เก็บตามโต๊ะหรือตู้ส่วนตัว

- รับฟังความคิดเห็นของทั้ง ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้มาติดต่อ เช่น ติดตั้งตู้รับความคิดเห็น ฯลฯ แล้วนำมาพิจารณาปรับปรุง พัฒนางาน ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้น









๖. สรุป

- การพัฒนาทักษะความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน ต้องเริ่มที่ใจ ทำใจ เปิดใจ ตั้งใจ

- ต้องปรับทัศนคติทั้งของตัวเองและลูกน้องให้สนใจที่จะคิดเพื่อปรับปรุงงาน

- ต้องพัฒนาทักษะความคิดทั้งของตัวเองและลูกน้อง

- โดยการถามตัวเองอยู่เสมอว่า

๑. งานในหน้าที่ ทำครบถ้วน ถูกต้อง รวดเร็ว ไม่ผิดพลาด ไม่บกพร่อง
แล้วหรือยัง

๒. วิธีทำให้เร็ว ให้มาก ให้สะดวก ให้สมบูรณ์ กว่านี้ มีหรือไม่

๓. จะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้คลายทุกข์กายทุกข์ใจ ได้มาก ได้สะดวก ได้รวดเร็ว กว่านี้อีก

๔. หน่วยงานอื่นที่ทำงานลักษณะเดียวกับเรา เขาทำอย่างไร

- แนวทางการปรับปรุงงาน ได้แก่

๑. ลดขั้นตอน ๖. ใช้สายการบังคับบัญชา

๒. รวมงานลักษณะเดียวกัน ๗. ใช้เทคโนโลยี

๓. บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ๘. ทำงานได้โดยต่อเนื่อง

๔. กระจายการบริการให้เพียงพอ ๙. จัดระบบจัดระเบียบ

๕. ระดมทรัพยากร ๑๐. รับฟังความคิดเห็น




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2554    
Last Update : 3 มิถุนายน 2554 2:24:47 น.
Counter : 4160 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.