water footprint ประโยชน์หรือโทษกับประเทศไทย
ข้อสังเกตให้พิจารณาเพิ่มเติม

"ฝากข้อสังเกตไว้ด้วยว่าการมี water footprint
จะเป็นประโยชน์หรือจะเป็นโทษกับประเทศไทยกันแน่
ด้วยความที่เทคโนโลยีการผลิตบ้านเราล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ
สังเกตว่าผลผลิตข้าวต่อไร่เรายังต่ำกว่าเวียดนามเลย
โอกาสที่เกษตรกรบ้านเราจะได้ประโยชน์จากตรงนี้
โดยทำได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนั้น น่าจะมีมากน้อยแค่ไหน"

อาจจะฟังดูใจร้ายไปหน่อย แต่คงต้องบอกว่าตอนที่คิดจะทำวิจัยชุดนี้ เป้าหมายคือทำเพื่อ “โลก” ใบนี้ค่ะ นั่นคือ การรักษ์ทรัพยากรนำ้ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของใครเป็นเฉพาะ หากบางภาคส่วนของไทยจะเสียประโยชน์ไปบ้าง แต่ "นำ้" ในองค์รวม ได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น ให้คุณค่ามากขึ้น ก็คิดว่าพอใจค่ะ

ประกอบกับประสบการณ์ที่พบจาก Carbon footprint ค่ะ (กว่าจะมาถึงจุดนี้ ใช้เวลากว่า 20 ปี ส่วน water footprint เพิ่งมีอายุ 7-8 ปี) ซึ่งเริ่มที่ EU เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว จนตอนนี้ไทยก็เริ่มตื่นตัวเรื่องนี้กันมาก

อีกทั้งหาก EU มีการรณรงค์ใช้ ฉลากนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมการใช้นำ้ในการผลิต ไม่ช้าก็เร็ว ไทยก็ต้องตอบสนอง ดังนั้น หากเรามีการเตรียมพร้อมไว้ก่อน ก็จะเป็นการดี ซึ่งหากจะเริ่มใช้ เท่าที่มอง บริษัทส่งออกอาหารขนาดใหญ่ ต้องริเริ่มเป็นกลุ่มแรก ที่มีเงินทุนรองรับ เตรียมพร้อมในการปรับปรุงการผลิต รวมถึงเทคโนโลยีที่จำเป็น

เท่าที่เห็น CPF มีศักยภาพที่จะสามารถทำได้ เพราะมีการผลิตเป็นองค์รวม สายการผลิตของเค้ามีตั้งแต่เริ่มผลิตอาหารสำหรับสัตว์ จนไปถึงส่งออกเป็นอาหาร อีกทั้ง ยังมีการทำ carbon footprint บนเนื้อไก่
บริษัทขายอาหารแช่แข็งที่เยอรมนีเป็นลูกค้าเนื้อไก่ของ CP ค่ะ (เคยได้เข้าไปดูการผลิตของเค้ามา เค้าบอกว่าไก่มาจากไทย และขายในตลาดระดับสูง เพราะราคาแพงกว่าปกติ)

ประเด็นต่อมาคือ แล้ว SMEsกับเกษตรกรรายย่อยล่ะ?
ขอตอบว่า เท่าที่มีข้อมูลตอนนี้นั้น กลุ่มนี้คงมีจำนวนไม่มากที่กลุ่มลูกค้าคือ EU ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ ซึ่งผู้บริโภคทั่วไปคงไม่ค่อยใส่ใจหรือเจาะจงที่จะซื้อสินค้าที่ "ดีต่อสิ่งแวดล้อม" เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มเพื่อสุขภาพ (เช่น organic) หรือ เพื่อลดต้นทุนในการใช้งาน (ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5)

หากจะเทียบสามารถเทียบได้กับฉลาก Fair Trade ที่คนยินดีจ่ายเงิน เพื่อสวัสดิการที่ดีขึ้นของผู้ผลิตในแอฟริกา หรือสนับสนุนให้ไม่มีการใช้แรงงานเด็กในการผลิต เปรียบเสมือน หากเทียบ Water Footprint กับ Fair trade ก็เหมือนการทำบุญค่ะ แบบแรกคือทำให้กับธรรมชาติ อย่างที่สองให้กับมนุษย์ที่ด้อยโอกาสค่ะ



Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2554 20:59:22 น.
Counter : 1013 Pageviews.

3 comments
  
ขอทราบถึงข้อดี ข้อเสียของ water footprint หน่อยได้มั้ยค่ะ
โดย: เด็กน้อยม.3 IP: 58.8.94.10 วันที่: 4 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:52:44 น.
  
ข้อดี ข้อเสียในแง่ไหนคะ?

water footprint เป็นเครื่องมือที่ระบุว่า กิจกรรมของมนุษย์ส่งผลกระทบอย่างไรต่อทรัพยากรน้ำบ้าง

ข้อดีมีอยู่มาก แต่ก็มีข้อจำกัดเช่นกัน

ขออนุญาตมาตอบอย่างละเอียดพรุ่งนี้นะคะ
โดย: pHaiyLueNa วันที่: 6 กรกฎาคม 2554 เวลา:4:41:46 น.
  
Water footprint คือเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์การใช้น้ำจืดในมุมมองที่ ว่าน้ำจืดเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและมลภาวะที่เกิดจากการใช้ ทรัพยากรน้ำ แต่ไม่ได้บอกถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องน้ำท่วม, climate change, การเสื่อมถอยของแร่ธาตุ, การลดลงของพื้นที่อยู่อา ศัย, พื้นที่ทำกินถูกจำกัดหรือดินเสื่อมสภาพ และไม่ได้กล่าวถึงผล กระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน ขาดแคลนการเข้าถึง แหล่งน้ำสะอาด การจ้างงาน หรือสวัสดิการทางสังคม (ที่มา: Hoekstra et al., 2011)
โดย: pHaiyLueNa วันที่: 7 กรกฎาคม 2554 เวลา:4:11:51 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pHaiyLueNa
Location :
Lüneburg  Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



New Comments