imagination explosion
Group Blog
 
All Blogs
 

หนังสือ100ดีเล่ม ภาพสะท้อนการเสพย์วรรณกรรม

โอเค รู้ว่าไม่ชอบอะไรยาวๆ เอาไป50เล่มพอ

1. The Lord of the Rings, JRR Tolkien
2. Pride and Prejudice, Jane Austen
3. His Dark Materials, Philip Pullman
4. The Hitchhiker's Guide to the Galaxy, Douglas Adams
5. Harry Potter and the Goblet of Fire, JK Rowling
6. To Kill a Mockingbird, Harper Lee
7. Winnie the Pooh, AA Milne
8. Nineteen Eighty-Four, George Orwell
9. The Lion, the Witch and the Wardrobe, CS Lewis
10. Jane Eyre, Charlotte Brontë
11. Catch-22, Joseph Heller
12. Wuthering Heights, Emily Brontë
13. Birdsong, Sebastian Faulks
14. Rebecca, Daphne du Maurier
15. The Catcher in the Rye, JD Salinger
16. The Wind in the Willows, Kenneth Grahame
17. Great Expectations, Charles Dickens
18. Little Women, Louisa May Alcott
19. Captain Corelli's Mandolin, Louis de Bernieres
20. War and Peace, Leo Tolstoy
21. Gone with the Wind, Margaret Mitchell
22. Harry Potter And The Philosopher's Stone, JK Rowling
23. Harry Potter And The Chamber Of Secrets, JK Rowling
24. Harry Potter And The Prisoner Of Azkaban, JK Rowling
25. The Hobbit, JRR Tolkien
26. Tess Of The D'Urbervilles, Thomas Hardy
27. Middlemarch, George Eliot
28. A Prayer For Owen Meany, John Irving
29. The Grapes Of Wrath, John Steinbeck
30. Alice's Adventures In Wonderland, Lewis Carroll
31. The Story Of Tracy Beaker, Jacqueline Wilson
32. One Hundred Years Of Solitude, Gabriel García Márquez
33. The Pillars Of The Earth, Ken Follett
34. David Copperfield, Charles Dickens
35. Charlie And The Chocolate Factory, Roald Dahl
36. Treasure Island, Robert Louis Stevenson
37. A Town Like Alice, Nevil Shute
38. Persuasion, Jane Austen
39. Dune, Frank Herbert
40. Emma, Jane Austen
41. Anne Of Green Gables, LM Montgomery
42. Watership Down, Richard Adams
43. The Great Gatsby, F Scott Fitzgerald
44. The Count Of Monte Cristo, Alexandre Dumas
45. Brideshead Revisited, Evelyn Waugh
46. Animal Farm, George Orwell
47. A Christmas Carol, Charles Dickens
48. Far From The Madding Crowd, Thomas Hardy
49. Goodnight Mister Tom, Michelle Magorian
50. The Shell Seekers, Rosamunde Pilcher

ดูรายชื่อหนังสือต่อ

//www.bbc.co.uk/arts/bigread/top100.shtml

ต่อจากนี้เป็นการบ่นยาว อ่านแล้วน่าจะไม่สนุก แต่น่าให้ความสนใจและน่าคิด มากกว่าจะมุ่งให้ความเพลิดเพลิน

ทีนี้ เอามานี่ได้ประโยชน์อะไร ง่ายๆ อย่างน้อยก็ได้ผ่านตาชื่อหนังสือหรือนักเขียนที่(เขาว่า)ดี เพิ่มขึ้นอีกตั้งเยอะ กวาดตาแค่แป๊บเดียวก็ขยายพื้นที่ทางปัญญาได้อีกพอสมควร อีกแง่ก็เหมือนกับเป็นการทบทวนตัวเองว่า เอ ที่ฉันเสพย์วรรณกรรมเนี่ย ที่เขาว่าดีดีกันเนี่ย ฉันเคยเสพย์มันมั่งไหมนะ อ่านแล้วเป็นยังไง ชอบไหม ดีอย่างราคาคุยรึเปล่า

มาดูที่ลำดบกันบ้าง ลำดับบอกอะไรเรา ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่าลำดับนี้มาจากคนรักหนังสือที่โหวตหนังสือจนเกิดเป็นการ จัดลำดับโดยBBC สิ่งที่ถูกสะท้อนออกมาคือ "รสนิยม" การอ่านงานโดยรวมของฝรั่งเขาน่ะครับ การที่โหวตออกมาขนาดนี้ ไม่น่าแปลกใจที่ในอันดับต้นๆจะมีงานbest seller อย่างแฮรี่พ๊อตเตอร์หรือLTOR แต่ที่น่าสนใจ และน่าแปลกใจยิ่งกว่านั้นคือ ในอันดับมีงานวรรณกรรมในระดับวรรณคดีปะปนอยู่มากเหมือนกัน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นงานที่ได้รับการการันตีว่า "เลอค่า" ในแต่ละยุคสมัย แสดงว่าอะไรครับ มันแสดงว่าในสังคมยุคปัจจุบัน ประชากรของเขายังคง "รู้จัก" และ "เสพย์" งานชั้นยอดเหล่านี้อยู่ และพวกเขา "โหวต" ซึ่งแปลว่่าพวกเขาเห็นคุณค่าและสามารถซาบซึ้งและเข้าใจสิ่งต่างๆที่อยู่ใน ตัวอักษรเหล่านั้นได้

เช่นงานของ เจนส์ ออสเทน ที่มาเป็นอันดับ2! งานเก่าแก่และเลอค่าที่โดดเด่นทั้งการใช้ภาษา และคุณค่าในเนื้อหาได้รับการโหวตให้อยู่เหนือแฮรี่พ๊อตเตอร์ !! นอกจากนี้งานสำคัญๆ ตัวแทนของแต่ละสมัยก็โผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ 1984 ของเออเวลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบของนวนิยายอเมริกันสมัยใหม่ งานนิยายแบบต่างๆของสามพี่น้องตระกูลบรองเต้ ภาพสะท้อนความยากลำบากในยุคตื่นเมืองของดิกเก้น เรื่องยาวเหยียดแต่มันคือการเรียนรู้ความเป็นมนุษย์อย่างสงครามและสันติภาพ ของ ลีโอ ตอส์ตอย ต้นแบบของงานนวนิยายแบบโกธิคอย่างเค้าท์ มอนเตคริสโต งานเขียนเขียนเปรียบเทียบเสียดสีสังคมอย่างแอนนิมอลฟาร์มบลา บลา บลา

น่าประทับใจจริงๆ การอ่านงานของสุดยอดปราชญ์ของแต่ละยุค มันคือการ "แหก" โลกทัศน์ของคนอ่านให้ทั้งกว่าง ลึกและละเอียด มันทำให้เราเข้าใจโลก เข้าใจสังคม และเข้าใจมนุษย์มากขึ้น นี่แหละคือประโยชน์ของการเสพย์วรรณกรรมชั้นยอด มันเหมือนกับเราได้เห็นโลกผ่านสายตาของบุคคลที่ยอดเยี่ยมในแต่ละยุคสมัย ได้เข้าใจสิ่งที่พวกเค้าคิิด

ซึึ่งไม่ได้หมายความว่าเมืองไทยด้อยกว่ามากหรืออะไรนะ คนที่เสพย์วรรณกรรมเพื่อนสุนทรียะและการเรียนรู้ยังมีอยู่ แต่นับโดยรวมแล้วถือว่าน้อยมาก มันน่าสนใจนะว่ามันจะเกี่ยวข้องกับภาพรวมของการพัฒนารึเปล่า วรรณกรรมให้อะไรกับผู้เสพย์ ผู้เสพย์ต้องการอะไรจากวรรณกรรม เมืองไทยเวลาว่างนั้นไม่สนใจคำว่าสุนทรียะ(โดยส่วนใหญ่)ไม่สนใจการเสพย์ ศิลปะที่มีความล้ำลึก สิ่งที่คนไทยชอบคืออะไรก็ได้ที่ง่ายๆ เร็วๆ ไม่ต้องคิดมาก และเป็นแบบฉบับดั้งเดิม เห็นได้จากละครน้ำเน่า และการผลิตซ้ำของเรื่องราวที่ขาดความลุ่มลึก

สิ่งนี้แตกต่างออกไปในประเทศที่พัฒนาแล้วโดยส่วนใหญ่ ประเด็นการพูดคุยของคนในสังคมคือการสะท้อนถึงสถานะ บทบาท และความคิด รวมไปถึงการศึกษาของแต่ละคน โดยเฉพาะอย่างยิ่น ชนชั้นที่เรียกตัวเองว่า "ชนชั้นกลาง" ถ้าคุณสถาปนาตนว่าเป็นชนชั้นกลาง นั่นหมายความว่าคุณเป็นคนมีการศึกษา มีเงินที่จะใช้ชีวิต และแน่นอนว่าต้องมีรสนิยมในระดับหนึ่ง(และรสนิยมนั้นก็ย้อนมาจากการศึกษาอีก ที) ดังนั้นประเด็นในการพูดคุยของชนชั้นกลางในฐานะของแรงผลักสำคัญของสังคมก็จะ มีการพูดคุยกัน(และถกเถียง)อย่างกว้างขวางในเรื่องที่เป็นประเด็นต่างๆ ครอบคลุม การเมือง ปรัชญา ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม เหตุการณ์ความเป็นไปของสังคม บลา บลา บลา ซึ่งทั้งหมดจะสดงออกถึงระดับความสนใจของคนคนนั้น และมุมมองที่มีต่อสิ่งรอบตัวต่างๆ

ซึ่งน่าคิดว่าในสังคมไทย การพูดประเด็นต่างๆ(ยกเว้นเรื่องการเมือง) แทบจะหาได้ยากมาก ประเด็นการพูดคุยสำคัญ(ซึ่งแสดงถึงความสนใจในอะไรอย่างของคนในสังคม)นั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่ ละครเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง พระเอกหล่อจริง นางเอกตบกับนางร้ายสนุกเหลือเกิน นักแสดง ก ไปมีชู้กับ ข ภาพหลุด นักร้องคนนั้น หนังเรื่องนี้นักแสดงหล่อจัง บลา บลา บลา แน่นอนว่าคนที่สถาปนาตัวเองว่าเป็นชนชั้นกลาง ก็ไม่มีทางที่จะพูดคุยกันเรื่อง "เออ แนวคิดในเรื่องสิทธิสตรีนี่มันยังไงนะ" "ว้าว วรรณกรรมเรื่องนี้สุดยอดเลย" "นี่เธอเคยอ่านบลาๆๆ ไหม ทำไมถึงเสนอแบบนั้นล่ะ เธอว่าไง"

ขอย้ำอีกครั้งว่านี่ไม่ใช่การพูดถึงทุกคน แต่กำลังพูดถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ คนกลุ่มที่ให้ความสนใจกับปรัชญาแนวคิด วรรณกรรม หรือวิทยาศาสตร์(หรืออะไรก็ตามที่มันsophisticatedหน่อย) มันมีน้อยมาก คนที่จะแบบ เฮ้ย นี่งานคุณวินทร์เล่มนี้สุดแล้วเลยนาย อ่านแล้วแบบ ซาบซ่านเห็นถึงภาพการใช้ชีวิต หรือแบบ โอว ใช่เลย งานคุณชาตินี่แหละ อ่านแล้วเราแบบ เห็นอีกมุมของสังคมเลย มันช่างหนอนจริงๆ หรือแบบ นี่เฮ้ย เหตุการณ์นั้นมันเป็นงี๊ๆ เออเหมือนในเรื่อง บลาๆ เลย เนี่ย เป็นเพราะความบีบคั้นทางสังคมชัวร์ ในเรื่องบลาๆ เนี่ยเหมือนกันเลย ฉันว่าชีวิตมันไร้จุดหมายนะนายว่าไง (พอเขียนไปแล้วก็รู้สึกแปลกดี เพราะยกตัวอย่างแบบสุดขั้ว แต่ขอบอกว่าฝรั่งคุยเรื่องพวกนี้แหละ ไม่เชื่อไปลองอ่านดู บริตเจตโจนส์ หรืออะไรก็ตาม ประเด็นการพูดคุยมันเป็นการบ่งบอกสถานะ รสนิยม และการศึกษา เหมือนมันบีบด้วยนะทำนองว่าถ้าคุณบอกว่าคุณมีการศึกษา คุณก็ควรสนใจอะไรแบบนี้ ไม่งั๊นคุณก็เป็นเลเบอร์ เลิกใช้สมองซะ(แบบนี้รึเปล่า มันถึงได้ก้าวไปไว))

น่าคิดนะว่าทำไมคนไทยถึงยี๊กับเรื่องพวกนี้ ชอบบอกว่าฉันทำงานหนัก อยากพักสมอง ดูแต่อะไรที่มันกลวงๆมั่ง ขี้เกียจคิด ขี้เกียจพัฒนาเซลสมอง(มันถึงได้ฝ่อลงทุกวัน?)

ไม่น่าแปลกหรอกที่เค้าจะบอกว่าคนไทยอ่านหนังสือ(ที่มีสาระและสนใจ สาระ)น้อยลงทุกวัน แถมรู้จักสิ่งดีๆที่มนุษย์สร้างสรรค์์ขึ้น น้อยลงทุกวัน




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2552    
Last Update : 30 ตุลาคม 2552 23:01:17 น.
Counter : 998 Pageviews.  

ลอยกระทงมาจากไหน, ไม่มีลอยกระทง ไม่มีนางนพมาศในสมัยสุโขทัย!

ลอยกระทงแล้ว ก็เขียนเรื่องเข้ากับเทศกาลลอยกระทงเสียหน่อย



จริงๆประเด็นนี้ออกจะเชยบ้างแล้ว แต่ก็ยังเห็นเอาข้อมูล(ที่เชย) ไปใช้อยู่ตามเวที หรืองานลอยกระทงต่างๆ



ที่มักจะบอกว่า ลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย



แต่จริงๆแล้ว สุโขทัยไม่มีลอยกระทง! ไม่มีนางนพมาศด้วย!



มันมีหนังสือโดยตรงคือ หนังสือของคุณสุจิตติ์ วงเทศ ไม่มีนางนพมาศ ไม่มีลอยกระทงในสมัยสุโขทัย

แต่ไม่เคยอ่าน

เท่า ที่เคยได้ยินมา ลอยกระทง มีหลักฐานมาจากตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือตำรับนางนพมาศ ที่"เคย"เชื่อกันว่าเป็นงานวรรณกรรมสมัยสุโขทัย (เอ หรือจะมีในสุภาษิตพระร่วง ซึ่งก็ "เคย" เชื่อว่าเป็นงานสุโขทัยเหมือนกัน) ดังนั้นพอพิสูจน์กันไปๆมาๆ จนกลายเป็นว่าวรรณคดีสุโขทัยสองเรื่องนี้ "ไม่ใช่" งานโบราณในสมัยสุโขทัยชัวร์ โดยดูจากสำนวนภาษา เทียบกับงานอื่นๆในยุค เช่นจารึกหรือไตรภูมิพระร่วง(อย่างเหมือนสมัยนี้ สำนวนภาษาที่เราเขียนมันก็ไม่เหมือนกับสำนวนภาษาในรุ่นแม่เราเขียน หรือแค่ย้อนไปเทียบกับสำนวนภาษาในสมัยรัชกาลที่5ก็ยิ่งไม่เหมือน แล้วนี่เป็นร้อยๆปีย่อมเปรียบเทียบได้ และนักวรรณคดีก็มีหน้าที่ในการแยกแยะสมัยด้วยตัวบทนี่แล) อีกอย่างคือเนื้อหามีแพลมๆ ที่จำได้ดีมากคือในตำรับนางนพมาศมีพูดถึงฝรั่งหัวทองที่มาจากอเมริกาด้วย ซึ่งเวลามันผิดกัน ถ้าแต่งในสมัยสุโขทัย อเมริกายังไม่เกิดเลย



อีกประเด็นนี่ยังไม่ชัวร์ แต่คำว่าตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์นี่มีจริงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือเป็นสนมลำดับที่สามหรือไงเนี่ย

ดัง นั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าคิดนะว่าวัฒนธรรมการประกวดนางนพมาศเนี่ย มันเหมาะรึเปล่า เพราะกำลังประกวดเพื่อชิงตำแหน่ง"สนม"ของพระเจ้าแผ่นดินกันอยู่นี่นา

น่าสนใจ

ดัง นั้น วัฒนธรรมการลอยกระทงมาจากไหน ถ้ามองในเชิงภูมิศาสตร์และลักษณะของประเพณีลอยกระทงแล้วก็ยิ่งเข้าทางว่า สุโขทัยไม่มีลอยกระทงหรอก มีแต่เผาเทียนเล่นไฟ เพราะลอยกระทงเป็นวัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้นกับแม่น้ำ แน่ล่ะลอยกระทงต้องไปลอยที่้น้ำไหลสิ ลอยในที่ที่เป็นน้ำนิ่ง ถึงเวลากระทงก็เน่าหมด สมัยก่อนใครจะมานั่งเก็บ แถมในสุโขทัยมีทำนบอยู่อันนึงชื่อสรีดภงค์ หรือที่เราเรียกว่า "ทำนบพระร่วง" อยู่อันเดียว แถมเป็นน้ำเอาไว้ใช้ในพระนคร "น้ำนั้นใสดังน้ำโขงเมื่อแล้ง" ถ้าพ่อขุนรามทรงให้เอากระทงไปลอย มีหวังน้ำกินน้ำใช้คงเน่าหมด เพราะสมัยก่อนคงไม่มีผู้ว่าดูแลเทศบาลให้คอยช้อนกระทงเป็นอีกอาชีพเหมือนทุก วันนี้

กลับมาที่ลอยกระทงมาจากไหน ถ้าดูไปวัฒนธรรมการนำอะไรซักอย่างมาลอยในน้ำเนี่ยทางตะวันออกของเราก็มีเป็น วัฒนธรรมร่วมกันทั้งนั้น (ในพื้นที่ที่มีน้ำไหลอย่างแม่น้ำ ดูคงคาเป็นต้น ลอยมันทุกอย่าง ศพเอย อะไรเอย ลอยเสร็จอาบ กิน สุดยอดจริงๆ) เท่าที่เคยทราบมา แต่เดิมนั้นประเพณีลอยกระทง ลอยเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า บูชารอยพระพุทธบาท สรุปว่าตอนแรกลอยกระทงก็มาจากการบูชาพระพุทธเจ้านั่นแหละ อืม ก็น่าจะจริง แล้วมาพัฒนาเป็นขอขมาแม่คงคาทีหลัง เพราะจริงๆจะขอขมาที่ทำน้ำเสีย โดยการเอาอะไรต่อมิอะไรไปลอยในน้ำก็แปลก ๆ(ลงมือเขียนแล้วก็ลืม ทั้งๆที่เคยได้ยินมาแล้ว พอไปเปิดดูก็จำไม่ได้ว่าไปจดไว้ไหน- -" ถ้าหาเจอจะมาแก้ไข จำได้คร่าวๆว่าเกี่ยวกับกรณีที่แม่พระธรณีบีบมวยผมเป็นน้ำำออกมาขจัดพญามาร ที่มาก่อกวนพระพุทธองค์)



สรุป เอนทรี่นี้ไม่มีอะไีรมาก แค่จะบอกว่าถ้าไปเจอตามงานบอกว่า ร่วมสืบสานประเพณี บลาๆๆ ที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย บลาๆๆ็ใหเบะปากแล้วมุบมิบว่า เค้าเลิกเชื่อไปตั้งนานแล้วย่ะว่าลอยกระทงมีมาตั้งแต่สุโขทัย แต่เผาเทียนเล่นไฟน่ะมี(เพราะมีโผล่ในจารึก) ชิ แถมตำรับนางนพมาศก็เป็นfictionที่แต่งใหม่ในสมัยหลังชัวร์(เกริ่นเนื้อหาของ ตำรับนางนพมาศมันก็มีเนื้อหาโดยรวมที่สมัยใหม่มากๆ เพราะนางนพมาศเป็นคนเล่า และพูดถึงผู้หญิงที่มีความสามารถและมีการศึกษา ฮ๊ะ แนวคิดแบบนี้มันสมัยใหม่ม่อกๆ)




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2552    
Last Update : 30 ตุลาคม 2552 22:54:54 น.
Counter : 566 Pageviews.  


Alovera
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




วรรณกรรมเชิญทางนี้ฮะ
หลังไมค์กดตรงนี้ได้เลยคร๊าบ
Friends' blogs
[Add Alovera's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.