Little drops of water, Little grains of sand Make the mighty Ocean, and the pleasant land. Little deeds of kindness, Little words of love Help to make Earth Happy, Like the Heven above.
Group Blog
 
All Blogs
 

Day by Day เพลงรักสุดคลาสสิก

วันนี้เจ้าของบล๊อกได้มีโอกาศ ฟังเพลงนี้ร้องสดๆโดยเพื่อนร่วมชั้น ที่เรียนเอก Voice เป็นหนุ่มเม็กซิกัน ซึ่งจริงๆก็ไม่ได้หล่อเหลาอะไร ออกจะบ้านๆ แถมกลมอีกต่างหาก แต่เป็นคนหน้ายิ้ม ดูอบอุ่นใจดี แต่เมื่อพี่ท่านออกไปร้องเพลง Day by day  หน้าชั้น เสียงอุ่นๆ กับเนื้อร้องหวานๆ ประสานกับเสียงเปียโน ทำเอาสาวๆในห้องกริ๊ดสลบ เทคะแนนให้ท่วมท้น  รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย ที่ถึงกับเคลิ้มกับเพลงนี้ไปทั้งวัน  จนทนไม่ได้ต้องมาอัพบล๊อก เพราะมันช่างเป็นเพลงรักโรแมนติกที่แสนจะลงตัวอะไรเช่นนี้    

Day by Day โดย Frank Sinatra


ฉบับของ Doris day ผู้หญิงร้องก็หวานโรแมนติกไปอีกแบบ 

เนื้อร้องหวานโดนใจมากๆ
Day by Day
Im falling more in love with you
And day by day
My love seems to grow
There isn't any end to my devotion
It's deeper, dear, by far
Than any ocean
I find that day by day
You're making all my dreams come true
So come what may
I want you to know
I'm yours alone
And I'm in love to this day
As we go through the years
Day by day

Im yours alone
And Im in love to this day
As we go through the years
Day by day

หลังจากอ่านเนื้อร้องแล้ว จึงตัดสินใจได้โดยไม่ลังเลเลยว่า เพลงนี้หล่ะ จะเอาไว้ร้องเป็นของขวัญวันครบรอบให้กับคนเคียงข้าง ในอีก 3 เดือนข้างหน้า แต่ไม่รู้ว่าจะอดใจเผยร้องให้ฟังก่อนไหมก็ไม่รู้ หุหุ




 

Create Date : 06 เมษายน 2555    
Last Update : 6 เมษายน 2555 10:51:00 น.
Counter : 1248 Pageviews.  

Violin Concerto No,1 : Bela Bartok



ในช่วงปี ค.ศ. 1907 ในตอนที่ Bartok พึ่งจะเริ่มต้นเป็นอาจารย์สอนเปียโนอยู่ที่ Budapest Acedemy of Music ที่นี่เขาได้มีโอกาสรู้จักกับนักไวโอลินสาว ที่ชื่อว่า Stefi Geyer Bartokผู้ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นหนุ่มโสด เมื่อได้พบกับนักเรียนไวโอลินสาวสวยผู้เก่งกาจ เขาจึงตกหลุมรักเธอในทันที


ต่อมา Bartok เริ่มออกเดินทางไปยังหมู่บ้านต่างๆในฮังการี เพื่อศึกษาเพลงพื้นบ้าน ดังนั้นความสัมพันธ์ของทั้งคู่ จึงถูกส่งผ่านหากันทางจดหมาย

ในระหว่างเดือน ก.ค. ปี 1907- ก.พ. 1908 Bartok ได้ถ่ายทอดความรู้สึกของเขาที่มีต่อ Geyer ผ่านทางบทเพลง Violin Concerto No.1 ซึ่งมีทั้งหมด 2 movement โดยใน movement ที่ 1 Bartok เริ่มต้นบทเพลงด้วยตัวโน๊ต 4 ตัว D-F#-A-C# ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของ Geyer แถม Bartok เองยังได้ให้วลีของ movement นี้ไว้ว่า “ Celestial and Inward” อีกด้วย



ส่วน Movement ที่ 2 Bartok ได้บรรยายถึง ลักษณะนิสัยของ Geyer ซึ่งเป็นคนเฉลียวฉลาด ร่าเริงแจ่มใส ซึ่งต่อมาตัว Geyer เอง ก็ได้ให้ความเห็นต่อ Movement นี้ว่า แสดงถึง หญิงสาวที่ Bartok หลงรัก และ นักไวโอลินที่เขาชื่นชอบ




ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1907 Bartok ได้มอบต้นฉบับบทเพลงนี้ให้แก่ Geyer แต่เป็นเรื่องน่าเศร้า ที่ต่อมาในเดือนเดียวกันนั้น เธอได้ส่งจดหมายขอยุติความสัมพันธ์กลับมา

Geyerไม่เคยเล่น Violin Concerto บทนี้ และต้นฉบับของเพลงนี้ก็หายสาบสูญไปจนกระทั่งเธอเสียชีวิตลงในปี 1956 ต้นฉบับจึงถูกค้นพบเก็บอยู่รวมกับจดหมายของเธอ


ดังนั้น บทเพลง Violin Concerto No.1 ฉบับนี้ จึงถูกบรรเลงขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจาก Bartok ประพันธ์เสร็จแล้ว มายาวนานถึงกว่า 50 ปี......


-------------------------------------------------The End--------------------------------------------------




 

Create Date : 30 กันยายน 2553    
Last Update : 30 กันยายน 2553 16:15:04 น.
Counter : 714 Pageviews.  

The Four season by Vivaldi

เพลงชุด The Four season อันโด่งดังของ Vivaldi หลายท่านคงทราบกันว่า Vivaldi ได้เขียนข้อความประกอบเพลงเอาไว้ด้วย พอดีใน Score ที่มีอยู่ หยิบมาดู เห็นมีเขียนบรรยายเอาไว้เหมือนกัน แยกเป็นท่อนต่างๆ บางครั้งก็เขียนตาม line ใน score เปิดดูโน๊ตและข้อความพลางฟังเพลงไป ก็เลยอยากจะแบ่งปันเจตนารมณ์ของ Vivaldi และจิตนาการต๊องๆของตนเองให้กับผู้อื่นได้ทราบมั่ง


สำหรับตัวกลอนภาษาอิตาลีฉบับดั้งเดิม ดูได้จากในเวปนี้ //www.baroquemusic.org/vivaldiseasons.html
ซึ่งมีแปลภาษาอังกฤษให้ด้วย เนื้อความโดยรวมจะคล้ายๆกับที่ลงใน blog นี้ แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดบางส่วน




Spring : Mov 1 Allegro


Spring has returned.

SONG OF THE BIRDS
All is gay, and the birds sing happily.


FLOWING FOUNTAIN
Fountains play in the breeze, constantly moving


THUNDER
The skies are dark; lightning flashes and thunder roars.


SONG OF THE BIRDS
After the storm, the birds return with their song.




Gidon Kremer สมัยผมยังดก กับ วง English Chamber Orchestra




Spring : Mov 2 Largo และ Mov 3 Allegro


THE SLEEPING GOATHED
On the flowered meadow, the goatherd and his dog roam among the blossoming trees.


The rustling of the leaf ---- line String ของวง Orchestra
The barking dogs ---- line ไวโอลินเดี่ยว ของ ผู้ชายที่นั่งสีไวโอลิน (เขาเขียนไว้งี้จริงนะคะ )



จบท่อน 2 ต่อท่อน 3 เลย

PASTORAL DANCE
Nymphs and shepherds dance to the bagpipes under the beautiful skies of spring




ท่อนนี้เปลี่ยนบรรยากาศมาดู Kyung Wha Chung เสียงไวโอลินหวานดี


Summer: move 1 Allegro non molto


LANGUISHING IN THE HEAT---- เริ่มต้นด้วยท่อนช้าหวานๆเหงาๆ
Man and beast wilt in the burning sun; even the evergreens fell the heat.


THE CUCKOO
The cuckoo sings loundly ---- แล้วจู่ๆความสงบก็ถูกเสียงเจ้านกเขาทำลายลงไป! ท่อนไวโอลินสีเร็วๆรัวๆ


THE DOVE
And the songs of the turtledove and goldfinch are ardent.----ท่อนไวโอลิน solo ช้า

THE GOLDFINCH ---- เปรียบเสียง trill ของ violin กับเสียงนก
The gentle breezes sigh


CHANGING WINDS---ลมฟัด ฟู่~~~~~~~
But the north wind suddenly appears and starts to quarrel.


THE NORTH WIND

A frightened shepherd weeps in fear and bemoans his fate----ท่อนช้าอันคร่ำครวญ




Mutter กับ Karajan และ Berliner Philharmoniker

นกน้อยทั้งหลาย ออกจะดุไปหน่อย แต่สมแล้วกับความชุลมุนวุ่นวายกับการสร้างรังและหาอาหารในฤดูร้อน



Summer Mov 2 Adagio

The fierce lightning and terrible thunder makes the shepherd unable to rest his weary body.


BLUE-BOTTLE FLIES----เสียงหึ่งๆ background ของวงเปรียบเหมือนเสียงแมลงวัน


THUNDER ---แล้วก็สายฟ้าฟาด!!!




Zukerman กับ Zubin Mehta และ Israel Philharmonic Orchestra accompanying.

คลิปนี้ ไม่ได้ยินเสียงแมลงวันเลยหง่ะ



Summer : MOV 3 Presto

TEMPESTUOUS SUMMERTIME
The shepherd is right to be afraid. The sky flashes and the thunder is awesome. Grain and fruit are destroyed by the storm.


จะบอกว่าท่อนนี้ ข้าพเจ้า ชอบของวง I Musici มากๆๆ





Autumn : Mov 1 Allegro

The peasants dance and sing, hailing the fruits of the harvest.


The drunkard drinks deeply from the cup of Bacchus. ----ดื่มเหล้าจากถ้วยของเทพเจ้าเมรัย


The Drunks. A Drunk. ----- เอ้า! ดื่ม ดื่ม และ ดื่ม


The drunkards fall into a deep slumber----- มาววววว แล้วก็หลับ (ท่อนช้า ราวนาทีที่ 3.48)




พึ่งรู้ว่า ท่อนนี้ Vivaldi แต่งบรรยายถึงคนเมาเหล้า

ท่อนนี้ใครๆก็ไม่รัก ถ้าพูดถึงคนเมาแล้ว ดูมาหลายคลิป มันไม่ค่อยจะเมาแฮะ
ขอเป็น Mutter - karajan อีกคลิปแล้วกัน



แต่ถ้าเมาแล้ว เกะกะ ระราน โหวกเหวก โวยวาย อาละวาดไปทั่ว ดิฉันว่า Nigel Kennedy เนี่ยหล่ะใช่เลยค่ะ

น่าเสียดายคลิปเล่นไม่ครบ เลยไม่รู้ว่า ท่อนเมาจนหลับของคุณ Kennedy เป็นอย่างไร





Autumn: Mov 2 Adagio molto


The drunkards sleep soundly; the season is mild; peace and rest overtake all the joyous peasants.

เมาแล้วหลับอย่างเป็นสุข

ท่อนนี้ใครๆก็ไม่รักยิ่งกว่า หาคลิปไม่ค่อบมีเลย.....

ฉะนั้น ขอนำเสนอ Gidon Kremer กับ the English Chamber Orchestra ก็แล้วกันค่ะ เพราะเป็นคลิปเดียวที่มีท่อนนี้แยกเดี่ยวๆ





Autumn Mov 3 Allegro

THE HUNT

As dawn breaks the hunter appears with his horn, hound, and gun.

The prey appears; the chase in on. (นาทีที่ 1.37)

The prey is bewildered by the clamorous dogs and the noise of the guns.

Fatigued and wounded, the prey falls and dies. (นาทีที่ 2.41)




I musici is the best.



Winter : Mov 1 Allegro non molto

We shiver in the snow. ---- เดินตัวสั่นท่ามกลางหิมะ


And are pierced by the cruel winds.---- แล้วลมหนาวก็พัด ฟู่~~~~~ ไวโอลิน solo ไหลฟิ้ว~~~~ นาทีที่ 0.36


We run and stamp our feet at every step. ----- รีบซอยเท้าโดยไว ก้าวยิกๆๆ ---- ไวโอลินรัวๆ นาทีที่ 1.08


The wind ---- เสียงลม แทนด้วย line ของวง


Our teeth chatter with the cold. ----หนาวจนเข็ดฟัน-----แทนด้วยเสียงไวโอลิน solo โน๊ตคู่กัดๆ ในนาทีที่ 2.24




music vdo โดย Gil Shaham เล่นโดยวงอะไรก็ไม่รู้



แล้วก็มาถึงท่อนที่โปรดที่สุด

Winter: Mov 2 Largo

We pass the day contented by the fireside; outside it is raining very hard.

The rain --- เสียงวงสั้นๆ เหมือนเสียงฝนหยดติ๋งๆ




Itzhak Perlman กับ Zubin Mehta และวง the Israel Philharmonic Orchestra



และสุดท้าย

Winter: Mov 3 Allegro


We carefully walk on the ice.----เริ่มต้นเดินบนน้ำแข็งด้วยความระมัดระวัง มีไถลบ้างเล็กน้อย ----violin solo แต่ต้น


We are afraid we may fall. ----- กลัวๆๆ ค่อยๆย่อง (นาทีที่ 0.26)


We slip and fall.--- แล้วก็ลื่นพรืด ไถลไปมา~~~~ (นาทีที่ 0.49)


Falling down ----ในที่สุดก็กลิ้งลงมาของจริง (นาทีที่ 0.58 )


We get up and bravely try again. ---- แล้วก็ลุกขึ้นมาได้ใหม่ ในนาทีที่ 1.02 แต่ดูเหมือนยังตะเกียดตะกายอยู่แฮะ


The ice is breaking, the cracks are wide. ---- แย่แล้ว! น้ำแข็งค่อยๆปริ กว้างขึ้นเรื่อยๆ (นาทีที่1.41)

The sirocco wind howls around each bolted door. ---- สายลมพัดโหยหวนมาที่ประตู ท่อนช้า นาที 1.56


The shrieking winds are at war. ---- กระแสลมรุนแรงกรีดร้องเหมือนดังกำลังทำสงครามกัน (นาทีที่2.40)


Such is winter, but it has its joys. ---- นี่หล่ะฤดูหนาว จบบริบูรณ์ 4 วินาทีสุดท้าย




ปิดท้ายด้วย Chung แบบเรียบๆ จริงๆแล้ว จะว่าไปไม่ต้องดูตอนเธอสีจะฟังเพลงได้อรรถรสมากกว่าเนอะ


Kyung Wha Chung กับ St. Luke's Chamber Ensemble






 

Create Date : 04 ธันวาคม 2552    
Last Update : 4 ธันวาคม 2552 11:04:09 น.
Counter : 1098 Pageviews.  

Scarborought Fair กับ Okarina ของฉัน

Scarborough Fair


Are you going to Scarborough Fair?
Parsley, sage, rosemary and thyme
Remember me to one who lives there
For once she was a true love of mine


Have her make me a cambric shirt
Parsley, sage, rosemary and thyme
Without no seam nor fine needle work
And then she'll be a true love of mine


Tell her to weave it in a sycamore wood lane
Parsley, sage, rosemary and thyme
And gather it all with a basket of flowers
And then she'll be a true love of mine


Have her wash it in yonder dry well
Parsley, sage, rosemary and thyme
where water ne'er sprung nor drop of rain fell
And then she'll be a true love of mine


Have her find me an acre of land
Parsley, sage, rosemary and thyme
Between the sea foam and over the sand
And then she'll be a true love of mine


Plow the land with the horn of a lamb
Parsley, sage, rosemary and thyme
Then sow some seeds from north of the dam
And then she'll be a true love of mine


Tell her to reap it with a sickle of leather
Parsley, sage, rosemary and thyme
And gather it all in a bunch of heather
And then she'll be a true love of mine


If she tells me she can't, I'll reply
Parsley, sage, rosemary and thyme
Let me know that at least she will try
And then she'll be a true love of mine


Love imposes impossible tasks
Parsley, sage, rosemary and thyme
Though not more than any heart asks
And I must know she's a true love of mine


Dear, when thou has finished thy task
Parsley, sage, rosemary and thyme
Come to me, my hand for to ask
For thou then art a true love of mine



ความหมายของต้นไม้ในกลอนนี้
Parsley หมายถึงจิตใจ
Sage หมายถึงความแข็งแรง
Rosemary หมายถึงความรักของหญิงสาว ซึ่งค่อยๆเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆและมั่นคง
Thyme หมายถึงความกล้าหาญ


ชอบฉบับที่ Sarah Brightman ร้องมากๆ


เนื้อเพลง Scarborough Fair ข้างบนนี้ เป็นฉบับที่ P. Simon/A. Garfunkel เป็นคนร้อง(ส่วนที่ Sarah ร้อง ตัดมาแค่บางท่อน) แต่เป็นเพียงบทกลอนของทางฝั่งผู้ชายที่บอกภารกิจต่างๆที่เป็นไปไม่ได้แก่หญิงสาว ให้เธอทำเพื่อจะได้พบกับรักแท้ ถ้าข้าพเจ้าจำไม่ผิด บทกลอนนี้จะมีฉบับเต็มแบบที่ผู้หญิงเป็นฝ่ายมอบภารกิจให้ฝ่ายชาย โต้ตอบกลับไปด้วยเช่นกัน แต่ดันหาไม่เจอะว่าอยู่ในเวปไซด์ไหน แต่จำได้แต่ว่าจบแบบ Happy ending

เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาศไปเที่ยวประเทศ Czech ในระหว่างที่เดินเล่นอยู่บนสะพานชาลล์ ชมทิวทัศน์ของแม่น้ำและร้านค้าบนสะพาน ก็ได้ยินเสียงขลุ่ยเพราะๆ เป็นทำนองเพลง Scarborough Fair อันอ่อนหวานปนความเหงา

หลังจากข้าพเจ้าเดินตามเสียงนั้นไป ก็ได้พบกับหญิงสาวคนนึง ยืนเป่าเครื่องดนตรีชิ้นเล็กๆน่าตาประหลาด ยืนอยู่ข้างแผงลอยขนาดย่อม ซึ่งมีขลุ่ยเซรามิกแบบเดียวกับที่เธอกำลังเป่า หลายรูปแบบแขวนขายอยู่

หลังจากยืนฟังเพลงซักพัก ก็ตกหลุมรัก และซื้อกลับมาจนได้ ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าจะเป่าเป็นไหม
ในสมองตอนนั้นคิดแต่เพียงว่า เอาน่า...มันมีแค่ไม่กี่รูเอง จะเป่ายากซักแค่ไหนกัน เป่าได้แค่ Scarborough Fair ได้เพลงเดียวก็พอใจแล้ว

ในตอนนั้น ประเทศ Czech ยังไม่ได้เปลี่ยนไปใช้เงินยูโรเต็มตัว ยังคงใช้ทั้ง เงินcrown และ ยูโร ทั้ง 2 สกุล แต่ด้วยความที่เงิน czech มันเล็ก ข้าพเจ้าขี้เกียจพก และคิดว่ายูโรน่าจะใช้จ่ายสะดวกกว่า เพราะใช้ได้หลายประเทศ จึงไม่ได้แลกเงิน czech ไปเลย ดังนั้น ในกระเป๋าจึงมีแต่ยูโรทั้งหมด พอจะไปซื้อของริมถนนก็เลยเกิดปัญหา

จำได้ว่าขนาดยื่นเหรียญยูโรไปให้ไม่รู้กี่แบบ คนขายก็เอาแต่ตอบมาด้วยภาษาอังกฤษแปลกๆทั้งสำเนียงและคำพูดว่า "too rich" ไปซะหมด
ดังนั้นเรื่องต่อราคาก็ไม่ต้องพูดถึง แค่สื่อสารกัน แปลงสกุลเงิน 2 ตลบ และหาตังค์ไปจ่ายเขาก็เหงื่อตกแล้ว

แต่ด้วยความอยากเหลือเกิน สุดท้ายก็ได้เจ้าขลุ่ยนี้กลับมา ในราคากี่ยูโรก็ไม่รู้ แต่จำได้ว่าประมาณ 500 บาทไทย

คนขายเอาขลุ่ยใส่ถุงให้พร้อมกับกระดาษ 1 แผ่น เป็นแผนภาพบอกลำดับนิ้วของเจ้าขลุ่ยนี่ ว่าปิดรูไหน เปิดรูไหน ถึงได้จะเสียง โด เร มี



ซื้อขลุ่ยจากร้านนี้หล่ะค่ะ คนขายเขามี website ด้วย เลยเข้าไปจิ๊กรูปเขามา
//okarina.euweb.cz/



หลังจากกลับมาเมืองไทย และเอาเจ้าขลุ่ยนี้ไปไปอวดใครต่อใคร ก็มีแต่คนแซวว่า

"ต๊าย....ซื้อมาได้ตั้ง 500 ว่างๆไปถนนคนเดินที่เชียงใหม่สิ เค้าขายอันละ 40 บาท"

"ดูภาพวาดบนแผนภูมิลำดับนิ้วที่เค้าให้มาสิ เป็นรูปผู้หญิงนั่งพับเพียบเป่าขลุ่ย ฝรั่งเขานั่งท่านี้กันที่ไหน ของเอเชียชัดๆ โดนหลอกแล้วหล่ะเธอ"


เชอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

หลังจากกลับมาเมืองไทย ก็บ้าเห่อเป่าอยู่พักนึงทุกวัน ซ้อมจนเป่า Scarborough Fair กับเพลงพื้นบ้าน Hungarian ของ Bartok ได้อีกเพลงด้วยความยากลำบาก เพราะระบบนิ้วมันมึนมากๆ แม้เสียงเพลงของข้าพเจ้าจะไม่เพราะเท่าสาวเชค แต่ก็พอใจแระ ไม่นานนักเลิกเห่อเอาใส่กล่องเก็บเข้าตู้ นาน..น๊าน....จะหยิบมาดูเล่นซักที


Okarina ที่ดิฉันมี หน้าตาคล้ายๆแบบนี้เลยค่ะ แต่มีลายสลักรูปคนเป่าขลุ่ยอยู่ตรงกลางด้วย

ด้วยความบังเอิญ หลายวันก่อนข้าพเจ้าไปเดินดูหนังสือที่คิโนคูนิยะ ที่ชั้นวางหนังสือ เจอะกล่องขายเจ้าขลุ่ยเนี่ย หน้าตาเหมือนที่เรามีเลยแฮะ

หลังจากหยิบมาอ่านๆ ลูบๆคลำดู ข้าพเจ้าก็ดวงตาเห็นธรรม ว่าเจ้าขลุ่ยนี่มันมีชื่อว่า " Okarina " จริงๆ หลังจากที่เข้าใจผิดมาตั้งหลายปีว่า Okarina คือชื่อของสาวเชคคนที่ขายขลุ่ยให้

พอกลับมาบ้านว่างๆก็เลยลอง seach หาข้อมูลของเจ้าขลุ่ยชนิดนี้ดูเล่นๆ ดูซิว่ามันมีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียอย่างที่โดนกัดมาหรือเปล่า


จึงได้ใจความมาว่า.....

เจ้าขลุ่ย Okarina จัดอยู่ในประเภทฟลุตชนิดหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่ามีมาตั้งแต่เมือ่ 12,000 ปีก่อนเชียวค่ะ เครื่องดนตรีชนิดนี้พบในอเมริกากลาง, อเมริกาใต้ ตั้งแต่ยุคสมัยชาว Mayans และ Aztecs เลยที่เดียว



อันนี้เป็น Okarina ลวดลายแบบทางอเมริกาใต้ สวยมากๆ อยากได้มาห้อยคอมั่งจัง



Okarina ถูกนำมาสู่ยุโรปในสมัยศัตวรรษที่ 16 โดยกลุ่มนักดนตรีและนักเต้นรำชาว Aztecs ซึ่งถูกส่งมาแสดงให้แก่พระเจ้า Charles ที่ 5
ชาวยุโรปเมือ่ได้ฟังเสียงของ Okarina ก็ชื่นชอบ จึงมีการประดิษฐ์และปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาหลายรูปแบบ และนิยมเล่นกันแพร่หลายต่อมาเรื่อยๆจนปัจจุบัน


โดยปกติแล้ว Okarina จะมีรูปร่างหน้าตาเหมือนไข่ หรือเป็นรูปนก และมีจำนวนรูตั้งแต่ 4 ถึง 12 รู (แบบที่ข้าพเจ้ามีคือแบบ 4 รูป เป็นแบบเป่าง่ายสุด(แล้วมั้ง) )

โดยส่วนใหญ่แล้ว Okarina มักทำจากเซรามิค แต่บางครั้งก็มีแบบที่ทำจากพลาสติก ไม้ แก้ว หรือวัสดุแบบอื่นๆเหมือนกัน



คลิปนี้ Okarina ระดับเทพ 2 ตัวเล่นคู่กันในเพลงของ Mozart ฟังเพราะเชียวค่ะ






นอกจาก Ocarina หน้าตาเป็นรูปไข่ หรือนกแล้ว ยังมีแบบที่ใกล้เคียง หน้าตาแปลกๆ เรียกว่า Teacarina ด้วย แต่ๆๆๆ อย่าเข้าใจผิดว่าถ้วยน้ำชาที่ไหนก็เอามาเป่าได้นะคะ เพราะมันต้องเจาะรูด้วยต่างหาก อิอิ



ในคลิปนี้เป็น Teacarina จัดอยู่กลุ่มเดียวกับพวก Ocarina หน้าตาน่ารักดี เวลาเป่าท่าทางเหมือนกำลังดื่มน้ำชาอยู่





 

Create Date : 10 ตุลาคม 2552    
Last Update : 27 ธันวาคม 2552 18:21:04 น.
Counter : 1548 Pageviews.  

O tell me the True about love -Benjamin Britten

O Tell Me The Truth About Love


Some say love's a little boy,
And some say it's a bird,
Some say it makes the world go around,
Some say that's absurd,
And when I asked the man next-door,
Who looked as if he knew,
His wife got very cross indeed,
And said it wouldn't do.

Does it look like a pair of pyjamas,
Or the ham in a temperance hotel?
Does its odour remind one of llamas,
Or has it a comforting smell?
Is it prickly to touch as a hedge is,
Or soft as eiderdown fluff?
Is it sharp or quite smooth at the edges?
O tell me the truth about love.

Our history books refer to it
In cryptic little notes,
It's quite a common topic on
The Transatlantic boats;
I've found the subject mentioned in
Accounts of suicides,
And even seen it scribbled on
The backs of railway guides.

Does it howl like a hungry Alsatian,
Or boom like a military band?
Could one give a first-rate imitation
On a saw or a Steinway Grand?
Is its singing at parties a riot?
Does it only like Classical stuff?
Will it stop when one wants to be quiet?
O tell me the truth about love.

I looked inside the summer-house;
It wasn't over there;
I tried the Thames at Maidenhead,
And Brighton's bracing air.
I don't know what the blackbird sang,
Or what the tulip said;
But it wasn't in the chicken-run,
Or underneath the bed.

Can it pull extraordinary faces?
Is it usually sick on a swing?
Does it spend all its time at the races,
or fiddling with pieces of string?
Has it views of its own about money?
Does it think Patriotism enough?
Are its stories vulgar but funny?
O tell me the truth about love.

When it comes, will it come without warning
Just as I'm picking my nose?
Will it knock on my door in the morning,
Or tread in the bus on my toes?
Will it come like a change in the weather?
Will its greeting be courteous or rough?
Will it alter my life altogether?
O tell me the truth about love.



กลอนบทนี้แต่งขึ้นโดย Wystan Hugh Auden (1907 – 1973) นักแต่งกลอนและนักเขียนชาวอังกฤษ เขาเขียนบทกลอนหลากหลายแนว ทั้งเรื่องการเมือง ศาสนา ปรัชญาชีวิต เรื่องทั่วไป ความรัก และอื่นๆ

Auden ได้รู้จักกับ Britten ในปี ค.ศ.1935 และได้ร่วมงานกันแต่งเพลงประกอบหนังเรื่อง Coal Face และ เรื่อง Night Mail ในช่วงนั้น Britten เองกำลังเขียนเพลงชุดต่างๆ เขาจึงนำเอาบทกลอนของ Auden มาใส่ทำนองเป็นเพลงมากมาย เช่น Our Hunting Fathers Op.8, On this Island Op.11, Ballad of Heroes Op.14


คนทางซ้ายถือบุหรี่คือ Auden ส่วนทางขวาคือ Britten



ต่อมาในปี ค.ศ. 1940 Auden ได้ย้ายมาอยู่อเมริกาโดยถาวร โดย Britten ก็ติดตามมาด้วย(พร้อมกับ Peter Pear คู่รักของเขา) พวกเขาเช่าบ้านอยู่ร่วมกันพร้อมกับศิลปินอีกหลายคน เช่น Chester Simon Kallman นักแต่งกลอนชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งเขียนกลอนให้กับผลงานของ Stravinsky หลายชิ้น, Carson McCullers นักเขียนหญิงชาวอเมริกัน, Jane and Paul Bowles คู่รักนักเขียนและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน และ Gypsy Rose Lee นักแสดงโชว์ บ้านหลังนี้มีชื่อว่า Febuary House ที่ได้ชื่อนี้ เพราะทุกคนที่อาศัยอยู่ที่นี่ ต่างเกิดเดือนกุมภาพันธ์

ศิลปินทุกคนที่อาศัยอยู่รวมกันในบ้านหลังนี้ ต่างช่วยเหลือเกื้อกุลกัน และร่วมกันผลิตผลงานมากมาย จนที่นี้กลายเป็นศูนย์รวมของต้นกำเนิดงานเขียนและงานดนตรีแห่งยุคในตอนนั้นเลยทีเดียว



เรื่องราวชีวิตและความสัมพันธ์ของศิลปินที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านหลังนี้ มีการเขียนขึ้นเป็นหนังสือ ชื่อ February House: The Story of Carson MCcullers, W.H. Auden, Benjamin Britten, and Gypsy Rose Lee, Under One Roof in Wartime America. ใครสนใจลองหาอ่านกันดูนะคะ
(ข้าพเจ้ายังไม่ได้อ่าน แต่ติ๊ดเอาไว้ว่าจะต้องหามาอ่านให้ได้)


ในส่วนของ Auden และ Britten ในระหว่างทั้งคู่อาศัยอยู่ที่นี่ ต่างได้สร้างผลงานชิ้นสุดท้ายร่วมกัน คือ Hymn to St Cecilia, Op. 27 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1942 Britten และ Pear ก็กลับไปอังกฤษ ส่วน Auden นั้น ใช้ชีตอยู่ที่อเมริกาจนถึงวาระสุดท้าย


สำหรับผลงานเพลง O tell me the true about love ถูกรวบรวม อยู่ในงานชุด Cabaret Songs ซึ่งแต่งขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1937-1939 ผลงานชิ้นนี้ทั้งคู่แต่งให้กับ Hedli Anderson นักร้องสาว ผู้ซึ่งต่อมาเธอได้เป็นภรรยาของ Louis MacNeice นักแต่งกลอนที่มีชื่อเสียง

ผลงานชิ้นนี้ประกอบด้วยเพลงทั้งหมด 4 เพลง ได้แก่

1. Tell Me the Truth About Love
2. Funeral Blues
3. Johnny
4. Calypso

ทั้งหมดแต่งขึ้นแต่ไม่ได้ถูกตีพิมพ์จนกระทั่งปี 1980 โดยสำนักพิมพ์ Faber







เมื่อพูดถึง Britten ทีไร ทำให้สะกิดปมในใจทุกที

ม่าย.....ม่าย....ม่าย.... Young person guide to the orchestra ผลงานอันแสนน่ารัก ข้าพเจ้าคงไม่สามารถทำใจให้หยิบมาฟังได้อีกนาน


จริงๆแล้วไม่ใช่ว่า ดิฉันจะรังเกียจเพศที่ 3 นะคะ แต่ว่าเข้าใจกันหน่อยนึงว่า การที่เราวาดฝันบุคคลที่น่าเรายกย่องว่า น่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วจู่ๆ ก็เหมือนมีฟ้าผ่าเปรี้ยงลงมา ทำเอาอึ้งไปเลย

ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้ ดิฉันขอยกความผิดให้แก่ Mr.St@rgazer แห่งคลับเพลงคลาสสิก ผู้นำเรื่องนี้มาเผยแพร่ ส่งรูปทำลายฝันมาให้ใครต่อใครดู แล้วข้าพเจ้าก็บ้าส่งต่อให้เพื่อนดูอีก เลยเกิดอาการ shock ต่อไปกันไปเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่จบไม่สิ้น


แหม....มันน่าจริงๆเลย





 

Create Date : 09 ตุลาคม 2552    
Last Update : 9 ตุลาคม 2552 10:16:05 น.
Counter : 669 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

Vitamin_C
Location :
Pasadena United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีค่ะ อากาศดี ก็อารมณ์ดีเนอะ .......^-^

คิดถึงบ้านที่เมืองไทยเป็นที่สุด
ถ้าไม่นับห้องสมุดๆเจ๋งๆกับพิพิธภัณฑ์ดีๆ กับอาหารหลากหลายเชื้อชาติให้กินได้ไม่ซ้ำทุกวันแล้วหล่ะก็ เมืองไทยชนะขาดในทุกกรณี ว่าแต่เมื่อไหร่ ห้องสมุดกับพิพิธภัณฑ์ของบ้านเราจะพัฒนาซักทีน้อ....


ถึงแม้ว่าบล๊อกนี้จะไม่ค่อยมีสาระ แต่เนื้อหาและข้อความทั้งหมด
รวมไปถึงรูปภาพที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่ายเอง ถือเป็นลิขสิทธิ์ ของสำนักพิมพ์บางกอกสาส์น จำกัด
ห้ามผู้ใดนำไปเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของบล๊อก หรือ จากกองบรรณาธิการ

หากมีข้อสงสัยใดๆ กรุณาติดต่อหลังไมค์
หรือ
กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น 966/10 ซ.พระราม6 19 ถ.เพชรบุรี เขตราชเทวี กทม 10400
โทร 02-6137140
Email vitavitac@gmail.com
Friends' blogs
[Add Vitamin_C's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.