Little drops of water, Little grains of sand Make the mighty Ocean, and the pleasant land. Little deeds of kindness, Little words of love Help to make Earth Happy, Like the Heven above.
Group Blog
 
All Blogs
 
ข้อคิดในการสอน/ดีดเปียโนจาก Horowitz (1)


"It is important for musician to learn as much about the composer as possible and to study the music he has written"

“Equally important is that the musician must immerse himself in the cultural period that produced the work he studies and play”

อย่าคิดว่ามันเป็นเพียงโน๊ตเปียโน การจะเข้าใจดนตรีอย่างถ่องแท้ ควรจะศึกษาถึง ภาพวาด บทกวี ลักษณะดนตรีรวมไปถึงการดำรงชีวิตในสมัยนั้นๆด้วย

Horowitz เล่าว่า เคยมีเด็กหนุ่มคนนึงมาหาเค้าและเตรียมเพลง Rachmaninoff-Paganini Variation มาดีดให้ฟัง หลังจากเล่นเสร็จ Horowitz ถามเด็กหนุ่มว่าเคยได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของ Rachmaninoff บ้างหรือไม่ ทั้งๆที่เด็กคนนี้มีใบปริญญาจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง แต่ปรากฏว่าเค้ากลับไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับ Rachmaninoff หรือ Paganini เลย แม้แต่บุคลิกลักษณะของ composer เหมือนกับนักเปียโนในปัจจุบันนี้......

(Horowitz เองสนิทมากๆกับ Rachmaninoff เป็นการส่วนตัวด้วย คิดเอาแล้วกันว่าลุงเค้าจะเดือดแค่ไหน เหอๆ)

Horowitz กล่าวว่าการเล่นของเด็กคนนี้ มีแนวโน้มออกไปทาง percussively ซึ่งเป็นลักษณะการเล่นแบบตอกๆเคาะๆ หากเค้าต้องไปฟังconcert ที่ผู้แสดงดีดแบบนี้ มีเพียง 2 สิ่งที่ทำได้ คือ 1.กลับบ้าน 2.นอน

ส่วนตัว จขบ อ่านเจอะมาว่า Horowitz เอง แม้จะกล่าวว่าเค้าฟังเพลง Contemp เช่นเพลงของ Bartok หรือ Stravinsky เพื่อความสุนทรีย์ได้ แต่กลับปฏิเสธที่จะเล่น ด้วยเหตุผลที่ว่า มัน too percussive ดังนั้นถ้าใครมาเล่นเปียโนสไตล์แบบนี้ให้เค้าฟัง ลุงแกคงไม่ปลื้มแน่ๆ
(อ๊ะ แต่นี่คนนั้นเค้ามาเล่น Rachmaninoff นินา ไม่รู้เหมือนกันว่าเล่นออกมาแนว percussive นี่จะเป็นแบบไหนนะ แต่ที่แน่ๆ ถ้าเด็กหนุ่มคนนั้นเค้าได้อ่านบทสัมภาษณ์นี้คงเสียใจแย่เลย)




“The most important thing is to make a percussive instrument to a singing instrument”

ครูเปียโนควรจะให้ความสำคัญในการสอนเรื่องนี้มากๆ แต่กลับมีครูน้อยคนที่จะสนใจสอนเรื่องนี้ และที่น้อยกว่าคือ นักเรียนที่จะเข้าใจ
Horowitz แนะว่า การที่เค้าทำเสียง sing ออกมา ทำได้โดยใช้ damper pedal อยู่บ่อยๆ เพียงแต่พวกเราไม่ได้ยิน ในระหว่างที่เปลี่ยน chord หนึ่งไปอีก chord หนึ่ง โดยยังเหยียบ pedal ไว้ยาวพอจนเกิดการ overlap ของ 2 harmony ในชั่วขณะ จะเกิด Legato pedal และได้เสียงที่ sing ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดใน Orchestra ที่สามารถทำเช่นนี้ได้



“Never to imitate”
แปลแบบง่ายๆ ===>อย่า copy
“ Find out for yourself”
นักเปียโนทุกคนควรหาเทคนิค และสไตล์ที่เป็นของตนเอง Horowitz กล่าวพร้อมกับยกคำสอนของจีนขึ้นมา
“Do not seek to follow in the master’s foot step; seek what he sought”

“The great danger in listening to records is imitation”
อย่าฟังเพลงมากเกินไป เพราะเราจะ copy มันเองโดยธรรมชาติ

Horowitz ย้ำเรื่องนี้อีกครั้ง เมื่อถูกถามว่า เค้าเคยฟังผลงานของตัวเองบ้างหรือเปล่า
Horowitz ตอบว่ เค้าไม่เคยฟังเพลงที่ตัวเองเล่นเลย โดยให้เหตุผลว่า แม้เค้าจะเล่นเพลงนั้นเอง ก็ไม่อยากให้มันมีอิทธิพลต่อการเล่นในครั้งต่อๆไป นอกจากนี้เค้ายังให้เหตุผลว่าการเล่นเปียโนในแต่ละครั้ง การตีความบทเพลงก็แตกต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ว่า ในเพลงเดียวกัน จะเล่นเหมือนกันทุกครั้ง การตีความเพลงใหม่ๆ ทำให้เกิดความสดใหม่ และแตกต่างไม่ซ้ำซาก


นี่สินะ คือ ความลับของ Horowitzในการเล่น concert ที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอ

Clementi- Adagio sostenuto in F Major (Book I, No.14 of Gradus ad Parnassum) - Vladimir Horowitz




Create Date : 17 สิงหาคม 2551
Last Update : 17 สิงหาคม 2551 23:01:50 น. 2 comments
Counter : 772 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ เพิ่งซื้อดีวีดของโฮโรวิทซ์ไปทัวร์ที่โซเวียต ยังบ่ได้ดูเลย


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 19 สิงหาคม 2551 เวลา:20:06:22 น.  

 
ตามมาอ่าน ได้ข้อคิดมากมาย


โดย: murmur (murmur072 ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:28:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Vitamin_C
Location :
Pasadena United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีค่ะ อากาศดี ก็อารมณ์ดีเนอะ .......^-^

คิดถึงบ้านที่เมืองไทยเป็นที่สุด
ถ้าไม่นับห้องสมุดๆเจ๋งๆกับพิพิธภัณฑ์ดีๆ กับอาหารหลากหลายเชื้อชาติให้กินได้ไม่ซ้ำทุกวันแล้วหล่ะก็ เมืองไทยชนะขาดในทุกกรณี ว่าแต่เมื่อไหร่ ห้องสมุดกับพิพิธภัณฑ์ของบ้านเราจะพัฒนาซักทีน้อ....


ถึงแม้ว่าบล๊อกนี้จะไม่ค่อยมีสาระ แต่เนื้อหาและข้อความทั้งหมด
รวมไปถึงรูปภาพที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่ายเอง ถือเป็นลิขสิทธิ์ ของสำนักพิมพ์บางกอกสาส์น จำกัด
ห้ามผู้ใดนำไปเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของบล๊อก หรือ จากกองบรรณาธิการ

หากมีข้อสงสัยใดๆ กรุณาติดต่อหลังไมค์
หรือ
กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น 966/10 ซ.พระราม6 19 ถ.เพชรบุรี เขตราชเทวี กทม 10400
โทร 02-6137140
Email vitavitac@gmail.com
Friends' blogs
[Add Vitamin_C's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.